ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
การจัดที่ดินให้คน(ไม่)จน ศ.ดร.มิ่งสรรพ์

การจัดที่ดินให้คน(ไม่)จน
โดย ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มติชนรายวัน วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11281

นโยบายใหม่เอี่ยมอ่องของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะจัดหาที่ทำกินให้กับประชาชนโดยให้สิทธิที่ทำกิน (ส.ป.ก.) ได้สร้างความฮือฮาใหม่ นับว่าเป็นความกล้าหาญที่จะแก้ไขปัญหาทุกข์ร้อนของประชาชนโดยไม่กังวลกับแผลเก่า

ในกรณีนโยบายที่ทำกินต้องแยกประเด็นเป้าหมายระหว่าง (1) เพื่อขจัดความยากจน และ (2) เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งด้านที่ทำกินระหว่างรัฐกับประชาชน

ประเด็นแรกเป็นเรื่องประชาสงเคราะห์

ส่วนประเด็นที่ 2 เป็นเรื่องการจัดการซึ่งต้องแยกแยะว่าใครถูกใครผิดระหว่างการที่รัฐประกาศพื้นที่อนุรักษ์ซึ่งทับซ้อนกับที่ทำกินของประชาชน หรือประชาชนบุกรุกที่ดินของรัฐ

สำหรับบางกลุ่มบางพื้นที่ เป้าหมายทั้งสองอาจอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

เราลองมาดูสมมติฐานแรกก่อน

ความเห็นจากหลายๆ ฝ่าย ตั้งแต่ฝ่ายวิชาการของรัฐ และอาจารย์มหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้เขียนเอง เห็นว่าการแจกแต่ที่ดินไม่ใช่วิธีแก้จน หากผู้ได้รับแจกที่ดินเป็นคนจนแล้วไซร้ โอกาสที่จะหายจนโดยการปักหลักทำการเกษตรในที่ ส.ป.ก. ก็แทบจะไม่มีเลย

การจัดหาที่ดินให้กับคนจนไม่น่าจะเป็นวิธีการแก้ไขความยากจนอีกต่อไป เพราะ

หนึ่ง ผู้ที่อาศัยอยู่ในชนบทก็มิได้พึ่งพิงการเกษตรเป็นหลักเท่าแต่ก่อน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 รายได้นอกเกษตรของคนชนบทสูงถึงร้อยละ 60 ของรายได้ครัวเรือน แม้เกษตรกรจะนับการเกษตรเป็นอาชีพหลัก แต่อาชีพรองมักจะมีสัดส่วนในรายได้สูงกว่ารายได้จากการเกษตร

สอง การแจกที่ดินแต่อย่างเดียวให้กับคนจน ไม่สามารถขจัดความยากจนได้ เพราะการทำการเกษตรในปัจจุบันที่ก่อให้เกิดรายได้สูงพ้นขีดเส้นรายได้ของความยากจน ต้องอาศัยองค์ประกอบนอกเหนือจากที่ดินอีกมาก เช่น ทุน เทคโนโลยี และที่สำคัญคือ ทักษะของเกษตรกรเอง เพราะเกษตรกรรมที่ให้ผลตอบแทนสูงในปัจจุบันมักเป็นเกษตรกรรมประณีต และลงทุนสูง เช่น ไม้ดอกไม้ประดับ ผักผลไม้

สาม ที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินได้รับมอบมาจากกรมป่าไม้และยังมิได้แจกจ่ายให้แก่เกษตรกร ถึงแม้ว่าจะไม่มีเจ้าของตามกฎหมาย แต่ก็มีเจ้าของโดยพฤตินัยอยู่แล้วทุกตารางนิ้ว ดังนั้น การจัดการที่ดินจึงเป็นการจัดการที่ดินให้แก่ผู้ที่ครอบครองอยู่แล้ว ที่ดินที่จัดให้กับผู้ที่มิได้ทำกินอยู่เดิม คือผู้ที่ไร้ที่ทำกินมีอยู่น้อยมากเพราะต้องจัดซื้อจากเอกชน ในบรรดาที่ดินกว่า 40 ล้านไร่ที่แจกจ่ายให้เกษตรกร เป็นที่ที่ให้ผู้ไร้ที่ทำกินเพียง 5 แสนไร่เท่านั้น

ที่ดินที่ ส.ป.ก.ได้รับมอบมาจากกรมป่าไม้ที่ยังมิได้จัดสรรออกไป ล้วนแต่เป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครอง (โดยพฤตินัย) เป็นแปลงใหญ่ ซึ่งครอบครองโดยผู้มีอิทธิพล หรือผู้มีม็อบสนับสนุน การจัดที่ดินกลุ่มนี้ที่มีประมาณ 5 ล้านไร่ จึงยังคาราคาซังอยู่

จริงอยู่ คนจนมักเป็นเกษตรกร แต่เกษตรกรไม่ใช่คนจนเสมอไป อาจารย์อัมมาร สยามวาลา ยังเคยฟันธงไปอีกว่า ถ้าคิดจะช่วยคนจนจริงๆ ล่ะก็ ที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินยังจัดสรรไม่เสร็จจำนวน 5 ล้านไร่ ให้นำออกประมูลขายเสีย แล้วเอาเงินนั้นมาช่วยคนจนยังจะดีเสียกว่า

การปฏิรูปที่ดินให้คนจนที่เกิดประสิทธิผล ต้องมีกลไกและกระบวนการการมีส่วนร่วมภายในพื้นที่เพื่อดูแลให้การกระจายที่ดินทั้งในเรื่องขนาด รูปแบบ และผู้ได้รับประโยชน์ มีความยืดหยุ่นเป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมมากขึ้น

แต่นโยบายใหม่ของรัฐบาลอภิสิทธิ์นั้น มีลักษณะที่สำคัญสามประการคือ หนึ่ง ไม่เน้นคนยากจน แต่เน้นที่เกษตรกร สอง ขนาดของที่ดินสูงสุดที่อาจได้รับแจกสูงถึง 100 ไร่ สาม รัฐจะจัดสรรที่ดินให้เกษตรกรที่ครอบครองอยู่แล้วไม่เกินรายละ 50 ไร่

ผู้เขียนไม่รู้ว่าใช้ที่ดินมากขนาดนี้จะเอาที่ดินมาจากไหน

ข้อเสนอของรัฐบาลชุดนี้ เป็นที่แน่ชัดว่า เป็นการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งด้านที่ดิน คือเป้าหมายที่ 2 ไม่ใช่สงเคราะห์เกษตรกรยากจน ซึ่งผู้เขียนก็เห็นด้วยว่าต้องแก้ไขให้จบสิ้นเสียที

ที่ดินใดที่ชาวบ้านอยู่ก่อนการประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ก็ต้องมอบกรรมสิทธิ์ให้ชาวบ้านไป

แต่ที่ใดที่ชาวบ้านเข้าไปถือครองที่ดินในเขตอนุรักษ์ หากไม่ใช่คนจนแล้วก็ไม่เห็นต้องไปแจกฟรี หากแต่ควรมอบให้เฉพาะสิทธิที่ทำกินที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี เพื่อเป็นการชดเชยการลงทุนที่ทำไปแล้ว

ทั้งนี้ผู้รับมอบต้องใช้ที่ดินตามเงื่อนไขที่ตกลงกันคือ การเกษตร และเมื่อต่อสัญญาก็ต้องทำข้อตกลงการใช้ดินใหม่ และต้องตกลงค่าการออกกรรมสิทธิ์ของที่ดิน ส.ป.ก. ควรออกเป็นกรรมสิทธิ์ของราชการคือ ราชพัสดุไว้เลย และจัดทำแผนที่ที่ดินและกรรมสิทธิ์ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการยักย้ายถ่ายเทในภายหลัง

ที่ไม่ยกที่ ส.ป.ก.ให้เกษตรกรที่ไม่จน เพราะไม่มีเหตุผลอันใดที่จะยกที่ดินของส่วนรวมไปให้คนไม่จนเป็นส่วนตัว หากจะอ้างว่าได้หักร้างถางพงลงทุนลงแรงไว้แล้ว ก็ได้ให้สิทธิการใช้ที่ดินฟรีไว้แล้วถึง 25 ปี การลงทุนทางการเกษตรส่วนใหญ่น่าจะได้ผลตอบแทนคืนก่อน 25 ปี แต่ที่ไม่อยากคืนที่ดินกันก็คงเพราะที่ดินขึ้นราคา เนื่องจากการใช้ประโยชน์ที่ดินเปลี่ยนจากการเกษตรไปเป็นรีสอร์ท บ้านจัดสรร ฯลฯ

การจัดการที่ทำกินให้ทั้งคนจน และคนไม่จนก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและความเป็นธรรม ถ้าพรรคประชาธิปัตย์จะขันอาสาก็ต้องสวมหัวใจสิงห์ แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว ไม่อยากให้แจกที่ดินทั้งคนจนและคนไม่จน เพราะไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย แถมยังอาจจะเป็นสาเหตุของสึนามิทางการเมืองได้อีกด้วย!!

แต่ถ้าจะคิดจัดการที่ดินแล้วล่ะก็ อย่าลืมจัดการที่ดินที่ฝรั่งไปยึดครองบนภูเขาอย่างไม่กลัวว่าจะเป็นการหักหาญใจคนไทยที่ภูเก็ต กระบี่ และสมุย เพราะที่เหล่านั้นล้วนเป็นที่อนุรักษ์ มิเช่นนั้นคนไทยจะเกิดคำถาม ทำไมคนไทยทำกินไม่ได้ แต่ฝรั่งกลับมาสร้างรีสอร์ทอยู่ได้ แถมยังเป็นโรงแรมประเภท time sharing อีกด้วย

กรณีเช่นนี้ไม่ต้องไปแจก ส.ป.ก.หรอก แต่ควรขอให้ DSI ไปลุยเสียเลย!


Create Date : 30 มกราคม 2552
Last Update : 30 มกราคม 2552 13:16:45 น. 1 comments
Counter : 738 Pageviews.

 
วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11281 มติชนรายวัน

"ภาษีที่ดิน-มรดก"-อย่าช้า

คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12

โดย ฐากูร บุนปาน

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง บอกว่าจะ "ลองของ" กับอาถรรพณ์กับกฎหมายเจ้าปัญหาสองฉบับคือกฎหมายภาษีที่ดิน และกฎหมายภาษีมรดก

ด้วยการผลักดันให้กฎหมายทั้งสองฉบับนี้มีผลบังคับใช้จริงในอายุรัฐบาลนี้

สาธุ! ขอให้จริง

กองเชียร์ใหญ่ของเรื่องนี้ก็คือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

ขอเอาใจช่วย

เพราะคนตั้งท่าค้านเรื่องนี้รุนแรงที่สุดคือบรรดาสมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์เอง

โดยเฉพาะ "ท่านผู้อาวุโส" ทั้งหลาย เอาชื่อเป็นตัวอย่างไปสักหนึ่งก็ได้-นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล อดีต รมช.คลัง

เริ่มจากกรณีภาษีที่ดินก่อน

ทั้งที่หลักง่ายๆ คือเป็นการรวมเอาภาษีโรงเรือนกับภาษีบำรุงท้องที่มาจัดการใหม่ และบวกหลักการว่า

1.ที่ดินควรกระจายไม่ควรกระจุก

2.ที่ดินต้องใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุด

เข้าไป

ท่านผู้มีที่ดินทั้งหลาย-ไม่ว่านายทุน หรือนักการเมือง (ในประชาธิปัตย์นี่ก็เยอะ) -ก็เต้นผางเสียแล้ว

ภาษีมรดกก็เช่นกัน โลกเขาไปถึงไหนต่อไหนไม่รู้กี่สิบกี่ร้อยปี

พี่ไทยก็ได้แต่เงื้อค้างอยู่นั่นแล้ว

กระทรวงการคลังศึกษามากี่หนก็ไปไม่พ้นรั้วกระทรวง

ทั้งที่ภาษีตัวนี้คือหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และสร้างความเป็นธรรมทางสังคม ที่มีประสิทธิภาพที่สุด

ด้วยหลักการที่ว่า ทายาทที่งอมืองอเท้าไม่ได้ลงมือประกอบกิจการอะไรเลยนั้น ไม่ควรได้เปรียบคนอื่นในสังคมมหาศาลเกินไป

ได้ทรัพย์สินตกทอดพอเลี้ยงตัวก็พอแล้ว

รัฐจะได้เอา "ส่วนเกิน" ที่เหลือไปสร้างประโยชน์อย่างอื่นแก่สังคมส่วนรวม

ลองไปดูประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งจัดเก็บภาษีมรดกมาเป็นสิบเป็นร้อยปีดู

ในสหรัฐ

ถ้าสามี (หรือภรรยา) ตาย คู่สมรสที่ยังอยู่และบุตร (หรือธิดา) อีก 3 คน จะได้ทรัพย์สินจำนวน 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐแรกไปโดยไม่เสียภาษี

ส่วนที่เกินมาต้องเสียภาษีมรดกร้อยละ 37-55

ถ้าเหลือเฉพาะลูกทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นลดลงมาเหลือประมาณ 8 แสนเหรียญ

ในอังกฤษ

มรดกส่วนที่ได้รับการยกเว้นภาษีคือประมาณ 9 แสนเหรียญ (กรณีคู่สมรส-บุตร) หรือประมาณ 5 แสนเหรียญ (กรณีเฉพาะบุตร)

อัตราภาษีมรดกของส่วนที่เหลือคือร้อยละ 40

ในญี่ปุ่น

มรดกที่ได้รับการยกเว้นภาษีกรณีคู่สมรส-บุตรคือ 9 แสนเหรียญ ถ้าเหลือแต่บุตรอย่างเดียวจะได้รับยกเว้น 8 แสนเหรียญ

ขณะที่ภาษีมรดกจะมีอัตราตั้งแต่ร้อยละ 10-70 ขึ้นกับเงื่อนไขและข้อยกเว้นอื่นๆ

ในฝรั่งเศส

คู่สมรสและบุตรได้มรดกฟรีๆ 4 แสนเหรียญ ถ้าเฉพาะบุตรได้ 2 แสนเหรียญ

ส่วนที่เหลือต้องเสียภาษีตั้งแต่ร้อยละ 5-40

ในเยอรมนี

คู่สมรสกับบุตรได้มรดก 1.8 ล้านเหรียญ โดยไม่ต้องเสียภาษี บุตรอย่างเดียวได้ 9 แสนเหรียญ

ที่เกินมาเสียภาษีตั้งแต่ร้อยละ 7-30

ของไทยจะเอาไหม

และจะเอาเท่าไหร่?


โดย: สุธน หิญ วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:8:16:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com