All Blog
กยท.เผยสถานการณ์ส่งออกยางเพิ่ม
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเวที “Talk about Rubber” ครั้งที่ 2 โดยมี นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย และ นางสาวอธิวีณ์ แดงกนิษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจยาง ร่วมแถลงสถานการณ์ – แนวโน้มยางพารา พร้อมอัพเดท Mobile Application เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการยางยุคดิจิทัล เน้น เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการต่างๆ ของ กยท. สะดวก รวดเร็ว เป็นประโยชน์แก่ชาวสวนยางและผู้ใช้งาน   

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการ RUBBER WAY เป็นความร่วมมือระหว่าง กยท. กับ บริษัท RUBBER WAY PTE Ltd. โดยมีบริษัทผู้ผลิตล้อยางรายใหญ่ของโลกให้การสนับสนุน ได้แก่ กลุ่มมิชลินและคอนติเนนเทิล





 





 
โดยใช้แอพพลิเคชั่น RUBBER WAY เป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลนำมาจัดทำแผนที่ประเมินความเสี่ยง 4 ด้าน คือ การให้ความเคารพต่อบุคคล ในเรื่องการจ้างงาน ค่าจ้าง แรงงาน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย รวมถึงระบบการร้องเรียน การดูแลสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศและการรักษาป่าและการครอบครองที่ดิน การอบรมด้านการเกษตร และ ความโปร่งใสในการค้า ทั้งหมดนี้ เพื่อให้มีแนวทางในการพัฒนายางพาราสู่ความยั่งยืนตามความต้องการของผู้ใช้ยางหลักของโลก

รวมไปถึงการสร้างโอกาสในการจำหน่ายยางตรงสู่ผู้ผลิตยางล้อ โดยการดำเนินงานในปี 2565 กยท. มีแผนการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่พนักงาน กยท. ทั้ง 7 เขต จำนวน 700 คน และสำรวจข้อมูลของเกษตรกรชาวสวนยาง จำนวน 155,348 ราย โดยตั้งเป้าให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 46,604 ราย (ร้อยละ 30 ของกลุ่มเป้าหมาย) และปี 2566 จำนวน 108,744 ราย (ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมาย)
          
กยท. ได้นำ Mobile Application ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อให้บริการแก่สมาชิกเกษตรกรชาวสวนยาง และประชาชนทั่วไป โดยใช้ชื่อโครงการว่า “โครงการความร่วมมือจัดทำเครื่องมือเพื่อการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ให้กับสมาชิกผ่านรูปแบบ Mobile Application” ร่วมกับ บ. วี บิลด์ แอนด์ โอเปอร์เรต จำกัด เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการบริการต่างๆ ของ กยท.




 





 

ทั้งนี้เช่น การประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ การแจ้งเตือนที่สำคัญ การรับเรื่องร้องเรียน การแจ้งปัญหา การสำรวจความคิดเห็นจากเกษตรกร การเผยแพร่ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ รวมไปถึงการสนับสนุนสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากหน่วยงานภาครัฐและความร่วมมือเอกชนที่เข้าร่วม โดยพัฒนารูปแบบการสื่อสารให้มีความสะดวกรวดเร็ว กลุ่มเป้าหมายและผู้บริโภคเข้าถึงง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ผ่านทาง Smart Phone Application และ Platform ต่างๆ ด้วย

นางสาวอธิวีณ์ แดงกนิษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ ว่า ในปี 2565 มีผลผลิตยางประมาณ 4.905 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.82% แต่ช่วงไตรมาสที่ 1/2565 คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 1.186 ล้านตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 6.35%

ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม คาดมีผลผลิตประมาณ 0.387 ล้านตัน และ 0.142 ล้านตัน ตามลำดับ โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตยางลดลงในไตรมาสนี้ เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดกรีด (พื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคตะวันออก คาดว่าจะเริ่มปิดกรีดตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์) และสถานการณ์โรคใบร่วงในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 1 ล้านไร่






 






 

ส่งผลให้ผลผลิตยางออกสู่ตลาดลดลง ด้านปริมาณการส่งออกยางปี 2565 มีประมาณ 4.218 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.03% โดยในไตรมาสที่ 1 คาดว่าจะมีการส่งออกยางประมาณ 1.107 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 4.29% ในขณะที่สต็อกยางมีแนวโน้มลดลง รวมถึงสต็อกชิงเต่าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยหนุนให้การส่งออกเพิ่มขึ้น
         
เศรษฐกิจของประเทศผู้ใช้ยางยังคงขยายตัว เห็นได้จาก ดัชนี PMI ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำ GDP ประเทศสหรัฐอเริกา ญี่ปุ่น EU ยังคงขยายตัวอยู่เหนือระดับ 50 ส่วนประเทศจีนถึงจะอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 50 แต่ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน






 




 
 






 
ประกอบกับอุตสาหกรรมยางล้อเพิ่มการผลิตสูงขึ้น ยอดขายรถยนต์ในปี 2564 มี 77.747 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 4.6% โดยเฉพาะจีนยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้น 4.3% ด้าน ANRPC  คาดว่าการผลิตยางทั้งโลกประมาณ 14.554 ล้านตัน และปริมาณการใช้จะอยู่ที่ 14.398 ถึง 14.822 ล้านตัน ภายใต้สมมติฐานว่าการใช้จะขยายตัวร้อยละ 2-5

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าในปี 2565 การผลิตน้อยกว่าปริมาณความต้องการใช้ยางด้านโอกาสที่ช่วยสนับสนุนยางพาราในปีนี้ ได้แก่ ฤดูกาลและสภาพอากาศ การแพร่ระบาดของ COVID- 19 ทำให้มีความต้องการใช้ถุงมือยางและชุด PPE มากขึ้น กระแสการลดโลกร้อน ทำให้มีความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น ความต้องการยางล้อก็เพิ่มขึ้นด้วย และประเทศญี่ปุ่นมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ยางพาราในปริมาณเพิ่มมากขึ้น เช่น ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง สายยาง ด้านความท้าทายของยางพารา ที่เป็นอุปสรรคต่อปริมาณการใช้ยาง ได้แก่ การขาดแคลนชิปSemiconductor ส่งผลต่อปริมาณการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ต้นทุนการขนส่งที่แพงขึ้น การเคลียร์สินค้าช้ากว่าปกติ ส่งผลต่อ Supply Chain
         



 



 



Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2565
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2565 17:05:34 น.
Counter : 535 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments