ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
"ผาสุก พงษ์ไพจิตร" แฉอุปสรรค "ภาษีที่ดิน" ไม่ใช่สำนักงานทรัพย์สินฯ แต่เป็นรัฐสภาแลนด์ลอร์ด

//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1304752251&grpid=01&catid=01
วันที่ 07 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14:53:04 น.

เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ได้มีการจัดงาน "ชุมนุมปาฐกถา 70 ปี ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ" ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

ในการนี้ ศ. ผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ "เศรษฐศาสตร์(ของ)การเมืองไทย" ว่า ประเทศไทยยังมีปัญหาในเรื่องของการกระจุกตัวของรายได้ และการกระจายรายได้ยังถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ จากบทความของ The economist ได้ระบุไว้ว่า ผลของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจนั้น ส่วนมากเงินทุนจะกระจายไปสู่นายทุนมากกว่าแรงงาน ถ้าดูสถิติของประเทศทั่วโลกแล้ว ปัญหาเหล่านี้มักจะนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันของสังคม ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสำคัญของโลก นายทุนมีกำไรมากขึ้น แต่สัดส่วนของค่าจ้างลดลง

The economist ยังได้ระบุสาเหตุของการกระจุกตัวของรายได้แล้วทำให้นายทุนมีรายได้เพิ่มขึ้นนั้น มาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี กล่าวคือ ภาคอุตสาหกรรมสามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น โดยไม่อาศัยคนงานหรือมีการจ้างงานน้อยลง มีการใช้เครื่องจักรเข้ามาแทนที่กำลังคน ประสิทธิภาพของแรงงานก็สูงขึ้นด้วย ต่อมาก็คือ การต่อรองของกลุ่มแรงงานลดลง ทำให้สมาชิกของสหภาพแรงงานน้อยลงตามไปด้วย

ในระหว่างนั้นรัฐบาลก็ใช้กระบวนการต่างๆ ในการกดสหภาพแรงงาน โดยมีนายทุนยักษ์ใหญ่กำกับอยู่เบื้องหลังเพื่อไม่ต้องการให้มีสหภาพแรงงาน อีกทั้งมีการใช้นโยบายเสรีนิยมใหม่เข้ามาแทนที่ มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ตลาดมีความยืดหยุ่นสูง ส่งผลให้นายทุนมีอิทธิพลมากขึ้น ทั้งนี้ยังมีสถาบันทางการเงินหรือบริษัทไฟแนนซ์ต่างๆ ที่ทำตัวคล้ายกับมาเฟียอยู่เบื้องหลังรัฐ คอยกำกับให้รัฐดำเนินนโยบายเอื้อประโยชน์ให้แก่สถาบันการเงิน หากไม่เอื้อประโยชน์ให้ก็มักจะมีอ้างถอนเงินทุน


เมื่อปี 2010 ที่ sao paolo ได้ประชุมและออกแถลงการณ์ 10 ข้อ โดยมองว่ารายได้ของคนงานลดลงขณะที่กำไรของนายทุนเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดการสะสมความมั่งคั่ง และเสนอการแก้ไขโดยการให้รัฐ การันตีให้แรงงานได้ทำงานทุกคน และมีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ ขณะที่ โปรเฟสเซอร์ yong chul park ได้พูดถึงความจำเป็นในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า ต้องมีการปรับยุทธศาสตร์พัฒนา (rebalancing strategy) การส่งออกอุตสาหกรรม เพื่อให้มีการเพิ่มการลงทุนในภาคเอกชน เพิ่มการบริโภคในประเทศให้มากขึ้น

นอกจากนี้ โปรเฟสเซอร์ yong chul park ยังระบุอีกว่าการที่รัฐมีบทบาทมากขึ้นนั้น จะสามารถจัดการสวัสดิการได้ดีมากขึ้นด้วย เช่น การบริการทางด้านสาธารณสุข เรียนฟรี มีเงินสำรองหลังจากเกษียณ ทั้งนี้ไม่ได้เสนอให้รัฐลดบทบาทแต่ควรเปลี่ยนบทบาท และการพูดให้รัฐเปลี่ยนบทบาทเพื่อให้เกิดสวัสดิการพูดง่าย แต่มักเป็นปัญหาใหญ่ ว่าจะหาเงินมาใช้จ่ายในโครงการเหล่านั้นได้อย่างไร เพราะการให้สวัสดิการนั้นต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่โดยหลักแล้วก็มักจะได้จากการเก็บภาษีและมีรายได้จากรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นรายได้หลัก


ส่วนคำถามที่ว่าสภาพรายได้จากภาษีเป็นอย่างไรนั้น ศ.ผาสุก ได้อธิบายไว้ว่า ภาษีอันแรกที่เป็นแหล่งรายได้นั่นก็คือ ภาษีนิติบุคคล หรือรายได้สุทธิจากธุรกิจ แต่แนวโน้มของ GDP ลดลง เพราะบริษัทไฟแนนซ์มีแรงต่อรองกับรัฐมากขึ้น มีการแข่งขันมากขึ้น หรือท้ายที่สุดมีการย้ายเงินทุนออก ต่อมาก็คือภาษีรายได้ส่วนบุคคล ในประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะเก็บได้สูง ส่วนในประเทศไทยเก็บได้น้อย ทั้งนี้หากเก็บเยอะขึ้นก็เกิดแรงจูงใจในการเสียภาษีน้อยลง ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มไทยก็เก็บได้น้อยคือ 7 % ขณะที่ก่อนหน้านี้เคยเก็บได้ 10 %


สุดท้ายก็คือภาษีสินค้าเข้าออก ปัจจุบันเริ่มหมดความสำคัญเพราะผลของการเกิดโลกาภิวัตน์ เกิดเขตการค้าเสรีเพิ่มขึ้น ในอาเซียนจะลดการเก็บภาษีสินค้าเหลือ 0 % ในปี 2015 แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ภาษีทรัพย์สินมากกว่า หรือภาษีที่ดิน แม้จะมีการย้ายทุนแต่ที่ดินนายทุนไม่สามารถเอาไปได้ และเป็นสิ่งที่รัฐสามารถหาประโยชน์ได้มาก


อย่างไรก็ตามเมื่อเราเห็นที่มาของรายได้ ทำให้เกิดยุทธศาสตร์ที่รัฐควรพิจารณา คือการหาประโยชน์จากที่ดินมาแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน และการหาสินค้าสาธารณะมาให้บริการมากขึ้น หรือการเพิ่มสวัสดิการให้ครอบคลุมทั้งประเทศ


ในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2549 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้รวบรวมข้อมูลแล้วแบ่งกลุ่มครัวเรือนออกเป็น 10 กลุ่ม ปรากฎว่ากลุ่มที่รวยสุด กับกลุ่มที่จนสุด ห่างกันถึง 69 เท่า ส่วนรอง รวยที่สุดกับรองจนที่สุดก็ห่างกันมากเช่นกัน สรุปแล้วก็คือ การกระจุกอยู่ที่คน 10 % ของประเทศ แต่ที่ยุโรปมีไม่เยอะเพราะว่าใช้ภาษีความมั่นคงมานาน


ส่วนข้อมูลการถือครองที่ดินสูงสุด 10 จังหวัด กรุงเทพมหานครมีการถือครองที่ดินของนิติบุคคลรายเดียว มีที่ดินมากที่สุด 14,776 ไร่ ภูเก็ต 3, 152 ไร่ ปทุมธานี 28,999 ไร่ สมุทรปราการ 17,016 ไร่ นนทบุรี 6,691 ไร่ ระนอง 4,618 ไร่ นครนายก 34,000 ไร่

ผู้ถือครองที่ดิน 50 อันดับแรก มีที่ดินรวมกันเป็น 10% ของที่ดินทั้งหมด

คำถามต่อมาก็คือว่า ทำอย่างไรถึงจะลดการกระจุกตัวได้

เมื่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์เสนอร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฯ ต่อมาได้เลื่อนออกไป ทั้งที่ข้อดีของพ.ร.บ.นี้ก็คือ ให้ที่ดินว่างเปล่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ มีการเก็บในอัตรา 0.05-2.00 % โดยให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเก็บภาษี


อุปสรรคของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อยู่ที่ไหน บางคนอาจคิดว่าอยู่ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ แต่มีข้อมูลน่าเชื่อถือว่าไม่ใช่ ....

กรณีญี่ปุ่น สมเด็จจักรพรรดินีของญี่ปุ่น เมื่อได้รับมรดกเป็นคฤหาสน์และที่ดิน ท่านต้องเสียภาษีมรดก แต่ไม่สามารถมีเงินสดมาเสียภาษีได้ จึงขายที่ดินให้รัฐบาล พสกนิกรจำนวนหนึ่งเดินขบวนเรียกร้องให้ยกเว้นภาษีนี้กับท่าน เพราะต้องการให้เก็บเอาสมบัติครอบครัวเอาไว้ แต่ท่านออกแถลงการณ์ขอร้องให้ยกเลิกการเดินประท้วง และบอกว่าท่านเป็นพลเมืองคนหนึ่งของญี่ปุ่น

ดังนั้น จึงจะเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และได้ขายที่ดินนั้นไป รัฐบาลต่อมาขายให้ อปท. อปท.ก็มีนโยบายนำที่ดินนั้นไปเป็นส่วนสาธารณะ พสกนิกรจำนวนหนึ่งมาต่อต้านเมื่อจะมีการรื้อคฤหาสน์ แต่ก็ต้องเลิก เพราะกฎหมายที่ญี่ปุ่นก็คือ กฎหมาย


ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยข้อมูลของนักการเมืองประเทศไทยในการถือครองที่ดินพบว่า พรรคเพื่อไทย มีจำนวน ส.ส. 173 คน ถือครองที่ดิน 21,000 ไร่ คิดเป็นมูลค่า 5 พันกว่าล้านบาท พรรคประชาธิปัตย์ 160 คน ถือครองที่ดิน 15,000 กว่าไร่ มูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท พรรคภูมิใจไทย 31 คน ถือครอง 4,000 ไร่ มูลค่า 730 ล้าน

พรรคเพื่อแผ่นดิน 29 คน ถือครอง 5,000 ไร่ มูลค่า พันกว่าล้าน ส่วนวุฒิสภาจำนวน 145 คน ถือครองที่ดินรวม 19,000 กว่าไร่ รวมมูลค่า 10,000 กว่าล้านบาท

หากรวมทั้งหมดทั้ง ส.ส.และส.ว.มีมากถึง 72,247ไร่ มูลค่า 24,805.3 ล้านบาท คิดเป็นค่าเฉลี่ย ส.ส. 121 ไร่ต่อคน ส่วน ส.ว. 123 ไร่ต่อคน


ปัญหาต่อมาก็คือไทยเก็บภาษีทางตรงได้น้อยกว่าทางอ้อม และเมื่อปี 2553 จากจำนวนประชากร 67 ล้านคน คนที่จะต้องเสียภาษีมีจำนวน 38 ล้านคน เสียภาษีเพียง 9 ล้านคน และจ่ายจริงเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้น

ประสบการณ์ของประเทศเกาหลีใต้ ก่อนหน้านี้เคยประสบปัญหาว่างงาน รายได้ประเทศลดลง ที่ดินมีราคาสูง มีการเดินประท้วง กลุ่มประชาคมต่างๆ รวมตัวกันเพื่อให้รัฐบาลดำเนินการเก็บภาษีที่ดิน จนทำให้ปี พ.ศ.2540 เกิดการปฎิรูประบบประกันสังคมและเสนอนโยบายการการันตีรายได้ขั้นต่ำ ให้คนจนสามารถอยู่ได้ จนทำให้ครัวเรือนมีรายได้ขั้นต่ำครัวเรือนละ 35,550 บาท

นอกจากนี้เกาหลีใต้ยังมีการปรับปรุงระบบสินค้าสาธารณะให้ครอบคลุม สามารถแก้ปัญหาการว่างงานให้ดีขึ้น และความสงสัยที่ว่าเขาหาเงินมาจากไหน พบว่าร้อยละ 58 มาจากการเก็บภาษีที่ดิน และร้อยละ 42 มาจากการเก็บภาษีอื่นๆ และรายได้หลักทั่วไป

อย่างไรก็ตามการหารายได้จากทรัพย์สินของรัฐถือว่าเป็นพลวัตที่น่าสนใจ สามารถเอารายได้จากมาตรการภาษีที่ดินมาใช้ได้ แล้วประเทศไทยถึงทำไม่ได้กับมาตรการตรงนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ของรัฐ และลดช่องว่างการกระจุกตัวของรายได้ สุดท้ายประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น.


Create Date : 21 มิถุนายน 2554
Last Update : 21 มิถุนายน 2554 10:30:12 น. 1 comments
Counter : 756 Pageviews.

 
แวะมาเยี่ยมค่ะ ทักทายค่ะ

แวะชมบล็อกของน้ำชาได้ค่ะ
ThaiLand Travel สถานที่ท่องเที่ยว



โดย: nonguide วันที่: 21 มิถุนายน 2554 เวลา:10:33:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com