ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ


ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Health Plus)

ผู้ใหญ่โดยทั่วไปต้องการเวลา 7-8 ชั่วโมง สำหรับการนอนหลับสนิท ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีอื่นใดที่จะสามารถทดแทนวิธีการนอนหลับสนิทได้ เพราะชีวเคมีในร่างกายของเราต้องการการนอนหลับอย่างเต็มที่ และการนอนหลับโดยปราศจากการรบกวนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

แต่สังคมสมัยใหม่ทำให้ช่วยเวลาในการปฏิบัติการกิจยาวแต่ละวันยาวนานขึ้น และเปลี่ยนระบบเวลากลางวัน-กลางคืนของร่างกายเรา

นอกจากนี้ร่างกายยังต้องรับแรงกดดันที่จะต้องมีการเรียนรู้ การเข้าสังคม การออกกำลังกายที่ การเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นการดูหนังทีวีซีรีส์เรื่องล่าสุดและการทำกิจกรรมอื่นๆ ภายในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ทำให้เวลาในการนอนของเราลดลง

อาการผิดปกติของการนอนไม่หลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจ (หลังลิ้น) ระหว่างหลับ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการหายใจ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการการกรน ภาวะหายใจลำบาก หายใจเฮือกและสำลักกรน การตีบตันของทางเดินหายใจ ทำให้ต้องใช้แรงหายใจมากขึ้น นำไปสู่การหายใจที่ไม่สม่ำเสมอ และทำให้ผู้ป่วยไม่ได้พักผ่อนระหว่างการนอนในช่วงเวลากลางคืน

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับยังเป็นสาเหตุของการปวดศีรษะ สมาธิสั้น การสูญเสียความทรงจำ การใช้วิจารณญาณที่ผิดพลาด และการเซื่องซึมหรือง่วงนอน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดในสมอง หากไม่ได้รับการบำบัดรักษา

ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมีอาการหยุดหายใจซ้ำๆ ระหว่างการนอนหลับ เนื่องจากทางเดินหายใจด้านบนถูกอุดกั้น การตีบตันของทางเดินหายใจอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ ลิ้นที่มีขนาดใหญ่ เนื้อเยื่อพิเศษหรือความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่คล้อยลงไปอุดกั้นการเปิดของทางเดินหายใจ

การหยุดหายใจในแต่ละครั้งอาจมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 2-3 วินาที จนถึงหลายๆ นาทีและอาจจะเกิดขึ้น 5 ถึง 30 ครั้งหรือมากกว่าในแต่ละชั่วโมง การหยุดหายใจนี้จะทำให้หัวใจทำงานหนัก และนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงหลายโรค (ข้อมูลจากกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์ของอเมริกา (NIH), 2009)

อาการ

กรนเสียงดังและมีลักษณะติดขัด

หายใจเฮือกหรือสำลักกรนระหว่างนอน

นอนหลับในช่วงกลางวันมากเกินไป

อาการอย่างอื่นของภาวการณ์หยุดหายใจ ขณะนอนหลับอาจรวมถึง

ปวดศีรษะในตอนเช้า

ปัญหาเรื่องความจำหรือการเรียนรู้

รู้สึกหงุดหงิด

ไม่สามารถมีสมาธิในการทำงานได้

อารมณ์แปรปรวนหรือมีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพ บางทีรู้สึกซึมเศร้า

คอแห้งขณะตื่น

ปวดปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน

ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับอาจความเสี่ยงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดในสมอง โรคอ้วน และโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจล้มเหลวหรือทำให้อาการแย่ลง จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ และมีโอกาสที่จะประสบอุบัติเหตุในที่ทำงานหรือจากการขับขี่มากขึ้น (ข้อมูลจากกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์ของอเมริกา (NIH), 2009)

ผลกระทบ

มีการประเมินว่า ชาวอเมริกันได้รับผลกระทบจากภาวะการนอนหลับผิดปกติ อาทิ การทำงานอย่างไม่มีประสิทธิผล สูญเสียค่ารักษาพยาบาล การลาป่วย และส่งผลกระทบถึงความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพย์สิน มีมูลคำว่า 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในแต่ละปี

ในภาวการณ์นอนหลับผิดปกติ สถานการณ์การเกิดภาวะออกซิเจนลดลงเป็นพักๆ และในขณะเดียวกันร่างกายไม่ได้มีการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนความเครียด ฮอร์โมนนี้ทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น และมีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดในสมอง อัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอรวมถึงภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่ไม่ได้รับการรักษาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเผาผลาญอาหาร (Metabolism) เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วนและเบาหวาน

การลดลงของระดับออกซิเจนในเลือดแม้เพียงในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการปวดศีรษะในตอนเช้า และมีสมาธิในการทำงานสั้นลง และยังส่งผลถึงการไม่สามารถใช้วิจารณญาณอย่างเหมาะสม ความสามารถในการเรียนรู้และความจำลดลง

การง่วงนอนนำไปสู่ปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม รวมทั้งโรคซึมเศร้า และผู้ที่เป็นโรคนี้จะง่วงนอนมากกว่าคนปกติ 3 เท่า ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนหรือที่ทำงานมากขึ้น

สำนักงานความปลอดภัยบนทางหลวงแห่งชาติ (The National Highway traffic Safety Administration) ประเมินว่า การเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนกันประมาณ 100,000 รายในแต่ละปี โดยจากการรายงานของตำรวจอุบัติเหตุเกิดขึ้นเกิดผู้ขับขี่ที่ง่วงนอน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 รายและผู้บาดเจ็บอีกกว่า 71,000 ราย

ใครคือผู้ที่มีความเสี่ยง

ทุกคนมีความเสี่ยงที่จะประสบกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ การหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับสามารถเกิดได้ทั้งในเพศชาย เพศหญิง และเด็กในทุกๆ วัย

ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โดยทั่วไปไม่ได้ตระหนักว่าเกิดการหยุดหายใจในช่วงเวลากลางคืน

มีการประเมินว่าผู้ใหญ่ชาวอเมริกันกว่า 12 ล้านคนมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับทำให้โรคดังกล่าวกลายเป็นโรคที่เป็นกันทั่วไป เช่นเดียวกับโรคหอบหืด

กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจ ขณะนอนหลับมีน้ำหนักมากเกินไป

พบมากในเพศชาย

กว่า 1 ใน 25 ชายวัยกลางคนและ 1 ใน 50 หญิงวัยกลางคนมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของเด็กและ 10 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่าของผู้ใหญ่ที่มีอายุเกิน 65 ปี มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

พบภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้อย่างแพร่หลายในชาวแอฟริกัน อเมริกัน เอเชีย คนพื้นเมืองอเมริกันและชาว ฮิสพานิก (Hispanics) กว่าชาวผิวขาว (คอเคเซียน)

การวินิจฉัยโรค

พูดคุยปัญหาการนอนและอาการกับแพทย์ ถ้าแพทย์สงสัยว่าคุณมีความผิดปกติด้านการนอน แพทย์จะแนะนำคุณให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนเพื่อตรวจวินิจฉัย

การศึกษาด้านการวินิจฉัยโรคการนอนในช่วงเวลากลางคืนหรือที่เรียกว่า โพลีโซมโนแกรม (polysomnogram) หรือ (PSG) ถูกนำมาใช้ในการกำหนดชนิดและความรุนแรงของความผิดปกติของการนอนและการรักษาที่เหมาะสมจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเกิดการหยุดหายใจ การละดุ้งตื่นบ่อยครั้งระหว่างหลับและระดับออกซิเจนในเลือดมีการลดลง

การบำบัดรักษา

การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่อง Continuous Positive Airway Pressure (CPAP) เป็นวิธีการบำบัดรักษาด้วยแรงดันบวกทางเดินหายใจ (PAP) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด และเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ (OSA)

การรักษาทำโดยการปล่อยแรงดันอากาศแบบเบาเข้าจมูกผ่านหน้ากาก

แรงดันอากาศป้องกันการตีบตันของทางเดินหายใจ ทำให้หายใจได้อย่างอิสระระหว่างการนอน

การรักษาแบบไม่ต้องต่อท่อกับเครื่องช่วยหายใจ (Noninvasive therapy) สามารถบรรเทาอาการภาวการณ์หยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นเมื่อใช้ตามคำสั่งแพทย์

วิธีการบำบัดรักษาอื่นๆ รวมถึง

การผ่าตัด

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์/พฤติกรรม

ข้อดีดีของการรักษาเป็นประจำ

ลดผลกระทบของการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ

การใช้การบำบัดรักษาด้วยแรงดันบวกทางเดินหายใจ (PAP) ในช่วงเวลากลางคืนเป็นประจำ มีข้อดี

พลังงานและความสนใจระหว่างวันเพิ่มขึ้น

ความดันโลหิตลดลง

ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดในสมอและหัวใจวายลดลง

มีประสิทธิภาพในการทำงานทั้งที่บ้านและที่ทำงานเพิ่มขึ้น

คุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้น

ขอขอบคุณ //www.kapook.com


แนะนำบทความ หรือหนังสือดี ๆ ให้ทราบ

สำนักพิมพ์โฟกัส
โรคข้อเข่าเสื่อม






Create Date : 04 เมษายน 2554
Last Update : 4 เมษายน 2554 9:35:28 น.
Counter : 435 Pageviews.

3 comments
  
อรุณสวัสดิ์ค่ะคุณ chaichoti คุณยายหนูก็เป็นโรคนี้ค่ะ ท่านเสียไปได้ 9 ปีแล้ว แต่ช่วงนั้นที่บ้านหนูยังไม่รู้จักโรคนี้ก็ทำให้การรักษาผิดทิศผิดทาง คลำผิดคลำถูกกันจนกระทั่งท่านเสีย นี่ถ้ารู้ทันโรคซะก่อน ป่านนี้คุณยายอาจจะยังอยู่น่ะนะคะ ขอบคุณสำหรับบทความมีประโยชน์ที่นำมาฝากค่ะ
โดย: i'm not superman วันที่: 5 เมษายน 2554 เวลา:6:10:00 น.
  
เป็นอยู่เหมือนกัน แต่ไปรักษาแล้ว ตอนนี้ดีขึ้น ตอนเป็นทรมานมาก

อาการจะแบบ หายใจปกติแต่จะคล้ายๆคนหอบ แต่ไม่เร็วน่ะ

พอเราเริ่มเคลิ้มหลับ แต่เราจะยังรุ้สึกตัว

แล้วเราจะสะดุ้ง และจะมีความรุ้สึกว่า เมื่อกี้เราไม่ได้หายใจ

สำหรับตัวเราหมอเค้าบอกว่า เป็นภาวะการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ แต่

ตอนนี้ดีขึ้นแล้ว เพราะออกกำลังกาย จ๊ะ
โดย: iboombey วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:16:20:28 น.
  
มีควาสุขเช่นกันนะจ่ะ อิอิ
โดย: ตะวันเจ้าเอย วันที่: 4 พฤษภาคม 2554 เวลา:15:35:58 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

chaichoti
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ถ้ามีโอกาสจะเข้าวัดฟังธรรม ทำทาน รักษาศีล และนั่งสมาธิ เพื่อเติมบุญ บุญเท่านั้นที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จทุกประการ
............... ข้อเข่าเสื่อม ข้อต่ออักเสบ MAXIMUV (แม๊กซิมูฟ) โรคกระดูกพรุน น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว สำนักพิมพ์โฟกัส foucs2552 ............................................................. ============= Counter Start: Mar. 25,2011