ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร. บุญเสริม

ศัพท์เศรษฐศาสตร์
ECONOMICS GLOSSARY
ดร.บุญเสริม บุญเจริญผล
จากคุณ vilo_oliv ที่ //board.art2bempire.com/index.php?topic=19058.0
และจาก //learners.in.th/file/rexkrabb/Glossary%20of%20Economic.doc
(เดิมจาก ดร. บุญเสริม เองที่ //www.krirk.ac.th/economicboard/questiondetail.asp?qid=582)

Absolute advantage : ความสามารถในการผลิตที่เหนือกว่าโดยสมบูรณ์ ซึ่งประเทศหนึ่งผลิตสินค้าอย่างหนึ่งได้มากกว่าอีกประเทศหนึ่ง โดยใช้ทรัพยากรที่เหมือนกันและปริมาณเท่ากัน
Accelerator theory of investment : ทฤษฎีที่กล่าวว่า ปริมาณการลงทุนจะมากตามปริมาณรายได้ประชาชาติที่เพิ่มขึ้น หรือกล่าวอีกอย่างคือ เมื่อรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นเป็นตัวเร่งให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น
ad valorem tax : ภาษีที่คิดตามราคาสินค้า เช่น 10%ของราคาสินค้า ตรงข้ามกับ per-unit tax, specific tax
Aggregate demand (AD) : มูลค่าความต้องการซื้อสินค้าและบริการรวมทั้งหมดทั้งประเทศในเวลา 1 ปี ของผู้บริโภค ธุรกิจ รัฐบาล และ ต่างประเทศ
Aggregate supply (AS) : มูลค่ารวมของสินค้าและบริการที่ผลิตทั้งประเทศ ในเวลา1ปี
Asset : สินทรัพย์ มูลค่าของทรัพย์สิน(สิ่งที่ตีค่าเป็นเงินได้)ที่บุคคลหรือธุรกิจครอบครอง
Asymmetric information : ระดับข่าวสารต่างๆที่บุคคลหรือธุรกิจมีอยู่ในระดับต่างกันไม่เท่าเทียมกัน ทำให้อำนาจต่อรองและการตัดสินใจได้เปรียบเสียเปรียบกัน
Average fixed cost (AFC) : ต้นทุนคงที่เฉลี่ย คิดโดย นำต้นทุนคงที่รวมตั้ง หารด้วย ปริมาณผลผลิต
Average product (AP) : ผลผลิตเฉลี่ย คิดโดย นำปริมาณผลผลิตรวมตั้ง หารด้วย ปริมาณปัจจัยผันแปรที่นำมาใช้ในการผลิต
Average propensity to consume (APC) : ความโน้มเอียงเฉลี่ยในการบริโภค คิดโดย นำค่าใช้จ่าย การบริโภคทั้งหมดตั้ง หารด้วย รายได้ คือ (C/Y)
Average propensity to import : ความโน้มเอียงเฉลี่ยของการซื้อสินค้าเข้าจากต่างประเทศ คิดโดยนำค่าสินค้าทั้งหมดที่ซื้อจากต่างประเทศตั้ง หารด้วย รายได้รวม คือ (M/Y)
Average propensity to save (APS) : ความโน้มเอียงเฉลี่ยในการออม คิดโดย นำมูลค่าการออมทั้งหมดตั้ง หารด้วย รายได้ทั้งหมด
Average revenue (AR) : รายได้เฉลี่ย คิดโดย นำรายได้รวมตั้ง หารด้วย จำนวนสินค้าที่ขายได้
Average total cost (ATC, AC) : ต้นทุนรวมเฉลี่ย คิดโดย นำต้นทุนรวมตั้ง หารด้วย จำนวนสินค้าที่ผลิตได้
Average variable cost (AVC) : ต้นทุนแปรผันเฉลี่ย คิดโดย นำต้นทุนแปรผันรวมตั้ง หารด้วยจำนวนสินค้าที่ผลิตได้
Backward-bending labour supply curve : การตอบสนองของแรงงานต่อค่าจ้างที่เป็นลบ คือ เมื่อค่าแรงงานต่อชั่วโมง ต่อวัน ต่อชิ้น เพิ่มขึ้น แรงงานจะทำงานน้อยลง เพราะว่ามีเงินรายได้พอแล้ว จึงขอเพิ่มเวลาไม่ทำงานมากขึ้น เพื่อพักผ่อนมากขึ้น นายจ้างหลายรายใช้วิธีนี้เอาเปรียบลูกจ้าง โดยให้ค่าแรงต่ำเพื่อเร่งให้ลูกจ้างทำงานมากขึ้น เป็นการเอาเปรียบที่ไม่เป็นธรรม
Balanced budget : งบประมาณสมดุล คือ รายได้ เท่ากับ รายจ่าย
Balance of payments accounts : บัญชีดุลการชำระเงิน คิดโดยเปรียบเทียบรายรับทุกอย่างที่เป็นเงินตราจากต่างประเทศ กับ รายจ่ายทุกอย่างที่เป็นเงินตราไปยังต่างประเทศ
Balance of trade : ดุลการค้า คือ มูลค่าสินค้าออกขายไปต่างประเทศ ลบด้วย มูลค่าสินค้าเข้าที่ซื้อจากต่างประเทศ คิดด้วยหน่วยเงินตราเดียวกัน
Barriers to entry : อุปสรรคกีดกันมิให้ผู้อื่นเข้าสู่กิจกรรมหรือธุรกิจนั้น
Barter : การแลกสินค้า คือ การค้าที่ใช้สินค้าหรือบริการแลกกันแทนการใช้เงินตรา
Base year : ปีฐาน คือ ปีที่ถือเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบในการทำดัชนี ปีฐานมีค่าดัชนีเป็น 100
Bid : ราคาที่ผู้ซื้อเสนอซื้อในการประมูล
Bilateral monopoly : การผูกขาดที่มีผู้ขายคนเดียวผู้ซื้อคนเดียว
Bills of exchange : ตั๋วแลกเงิน เอกสารแสดงว่าจะจ่ายเงินโดยระบุจำนวนเงินและเวลาที่จะจ่ายให้แก่ผู้ถือเอกสารนี้ ส่วนมากใช้กับการค้าต่างประเทศ ซึ่งเอกสารกล่าวว่าจะจ่ายเงินให้เมื่อได้รับสินค้า
Bond : พันธบัตร คือ เอกสารการกู้เงิน ที่แสดงเงินต้น ดอกเบี้ย และ เวลาชำระคืน เป็นวิธีการกู้ยืมที่ไม่มีหลักประกันหนี้ มีเพียงกระดาษประกาศความเป็นหนี้อย่างเดียว ใช้ในธุรกิจหรือรัฐบาล
Boom : สภาพเศรษฐกิจรุ่งเรือง มีการผลิตมาก มีงานทำมาก ค้าขายคล่อง
Break-even point : จุดคุ้มทุน คือ จำนวนผลผลิตที่คุ้มทุนพอดี ไม่ขาดทุน ไม่กำไร
Broad money : เงินในความหมายกว้าง คือ ประกอบด้วยเงินสด (ธนบัตร เหรียญกษาปณ์) เงินฝากกระแสรายวัน (เขียนเช็ค) เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ ปัจจุบัน เรียกว่าเงิน M4 บางตำราอาจเป็น M ร ะดับอื่น
Budget constraint : มีเงินซื้อจำกัด การตั้งงบประมาณเงินซื้อไว้จำกัด
Budget deficit : การขาดดุลงบประมาณ คือ สถานะการเงินที่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย
Budget line : เส้นงบประมาณ คือ เส้นที่แสดงว่า ในจำนวนเงินที่กำหนด จะซื้อสินค้าสองอย่างร่วมกันเป็นปริมาณอย่างละเท่าใด
Budget surplus : การเกินดุลงบประมาณ คือ สถานะการเงินที่รายได้มากกว่ารายจ่าย
Business cycles : วัฏจักรธุรกิจ คือ สภาพที่เศรษฐกิจเจริญขึ้น และ ตกต่ำลงสลับกัน อันเป็นธรรมดาของวงจรเศรษฐกิจของประเทศและของโลก บางทีเรียกว่า Economic cycles หรือ Trade cycles
Capital : ทุน, เครื่องมือการผลิต เช่น โรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือ ที่ใช้ในการผลิตสินค้า ถ้าหมายถึงเงินที่ใช้จ่ายเพื่อการผลิต เรียกว่า money capital
Capital account : บัญชีทุน แสดงเงินลงทุนระหว่างประเทศที่ไหลเข้าประเทศและไหลออกจากประเทศหนึ่ง
Capital consumption allowance : ค่าเสื่อมของเครื่องมือการผลิต ที่เกิดจากการนำเครื่องมือการ ผลิตไปใช้ผลิตสินค้า บางทีเรียกว่า depreciation
Capital deepening, Capital intensive : การผลิตที่ใช้เครื่องจักรเครื่องมือมากกว่าใช้แรงงาน
Capitalism : ระบบนายทุน ระบบทุนนิยม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของกิจการทางธุรกิจ มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายผ่านตลาด บางทีหมายถึงการใช้เงินต่อเงิน
Capital goods : สินค้าทุน คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือการผลิตสินค้า
Capital-labour ratio : อัตราส่วนทุนต่อแรงงาน คิดโดย นำจำนวนเงินที่จ่ายไปในการใช้เครื่องมือ หารด้วยจำนวนเงินที่จ่ายไปในการใช้แรงงาน เพื่อร่วมกันผลิตสินค้าอย่างหนึ่งขึ้นมา หรืออาจคิดเป็นสัดส่วนของจำนวนเครื่องมือต่อจำนวนแรงงานก็ได้ ถ้าเครื่องมือเป็นอย่างเดียวกันหมด และ แรงงานมีคุณภาพเหมือนๆกันหมด
Capital-output ratio : อัตราส่วนทุนต่อผลผลิต คิดโดย นำมูลค่าการใช้เครื่องมือเพื่อการผลิตตั้ง หารด้วย มูลค่าผลผลิตที่ได้นั้น
Capital stock : มูลค่าเครื่องมือที่มีอยู่ในเวลานั้น
Cartel : กลุ่มธุรกิจที่รวมกันเหมือนเป็นธุรกิจเดียว เพื่อหวังผลการผูกขาด
Central bank : ธนาคารกลาง หรือ ธนาคารชาติ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ธนาคารต่างๆ รวมทั้งรัฐบาล ได้กู้ยืมเงิน ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐบาล มีหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ให้บริหารงานไม่เกิดความเสียหายแก่สังคมด้วย และ มักมีหน้าที่ออกธนบัตร ควบคุมปริมาณเงินให้มีปริมาณพอเหมาะแก่เศรษฐกิจของประเทศ
Ceteris paribus : ปัจจัยอื่นคงที่ไว้ก่อน จะกล่าวถึงปัจจัยอย่างหนึ่งมีผลอย่างไร ตามศัพท์แปลว่า สิ่งอื่นทั้งหมดเท่ากัน (All other things being equal) ซึ่งไม่มีความหมายอะไร
Checking deposit : การฝากเงินแบบเขียนเช็คจ่ายเงินให้ผู้รับเช็คนำไปรับเงินได้
Closed economy : เศรษฐกิจปิด คือ ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการค้ากับต่างประเทศ บางทีเรียกว่า Autarky
Collectivized farm : นารวม การเกษตรร่วมกัน คือ เกษตรกรหลายคนร่วมกันบริหารงาน โดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม
Command economy, Central planned economy : เศรษฐกิจแบบที่มีรัฐบาลกำหนดผลผลิตและราคา เศรษฐกิจในประเทศคอมมิวนิตส์
Commodity money : เงินที่ใช้สินค้าเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ไม่สะดวก แต่อาจเหมาะในบางกรณี
Common market : ตลาดร่วม คือ กลุ่มประเทศร่วมกันเปิดการค้าเสรี ไม่เก็บภาษีกันในการค้าระหว่างกัน แต่กีดกันการค้าประเทศที่อยู่นอกกลุ่ม
Communism : ระบบเศรษฐกิจที่ให้ปัจจัยการผลิตทุกชนิดเป็นของส่วนรวม
Comparative advantage : การได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ คือ การที่ประเทศหนึ่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ผลิตสินค้าอย่างหนึ่ง โดยเสียโอกาสการผลิตสินค้าอีกอย่างหนึ่งน้อยกว่าประเทศอื่น แต่ถ้าผลิตสินค้าอีกอย่างหนึ่ง จะเสียโอกาสการผลิตสินค้าแรกมากกว่าประเทศอื่น
Competition : การแข่งขัน
Concentration ratio : อัตราการกระจุกตัว เป็นการวัดอำนาจการผูกขาดการค้าทางอ้อมอย่างหนึ่งคิดโดยนำมูลค่าการขายสินค้าอย่างหนึ่งของบริษัทหนึ่ง หารด้วย มูลค่าการขายสินค้าอย่างนั้นของธุรกิจทั้งหมดในตลาด ตัวตั้งอาจคิดเป็นกลุ่ม 4 ถึง 8 บริษัท แทนที่จะเป็นบริษัทเดียวก็ได้ แล้วแต่ความต้องการ
Constant returns : ผลตอบแทนคงที่จากการขยายขนาดการผลิต เช่น ขยายปัจจัยการผลิตทุกปัจจัยเป็น 5 เท่าของจำนวนปัจจัยเดิม ได้ผลผลิตก็เป็น 5 เท่าของปริมาณผลผลิตเดิม
Comsumer price index (CPI) : ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นการเปรียบเทียบราคาสินค้าบริโภคหลายชนิดในปัจจุบันเทียบกับในอดีตซึ่งถือเป็นปีฐาน (ปีที่เอาเป็นหลัก)
Consumers’ surplus : ส่วนเกินของผู้บริโภค คือ เงินที่ผู้บริโภคประหยัดลงได้กว่าที่ตั้งใจจ่าย เนื่องจากราคาตลาดต่ำกว่าราคาที่ตั้งใจยอมซื้อ
Consumption : การบริโภค คือ การได้กิน การได้ใช้ การได้สิทธิครอบครอง สินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์
Consumption function : ฟังค์ชันการบริโภค คือ การแสดงว่าค่าใช้จ่ายการบริโภคขึ้นอยู่กับสาเหตุใดบ้าง เช่น ขึ้นอยู่กับรายได้ อัตราดอกเบี้ย ค่านิยม เป็นต้น
Corporate income tax : ภาษีเก็บจากกำไรของบริษัท
Corporation : บริษัท
Cost-benefit analysis : การวิเคราะห์โครงการ เป็นการประเมินว่าโครงการนี้มีค่าใช้จ่ายเท่าไร ได้ผลประโยชน์เท่าไร ซึ่งอาจประเมินทั้งภายในโครงการและการเกี่ยวข้องรวมถึงส่วนอื่นๆของสังคม
Craft union : สมาคมอาชีพ รวมผู้ที่ประกอบอาชีพอย่างเดียวกันเป็นสมาชิกสมาคม
Cross-elasticity of demand, Cross-price elasticity of demand : ความยืดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์ เป็นความไวในการตอบสนองของความต้องการซื้อ เมื่อราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ไม่ใช่สินค้าที่ต้องการซื้อ) เปลี่ยนแปลงไป เช่น เมื่อราคาไก่เพิ่มขึ้น 1% ทำให้การซื้อปลาเพิ่มขึ้น 5% ความยืดหยุ่นไขว้เท่ากับ 5
Crowding-out effect : การหักล้างทำให้ไม่เกิดผลเต็มที่ เช่น เมื่อรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายบริโภคโดยรวมของประชาชนก็เพิ่มขึ้น แต่ไม่เพิ่มมาก เพราะว่าเมื่อรายได้ประชาชาติเพิ่ม ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่ม ประชาชนจึงซื้อสินค้าบริโภคลดลงบ้าง ไม่เพิ่มมากอย่างที่คาด
Currency : เงินที่มีรูปร่าง เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์
Current account balance : ดุลบัญชีเดินสะพัด คือ มูลค่าสินค้าออก ลบด้วย มูลค่าสินค้าเข้า บวกรายได้สุทธิของปัจจัยการผลิตที่อยู่ต่างประเทศ (เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไร นอกเหนือจากการค้าขายผ่านแดน) บวก เงินโอน (ให้เปล่า ช่วยเหลือ) สุทธิจากต่างประเทศ
Customs union : การตกลงร่วมมือกันเรื่องอัตราภาษีสินค้าผ่านแดนกันและกัน

Deadweight loss : การสูญเสียแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภค เนื่องจากการผลิตสินค้าออกมาขายมีจำนวนไม่เหมาะสม
Debt instrument : ตราสารหนี้ คือ เอกสารแสดงว่าใครเป็นหนี้ เป็นจำนวนเงินต้นเท่าไร อัตราดอกเบี้ยเท่าไร กำหนดชำระคืนเมื่อไร
Decreasing returns : ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นน้อยจากการขยายขนาดการผลิต เช่น ขยายปัจจัยการผลิตทุกปัจจัยเป็น 5 เท่าของจำนวนปัจจัยเดิม ได้ผลผลิตเป็น 3 เท่าของปริมาณผลผลิตเดิม
Deficit : สภาพที่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย
Deflation : สภาพเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าโดยทั่วไปต่ำลง
Demand : ความต้องการซื้อ บางตำราเรียกว่า อุปสงค์ แสดงเป็นจำนวนสินค้าหรือมูลค่าที่ซื้อสินค้า โดยกำหนดช่วงเวลากำกับไว้ เช่น ความต้องการซื้อข้าว 10 ตัน ในช่วง 1 เดือน
Demand curve : เส้นความต้องการซื้อ บางตำราเรียกว่า เส้นอุปสงค์ เป็นเส้นแสดงปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ เช่น ถ้าราคา 5 บาท ต้องการซื้อ 20 กล่อง ถ้าราคา 10 บาท ต้องการซื้อ 3 กล่อง เมื่อลากเส้นแสดงปริมาณซื้อที่ 2 ราคา นี้ก็เป็นเส้นความต้องการซื้อ
Demand for money : ปริมาณเงินที่พอดีซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในสังคมหมดพอดีในรอบปี (ตำราส่วนมากแปลว่า ความต้องการถือเงิน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เพราะปริมาณเงินที่ประชาชนต้องการถือย่อมไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้ไม่มีความหมายในการอธิบายปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ) ถ้ามีการใช้เงินซื้อสินค้าและบริการต่อๆกันไปหลายๆทอดอย่างรวดเร็ว ปริมาณเงินที่ประชาชนมีถืออยู่ก็ไม่ต้องมากก็สามารถซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในสังคมได้หมดพอดี ถ้าปริมาณเงินที่มีให้ประชาชนถือมีน้อยเกินไป สินค้าและบริการที่ผลิตได้ก็ขายไม่หมด ถ้ามีเงินถือมากเกินไป ก็เกิดการซื้อมากเกินไป ทำให้เกิดสภาพเงินเฟ้อ ธนาคารกลางจึงประมาณว่า ประชาชนและธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ควรมีเงินที่นำมาใช้จ่ายต่อๆกันไปเป็นปริมาณเท่าใดจึงพอดีซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในสังคมหมดพอดี
Demand function : การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อ กับ ปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดการซื้อเป็นปริมาณนั้น เช่น ปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อ ขึ้นอยู่กับ เกิดความต้องการสินค้านั้น มีเงินซื้อ ราคาสมคุณภาพ เป็นต้น หรือปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อ ขึ้นอยู่กับ ราคา รายได้ของผู้ซื้อ ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง และ ความนิยม เป็นต้น
Demand schedule : ตารางแสดงปริมาณจำนวนสินค้าที่ซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ
Depreciation : การเสื่อมค่า
Depression : เศรษฐกิจตกต่ำ เป็นสภาพที่เศรษฐกิจซบเซา สินค้าและบริการขายยาก คนว่างงาน มีหนี้มาก
Derived demand : ความต้องการซื้อต่อเนื่อง เช่น เมื่อมีความต้องการสินค้าและบริการสุดท้ายเพื่อบริโภค ทำให้กิดความต้องการต่อเนื่องที่จะต้องซื้อปัจจัยการผลิต หรือ อาจเป็นเรื่องอื่นๆที่มีความต้องการต่อเนื่องกันไปทำนองเดียวกันนี้
Developed countries : ประเทศร่ำรวยทางเศรษฐกิจ (แต่อาจยากจนเรื่องอื่น) ได้แก่ ประเทศอเมริกา ประเทศต่างๆในยุโรปตะวันตก ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์
Developing countries : ประเทศยากจน ประเทศกำลังพัฒนา ได้แก่ประเทศส่วนมากในเอเซีย อเมริกาใต้ อัฟริกา บางทีเรียกว่า ประเทศพัฒนาน้อย (less developed countries, LDCs) ประเทศด้อยพัฒนา (underdeveloped countries) ประเทศล้าหลัง (backward countries)
Diminishing marginal utility : ความพอใจต่อหน่วยสินค้าลดลงเมื่อบริโภคสินค้านั้นมากขึ้น
Diminishing returns : อัตราผลตอบแทนลดลง เมื่อใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นหนึ่งหน่วย ผลผลิตที่ได้รับจะลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปัจจัยการผลิตน้อยกว่านี้
Direct tax : ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ผู้ถูกเก็บต้องรับภาระเองโดยตรง ไม่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีเงินได้ประจำปี
Discount rate : อัตราการลดค่า ที่ทำให้มูลค่าของรายได้ในอนาคตกลับมาเป็นรายได้ปัจจุบัน ปกติ มักใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราลดค่า
Diseconomies of scale : สภาพการผลิตที่ต้นทุนเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อขยายการผลิตมากขึ้น
Disposable income : รายได้ที่ใช้จ่ายได้ คือ รายได้ของครัวเรือนหลังเสียภาษีเงินได้แล้ว สามารถนำไปใช้จ่ายได้
Dividends : เงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น
Division of labour : การแบ่งงานกันทำตามความสามารถ
Dumping : การทุ่มตลาด เพื่อให้คู่แข่งขันพ่ายแพ้หนีออกไปจากตลาด
Duopoly : ตลาดที่มีผู้ขายสองราย duo แปลว่า สอง
Economic profit : กำไรแบบเศรษฐศาสตร์ คือ การคิดกำไรโดยคิดค่าเสียโอกาส (ที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงิน เช่น ค่าเสียโอกาสค่าเช่าจากการใช้บ้านตัวเอง) เป็นต้นทุนด้วย ในปัจจุบันทางบัญชีก็คิดอย่างเศรษฐศาสตร์เหมือนกัน
Economic rent : ค่าเช่าแบบเศรษฐศาสตร์ เป็นส่วนเกินที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับผลตอบแทนมากว่าปกติ ซึ่งหากคิดจากความสามารถแท้ๆในการมีส่วนร่วมในการผลิตแล้ว เขาไม่ควรได้ค่าตอบแทนมากถึงเพียงนั้น เช่น ได้ค่าจ้างแพงเกินไป ศัพท์คำนี้ไม่ควรนำมาใช้ เพราะว่าทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย เป็นสำนวนที่ David Ricardo คิดใช้ขึ้น แล้วมีผู้รับมาใช้ต่อๆกัน
Economies of scale : การประหยัดจากการขยายการผลิต คือ เมื่อผลิตมากขึ้น ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง ซึ่งทำให้ธุรกิจใหญ่ได้เปรียบธุรกิจเล็กในเรื่องต้นทุนเฉลี่ยต่ำ (แต่ธุรกิจใหญ่ก็มีข้อเสียเปรียบธุรกิจเล็กในบางเรื่อง)
Economies of scope : การประหยัดจากการผลิตสินค้าหรือบริการหลายอย่าง คือ เมื่อผลิตสินค้าหลายอย่าง ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง เนื่องจากใช้ปัจจัยบางอย่างร่วมกันได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเล็กน้อย หรือไม่เพิ่มเลย หรือ สามารถใช้วัสดุเหลือใช้ที่จะต้องทิ้ง นำมาผลิตต่อ ก็ได้ผลผลิตอีกอย่าง นำมาขายได้รายได้เพิ่มมากกว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
Economy : เศรษฐกิจ คือ สภาพกิจกรรมการผลิต และ การซื้อขายสินค้า รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆ โดยทั่วไปของระบบการทำมาหากินของประชาชนทั้งหมด เช่น ระดับราคา สินค้าโดยทั่วไป การมีงานทำ ดุลการค้า การออมของครัวเรือนและธุรกิจ เป็นต้น
Effective exchange rate : อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยคิดรวมถ่วงน้ำหนักกับเงินตราต่างประเทศหลายสกุล
Efficiency wage : ค่าจ้างที่สูงกว่าค่าจ้างดุลยภาพ เพื่อจูงใจให้ลูกจ้างทำงานมีประสิทธิภาพคุณภาพดีขึ้น
Elastic : มีความไวตอบสนองมาก มีความยืดหยุ่นมาก ถ้าคำนวณก็ได้ค่าความยืดหยุ่นเกิน 1 (ไม่คิดเครื่องหมายลบ)
Emission tax : ภาษีมลภาวะ คิดตามปริมาณมลพิษที่ปล่อยออกสู่สาธารณะ
Endogenous variable : ตัวแปรที่ได้รับอิทธิพลจากตัวแปรอื่นๆในระบบเดียวกัน คือ มีค่ามากน้อยเพียงใดขึ้นกับค่าตัวแปรอื่นๆในระบบเป็นตัวกำหนด
Entrepreneur : เจ้าของกิจการ คนที่ไม่เป็นลูกจ้าง ได้รายได้จากกำไร (ถ้าโชคร้ายก็ขาดทุน)
Equilibrium : ดุลยภาพ สิ่งที่ต้องการ พอดีกับ สิ่งที่มีให้ หรือ มูลค่าทางด้านเข้าเท่ากับมูลค่าทางด้านออก หรือ การตกลงกันได้อย่างพอใจทุกฝ่ายจากการต่อรองกัน
Equilibrium price : ราคาที่ทำให้จำนวนสินค้าที่ผู้ซื้อต้องซื้อ เท่ากับ จำนวนสินค้าที่ผู้ขายต้องการขาย
Equilibrium quantity : จำนวนสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ เท่ากับ จำนวนสินค้าที่ผู้ขายต้องการขาย
Excess demand : จำนวนสินค้าที่ต้องการซื้อ มากกว่า จำนวนสินค้าที่ต้องการขาย
Excess supply : จำนวนสินค้าที่ต้องการขาย มากกว่า จำนวนสินค้าที่ต้องการซื้อ
Exchange rate : อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ เช่น 40 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
Excise tax : ภาษีคิดตามมูลค่าสินค้า เก็บตอนซื้อสินค้า
Exogenous variable : ตัวแปรนอกระบบที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่นๆในระบบ แต่ตัวแปรนี้ไม่ถูกกำหนดโดยตัวแปรอื่นในระบบ เพราะมันอยู่นอกระบบ แต่เข้ามามีอิทธิพลต่อระบบ (ควรอ่าน Endogenous variable เปรียบเทียบ)
Expected value : ค่าที่เกิดจาการทดลองซ้ำอินฟินิทีครั้ง แล้วนำมาเฉลี่ย (ถ้าแปลว่า ค่าที่คาดหวัง ก็จะเข้าใจผิดได้)
Export : การขายสินค้าหรือบริการไปสู่ต่างประเทศ
Externalities : ผลดีผลเสียที่เกิดขึ้นแก่สังคมนอกธุรกิจนั้น อันธุรกิจนั้นมิได้คำนึงถึงหรือไม่ได้รับผล เช่น ผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำ ทำให้เกิดน้ำเน่าน้ำเค็มเสียหายแก่ผู้อื่น ผลเสียหายนั้น เป็นผลที่เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น คนเลี้ยงกุ้งซึ่งเป็นต้นเหตุไม่ได้รับความเสียหาย (นอกจากถูกฟ้องร้อง) หรือ ในทางตรงข้ามธุรกิจบางอย่างทำให้ธุรกิจของคนภายนอกได้กำไรมากขึ้น มีงานทำมากขึ้น ก็เป็นผลดีเกิดขึ้นแก่สังคม เป็นผลภายนอกทาง บวก ผู้ผลิต และ ผู้ขายสุรา ทำให้เกิดผลเสียแก่สังคมมาก โดยตนไม่ต้องรับผิดชอบ เป็นผลภายนอกทางลบ เหล่านี้เป็น externalities
Face value : มูลค่าตามที่บอกไว้ในพันธบัตรหรือหุ้น
Factor, Factor of production : ปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องมือ แรงงานคน พลังงาน เวลา วัตถุดิบ เทคโนโลยี และ เจ้าของกิจการ ตำราส่วนมากกล่าวว่า ปัจจัยการผลิตได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน และ ผู้ประกอบการ ซึ่งปัจจัยเพียงแค่นี้ไม่พอที่จะผลิตสินค้าได้ในปัจจุบัน เป็นปัจจัยการผลิตสมัยโบราณที่ผลิตการเกษตรแบบดั้งเดิม
Fiat money : เงินตราที่ธนาคารกลาง (ได้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย) หรือผู้มีอำนาจเป็นผู้ออกให้ประชาชนใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ได้แก่ ธนบัตร และ เหรียญกษาปณ์
Final product : สินค้าขั้นสุดท้ายสำหรับผู้บริโภค มิใช่สินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต หรือ นำไปเป็นปัจจัยการผลิต
Financial capital : เงินที่ใช้ซื้อ เช่า สร้าง เครื่องมือการผลิต
Financial intermediary : สถาบันการเงินที่นำเงินของผู้ออมไปให้ผู้ลงทุนยืม
Firm : หน่วยธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน ธุรกิจเจ้าของคนเดียว
Fiscal policy : นโยบายการคลัง คือ นโยบายหารายได้จากภาษีหรือวิธีการอื่น และ นโยบายการใช้จ่ายเงินงบประมาณ มีผลสำหรับบริการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน บริหารจัดการให้สังคมโดยรวม และ มีผลพลอยได้กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
Fixed capital formation : การลงทุนในปัจจัยคงที่ เช่น อาคาร โรงงาน เครื่องจักรกล
Fixed cost : ต้นทุนคงที่ ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าที่ค่าใช้จ่ายนนี้ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนสินค้าที่ผลิต เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าเงินเดือนผู้จัดการ ค่าโฆษณา
Fixed factor : ปัจจัยคงที่ คือ ปัจจัยการผลิตสินค้าที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนสินค้าที่ผลิต เช่น อาคาร เครื่องจักรขนาดใหญ่ ผู้จัดการ
Flat tax : ภาษีที่คิดอย่างอัตราคงที่ตลอด
Foreign direct investment FDI : การลงทุนที่คนในประเทศหนึ่งลงทุนในอีกประเทศหนึ่ง โดยเข้าไปมีส่วนบริหารจัดการ มิใช่เพียงซื้อหุ้นเก็งกำไร
Foreign exchange : เงินตราต่างประเทศ
Free trade : การค้าเสรี หมายถึง การค้าระหว่างประเทศที่รัฐบาลไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกีดกันหรือเก็บภาษี
Free-trade area, FTA : เขตการค้าเสรี พื้นที่ที่ประเทศต่างๆตั้งแต่สองประเทศขึ้นไปตกลงกันให้มีการค้าเสรีระหว่างกัน โดยตกลงในขอบเขตเงื่อนไขว่าจะอนุญาตให้ค้าเสรีในสินค้าหรือบริการใดบ้าง โดยไม่กีดกัน ไม่เก็บภาษี ขณะเดียวกันก็กีดกันประเทศอื่นๆ โดย เก็บภาษี หรือ มีเงื่อนไขต่างๆกีดกัน
Frictional unemployment : การว่างงานตามปกติธรรมชาติ เนื่องจากมีการลาออกจากงานเพื่อหางานทำใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จะไม่เดือดร้อนรุนแรง
Fringe benefits : ผลประโยชน์เพิ่มเติมจากค่าจ้างที่เป็นเงิน
Futures market : ตลาดล่วงหน้า ซื้อไว้ก่อนส่งมอบสินค้ากันในอนาคต
GDP : ย่อจาก Gross Domestic Product ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หมายถึงมูลค่าของสินค้าและบริการสุดท้ายเพื่อการบริโภค และ สามารถขายได้ ที่ผลิตในประเทศ (ไม่ว่าเป็นของคนในชาติหรือคนต่างชาติ) คิดบัญชีในรอบหนึ่งปี รัฐบาลทุกประเทศมักนำค่า GDP มากล่าวหลอกประชาชนว่า GDP เติบโตมาก แสดงว่าเศรษฐกิจของประเทศดีมาก ที่จริงอาจเป็นเศรษฐกิจดีของคนต่างชาติหรือของกลุ่มคนจำนวนน้อย ประชาชนทั่วไปอาจยากจนยิ่งขึ้นทั้งที่ค่า GDP สูงมากๆก็ได้

GDP deflator : ตัวลดค่า GDP ที่คิดเป็นเงินลง เพื่อให้เป็นค่า GDP มองในสภาพแวดล้อมเรื่องราคา อย่างปีฐาน หรืออาจกล่าวว่าเป็นการทำค่า GDP ในรูปของเงิน เป็น GDP ในรูปที่แท้จริง (real GDP) คือเป็นค่าในเชิงวัตถุ ปกติใช้ดัชนีราคาเป็นตัวปรับค่า GDP
Giffen good : สินค้าด้อยคุณภาพ ตามความคิดของ Giffen ที่กล่าวว่า สินค้าด้อยคุณภาพบางอย่างมีลักษณะประหลาด เมื่อราคาสูงขึ้นคนก็ซื้อมากขึ้น ความคิดของ Giffen ไม่ดีต่อการเรียนเศรษฐศาสตร์ ทำให้นักศึกษาสับสน Giffen ยกตัวอย่าง ขนมปังยิ่งแพง คนยิ่งซื้อมาก ที่จริงแล้ว อาหารอย่างอื่นก็แพง ขนมปังก็แพง แต่แพงน้อยกว่าอาหารอย่างอื่น ฉะนั้นโดยเปรียบเทียบแล้ว ขนมปังราคาถูกลง เมื่อเทียบกับสินค้าอื่น เมื่อราคาถูกลง คนก็ซื้อมากขึ้น ไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์อย่างใด
Gini coefficient : สัมประสิทธ์จินิ เป็นตัวเลขบอกความแตกต่างของรายได้ของประชาชนในสังคม ถ้าค่า 0 แปลว่าทุกคนมีรายได้เท่ากัน ถ้ากับ 1 แปลว่ารายได้ทั้งหมดอยู่กับคนคนเดียว นอกนั้นไม่มีรายได้เลย
Globalization : ถึงกันทั่วโลก เนื่องจากการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพขึ้น และ ความพยายามที่ประเทศต่างๆต้องการค้าขายและมีผลประโยชน์ข้ามชาติ ทำให้เกิดความเกี่ยวข้องถึงกันทั่วโลก
GNP : ย่อจาก Gross National Product ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หมายถึงมูลค่าของสินค้าและบริการสุดท้ายเพื่อการบริโภค และ สามารถขายได้ ที่คนของชาตินั้น (คนไทย) ผลิตได้ทั้งอยู่ในประเทศ หรือที่อยู่นอกประเทศ คิดบัญชีในรอบหนึ่งปี
Goods : สินค้า
Gross Domestic Product : คือ GDP โปรดอ่านความหมายของ GDP
Gross investment : การลงทุนรวม หมายถึงปริมาณเงินลงทุนเพื่อสร้างหรือซื้อเครื่องมือการผลิตใหม่ และเพื่อซ่อมแซมเครื่องมือการผลิตเดิมที่ชำรุด
Hedge : การลดการเสี่ยงอันเนื่องจากราคา เป็นวิธีการซื้อโดยทำสัญญาว่าจะซื้อขายกันในอนาคตด้วยราคาที่ตกลงกันไว้นี้
High-powered money : เงินที่ธนาคารกลางสามารถควบคุมปริมาณได้ ได้แก่ เงินสด (ธนบัตร เหรียญกษาปณ์)ในมือประชาชน เงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ที่ถูกบังคับให้มี และ เงินกู้จากธนาคารกลาง
Human capital : สตอคทุนมนุษย์ คือ ความรู้ความสามารถที่อยู่ในตัวคนทำงานในประเทศหนึ่งๆ มักเกิดจากการศึกษา ฝึกฝน และ ค่านิยมของคนในชาติ
Hyperinflation : เงินเฟ้อรุนแรง
Identification problem : ปัญหาการบ่งชี้สมการ เป็นปัญหาทางสถิติที่เกิดขึ้นในระบบที่มีสมการหลายสมการ ซึ่งไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าสมการที่สร้างขึ้นเป็นสมการอะไร เช่น เป็นสมการอุปสงค์ หรือสมการอุปทาน
IMF : ย่อจาก International Monetary Fund โปรดอ่าน International Monetary Fund
Import : การซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศ
Import substitution : การผลิตเพื่อทดแทนสินค้านำเข้า
Income-consumption curve : เส้นแสดงการบริโภคเพิ่มขึ้นเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น เป็นเส้นลากต่อจุดสัมผัสหลายจุดของเส้นความพอใจเท่ากันกับเส้นงบประมาณ
Income effect : ผลจากรายได้ ที่ทำให้บริโภคสินค้ามากขึ้นเมื่อรายได้มากขึ้น
Income elasticity of demand : การตอบสนองของการซื้อสินค้าเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลง เช่น เมื่อรายได้ลดลง 1% ทำให้จำนวนซื้อสินค้าลดลง 3% การตอบสนองของการซื้อสินค้าเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงเท่ากับ 3
Increasing returns : ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากจากการขยายการผลิต เช่น ขยายการผลิต โดยใช้ปัจจัยทุกอย่างเป็น 2 เท่าของปัจจัยเดิม ได้ผลผลิตเป็น 3 เท่าของผลผลิตเดิม
Indifference curve : เส้นความพอใจเท่ากัน เป็นเส้นลากต่อจุดหลายจุดที่ปรับปริมาณการบริโภคสินค้า 2 อย่างเป็นสัดส่วนต่างกัน แต่ให้ความพอใจแก่ผู้บริโภคเท่ากัน
Indirect tax : ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้ (อาจผลักภาระได้มากหรือน้อย)
Industrialized country : ประเทศที่มีอุตสาหกรรมเป็นหลักของรายได้ทั้งประเทศ
Industry : กลุ่มธุรกิจที่ผลิตสินค้าเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน ในความหมายนี้ ไม่ควรแปลว่า อุตสาหกรรม เพราะว่าทำให้เข้าใจผิดได้ง่าย
Inelastic : การตอบสนองไม่ไว ปกติค่าความยืดหยุ่นต่ำกว่า 1 (ไม่คิดเครื่องหมาย) เช่น ราคาเพิ่มขึ้น 1% จำนวนสินค้าที่ซื้อลดลงน้อยกว่า 1%
Infant industry : อุตสาหกรรมเริ่มแรกตั้ง
Inferior good : สินค้าด้อยคุณภาพ เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคลดการซื้อ เมื่อเขามีรายได้เพิ่มขึ้น
Inflation : เงินเฟ้อ เป็นสภาพเศรษฐกิจที่สินค้าหลายๆอย่างมีระดับราคาเพิ่มขึ้น
Inflationary gap : รายได้ที่มากเกินปกติเนื่องจากเงินเฟ้อ บางตำราแปลว่า ช่องว่างเงินเฟ้อ คือ รายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศมากเกินความสามารถของประเทศ แต่มากขึ้น เพราะว่าเกิดเงินเฟ้อ มีแต่โทษ ไม่มีประโยชน์ใดๆ เป็นเพียงภาพลวงตา
Infrastructure : โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำให้เศรษฐกิจเจริญขึ้น เช่น การขนส่ง การคมนาคม การชลประธาน พลังงาน
Innovation : การใช้ความรู้ใหม่เพื่อสร้างผลผลิตใหม่หรือผลผลิตที่มีคุณภาพดีขึ้น บางคนแปลว่า นวัตกรรม ซึ่งคนส่วนมากอ่านแล้วก็ไม่เข้าใจ (ควรเลิกลัทธิแปลภาษาต่างประเทศ เป็นภาษาต่างประเทศ เสียเวลาเปล่าโดยไม่มีประโยชน์ คนทั้งหลาย ไม่ควรยอมรับคำแปลแบบนี้)
Input : ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ
Intellectual property : ทรัพย์ในหัว ทรัพย์สินทางปัญญา คือ สิทธิที่เกิดจากการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆขึ้น รวมทั้งงานเขียน ความรู้ความสามารถเช่นนี้นำไปขายเป็นเงินได้เหมือนมีทรัพย์อยู่ในหัว
Interest : ดอกเบี้ย เป็นค่าเช่าเงินเมื่อนำเงินของผู้อื่นมาใช้จ่าย ภายหลังก็นำเงินไปคืน พร้อมทั้งค่าเช่าที่เราเรียกเป็นภาษาเฉพาะว่า“ดอกเบี้ย”
Intermediate product, Intermediate good : ผลผลิตที่ยังไม่สำเร็จรูป ผลผลิตระหว่างกลาง ผลผลิตกึ่งสำเร็จรูป
Internal economies : การขยายกิจการจากการใช้ปัจจัยที่มีอยู่แล้วภายในหน่วยธุรกิจ
Internatonal Monetary Fund : ย่อเป็น IMF กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นองค์การระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อแก้ปัญหาประเทศที่ขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ (ซึ่งจำเป็นสำหรับซื้อสินค้าและบริการของต่างประเทศ) โดยการให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศหรือชักชวนให้ประเทศที่มีเงินตราต่างประเทศมากให้กู้
Inventory : สินค้าคงเหลือที่ผลิตแล้วยังไม่ได้จำหน่าย
Investment : การลงทุน มีหลายความหมาย ความหมายที่ตรงที่สุดทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึงการจ่ายเงินเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการขึ้นมาใหม่ บางทีหมายถึง การเสียสละความสะดวกสบายในปัจจุบันเพื่อสร้างความสามารถให้หารายได้ได้มากในอนาคต เช่น การศึกษา ส่วนนักการพนันให้ความหมายในทางการซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไร เรียกว่าการลงทุนทางการเงิน ซึ่งไม่ใช่ความหมายของการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์
Invisible hand : มือที่มองไม่เห็น เป็นความคิดของนักเศรษฐศาสตร์อังกฤษ ชื่อ Adam Smith กล่าวว่า เมื่อปล่อยให้การค้าขายในตลาดเป็นไปอย่างเสรี รัฐบาลไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวแทรกแซง กลไกตลาดจะทำงานของมันเอง โดยกิเลสความอยากของมนุษย์จะชักจูงให้คนผลิตสินค้าออกมามาก เศรษฐกิจของประเทศก็เจริญ ซึ่งภายหลังทฤษฎีนี้ถูกคัดค้าน เพราะว่าถ้าปล่อยเสรี คนที่แข็งแรงในทางเศรษฐกิจจะเอาเปรียบคนที่อ่อนแอกว่า และประโยชน์ที่มากขึ้นของคนเพียงบางคน อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นได้ ฉะนั้นรัฐบาลจึงควรแทรกแซงเศรษฐกิจ
Involuntary unemployment : การว่างงานโดยไม่สมัครใจ หมายความว่า ต้องการทำงาน ณ ระดับค่าจ้างและผลตอบแทนระดับนั้นๆ แต่หางานทำไม่ได้
IS curve : เส้นดุลยภาพในตลาดสินค้า เป็นสภาพดุลภาพเมื่อไม่มีรัฐบาล ไม่มีการค้าต่างประเทศ เกิดจากสมมุติฐานว่า I = S (ซึ่งไม่จริง แม้เศรษฐกิจปิด และไม่มีรัฐบาล เป็นความเชื่อผิดตามท่าน John Maynard Keynes)
Iso-cost line : เส้นต้นทุนเท่ากัน โดยใช้ปัจจัยการผลิต 2อย่าง ที่ปรับสัดส่วนต่างๆแล้วเสียเงินเท่ากัน
Isoquant : เส้นผลผลิตเท่ากัน โดยใช้ปัจจัยการผลิต 2อย่าง ที่ปรับสัดส่วนปัจจัยสองอย่างแล้วได้ผลผลิตเท่ากัน
Labour : แรงงาน หมายถึงแรงงานกล้ามเนื้อ และ ความคิด ของมนุษย์ ที่ใช้เพื่อการผลิตสินค้าและบริการ
Labour force : กำลังแรงงาน มักหมายถึงจำนวนคนที่ทำงานได้
Labour intensive : การผลิตที่ใช้แรงงานมาก ใช้เครื่องจักรน้อย (ใช้ทุนน้อย)
Labour productivity : ผลผลิตต่อแรงงานหนึ่งหน่วย เช่น คนหนึ่งคนทำงานหนึ่งวัน ได้ผลผลิต 15 ชิ้น
Labour saving : ประหยัดแรงงาน หมายถึงการผลิตที่ลดแรงงานลง ใช้ปัจจัยอื่น (เช่น เครื่องจักร หรือ คอมพิวเตอร์) เพิ่มขึ้น
Life-cycle model : ความเชื่อว่าผู้บริโภคจะใช้จ่ายบริโภคในปัจจุบันมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความคาดหมายว่าเขาจะมีรายได้ตลอดชีวิตสักเท่าไร ยิ่งกว่าขึ้นอยู่กับรายได้ปัจจุบัน ซึ่งความคิดแนวนี้ไม่ค่อยมีผู้เห็นด้วย
Liquidity : สภาพคล่อง คือ ความง่ายในการเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นเงิน
Liquidity preference : ความชอบที่จะถือเงินสดยิ่งกว่าถือทรัพย์สินที่ได้ดอกเบี้ย หมายความว่า อยากถือเงินสดไว้มากกว่าปล่อยให้กู้
LM curve : เส้นดุลยภาพในตลาดเงิน เป็นสภาพดุลภาพเมื่อเงินที่ประชาชนควรมีถือในมือ หรือหยิบฉวยมาได้ง่าย เท่ากับ เงินที่มีให้ประชาชนถือจริง เกิดจากสมมุติฐว่า L = M คือ เงินที่ประชาชนควรมีถือในมือ หรือหยิบฉวยมาได้ง่าย เท่ากับ เงินที่มีให้ประชาชนถือจริง
Long run : การพิจารณาเป็นระยะยาว เป็นการพิจารณาต้นทุนหลายเวลาพร้อมกัน แต่ละเวลาก็มีต้นทุนคงที่ ซึ่งไม่เท่ากัน แต่นำมาคิดรวมเป็นต้นทุนรวมและต้นทุนเฉลี่ย
Lorenz curve : เส้นแสดงความแตกต่างรายได้ของคนในสังคม
M0 : ปริมาณเงินสดในมือประชาชนนอกสถาบันการเงิน บวก จำนวนเงินที่สถาบันการเงินฝากไว้กับธนาคารกลาง บางทีเรียกว่า ฐานเงิน (monetary base) บางทีเรียกว่า เงินพลังสูง (high-power money) ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือเพิ่มลดปริมาณเงินได้ง่าย
M1 : เงินในความหมายอย่างแคบ (narrow money) เป็นเงินที่ใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ (เศษสตางค์) ธนบัตร เช็ค และ ตั๋วแลกเงินสำหรับนักเดินทาง (travelers’ check)
M2 : เงินในความหมายอย่างกว้าง (broadmoney) บางทีเรียกว่า สิ่งที่แปลงเป็นเงินได้ง่าย (near-money) ได้แก่ M1 บวกกับ เงินฝากออมทรัพย์กับธนาคาร (บางธนาคารเรียกว่า เงินฝากสะสมทรัพย์) บวกกับเงินฝากประจำ บวกกับทรัพย์สินทางการเงินอื่นๆที่เปลี่ยนเป็นเงินได้แต่อาจเสียเวลาบ้าง เช่น กองทุนซื้อหุ้นที่มอบให้สถาบันการเงินจัดการให้ เป็นต้น การแบ่ง M1, M2, …. นี้ ไม่มีมาตรฐานแน่นอน บางตำราแบ่งซอยถึง M8 ซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณีไป
Macroeconomics : เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาถึงเรื่องเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เช่น รายได้ประชาชาติ การมีงานทำ เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ดุลการค้า ดุลการชำระเงิน การเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
Managed float : การปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นไปตามกลไกตลาด แต่ธนาคารกลางก็เข้าแทรกแซงบ้างตามควร
Mandated benefit : ส่วนของกำไรที่กฎหมายบังคับให้ต้องแบ่งให้ลูกจ้างของบริษัท (ไม่พบในประเทศไทย)
Marginal cost (MC) : ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มผลผลิตขึ้นอีก 1 หน่วย (หรือลดลงในทางกลับกัน)
Marginal efficiency of capital : อัตราผลตอบแทนของทุน ควรใช้คำว่า rate of return of capital จะตรงกว่า เพราะว่าคำนี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ marginal ซึ่งคือการเอาส่วนเพิ่มมาหารกัน
Marginal product (MP) : ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่งขึ้นอีก 1หน่วย (หรือลดลงในทางกลับกัน)
Marginal physical product (MPP) : เหมือน marginal product
Marginal propensity to consume (MPC): ค่าใช้จ่ายบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย
Marginal propensity to import (MPM, MPI) : ค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย
Marginal propensity to save (MPS) : ปริมาณเงินออมที่เพิ่มขึ้นเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น 1 หน่วย

(มีต่อครับ)


Create Date : 02 กรกฎาคม 2554
Last Update : 2 กรกฎาคม 2554 16:15:11 น. 3 comments
Counter : 7107 Pageviews.

 
(ต่อครับ)
Marginal rate of substitution (MRS) : อัตราการทดแทนกันของปัจจัยการผลิต คือ เมื่อเอาปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่งออกไป 1 หน่วย จะต้องนำปัจจัยอีกอย่างหนึ่งมาแทนกี่หน่วย จึงได้ผลผลิตเท่าเดิม ซึ่งก็คือความชัน (slope) ของเส้น isoquant นั่นเอง
Marginal rate of transformation : อัตราการเปลี่ยนแปลงผลผลิต คือ เมื่อลดผลผลิตอย่างหนึ่งลง 1 หน่วย จะมีโอกาสได้ผลผลิตอีกอย่างหนึ่งเพิ่มขึ้นเท่าไร โดยใช้ทรัพยากรการผลิตเท่าเดิม ซึ่งก็คือความชันของเส้นเป็นไปได้ในการผลิตนั่นเอง (production possibility curve)
Marginal revenue (MR) : รายได้เพิ่มจากการขายผลผลิตเพิ่มอีกหนึ่งหน่วย ในช่วงเวลาหนึ่ง ในทางคณิตศาสตร์ก็คือ การทำ derivative รายได้รวม เทียบกับ ปริมาณสินค้าที่ขาย (dTR / dQ)
Marginal revenue product (MRP) : รายได้เพิ่มจากการเพิ่มการใช้ปัจจัยการผลิตอีกหนึ่งหน่วย ในช่วงเวลาหนึ่ง ในทางคณิตศาสตร์ก็คือ การทำ derivative รายได้รวม เทียบกับปริมาณปัจจัยการผลิตที่ใช้(dTR / dX) โปรดอ่านเปรียบเทียบกับ Marginal revenue (MR)
Marginal tax rate : มูลค่าภาษีทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น 1 บาท
Marginal utility (MU): ความพอใจเพิ่มจากการบริโภคสินค้าเพิ่ม 1หน่วย ในทางปฏิบัติวัดค่าไม่ได้ นอกจากทำแบบฝึกหัดลับสมองเล่น
Market : ตลาด หมายถึง การที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อสินค้าหรือบริการกัน หรือพื้นที่ที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อสินค้าหรือบริการกัน
Market economy : ลักษณะเศรษฐกิจที่ประชาชนผลิตสินค้าแล้วนำมาซื้อขายกัน ลักษณะเศรษฐกิจที่ประชาชนต้องซื้อสินค้ามาบริโภค แทนที่จะผลิตเอง
Maturity : ระยะเวลาที่ครบกำหนดต้องชำระหนี้หรือซื้อคืน
Medium of exchange : สื่อกลางการแลกเปลี่ยน เป็นสิ่งที่ผู้ขายยอมรับเป็นค่าตอบแทนในการขายสินค้า
Mercantilism : พาณิชย์นิยม ความเชื่อว่าเศรษฐกิจของชาติจะเจริญได้ดีจากการค้าขายกับต่างประเทศให้เกินดุลการค้า สมัยโบราณจะได้เป็นทองคำ แล้วเก็บทองคำไว้ให้มากเศรษฐกิจจะเจริญ
Merger : การรวมกิจการสองกิจการหรือหลายกิจการเข้าด้วยกัน
Microeconomics : เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาถึงเรื่องเศรษฐกิจของเอกชนรายเดียวหรือกลุ่มเดียว เช่น การบริโภคของครัวเรือนหนึ่ง การผลิตและกำไรของธุรกิจเดียว ตรงข้ามกับ macroeconomics
Monetarism : นักการเงินนิยม ผู้ที่มีความคิดว่า เรื่องการเงินมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมมาก (คือ เศรษฐกิจของประชาชนทั้งหลาย) ควรใช้นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือควบคุมเศรษฐกิจของประเทศ
Monetary base : ฐานเงิน หมายถึง ทรัพย์สินทางการเงินของรัฐบาลที่ประชาชนถืออยู่ ได้แก่ ธนบัตรและเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ บางทีเรียกว่า high-powered Money เงินที่มีอำนาจสูง
Monetary policy : นโยบายการเงิน คือ การเพิ่มลดปริมาณเงินในมือประชาชน อัตราดอกเบี้ย และการให้กู้ยืม เพื่อให้เกิดผลทางเศรษฐกิจของประเทศ
Money : เงินตรา สิ่ง (ใดก็ได้) ที่ประชาชนยอมรับเพื่อแลกกับสินค้าหรือบริการ
Money income : รายได้ของครัวเรือนที่วัดเป็นตัวเลขเงิน เช่น เดือนละ 10,000 บาท
Money market : ตลาดเงิน คือ ตลาดที่ให้กู้เงินระยะสั้น ตรงข้ามกับ capital market ตลาดทุน
Money multiplier : จำนวนเท่าของจำนวนเงินที่ทวีขึ้นจากฐานเงิน
Money supply : ปริมาณเงินที่มีให้ประชาชนนอกสถาบันการเงินถือ ถ้าเป็นธนบัตร บวก เหรียญกษาปณ์ บวก เช็ค ก็เรียกว่า M1 หรืออาจเรียกรวมความหมายอย่างกว้างออกไป รวมเอา เงินฝากออมทรัพย์ ตํ๋วเงินกู้ในตลาดเงิน หรือสิ่งใดที่เปลี่ยนเป็นเงินได้โดยไม่ยากเกินไป ก็เรียกว่า M2, M3 … ตามลำดับ
Monopolistic competition : ลักษณะกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดของตลาด ผู้ขายมีอำนาจตั้งราคาได้บ้าง มีคนขายมาก เข้าออกจากตลาดได้ง่าย แต่ผลผลิตมีลักษณะต่างกัน
Monopoly : ลักษณะตลาดที่มีผู้ขายรายเดียว
Monopsony : ลักษณะตลาดที่มีผู้ซื้อคนเดียว
Multiplier : ตัวทวี อัตราส่วนของ มูลค่าที่เพิ่มขึ้นของสิ่งหนึ่ง จากการเพิ่มขึ้นของสิ่งหนึ่ง
Multiplier accelerator theory : ทฤษฎีตัวเร่งตัวทวี ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มหภาค ที่กล่าวว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นชักจูง(เร่ง)ให้เกิดการลงทุน เมื่อลงทุนเพิ่มขึ้น ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น
Nash equilibrium : ดุลภาพแน็ช เป็นดุลภาพในวิชา Game theory ที่ John Nash คิดขึ้น แสดงสภาวะดุลยภาพเมื่อแต่ละธุรกิจพยายามทำดีที่สุด ภายใต้สภาพกลไกผลประโยชน์ที่เป็นอยู่นั้นของธุรกิจอื่นที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง
National debt : หนี้ของชาติ หนี้ของรัฐ เป็นภาระที่รัฐบาลต่างๆสร้างสะสมไว้จนปัจจุบัน ในรูปเงินกู้ การค้ำประกัน การซื้อล่วงหน้า การถูกปรับ หรือ ภาระอื่นๆ ซึ่งเป็นภาระที่คนในชาติต้องร่วมกันรับ
National income (NI) : รายได้ประชาชาติ รายได้ของทุกคนในชาติรวมกัน คิดจากรายได้ที่เป็นค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และ กำไร ของคนชาติเดียวกันรวมกันทั้งหมด มีวิธีคำนวณทางอ้อมด้วย
Nationalization : รัฐบาลเอาสมบัติของเอกชนมาเป็นของรัฐ
Near money : สิ่งที่เปลี่ยนเป็นเงินง่าย เป็นหลักทรัพย์ทางการเงิน (financial asset)ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้โดยไม่ลดค่าง่าย เช่น พันธบัตรรัฐบาล
Net domestic product (NDP) : ผลิตภัณฑ์ในประเทศสุทธิ คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ลบด้วย ค่าเสื่อมของเครื่องมือการผลิต (depreciation or capital consumption)
Net investment : มูลค่าการลงทุนสุทธิ เท่ากับ มูลค่าการลงทุนรวม (gross investment) ลบด้วยมูลค่าเสื่อมของเครื่องมือการผลิต (การลงทุนทดแทนเครื่องมือที่ชำรุด)
Newly industrialized countries (NICs) : ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ประเทศที่เคยยากจนมาก่อน ต่อมาได้พัฒนาเศรษฐกิจจนประชาชนของตนเองมีเทคโนโลยีของตนเองในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมได้มาก
Normal good : สินค้าธรรมดา คือ สินค้าที่ผู้ซื้อจะซื้อมากขึ้นเมื่อเขามีรายได้มากขึ้น ตรงข้ามกับสินค้าด้อยคุณภาพ (inferior good) ที่ผู้ซื้อจะซื้อน้อยลงเมื่อเขามีรายได้มากขึ้น
Nominal : ที่ปรากฏอยู่ในสายตา ที่เห็นอยู่โดยยังไม่ได้ปรับอิทธิพลแฝง เช่น Nominal interest rate
Nominal interest rate : อัตราดอกเบี้ยที่เป็นอยู่ในตลาดในรูปของตัวเงิน ยังไม่หักลดอัตรานั้นด้วยอัตราเงินเฟ้อ ตรงข้ามกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (real interest rate)
Non-renewable resources : ทรัพยากรที่หมดได้ คือ เมื่อใช้ไปแล้วไม่สามารถหาทรัพยากรนั้นกลับคืนมาได้อีก เช่น แร่ธาตุทุกชนิด
Non-tariff barrier : การกีดกันมิให้สินค้าต่างประเทศเข้ามาขาย โดยใช้วิธีการกีดกันที่ไม่ใช่วิธีการทางภาษี เช่น ตั้งมาตรฐานสินค้าสูงเกินไป กำหนดโควต้า มีวิธีการที่จุกจิก เป็นต้น
Normal good : สินค้าธรรมดา ซึ่งผู้ซื้อจะซื้อมากขึ้นเมื่อเขามีรายได้เพิ่มขึ้น ตรงข้ามกับสินค้าด้อย (inferior good)
Normal profit : กำไรแบบชาวบ้าน ที่ไม่คิดค่าเสียโอกาสเป็นต้นทุนด้วย ทำให้รู้สึกว่ามีกำไรมากกว่าที่คิดแบบเศรษฐศาสตร์ ซึ่งต้องคิดค่าเสียโอกาสของปัจจัยการผลิตเป็นส่วนของต้นทุนด้วย
Normative economics : เศรษฐศาสตร์ที่ให้ความสำคัญเรื่องคุณค่า ความดีความชั่ว และ ทางเลือกว่าดีหรือไม่ดี ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ส่วนมากในปัจจุบันมักละเลย โดยอ้างว่า เป็นเรื่องของความคิดเห็นค่านิยม (value judgement) ซึ่งไม่มีมาตรฐานแน่นอน เช่น สมควรตำหนิคนคิดดอกเบี้ยหรือไม่ เป็นต้น การไม่ให้ความสำคัญแก่ normative เป็นเรื่องน่าเสียดาย ทำให้มนุษย์ละเลยจริยธรรม และเป็นพวกวัตถุนิยมกันมากขึ้น คำนี้ตรงข้ามกับ positive economics
OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) : องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ประเทศสมาชิกส่วนมากอยู่ในยุโรป และ อเมริกา
Oligopoly : ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย
Open economy : เศรษฐกิจเปิด หมายถึงประเทศที่มีการค้ากับต่างประเทศ
Open-market operation : การเปิดตลาดซื้อขายพันธบัตรหรือตราสารหนี้อื่นๆของธนาคารกลาง (ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับประเทศไทย) ซึ่งเล็งผลต่อการเพิ่มลดปริมาณเงินในมือประชาชน (เงินนอกสถาบันการเงิน) และ ปรับเพิ่มลดอัตราดอกเบี้ย
Opportunity cost : ค่าเสียโอกาส เป็นต้นทุนที่ไม่เป็นตัวเงิน แต่ไม่ได้เงินที่ควรจะได้จำนวนหนึ่ง เงินจำนวนที่ควรจะได้นั้นคือค่าเสียโอกาส เช่น เรามีบ้านให้เช่า ได้กำไรจากกิจการบ้านเช่าเดือนละ 5,000 บาท บัดนี้นำบ้านมาเปิดร้านค้าเอง เราก็ขาดเงินค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท ฉะนั้นค่าเสียโอกาสคือ เดือนละ 5,000 บาท ให้นำไปคิดเป็นต้นทุนของธุรกิจด้วย ควรคิดจากหนทางที่จะได้เงินมากที่สุด
Output : ผลผลิตที่ได้จากการผลิต
Pareto efficiency, Pareto optimality : ประสิทธิภาพแบบพาเรโท ดีที่สุดแบบพาเรโท สถานการซึ่งไม่สามารถทำให้ดีขึ้นได้อีกจากการเปลี่ยนแปลง หมายความว่า ถึงจุดที่ดีที่สุดแล้ว เพราะว่าเป็นไปไม่ได้อีกแล้วที่จะทำให้คนหนึ่งดีขึ้น โดยไม่ทำให้คนอื่นเลวลง
Permanent income model : แนวคิดเรื่องปัจจัยรายได้ที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายบริโภค กล่าวว่า รายได้ที่ได้อยู่ประจำแน่นอน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบริโภคมากกว่ารายได้ที่ได้ฉาบฉวยชั่วคราว แนวคิดนี้มีผู้สนับสนุนและคัดค้าน
Per-unit tax, specific tax : ภาษีรายชิ้น ภาษีที่เก็บตามจำนวนชิ้น ไม่คิดราคา เช่น เก็บภาษีชิ้นละ 5 บาท ตรงข้ามกับ ad valorem tax
Perfect competition : แข่งขันสมบูรณ์ เป็นลักษณะตลาดที่ไม่มีผู้ขาย(หรือผู้ซื้อ)รายใดมีอิทธิพลจนสามารถกำหนดราคาสินค้าได้เลย ราคาจะเป็นเท่าไรขึ้นอยู่กับการต่อรองร่วมกันในตลาด และมีราคาเดียวในตลาด
Permanent income : รายได้ถาวร คือ รายได้ที่เป็นปกติธรรมดา ไม่คิดรวมรายได้ฉาบฉวยที่ได้เป็นครั้งคราว เช่น เงินรางวัลพิเศษ หรือการสูญเสียชั่วคราว เช่น ค่ารักษาการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ไม่คาดฝัน
Permanent income theory : ทฤษฎีที่เชื่อว่า ค่าใช้จ่ายบริโภคของคนขึ้นอยู่กับรายได้ถาวรมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับรายได้ที่ได้มาชั่วคราวหรือรายจ่ายที่เสียไปชั่วคราว
Personal disposable income (PDI) : รายได้ของบุคคลหลังเสียภาษีทางตรง (ภาษีเงินได้) แล้ว
Personal income : รายได้ส่วนบุคคล เป็นรายได้ที่บุคคลได้รับจากค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไร ยังไม่ชำระภาษีเงินได้
Personal income tax : ภาษีรายได้ส่วนบุคคล เป็นการเก็บภาษีจากบุคคลแต่ละคนที่มีรายได้จากค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย กำไร หรือ รายได้อื่นใด เช่น เงินรางวัล ค่าลิขสิทธิ์ เป็นต้น
Phillips curve : โค้งฟิลลิปส์, เส้นฟิลลิปส์ เป็นเส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการว่างงานกับเงินเฟ้อ คือ ถ้าเงินเฟ้อมาก จะว่างงานน้อย คิดโดย A. W. Phillips ซึ่งมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นความจริงเสมอไป
Planned expenditure : มูลค่าที่ประชาชนวางแผนว่าจะใช้จ่าย
Point elasticity : ความยืดหยุ่นคิดเป็นจุด คือ ความไวของผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเหตุ คิด ณ จุดใดจุดหนึ่ง วิธีการทางคณิตศาสตร์ใช้วิธี calculus คือ (dy/dx)/(x/y) เมื่อ x คือ ตัวแปรเหตุ y คือ ตัวแปรผล
Poll tax : ภาษีที่คิดจำนวนเท่ากันทุกคน (ไม่ใช่อัตราเท่ากัน แต่เสียภาษีเท่ากัน) เช่น คนละ 1,000 บาท เป็นภาษีในการปกครอง เรียกเก็บจากพลเมือง
Portfolio : บัญชีการถือหุ้น เอกสารที่แสดงทรัพย์สิน
Portfolio investment : การซื้อหุ้นหวังเก็งกำไรขายต่อ ไม่เป็นการลงทุนเพื่อตั้งใจทำธุรกิจ
Positive economics : เศรษฐศาสตร์ซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผล เช่น ถ้าทำอย่างนี้ จะเกิดผลอะไรขึ้น จึงไม่รวมเอาเรื่องที่เกี่ยวกับ “ควรจะทำ - ought to do” (ซึ่งเรียกว่า normative economics) ไม่กล่าวถึงนโยบายที่ควรจะทำ ไม่กล่าวถึงคุณธรรม นักเศรษฐศาสตร์สมัยปัจจุบัน ไม่กล้าที่จะกล่าวถึง normative economics ทำให้ละเลยคุณธรรม เมตตาธรรม โดยพวกนี้จะอ้างว่าเป็นเรื่องอารมณ์เฉพาะตัวที่ไม่มีความแน่นอนเป็นจริงเสมอไป
Positive externality : เกิดผลดีแก่ผู้ที่อยู่นอกโครงการ
Poverty line : เส้นความจน หมายถึงรายได้ต่อปีที่ต่ำสุดที่คนในครอบครัวสามารถยังชีพอยู่ได้โดยไม่อดอยากขาดแคลน

Poverty rate : ร้อยละของประชาชน(เทียบกับประชาชนทั้งหมด)ที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความจน
Predatory pricing : การตั้งราคายอมขาดทุน เพื่อให้คู่แข่งขันทนไม่ได้ต้องเลิกกิจการ
Present value : มูลค่าปัจจุบัน คือคิดมูลค่าในอนาคตย้อนกลับเป็นมูลค่าในปัจจุบัน เกิดจากแนวคิดว่าถ้ามีเงินจำนวนหนึ่งในปัจจุบัน สมมุติว่า 100 บาท ฝากธนาคารไว้หลายปี ก็ได้ดอกเบี้ยทบเข้าไปเรื่อยๆ จนถึงอนาคตก็มีเงินมากขึ้นกว่าเดิม สมมุติว่าได้ 180 บาท ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ฉะนั้นถ้าคิดกลับเงิน 180 บาทในอนาคตทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ก็สามารถตีค่าเป็นเงินต้นครั้งแรก 100 บาท ซึ่งน้อยกว่าเงินในอนาคต 100 บาท คือ มูลค่าปัจจุบันของเงิน 180 บาทในอนาคต
Price : ราคา จำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพื่อสินค้า 1 หน่วย เช่น เสื้อราคาตัวละ 199 บาท
Price-consumption curve : เส้นการบริโภคในระดับราคาต่างๆ เกิดจากการลากเส้นต่อจุดต่างๆที่เป็นจุดสัมผัสระหว่างส้นความพอใจเท่ากัน (indifference curve, IC) กับ เส้นราคาที่เปลี่ยนแปลงไป
Price discrimination : การตั้งราคาต่างกันในการขายสินค้าอย่างเดียวกันแก่ผู้ซื้อต่างๆ เพื่อให้เกิดกำไรมากขึ้นกว่าการตั้งราคาเท่ากันแก่ผู้ซื้อทุกราย
Price elasticity of demand : ความไวต่อราคาของการซื้อสินค้า, ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา คือ เมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนไป 1 % จำนวนสินค้าที่ต้องการซื้อจะเปลี่ยนไปกี่%
Price elasticity of supply : ความไวต่อราคาของการขายสินค้า, ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา คือ เมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนไป 1 % จำนวนสินค้าที่ต้องการขายจะเปลี่ยนไปกี่%
Price fixing : การกำหนดราคา การตกลงทางลับระหว่างธุรกิจเพื่อกำหนดราคาร่วมกันในตลาด
Price floor : การกำหนดราคาโดยรัฐบาลไม่ให้ราคาต่ำกว่าที่กำหนด เช่น ราคาสินค้าเกษตร
Price index : ดัชนีราคา คือ ตัวเลขบอกระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปในสังคมหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยเปรียบเทียบจากปีที่คิดเป็นมาตรฐานหรือที่เรียกว่าปีฐาน (ให้มีค่าดัชนี เท่ากับ 100 ในปีที่คิดเป็นมาตรฐาน)
Price-earning ratio : อัตราส่วนราคาหุ้นในตลาดต่อเงินปันผลต่อหุ้น เช่น ราคาหุ้นบริษัทเจริญยาก ซื้อขายกันด้วยราคาหุ้นละ 200 บาท เงินปันผลของหุ้นนี้เมื่อปิดงบดุล เท่ากับ 20 บาท price-earning ratio เท่ากับ 200 / 20 = 10
Price leader : ผู้นำราคา หมายถึงหน่วยธุรกิจที่มีอำนาจผูกขาดสูงในตลาด สามารถตั้งราคาโดยไม่ต้องคำนึงถึงปฏิกริยาจากหน่วยธุรกิจอื่นหรือผู้บริโภค เมื่อตั้งราคาแล้วผู้อื่นจะตั้งราคาตามหรือยินยอมซื้อขายกันในราคานั้น
Price makers : ผู้นำราคา หมายถึงหน่วยธุรกิจที่มีอำนาจผูกขาดสูงในตลาด สามารถตั้งราคาโดยไม่ต้องคำนึงถึงปฏิกริยาจากหน่วยธุรกิจอื่นหรือผู้บริโภค เมื่อตั้งราคาแล้วผู้อื่นจะตั้งราคาตามหรือยินยอมซื้อขายกันในราคานั้น
Price system : ระบบราคา หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่ซึ่งใช้กลไกราคาเป็นเครื่องมือจัดสรรทรัพยากร และแบ่งปันผลผลิต
Price takers : ผู้ตามราคา หมายถึงหน่วยธุรกิจขนาดเล็กที่มีอำนาจต่อรองน้อย เมื่อตั้งราคาซื้อขาย ก็ต้องตามราคาของผู้อื่น
Prime rate : อัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางกำหนดไว้เป็นแนวทางให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ในการให้กู้ เช่น ธนาคารกลางกำหนดอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานเท่ากับ 4%ธนาคารพาณิชย์อาจให้กู้ด้วยอัตราดอกบี้ย 6%
Private cost : ต้นทุนเอกชน ต้นทุนส่วนตัว คือ ต้นทุนที่ผู้ลงทุนต้องรับภาระเอง
Private sector : ภาคเอกชน กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กระทำโดยเอกชน
Privatization : การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คือ การทำให้เอกชนเข้ามามีส่วนในกิจการรัฐวิสาหกิจ ทำได้หลายอย่าง เช่น ให้เช่ากิจการจากรัฐวิสาหกิจบางส่วนหรือทั้งหมด ขายหุ้นรัฐวิสาหกิจบางส่วน หรือทั้งหมด เป็นต้น เพื่อลดภาระรัฐบาล หรือ เพื่อปรับปรุงให้ทันสมัย หรือเพื่อนำเงินมาใช้หนี้ที่รัฐบาลก่อไว้มาก หรือ เพื่อเปลี่ยนมือให้พวกพ้องรัฐบาลเข้าซื้อกิจการรัฐวิสาหกิจที่กำไรดีไปเป็นกิจการส่วนบุคคล ได้มีผลการวิจัยว่า กิจการรัฐวิสาหกิจไม่ได้ด้อยประสิทธิภาพหรือคุณภาพกว่าธุรกิจเอกชน แต่การผูกขาดต่างหากทำให้ด้อยคุณภาพ ไม่คิดปรับปรุง หากขายรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดหรือที่เป็นความมั่นคงของชาติหรือสาธารณูปโภคให้เอกชน จะเกิดผลเสียกว่าให้เป็นรัฐวิสาหกิจอย่างเดิม (คิดปรับปรุงไปเรื่อยๆ) เพราะเอกชนจะใช้อำนาจผูกขาดหากำไรสูงสุด เดือดร้อนแก่ประชาชน
Producer : ผู้ผลิต คือ ผู้สร้างสินค้าหรือบริการขึ้นมาใหม่
Producers’ surplus : ส่วนได้ของผู้ผลิต ส่วนเกินของผู้ผลิต คือ รายได้ที่ผู้ผลิตได้รับเพิ่มขึ้นจากที่คาดไว้ในการผลิตและขายสินค้า เนื่องจากราคาสินค้าสูงกว่าที่คาดไว้เดิม
Product : ผลผลิต สินค้าหรือบริการ
Product differentiation : การผลิตสินค้าให้แตกต่างออกไป เพื่อประโยชน์ในการขายได้มากขึ้น
Production : การผลิต คือ การสร้างสินค้าหรือบริการขึ้นมาใหม่
Production function : ฟังค์ชันการผลิต เป็นการแสดงว่าปริมาณสินค้าที่ผลิตได้จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง เช่น จำนวนร่มที่ผลิตได้ขึ้นอยู่กับ จำนวนแรงงาน และ จำนวนเครื่องมือ เป็นต้น
Production-possibility frontier (PPF) : เส้น(โค้ง)ความเป็นไปได้ในการผลิต คือ เส้นที่ลากต่อจุดที่แสดงว่าในปริมาณทรัพยากรที่มีอยู่ จะผลิตสินค้าสองอย่างได้อย่างละเท่าไร จุดนี้มีหลายจุดเป็นสัดส่วนสินค้าสองอย่างต่างๆกัน เมื่อลากเส้นต่อจุดต่างๆ ก็จะได้เป็น production-possibility frontier
Productive efficiency : ประสิทธิภาพดีที่สุดในการผลิต คือ การผลิตได้ผลมากที่สุดจากการใช้ทรัพยากรทีมีอยู่ คือ จุดที่อยู่บนเส้น production-possibility frontier
Productivity : ผลผลิตต่อปัจจัย ผลิตภาพ (คำว่าผลิตภาพ ไม่สื่อความหมาย) คำนวณโดย ผลผลิตที่ได้หารด้วยปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้น
Profit : กำไร คือ รายได้ ลบด้วย ต้นทุน
Progressive tax : ภาษีอัตราก้าวหน้า คือ การเก็บภาษีโดยคิดอัตราภาษีมากขึ้น (ไม่ใช่อัตราคงที่) เมื่อรายได้มากขึ้น
Property rights : สิทธิในการใช้ การขาย การดำเนินการต่อไป ในสินค้าหรือทรัพยากร
Property tax : ภาษีทรัพย์สิน เก็บจากเจ้าของทรัพย์สิน
Proportional tax : ภาษีอัตราคงที่ คือ การเก็บภาษีโดยใช้อัตราเดียวกันตลอด ไม่ว่ารายได้เป็นเท่าไร
Protectionism : นโยบายคุ้มครองผลประโยชน์ โดยปกติหมายถึงนโยบายกีดกันมิให้ต่างชาติเข้ามาแข่งขันกับธุรกิจของคนในประเทศ เช่น เก็บภาษีสินค้าเข้าในอัตราสูง ไม่ยอมให้มีการเข้าออกทำธุรกิจหรือทำงานได้อย่างเสรี ตรงข้ามกับนโยบายการค้าเสรี หรือ เศรษฐกิจเสรี
Public debt : หนี้สาธารณะ หนี้ของรัฐ เป็นหนี้ที่รัฐบาลก่อขึ้น ซึ่งประชาชนทุกคนต้องร่วมกันรับภาระหนี้
Public goods : สินค้าสาธารณะ สินค้าหรือบริการที่รัฐบาลจัดให้แก่ทุกคน ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ เช่น การให้บริการตำรวจฟรี แสงสว่างข้างทางฟรี ตรงข้ามกับ private goods
Public sector : ภาครัฐ ภาคสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กระทำโดยรัฐบาลหรือองค์กรที่รัฐบาลตั้งขึ้น
Purchasing power parity (PPP) : การเทียบค่าอำนาจซื้อ มักใช้ในการพิจารณารายได้หรือมูลค่าสินค้าของประเทศหนึ่ง โดยผ่านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศก่อน แล้วปรับด้วยค่าครองชีพอีกทีหนึ่ง เช่น คนไทยรายได้วันละ 200 บาท คิดเป็นเงินดอลลาร์อเมริกาเท่ากับ 5 ดอลลาร์ (40 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ) แต่เงิน 200 บาท ใช้จ่ายเลี้ยงชีพได้พอหนึ่งวัน ในอเมริกาต้องใช้เงิน 9 ดอลลาร์ จึงพอเลี้ยงชีพได้พอหนึ่งวัน ฉะนั้น 200 บาท จึงเท่ากับ 9 ดอลลาร์ ไม่ใช่เท่ากับ 5 ดอลลาร์
Pure profit, Economic profit : กำไรแท้จริง หรือ กำไรทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคิดโดยเอารายได้ตั้ง ลบด้วย ต้นทุนที่รวมค่าเสียโอกาสเรียบร้อยแล้ว
Quantity theory of money, Quantity equation of exchange : ทฤษฎีปริมาณเงิน กล่าวว่า ระดับราคาสินค้า สัมพันธ์โดยทางตรงกับปริมาณเงินในมือประชาชน (นอกระบบสถาบันการเงิน) คือ ถ้าประชาชนมีเงินถือมาก ราคาสินค้าจะสูง (ตามสูตร MV = PT)
Quota : นโยบายจำกัดปริมาณ คือ การกำหนดปริมาณสินค้าเข้าจากต่างประเทศ หรือขายให้ต่างประเทศ
Rate of return on capital : อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
Rate of technical substitution : อัตราการทดแทนของปัจจัย คือ เมื่อเอาปัจจัยหนึ่งออกไป ต้องนำอีกปัจจัยหนึ่งเข้ามาแทนเท่าไร จึงได้ผลผลิตเท่าเดิม
Real exchange rate : อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง หมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างสองประเทศ โดยปรับระดับค่าครองชีพของสองประเทศแล้ว เช่น คนอเมริกาทำงานได้รายได้เดือนละ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ใช้จ่ายเลี้ยงชีพหมดพอดีทุกเดือน ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ดอลลาร์ละ 40 บาท คนไทยก็รู้สึกว่า คนนี้มีรายได้เดือนละ 400,000 บาท ช่างร่ำรวยเสียจริง แต่ค่าครองชีพที่อเมริกาสูงมาก ถ้าเขามาอยู่เมืองไทย กินอยู่อย่างเดียวกับที่อยู่ในอเมริกา สมมุติว่าใช้เงินเพียง 100,000 บาท ก็มีความเป็นอยู่ได้อย่างเดียวกัน ฉะนั้น 10,000 ดอลลาร์ ก็เท่ากับ 100,000 บาท หรือ ดอลลาร์ละ 10 บาท นี้เป็น real exchange rate หนึ่งดอลลาร์เท่ากับ 10 บาท ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด ดอลลาร์ละ 40 บาท
Real income : รายได้แท้จริง คือ รายได้เป็นเงินเมื่อปรับค่าครองชีพแล้ว แสดงถึงอำนาจซื้อที่แท้จริง เช่น มีรายได้เป็นเงินเดือนละ 5,000 บาท แต่ซื้อสินค้าได้เท่ากับ 4,000 บาท เมื่อปีฐาน (ปีที่ถือเป็นปีหลัก โดยมีผู้กำหนดขึ้น) ก็ถือว่ารายได้แท้จริงเท่ากับ 4,000 บาท
Real rate of interest : อัตราดอกเบี้ยแท้จริง คือ อัตราดอกเบี้ยที่แสดงอำนาจซื้อไว้ด้วย หากนำดอกเบี้ยไปใช้จ่าย คิดโดย นำอัตราดอกเบี้ยที่เป็นเงินตามปกติตั้ง ลบด้วย อัตราเงินเฟ้อ
(มีต่อครับ)


โดย: สุธน หิญ วันที่: 2 กรกฎาคม 2554 เวลา:16:23:17 น.  

 
(ต่อครับ)
Real wage : ค่าจ้างที่แท้จริง แสดงถึงอำนาจซื้อของค่าจ้างที่ได้ คิดโดย นำค่าจ้างที่เป็นเงินตั้ง หารด้วย ดัชนีค่าครองชีพ คูณด้วย 100
Recession : เศรษฐกิจถดถอย เศรษฐกิจตกต่ำ
Recessionary gap : การผลิตไม่เต็มความสามารถเนื่องจากเป็นระยะเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำ
Recovery : เศรษฐกิจฟื้นตัว เป็นระยะที่เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นหลังจากตกต่ำสุด
Regressive tax : ภาษีอัตราถอยหลัง คือ เมื่อรายได้มากขึ้น อัตราภาษีที่ต้องเสียจะลดลง ตรงข้ามกับ progressive tax
Relative price : ราคาอย่างหนึ่งเปรียบเทียบกับราคาอื่น
Renewable resources : ทรัพยากรที่สร้างคืนได้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถสร้างขึ้นมาอีกได้ หากถูกใช้ไป เช่น ไม้ น้ำ ตรงข้ามกับ non-renewable resources ซึ่งเมื่อใช้หมดไปแล้วไม่สามารถหามาได้เหมือนเดิมอีก เช่น แร่ธาตุ
Replacement investment : การลงทุนทดแทนเครื่องมือการผลิตที่ชำรุดสึกหรอ
Reserves : เงินสดสำรองในธนาคาร
Resource allocation : การจัดสรรทรัพยากร สำหรับใช้ในทางต่างๆ
Returns to scale : สัดส่วนผลตอบแทนจากการขยายการผลิต เช่น เมื่อขยายปัจจัยการผลิตเป็นสามเท่า ได้ผลผลิตขยายเป็นห้าเท่า เรียกว่า increasing returns to scale
Risk averse : ไม่ชอบเสี่ยง เป็นลักษณะของคนที่ไม่ชอบเสี่ยงต่อการสูญเสีย ต้องการให้ได้ผลแน่นอน แม้จะได้น้อย
Risk seeking : ชอบเสี่ยง เป็นลักษณะของคนที่ชอบเสี่ยง คิดได้มากกว่ากลัวเสีย
Sales tax : ภาษีการขาย เก็บจากฐานจำนวนเงินที่ขายสินค้าได้

Saving : การออม หมายถึงการเก็บเงิน ทรัพย์สิน สินค้า ปัจจัยการผลิต เพื่อเตรียมไว้บริโภคหรือใช้ผลิตในอนาคต การออมไม่จำเป็นต้องเป็นเงินเสมอไป อาจเป็นสิ่งของก็ได้ ฉะนั้นการออมไม่ใช่รายได้ส่วนที่มิได้ใช้จ่ายบริโภค เพราะส่วนของรายได้ที่จ่ายบริโภคไปแล้ว หากเก็บสินค้าไว้ใช้ในโอกาสหน้า ส่วนนั้นก็เป็นส่วนออม ซึ่งเป็นการใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าบริโภคไปแล้ว แต่ยังมิได้บริโภคสินค้านั้น ส่วนที่ยังมิได้บริโภคนั้น เป็นส่วนออม คำจำกัดความของเคนส์ (John Maynard Keynes) ที่กล่าวว่า ในสภาพเศรษฐกิจปิด เงินออม คือ รายได้ ลบด้วย ค่าใช้จ่ายบริโภค (S = Y – C) นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะว่านั้นคือส่วนของค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายบริโภค จึงเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อลงทุน เคนส์จึงเข้าใจผิดเสมอมาว่า เงินออมต้องเท่ากับเงินลงทุนเสมอ (S = I)
Seasonal unemployment : การว่างงานตามฤดูกาล ซึ่ง บางฤดูมีงานทำ บางฤดูไม่มีงานทำ
Self-employed : จ้างงานตัวเอง หมายถึงสภาพที่คนทำงานที่ตนเองเป็นเจ้าของกิจการ ไม่ได้เป็นลูกจ้างผู้อื่น
Self-sufficient economy : เศรษฐกิจพึ่งตนเอง ตรงข้ามกับเศรษฐกิจแบบตลาด (market economy) เป็นวิธีการทำมาหากินที่มีลักษณะดังนี้ (1) เน้นการผลิตสินค้าบริโภคเองให้มาก ซื้อแต่น้อย (2) ไม่ผลิตเกินกำลังจนต้องกู้เงินมาลงทุน (3) ไม่บริโภคเกินกำลังจนต้องเป็นหนี้ (4) เตรียมสิ่งของจำเป็นในชีวิตไว้ให้พอเพียง ไม่ให้ขาด และไม่ต้องมีมากจนเป็นภาระ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงแนะนำให้ประชาชนไทยนำไปเป็นทางเลือกในชีวิต เพื่อแก้ปัญหาความยากจน และปัญหาเดือดร้อนที่เกิดจากการใช้จ่ายมากเกินตัว
Services : บริการ หมายถึงการผลิตบริการ เช่น การตัดผม การสอนหนังสือ การรักษาโรค การนำเที่ยว การขนส่ง
Service trade : การค้าบริการ หมายถึง การทำธุรกิจที่ไม่ได้ขายของเป็นชิ้นจับต้องได้ แต่เป็นการให้บริการเพื่อรับค่าตอบแทน เช่น การขนส่ง การศึกษา การแพทย์ ฯลฯ
Shadow price : ราคาที่ควรเป็น บางทีแปลว่าราคาเงา (คำนี้ไม่สื่อความหมาย ไม่แนะนำให้ใช้) หมายถึง ราคาสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ทั้งฝ่ายขายและฝ่ายซื้อ ผู้ขายจึงไม่มีกำไรส่วนเกิน อาจหมายถึงราคาตามต้นทุนที่เป็นจริงโดยคิดต้นทุนค่าเสียโอกาสไว้ดว้ยแล้ว ซึ่งก็คือเรื่องเดียวกันนั่นเอง นักเศรษฐศาสตร์ขององค์การระหว่างประเทศบางคนคิดว่า shadow price เป็นราคาสินค้าที่ซื้อขายกันระหว่างประเทศ โดยเชื่อว่าตลาดระหว่างประเทศเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งความจริงไม่เป็นเช่นนั้น การตีความหมายเช่นนี้จึงผิด แต่ก็มีการยอมรับกันอย่างผิดๆแพร่หลายไปทั่ว เพราะหลงเชื่อว่าข้อความที่นักเศรษฐศาสตร์ขององค์การระหว่างประเทศกล่าวออกมาย่อมถูกต้อง
Shares : หุ้น เงินที่ลงไปร่วมกิจการธุรกิจ
Short-run : ระยะสั้น เป็นระยะที่ปัจจัยคงที่ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่าไม่มีปัจจัยคงที่ ยังคงมีปัจจัยคงที่อยู่ เพียงแต่ปัจจัยคงที่ไม่เท่าเดิม
Shutdown point : จุดปิดกิจการ อยู่ที่ราคาสินค้าที่ขายเท่ากับต้นทุนแปรผันเฉลี่ย (AVC) ถ้าราคาสินค้าต่ำกว่านี้ หรือ ต้นทุนแปรผันเฉลี่ยสูงกว่านี้ ก็ต้องปิดกิจการ เพราะจะขาดทุนโดยไม่มีอนาคต
Sight deposit, Demand deposit : เงินฝากที่เขียนเช็คได้ บางทีเรียกว่า เงินฝากเผื่อเรียก
Slump : ช่วงเวลาเศรษฐกิจตกต่ำ ผลผลิตน้อย คนตกงานมาก
Social cost : ต้นทุนภาระสังคม เป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระแก่สังคม โดยเอกชนผู้นั้นไม่ได้แบกรับ เช่น การผลิตสุรา ผู้ผลิตรับภาระต้นทุนเพียงค่าใช้จ่ายในการผลิตสุรา แต่สังคมต้องรับค่ารักษาพยาบาลคนดื่มสุรา ค่าเสียหายที่คนดื่มสุราขับรถชนผู้อื่นบาดเจ็บ ค่าใช้จ่ายในการจับกุมดำเนินคดีที่ผู้ดื่มสุราก่อขึ้น ผู้ผลิตสุราไม่ได้รับผิดชอบเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้แก่สังคม
Socialism : ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม คือ ระบบเศรษฐกิจที่ปัจจัยการผลิตและการตัดสินใจเรื่องการผลิต (เช่น ผลิตอะไร จำนวนเท่าไร) และ การตลาด (เช่น ตั้งราคาเท่าไร) อยู่ในอำนาจของสังคมส่วนรวม(จะอ้างว่าใครเป็นตัวแทนของส่วนรวมก็ตาม) ไม่ใช่เป็นเรื่องของคนเดียวเป็นเจ้าของตัดสินใจเอง ถ้าเป็นสังคมนิยมระดับชาติ รัฐบาลจะตัดสินใจแทนประชาชน ธุรกิจเป็นของประชาชนทั้งประเทศร่วมกัน เมื่อเทียบกับระบบทุนนิยม (capitalism) ระบบสังคมนิยมมีข้อดีกว่าและข้อด้อยกว่า
Special Drawing Right, SDR : สิทธิพิเศษถอนเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund, IMF)
Specific tax : ภาษีเก็บตามจำนวนสินค้า เช่น ชิ้นละ 5 บาท
Speculative motive : แรงจูงใจเก็งกำไร เป็นความรู้สึกว่า ควรเก็บเงินไว้กับตัว เพื่อรอซื้อหุ้นในภายหน้า ขณะนั้นยังไม่น่าซื้อ เรื่องนี้ไม่เป็นจริงแก่คนทั่วไปในประเทศไทยและในอีกหลายประเทศ เพราะคนส่วนมากในประเทศไทยไม่ได้หมกมุ่นกับการเก็งกำไรหุ้น ท่านเคนส์ (John Maynard Keynes) บัญญัติความคิดนี้ขึ้นมา เพราะว่าท่านชอบเก็งกำไรหุ้น
Stagflation : สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเกิดเงินเฟ้อ หรือว่างงานมากพร้อมกัน
State enterprise : รัฐวิสาหกิจ เป็นธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ
Structural unemployment : การว่างงานซึ่งเกิดจากคุณสมบัติที่ผู้จ้างต้องการ ไม่ตรงกับคุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัครงาน ฉะนั้นตำแหน่งงานว่างยังมี และ คนว่างงานก็มี
Subsistence line : ระดับที่พอยังชีพอยู่ได้ หมายถึงปริมาณการผลิตสินค้าที่ประชาชนพอบริโภคอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย
Substitution effect : การซื้อสินค้าอย่างหนึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อราคาต่ำลง เพื่อทดแทนสินค้าอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งราคายังไม่ต่ำลง โดยไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของอำนาจซื้อที่แฝงอยู่เนื่องจากราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง (ทำให้มีเงินซื้อมากขึ้น เมื่อราคาสินค้าต่ำลง)
Supply : ความต้องการขายสินค้า บางตำราเรียกว่า “อุปทาน”
Supply curve : เส้นแสดงจำนวนสินค้าที่ต้องการขาย เมื่อปัจจัยการตัดสินใจขายเปลี่ยนแปลงไป เช่น ราคาเปลี่ยนแปลงไป โดยปกติมักหมายถึงเส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนสินค้าที่ต้องการขาย กับ ราคาสินค้านั้น
Supply function : ฟังค์ชันแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าที่ต้องการขาย กับ ตัวแปรทั้งหลายที่มีผลต่อการตัดสินใจขาย เช่น แรงงานที่ใช้ พลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ ผลกำไร เป็นต้น
Supply of labour : ปริมาณแรงงานที่พร้อมทำงานได้
Supply of money, Money supply : ปริมาณเงินที่มีให้ประชาชนถือ
Supply schedule : ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสินค้าที่ต้องการขาย กับ ราคาที่จะขายได้
Supply-side economy : เศรษฐกิจที่มุ่งเน้นด้านการผลิตสินค้า
Takeover : การกระทำที่บริษัทหนึ่งซื้อกิจการของอีกบริษัทหนึ่งเพื่อเข้าไปมีบทบาทบริหารงาน
Tariff : ภาษีสินค้าเข้าจากต่างประเทศ อากรสินค้าเข้าจากต่างประเทศ
Tax incidence : การช่วยกันแบ่งรับภาระภาษีระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ
Term of trade : อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาสินค้าออก (ราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก) กับราคาสินค้าเข้า (ราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก) ถ้าค่ามากขึ้น หมายความว่า ประเทศได้เปรียบเรื่องราคาสินค้า
Time deposit : เงินฝากประจำ เป็นเงินฝากระยะยาว หากถอนออกก่อนกำหนดต้องถูกลดอัตราดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ที่ผู้ฝากเงินจะได้
Total cost (TC) : ต้นทุนรวม คือ รวมต้นทุนคงที่รวม (fixed cost, TFC) และ ต้นทุนแปรผัน(total variable cost, TVC) เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้เพื่อการผลิตสินค้านั้น
Total fixed cost (TFC) : ต้นทุนคงที่รวม เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าที่คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนผลผลิต เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าเงินเดือนผู้จัดการ ฯลฯ
Total product (TP) : ปริมาณสินค้าที่ผลิตได้ทั้งหมด
Total revenue (TR) : รายได้รวมได้จากการขายสินค้าที่ผลิตได้ทั้งหมด
Total utility : ความพอใจรวมจากการได้บริโภคสินค้าหรือบริการ
Total variable cost (TVC) : ต้นทุนแปรผันรวม ต้นทุนทั้งหมดที่เปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนสินค้าที่ผลิต
Trade balance : ดุลการค้า คือ มูลค่าสินค้าออก ลบด้วย มูลค่าสินค้าเข้า
Trade cycles : เช่นเดียวกับ business cycles
Trade-weighted exchange rate : อัตราแลกเปลี่ยนที่เฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการค้าระหว่างประเทศนั้นกับประเทศต่างๆ
Transactions demand for money : ปริมาณเงินที่ประชาชนต้องการถือไว้(ครอบครองไว้)เพื่อซื้อสินค้าและบริการ
Transfer payments : เงินช่วยเหลือสงเคราะห์ เช่น เงินที่จ่ายให้เมื่อตกงาน
Transnational corporations (TNCs) : บริษัทที่ทำธุรกิจอยู่ในหลายประเทศ บางทีเรียกว่า multinational enterprises (MNEs)
Treasury bill : พันธบัตรรัฐบาล
Trough (ทรอฟ) : จุดต่ำสุดของเศรษฐกิจตกต่ำ
Twin deficits : ขาดดุลสองอย่าง คือ ขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ และ ขาดดุลงบประมาณ Underdeveloped country : ประเทศด้อยพัฒนา บางทีเรียกว่า developing country (ประเทศไทยก็ถูกจัดเข้าประเภทนี้ด้วย)
Unemployment : การว่างงาน
Utility : ความพอใจ บางตำราแปลว่าอรรถประโยชน์ ซึ่งแปลว่า เป็นประโยชน์มากๆ ผิดความหมายเศรษฐศาสตร์
Value added : มูลค่าเพิ่ม หมายถึงมูลค่าสินค้าที่ผลิตได้ ลบด้วย มูลค่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ไม่รวมค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และ กำไร เพราะค่าจ้างค่าเช่าดอกเบี้ยและกำไรเป็นส่วนของมูลค่าเพิ่ม (คำจำกัดความตาม Samuelson and Nordhaus)
Value added tax : ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ที่ได้มูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากรของประเทศไทย ผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มคือ ผู้ที่ได้มูลค่าเพิ่ม และ ผู้ที่นำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ แล้วยังบังคับให้ผู้บริโภคต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย
Value of money : ค่าของเงิน หมายถึงอำนาจซื้อของเงินที่สามารถซื้อสินค้าและบริการได้สักเท่าไร
Variable : ตัวแปร ตัวที่ถูกกำหนดให้เป็นเหตุและผลกัน เช่น เรื่องการซื้อสินค้า มีจำนวนสินค้าที่ซื้อ (Q) เป็นผล จึงเป็นตัวแปรตาม (dependent variable) ราคาสินค้า (P) เป็นเหตุ จึงเป็นตัวแปอิสระ (independent variable) จำนวนเงินที่ตั้งงบประมาณไว้ซื้อ (B) ก็เป็นเหตุ จึงเป็นตัวแปอิสระอีกตัวหนึ่ง
Variable cost : ต้นทุนแปรผัน คือ ต้นทุนที่เปลี่ยนไปตามจำนวนสินค้าที่ผลิต
Variable factor : ปัจจัยแปรผัน คือ ปัจจัยที่ต้องใช้มากน้อยไปตามจำนวนผลผลิต
Velocity of circulation, Velocity of money : จำนวนครั้งที่เงินถูกใช้จ่ายต่อๆกันไป เช่น สังคมหนึ่ง ผลิตสินค้าออกมาขายเป็นมูลค่า 1,000 บาท มีเงินในสังคม 100 บาท เงิน100 บาทนี้ถูกใช้จ่ายต่อไปเรื่อยๆ 10 ครั้ง ก็พอดีซื้อสินค้าได้หมดทั้งสังคมนี้ (มีเงิน 100 บาทก็พอ ไม่ต้องมีเงินมากถึง 1,000 บาท) ความต้องการถือเงินในสังคมนี้ (demand for money) ต้องการเงิน 100 บาท ก็พอดีแล้ว ถ้า เงิน 100 บาทนี้ถูกใช้จ่ายต่อไปเรื่อยๆ 9 ครั้ง ก็ซื้อสินค้าได้เป็นมูลค่า 900 บาท สินค้ามูลค่าอีก 100 บาท ยังขายไม่ได้ ฉะนั้นความต้องการถือเงินในสังคมนี้จึงต้องมากกว่า 100 บาท ต้องมี 1,000 / 9 = 111.11 บาท จึงจะพอ เลข 10 และ 9 เป็นจำนวนครั้งที่เงินถูกใช้จ่ายต่อๆกันไป
Vertical integration : การขยายกิจการโดยรวมทางดิ่ง หมายความว่า ขยายกิจการโดยรวมหลายขั้นตอนเข้ด้วยกัน เช่น บริษัทขายไก่ เดิมทีซื้อไก่มาฆ่าขาย ต่อมาเลี้ยงไก่เอง ผลิตอาหารไก่เอง ฆ่าไก่แล้วก็ทำลูกชิ้นไก่เอง ทำแกงไก่สำเร็จรูปขายเอง ทำไก่ย่างขายเอง ตั้งร้านอาหารเอง
Vicious circle of poverty : วงจรโหดของความยากจน คือ เมื่อยากจนก็มีเงินออมน้อย จึงมีเงินลงทุนน้อย ผลผลิตจึงน้อย รายได้จึงน้อย ความยากจนจึงคงอยู่ เงินออมในรอบต่อไปก็น้อย แล้วเกิดผลต่อไป ลงท้ายด้วยยากจนเหมือนเดิม ถ้าจะให้พ้นความยากจนก็ต้องตัดวงจรโหดนี้ออก เช่น ให้มีเทคโนโลยีและสติปัญญาเพิ่มขึ้น แม้ลงทุนน้อย ก็ได้ผลผลิตมากขึ้นได้ หรือหาเงินทุนมาจากภายนอก เป็นต้น
Voluntary unemployment : การว่างงานโดยสมัครใจ คือ มีงานให้ทำ แต่ไม่ยอมทำงานนั้น
Wage : ค่าจ้าง อาจอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น คิดค่าจ้างเป็นรายวันที่มาทำงาน คิดค่าจ้างเป็นราย เดือน คิดค่าจ้างตามชิ้นงานที่ทำได้

Wage-price spiral : ผลกระทบวนเวียนระหว่างค่าจ้างและราคา คือ เมื่อค่าจ้างสูงขึ้น ผู้จ้างซึ่งเป็นผู้ผลิตเสียต้นทุนสูงขึ้น จึงขึ้นราคาสินค้า เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น แรงงานก็เรียกร้องค่าจ้างสูงขึ้น แล้วก็เกิดผลเวียนกลับมาอีก
Wealth : ทรัพย์สิน มูลค่าของสิ่งของและเงินที่บุคคลหรือประเทศมีอยู่
Working population : คนในกำลังแรงงาน ได้แก่คนที่มีงานทำ ทั้งเป็นลูกจ้างและทำงานส่วนตัว และรวมถึงคนว่างงานชั่วคราวที่กำลังหางานทำอยู่
World Trade Organization (WTO) : องค์การค้าโลก เป็นองค์การระหว่างประเทศทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางการค้า
Yield : ผลตอบแทนของการกระทำ
Zero-profit point : จุดกำไรเป็นศูนย์ ไม่ขาดทุนแต่ไม่มีกำไร

ศัพท์เศรษฐศาสตร์ที่จำเป็น
สำหรับนักศึกษา อาจารย์ และ ผู้สนใจ.


โดย: สุธน หิญ วันที่: 2 กรกฎาคม 2554 เวลา:16:25:42 น.  

 
ได้ความรู้มากเลยนะค่ะ
แต่เนื้อหาเล่นเอาตาลายกันทีเดียว

เป็นลูกศิษย์อาจารย์บุญเสริมค่ะ
อาจารย์ใจดี และน่ารักมาก


โดย: แค่ได้รู้จัก_ก็เพียงพอ วันที่: 3 กรกฎาคม 2554 เวลา:19:11:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com