ประวัติความเป็นมาของ "7-11"
ประวัติความเป็นมาของ7-11 ตั้งแต่แรกเริ่ม จนถึงปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

จุดกำเนิดของร้านค้าสะดวกซื้อชื่อดังต้องย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ.2470 บริษัทเซาท์แลนด์ ไอซ์ ซึ่งก่อตั้งโดยนายจอห์น เจฟเฟอร์สัน ได้เปิดร้านให้บริการน้ำแข็งตอบสนองความต้องการลูกค้าแทบจะตลอดวัน (ประมาณ 16 ชั่วโมง/วัน) ในช่วงฤดูร้อนและไม่มีวันหยุดเลย สร้างความพอใจให้กับลูกค้าและสร้างชื่อเสียงให้กับร้านมาก

ต่อมาเริ่มมีการขยายสินค้าไปสู่สินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ กลายเป็นลักษณะของร้านชำหรือร้านสะดวกซื้อ ใช้ชื่อร้านว่า โทเทม สโตร์ Tote"m Store และแนวคิดนี้กลายเป็นปรัชญาสำคัญของร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในปัจจุบัน

จุดหักเหของธุรกิจจากร้านค้าปลีกเล็กๆ จนกลายเป็นธุรกิจใหญ่โตมีนายโจ ทอมป์สัน เป็นผู้คิดพัฒนารูปแบบร้านค้าสะดวกซื้อให้กลายเป็นธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์เต็มรูปแบบ เพียง 12 ปีหลังการก่อตั้ง ขยายร้านได้ถึง 60 สาขาทั่วดัลลัส รายได้และกำไรหลักๆ มาจากยอดขายสินค้าอื่นๆ และจำนวนร้านที่ขยายเพิ่มมากขึ้น

ปี พ.ศ.2488 บริษัทเปลี่ยนชื่อเป็น เซาธ์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น มาจนถึงปัจจุบัน ถัดมาอีกปี ได้เปลี่ยนชื่อร้านค้าปลีกเป็น Seven-Eleven เซเว่น-อีเลฟเว่น ภายใต้เครื่องหมายการค้า 7-11 เพื่อรองรับการขยายกิจการนี้ เนื่องจากต้องการสื่อถึงเวลาที่เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ 07.00-23.00 น. ซึ่งก็คือ 07.00 am.-11.00 pm. นั่นเอง

ธุรกิจ 7-11 ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนราวปี 2493-2503 ได้รับความนิยมสูงสุดจากการสำรวจทางโทรทัศน์ กระทั่งปี 2517 เริ่มขยายกิจการสู่ประเทศญี่ปุ่น และประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน จากนั้นก็แพร่หลายไปทั่วโลก

7-11เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยที่สภาพสังคมกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจแบบสังคมเมือง ชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยความเร่งรีบแข่งกับเวลา ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี เห็นว่าธุรกิจนี้สอดคล้องกับสังคมที่กำลังจะเปลี่ยนไปจึงได้เซ็นสัญญาซื้อสิทธิประกอบกิจการค้าปลีก (License) ภายใต้ชื่อ 7-Eleven มาจากบริษัทเซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2531 หลังจากใช้เวลาศึกษาธุรกิจมาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม โดยเปิดร้านสาขาแรกในเมืองไทยตรงหัวมุมถนนพัฒน์พงษ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2532 จากนั้นก็เพิ่มสาขาเรื่อยมาจนปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ


จากวันแรกที่ 7-Eleven เปิดให้บริการที่ซอยพัฒนพงษ์เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ถึงวันนี้สังคมไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับร้านค้าแห่งนี้ที่ขยายสาขาครอบคลุมและแทรกตัวอยู่ตามชุมชนทั่วประเทศ และมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการถึงวันละกว่า 3 ล้านคน

วลีที่ว่า "รับขนมจีบ ซาละเปาเพิ่มไหมคะ" ที่แคชเชียร์ร้าน 7-Eleven จะเอ่ยถามลูกค้าทุกครั้งที่ชำระเงินนั้น เมื่อดูจากตัวเลขการขายโดยเฉลี่ยแล้วจะมีการกล่าวถึงวลีนี้ในแต่ละสาขาวันละกว่า 1,000 ครั้ง เมื่อคูณกับจำนวนสาขาที่มีอยู่กว่า 3,000 แห่งด้วยแล้วน่าจะทำให้คำกล่าวอันเป็นเอกลักษณ์ของร้าน 7-Eleven นี้กลายเป็นวลีที่มีการกล่าวมากที่สุดในประเทศไทยเลยก็เป็นได้

ถึงแม้จะไม่มีข้อมูลตัวเลขมายืนยันว่า ยอดขายขนมจีบและซาลาเปาภายในร้าน 7-Eleven จำนวนเท่าใดที่ได้มาจากการกล่าววลีที่ว่านี้ แต่อย่างน้อยก็มีส่วนช่วยสร้างการรับรู้แบรนด์ 7-Eleven ในใจของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี เพราะแม้แต่ในภาพยนตร์โฆษณาก็ยังมีการนำเอาคำกล่าวนี้ไปใช้ด้วย

7-Eleven ในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในหมู่ผู้บริโภคชาวไทย แตกต่างจากเมื่อ 15 ปี ก่อนที่เพิ่งจะเปิดร้านสาขาแรกที่ซอยพัฒนพงษ์ ซึ่งในเวลานั้นร้านสะดวกซื้อ (convenient store) ยังเป็นสิ่งแปลกใหม่ในสังคมไทย การเกิดขึ้นของ 7-Eleven ในประเทศไทยเป็นผลจากการเดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้งของธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเครือ ซี.พี.ที่ได้พบเห็นร้านค้าเช่นนี้มีอยู่ทั่วไปในสังคมตะวันตก จึงเกิดความคิดว่าร้านค้าประเภทนี้น่าจะได้รับความนิยมใน ไทยเช่นกัน รวมทั้งยังเอื้อต่อธุรกิจโดยรวมของเครือ เพราะสามารถใช้เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าในเครือ ซี.พี.ได้อีกทางหนึ่ง

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นทำให้ 7-Eleven กลายเป็นธุรกิจหลักกลุ่มหนึ่งของเครือ ซี.พี.นอก เหนือจากเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) และทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ซึ่งล้วนจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งสิ้น โดยในปีที่ผ่านมา 7-Eleven มีรายได้รวมถึงกว่า 78,000 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิเกือบ 1,700 ล้านบาท หรือคิดง่ายๆ ว่าในแต่ละวัน 7-Eleven จะมีผลกำไรมากกว่า 4 ล้านบาทเลยทีเดียว

นอกจากนี้ร้านค้าที่มีกว่า 3,000 สาขาของ 7-Eleven ยังกลายเป็นเครือข่ายการค้าและบริการที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะถ้านับจำนวนร้าน 7-Eleven กับกิจการอื่นเปรียบเทียบกันแล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเครือข่ายของ 7-Eleven มีเหนือกว่าทั้งในด้านจำนวนและการครอบคลุมพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นตู้ ATM ของธนาคารแต่ละแห่ง จำนวนสาขา ของแต่ละธนาคาร เครือข่ายที่ทำการไปรษณีย์ หรือปั๊มน้ำมัน

ด้วยเหตุนี้เอง ร้าน 7-Eleven จึงเป็นเหมือนทำเลทองที่เป็นที่ หมายปองของผู้ผลิตสินค้าจำนวนมาก เพราะหากสามารถวางขายในร้าน 7-Eleven ได้เท่ากับมีเอาต์เล็ตจำหน่ายสินค้าทันที 3,000 แห่งทั่วประเทศ โอกาสที่จะแจ้งเกิดสินค้าได้สำเร็จก็ย่อมมีมากขึ้นตามลำดับ

ปัจจุบัน 7-11 มีนโยบายจะเพิ่มร้านแฟรนไซน์ให้มากขึ้นดังนั้นจึงเปิดให้พนักงานเลือกทำ Type B และให้บุคคลภายนอกเลือกสาขาเดิมทำ Type C

ถ้าอยากทำร้าน 7-11 จะทำอย่างไร?

1.เตรียมเงิน

7-11 แบบ B ที่ลงทุน 1,500,000 บาท
7-11 แบบ C ที่ลงทุน 1. 2,700,000 บาท

2.เตรียมตัวเรา(เป็น ผจก.ร้าน)และผู้ช่วยอีกคน ไปเข้าอบรม

ที่มา:




Create Date : 15 เมษายน 2555
Last Update : 15 เมษายน 2555 8:57:21 น.
Counter : 6024 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

iAblazel
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]