ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
นโยบายเศรษฐกิจไทยที่ผมอยากเห็น (ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ)

(จากเศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 09 เมษายน พ.ศ. 2550
//www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q2/2007april09p4.htm )

ในเมื่อผู้นำของประเทศได้ออกมายืนยันว่า จะไม่มีการสืบทอดอำนาจและการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นตามกำหนด คือเราจะหวังได้ว่าจะมีรัฐบาลใหม่ในปีหน้า จึงทำให้ผมถามตัวเองว่า อยากให้มีรัฐบาลใหม่ เสนอนโยบายเศรษฐกิจใหม่ในรูปแบบใดจึงจะถูกใจ ซึ่งผมพอจะสรุปนโยบายเศรษฐกิจในฝันได้ดังนี้ครับ

1. เน้นการสนับสนุนไม่ใช่แทรกแซงกลไกตลาดเสรี เพราะระบบตลาดเสรี คือการกระจายอำนาจการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ ให้กับประชาชนทุกคน ตรงกันข้าม การเชื้อเชิญให้ภาครัฐเข้ามาแทรกแซงในรูปแบบต่างๆ นั้น เป็นเหมือนการลิดรอนสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ของคนไทย ซึ่งโดยรวมแล้วคนหนุ่ม/สาวรุ่นใหม่ ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในขณะนี้เป็นคนที่ขยันขันแข็ง มีการศึกษาและประสบการณ์ที่ผมไว้ใจให้เป็นผู้นำพาเศรษฐกิจไทย มากกว่าการพึ่งพาอำนาจจากภาครัฐเข้าแทรกแซง

ซึ่งในหลายกรณีทั้งที่เกิดในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ แม้ว่ารัฐบาลจะมีเจตนารมณ์ดีแต่การเข้าแทรกแซงกลไกตลาด มักจะไม่ทำให้สภาวการณ์ดีขึ้นแต่อย่างใด ที่สำคัญคือ การไม่ไว้ใจกลไกตลาดนั้น มักจะเป็นผลมาจากความไม่ต้องการเผชิญกับการแข่งขัน โดยเฉพาะการแข่งขันจากต่างชาติ ซึ่งผมมองตรงกันข้ามว่า สิ่งที่ต่างชาตินำมาคือเงินทุนและเทคโนโลยี ซึ่งทำให้ค่าจ้างแรงงาน (ที่มีความสามารถ) ปรับตัวสูงขึ้น เห็นได้จากการที่คนไทยส่วนใหญ่ก็นิยมทำงานกับบริษัทต่างชาติ เพราะให้เงินเดือนและสวัสดิการดี เป็นมาตรฐานสากล

ยิ่งประเทศไทยพยายามปิดตัวจากการแข่งขัน ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการผูกขาดโดยทุนไทย และลดโอกาสของคนไทยในการแสวงหางานที่ให้เงินเดือนสูง และโอกาสก้าวหน้า ที่น่าชื่นชมคือ บริษัทใหญ่หลายบริษัทที่ผู้บริหารรุ่นลูก ได้พัฒนากิจกรรมของตนไปสู่ระดับสากลในทุกมิติ และทำได้อย่างดี แสดงให้เห็นว่า คนไทยควรจะมั่นใจในตัวเองว่า เราทำได้ ความต้องการที่จะปิดตัวเอง จึงเป็นการสะท้อนความรู้สึกลึกๆ ว่าจะไม่สามารถแข่งขันกับฝรั่งได้

2. รัฐมีหน้าที่หลักที่จะพัฒนาการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้กันดี พูดกันมากแต่ยังทำกันไม่ได้ โดยเฉพาะการศึกษานี่เป็นจุดอ่อนของประเทศ เพราะไม่ยอมเปิดให้มีการแข่งขันตามกลไกตลาด ความหวังดีที่จะควบคุมค่าเล่าเรียน ทำให้คุณภาพการศึกษาต่ำ (you get what you pay for) โรงเรียนที่มีคุณภาพสูงจำเป็นต้องใช้จ่ายมากเพื่อรักษาคุณภาพ ต้องพยายามหาเงินโดยการเรียกเงินบำรุงพิเศษ (แป๊ะเจี๊ย) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด แต่ผู้ปกครองยอมเพื่อการศึกษาของบุตร ทำให้ลูก-หลานเห็นตั้งแต่เล็กว่าเมืองไทยนั้นจะต้องมีเส้นมีสาย และต้องจ่ายเงินเบี้ยบ้ายรายทาง หากจะได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ

ตรงกันข้าม หากเราจะเปิดเสรีการศึกษามากขึ้นและอุดหนุนงบประมาณให้กับผู้ปกครองรายได้ต่ำ ก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตการศึกษาที่มีคุณภาพมากขึ้นในระดับประถม-มัธยม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ในการพัฒนาการศึกษาไทย แนวทางแจกคูปองเพื่อการศึกษา (education voucher) นี้ได้เคยคิดมา 15 ปี ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ถูกคัดค้านซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

3. พัฒนาน้ำและชลประทาน ควรเป็นหน้าที่หลักอีกด้านหนึ่งของรัฐบาล โดยเฉพาะน้ำและระบบชลประทาน เพราะเป็นกิจกรรมที่เอกชนทำเองได้ยาก เนื่องจากเป็นการลงทุนระยะยาว 30-50 ปี และมีต้นทุนสูง

เรื่องน้ำนั้นสำคัญยิ่งต่อการเกษตร จะเป็นการช่วยเหลือให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น และแม้ว่าราคาจะลดลงแต่รายได้เกษตรกรก็จะเพิ่มขึ้นได้ หากวางแผนให้ดี รายจ่ายในการลงทุนพัฒนาน้ำ จะให้ผลตอบแทนดีกว่าการเสียงบประมาณปีละหลายพันล้านบาท ให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร โดยการซื้อส่วนเกินมาเก็บเอาไว้ให้เน่าเสียหรือรั่วไหลจากการคอร์รัปชัน ที่เห็นได้ทุกครั้งที่มีการแทรกแซง

การพัฒนาชลประทานนั้นจะช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนได้อย่างมีประสิทธิผล และทำให้ภาคเกษตรของไทย มีความเข้มแข็ง และเศรษฐกิจไทยมีความสมดุลยิ่งขึ้นไปอีก สำหรับภาคอุตสาหกรรมและประชาชน โดยทั่วไปนั้นการพัฒนาน้ำประปาก็ย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่งเช่นกัน

4. เร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์ เรื่องนี้พูดกันมา 2-3 ปีแล้ว และรับรู้แล้วว่าจะส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยอย่างมาก โดยเฉพาะการขนส่งสินค้า โดยระบบรถไฟที่ทันสมัย แทนที่การใช้รถบรรทุก 10 ล้อ เช่นที่เห็นในปัจจุบัน การพัฒนารถไฟนั้นเป็นสิ่งที่ยากในทางการเมือง เพราะจะต้องพัฒนาและแปรรูปการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่จะเป็นคุณประโยชน์กับประเทศไทยในอนาคตเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ต้นทุนการขนส่งของประเทศลดลง การนำเข้าน้ำมันก็จะลดลง และสภาพแวดล้อมตลอดจนความปลอดภัยบนท้องถนนก็จะดีขึ้นอีกด้วย

ผมคิดว่า ประเด็นสำคัญเท่ากับ 4 ประเด็นข้างต้น น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาประเทศในอนาคต

ส่วนมาตรการหรือนโยบายที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่และเป็นที่ถกเถียงในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมเงินทุน การแก้กฎหมายทุนต่างด้าว การควบคุมการค้าปลีกนั้นเป็นการส่งสัญญาณว่า รัฐบาลต้องการแทรกแซงกลไกตลาด และต้องการลดความเสรีของการแข่งขันจากต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นผลเสียมากกว่าเป็นผลดีกับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว ผมจึงเห็นว่ารัฐบาลควรหันมาให้ความสำคัญในการแก้ไขและสนับสนุนอย่างจริงจังมากกว่าครับ


Create Date : 06 พฤษภาคม 2551
Last Update : 4 กันยายน 2551 6:57:03 น. 0 comments
Counter : 523 Pageviews.
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com