Group Blog
 
All blogs
 
วัดหน้าพระเมรุ (Wat Na Phra Men)

ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง (เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศักราช 2046 มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” ที่ตั้งของวัดนี้เดิมคงเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้นต่อมาจึงได้สร้างวัดขึ้น มีตำนานเล่าว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ. 2046 วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อครั้งทำศึกกับพระเจ้าบุเรงนองได้มีการทำสัญญาสงบศึกเมื่อ พ.ศ. 2106 ได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับวัดหัสดาวาส

วัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระอุโบสถมีขนาดยาว 50 เมตร กว้าง 16 เมตรเป็นแบบอยุธยาตอนต้นซึ่งมีเสาอยู่ภายใน ต่อมาสร้างขยายออกโดยเพิ่มเสารับชายคาภายนอกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหยียบเศียรนาคและมีรูปราหูสองข้างติดกับเศียรนาค หน้าต่างเจาะเป็นช่องยาวตามแนวตั้ง เสาเหลี่ยมสองแถวๆ ละแปดต้น มีบัวหัวเสาเป็นบัวโถแบบอยุธยา ด้านบนประดับด้วยดาวเพดานเป็นงานจำหลักไม้ลงรักปิดทอง ส่วนลายแกะสลักบานประตูพระวิหารน้อย เป็นลายแกะสลักด้วยไม้สักหนา แกะสลักจากพื้นไม้ไม่มีการนำชิ้นส่วนที่อื่นมาติดต่อเป็นลายซ้อนกันหลายชั้น พระประธานในอุโบสถสร้างปลายสมัยอยุธยาเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช มีนามว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” จัดเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบันและมีความสมบูรณ์งดงามมากสูงประมาณ 6 เมตรหน้าตักกว้างประมาณ 4.40 เมตร ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้โดยรักษาแบบอย่างเดิมไว้และได้เชิญพระพุทธรูปศิลาสีเขียวหรือพระคันธารราฐประทับนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีจากวัดมหาธาตุมาไว้ในวิหารสรรเพชญ์(หรือเรียกว่า วิหารน้อยเพราะขนาดวิหารเล็ก มีความยาว 16 เมตร กว้างประมาณ 6 เมตร) ซึ่งอยู่ข้างพระอุโบสถ พระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ นับเป็น 1 ใน 5 องค์ที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่าควรแก่การเก็บรักษาไว้ พระอุโบสถเปิดตั้งแต่เวลา 08.00-17.30 น.

ความเชื่อและวิธีการบูชา พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ เป็นที่เคารพบูชาของชาวกรุงเก่าและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่มาชมความงามและนับถือในความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน เชื่อกันว่าหากได้มาสักการะ จะบังเกิดความร่มเย็น ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่และธุรกิจการค้า

ที่มา: คลิกที่นี่

Formerly known as Wat Phra Merurachikaram, the temple is located across the river north of the palace. Although the date of construction is unknown, the temple has been restored a number of times but still has a finely proportioned ubosot and viharn. The latter contains a large Dvaravati stone Buddha seated in European style, his hands on his knees, which some scholars think originated in Nakhon Pathom.

The Ubosot design is very old in the typical Thai style. The most interesting object is the principal Buddha image, which is fully decorated in regal attire. The most interesting fact attributed to the image is that it escaped destruction when the Burmese were burning everything down. It was from the grounds of this temple that the Burmese King Chao Along Phaya decided to fire a cannon at the Grand Palace.

Admission to the temple which is just over the bridge near Si Sanphet Road is 10 bahts.

Original: click here

picture












Create Date : 24 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2552 0:52:51 น. 2 comments
Counter : 2147 Pageviews.

 
เคยไปวัดนี้และยืนในมุมของภาพที่สอง ต้องชมสถาปนิกสมัยโน้น ยิ่งยืนพินิจพิจารณานานเท่าใดก็ยิ่งซาบซึ้งเป็นร้อยเท่าทวีคูณ น่าเสียดายที่วัดอื่นๆถูกทำลายไปหมด

ขอบคุณสำหรับภาพถ่ายที่ควรแก่การอนุรักษ์

Thank You Graphics

Get Thank You Graphics at Jhocy.com



โดย: nathanon วันที่: 24 พฤศจิกายน 2552 เวลา:1:57:29 น.  

 
ทำไมถึงก็อปไม่ได้


โดย: แคท IP: 125.26.12.175 วันที่: 14 สิงหาคม 2556 เวลา:19:30:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

rangsitk4
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add rangsitk4's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.