อาการของผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อม


ผู้ที่เริ่มเป็น ข้อเข่าเสื่อม จะเริ่มจากมีอาการปวดข้อ ข้อที่ปวดจะเป็นข้อที่ต้องรองรับน้ำหนักของร่างกาย ในคนไทยหรือคนที่มีเชื้อสายจีนมักเป็นข้อเข่า แต่ในฝรั่งชาติตะวันตกในยุโรปหรืออเมริกาจะเป็นข้อสะโพก อาการปวดข้อในระยะแรกจะเกิดขึ้นเวลาเดินมาก ยืนมาก หรือเดินขึ้นลงบันไดมากๆ เวลาเดินอาจมีเสียงดังกร๊อบแกร๊บในข้อ นั่นหมายความว่าโครงสร้างต่างๆ ในข้อ เริ่มไม่แน่นแฟ้นเหมือนแต่ก่อน เริ่มมีความหลวมจากกระดูกอ่อนในข้อเริ่มไม่กระชับรับกัน กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเริ่มอ่อนแอลง ไม่ฟิตเหมือนเก่า จึงทำให้เกิดเสียงดังเวลาเดิน ต่อมาอาการปวดข้อเกิดได้ง่ายขึ้น เดินไม่นานก็ปวด บางวันมีปวดตอนกลางคืนที่หยุดใช้งานหลังจากที่ใช้งานข้อมาทั้งวัน อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อข้อเสื่อมมากขึ้น เข่า 2 ข้างเริ่มโก่ง จนขา 2 ข้างโก่งออกจากกัน หรือเวลาลุกจากท่านั่งแล้วต้องยืนเกร็งนิ่งสักพักกว่าจะก้าวออกเดินได้ต่อไป สุดท้ายแค่ขยับข้อจะลุกนั่งก็ปวดแล้ว เพราะไม่เหลือกระดูกอ่อนในข้อ เวลาขยับข้อแล้วกระดูก 2 ข้างจะบดกันจึงปวดมาก ทำให้เดินไม่ได้ กลายเป็นพิการไปไหนมาไหนต้องนั่งรถเข็นในที่สุด

ข้อเข่าเสื่อมนี้อาจเกิดร่วมกับความเสื่อมของข้ออื่นๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะข้อกระดูกสันหลัง อาจมีกระดูกงอกไปกดเบียดเส้นประสาทหรือปวดร้าวมาตามขาข้างใดข้างหนึ่งหรือ 2 ข้างก็ได้ ข้อปลายนิ้วของนิ้วมือก็อาจจะเกิดเสื่อมได้ มีกระดูกงอกเป็นปุ่มยืนขึ้นมาบริเวณโคนเล็บ มักจะเริ่มจากข้อนิ้วก้อยก่อน ต่อมาก็ค่อยๆ งอกขึ้นได้เกือบทุกนิ้ว ความเสื่อมของข้อต่างๆ ทั่วร่างกายนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน เราคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เมื่อถึงเวลา แต่เราสามารถชะลอความเสื่อมเหล่านี้ให้เสื่อมช้าลงหรือเกิดอาการให้ช้าที่ สุดได้ โดยพยายามควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไป

ถ้า น้ำหนักตัวมากก็ควรพยายามลดน้ำหนักตัวลง โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย แต่ปัญหาของคนวัยทองเวลามีอายุมากขึ้น การลดน้ำหนักตัวจะทำได้ไม่ง่ายนัก จะให้มาออกกำลังกายมากๆ หรือคุมอาหารมากๆ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ทางที่ดีคงจะต้องเริ่มตั้งแต่อายุ 30-40 ปี ที่ข้อเริ่มจะเสื่อมแล้ว พอน้ำหนักตัวเริ่มขึ้นก็ต้องพยายามควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างให้น้ำหนักขึ้นเกินเกณฑ์ ถ้าปล่อยให้น้ำหนักตัวขึ้นมากไปแล้ว ยิ่งอายุมากขึ้น การลดน้ำหนักตัวก็ยิ่งทำได้ยากขึ้นยากขึ้น

ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามลดการใช้งานข้อที่มีโอกาสจะเสื่อมให้น้อยลง โดยเฉพาะท่าที่จะทำให้เสื่อมเร็ว เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งยองๆ ในสมัยก่อนที่ห้องน้ำส่วนมากยังเป็นส้วมชนิดส้วมซึมที่ต้องนั่งยองๆ ปรากฏว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นข้อเข่าเสื่อม ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนส้วมเป็นชนิดส้วมชักโครก ที่นั่งถ่าย ปัญหาข้อเข่าเสื่อมก็น้อยลง หลีกเลี่ยงการเดินขึ้นเดินลงบันไดมากๆ เพื่อป้องกันข้อเข่าเสื่อม มีคนตั้งข้อสังเกตว่า ครูที่ทำงานตามโรงเรียนประชาบาลในจังหวัดต่างๆ ที่มีสภาพเป็นตึกเรียน 3-4 ชั้นที่ไม่มีการติดตั้งลิฟท์ให้ใช้ แต่ละวันคุณครูต้องเดินขึ้นลงบันไดไปสอนตามห้องเรียนต่างๆ ขึ้นลงบันไดวันละหลายสิบเที่ยว ปรากฏว่ามีครูจำนวนไม่น้อยเป็นข้อเข่าเสื่อม เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะการเดินขึ้นเดินลงบันไดมากๆ เป็นเวลาหลายปีนั่นเอง

วิธีหนึ่งที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของข้อ ช่วยให้เสียงดังกร๊อบแกร็บในข้อที่เกิดขึ้นเวลาเดินมากๆ หรือขึ้นลงบันไดลดลงคือ การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ ข้อให้แข็งแรง เช่น บริหารกล้ามเนื้อหน้าขา 2 ข้างให้แข็งแรงเอาไว้ โดยการยกขาขึ้นมากเกร็งไว้สักครู่ควรทำบ่อยๆ เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดข้อเข่าเสื่อม

แหล่งข้อมูล : //www.ramaclinic.com




Create Date : 17 มีนาคม 2554
Last Update : 29 มีนาคม 2554 14:02:04 น.
Counter : 324 Pageviews.

5 comments
  
ขอบคุณค่ะ กำลังปวดหัวเข่าอยู่เลย
โดย: i'm not superman วันที่: 17 มีนาคม 2554 เวลา:12:20:40 น.
  
เป็นบทความที่มีประโยชน์มากเลยนะค่ะ..รู้อย่างนี้ต้องเตรียมระมัดระวังตัวแต่อายุยังน้อยๆค่ะ..ขอบคุณมากค่ะ
โดย: พิรุณร่ำ วันที่: 25 มีนาคม 2554 เวลา:14:22:37 น.
  
ขอบคุณสำหรับบทความดีดีครับ
โดย: phochanart IP: 10.6.14.3, 203.99.253.13 วันที่: 25 มีนาคม 2554 เวลา:20:20:50 น.
  
เป็นบทความที่ดีจังค่ะ ต้องตรวจเช็คตัวเองบ้างซะแล้วล่ะ
โดย: house of hutta (FeEziLLa ) วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:18:53:04 น.
  
มาเยี่ยมครับ
โดย: blogwhite วันที่: 1 พฤษภาคม 2554 เวลา:0:14:35 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

chaichoti
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ถ้ามีโอกาสจะเข้าวัดฟังธรรม ทำทาน รักษาศีล และนั่งสมาธิ เพื่อเติมบุญ บุญเท่านั้นที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จทุกประการ
............... ข้อเข่าเสื่อม ข้อต่ออักเสบ MAXIMUV (แม๊กซิมูฟ) โรคกระดูกพรุน น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว สำนักพิมพ์โฟกัส foucs2552 ............................................................. ============= Counter Start: Mar. 25,2011