Pre-sessional Course สำคัญไฉน?

หลายต่อหลายคนที่ไม่ได้คลุกคลีกับการศึกษาต่อ หรืออาจจะอยากไปศึกษาต่อ แต่ยังไม่ได้ค้นหาข้อมูล พออ่านหัวข้อนี้อาจจะสงสัยว่า ไอ"pre-sessional course" คืออะไร ..

pre-sessional course คือ โปรแกรมการเรียนภาษาที่มหาวิทยาลัยจะกำหนดให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้สมัครเรียนที่ได้ conditional offer (ในกรณีที่คะแนนภาษาต่ำกว่าทางมหาวิทยาลัยต้องการ) โดยระยะเวลาเรียนจะขึ้นอยู่กับคะแนนของผู้สมัคร ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วระยะเวลาของมหาวิทยาลัยอาจไม่เท่ากันได้ เช่น มหาวิทยาลัย A กำหนดให้เรียนแบบ 4 สัปดาห์ 8 สัปดาห์ ในขณะที่มหาวิทยาลัย B อาจกำหนดเป็น 5 สัปดาห์ 10 สัปดาห์ หรือกระทั่ง 12 สัปดาห์

ทั้งนี้มีข้อความระวัง สำหรับบางมหาวิทยาลัย การเข้าเรียน pre-sessional coursr ไม่ได้แปลว่าจะทำให้ condition สิ้นสุดลง แต่จำเป็นต้องสอบหลังจากเรียนจบด้วย หรืออาจจะไปสอบ IELTS ใหม่ (ในกรณีที่เรียน pre-sessional course ไม่ผ่าน) ดังนั้นผู้สมัครจึงควรหาข้อมูลในส่วนตรงนี้ด้วย

นอกจากนี้ .. ยังมีข้อแตกต่างสำหรับผู้สมัครที่ได้รับ conditional offer กับ unconditional offer คือ ส่วนมากคนที่ได้ conditional offer จะไม่ได้ visa ยาว กล่าวคือ จะได้ visa แค่ระยะเวลาถึงเรียนคอร์สภาษาจบ แล้วต้องเสียค่าทำ visa ใหม่ที่ต่างประเทศ ในขณะที่คนที่ได้ unconditional offer ถ้าสมัครเรียนภาษาด้วย จะได้ visa ยาวจนเรียนปริญญาจบเลย

ทีนี้บางท่านอาจสงสัยว่า "อ้าวว!? สำหรับคนที่ได้ unconditional offer ที่สามารถไปเรียนได้ตอนเปิดเทอมได้เลยนั้น จะเรียนให้เปลืองเงินทำไม" ส่วนตัวแล้ว ผมเห็นว่า ถึงแม้ว่าจะสามารถไปเรียนตอนเปิดเทอมได้เลยนั้น การเรียน pre-sessional course ก็ยังจำเป็นอยู่ดี ทั้งนี้เพราะ ..

  1. การที่เราไม่ได้เรียนหลักสูตรอินเตอร์มา ควรจะเรียนเพื่อปรับตัว ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ส่วนมากจะปรับตัวกันได้ในเวลา 1 - 3 เดือน การไปเรียนคอร์สภาษาก่อน จะทำให้เรามีโอกาสปรับตัวได้มากขึ้น โดยไม่ต้องไปเสี่ยงให้เรียนไม่รู้เรื่องตอนเปิดเทอม ซึ่งกว่าจะปรับตัวได้อาจจะเป็นเวลาสอบภาคเรียนที่ 1 แล้ว ซึ่งจะส่งผลต่อคะแนนตอนเรียนจบอย่างไม่ต้องสงสัย
  2. การเรียน pre-sessional course จะช่วยฝึกฝนทักษะการฟัง การอ่าน การเขียน และการพูด ในการเรียนจริง เราจำเป็นต้องพูดเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (discussion) ซึ่งอาจารย์จะให้คะแนนในส่วนนี้ด้วย (class participation) นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีการนำเสนอ presentation ซึ่งแค่ภาษาไทยก็ยากอยู่แล้ว
  3. เป็นโอกาสในการหาเพื่อน เพราะจะสามารถเจอเพื่อนต่างสาขา ต่างวิชา นอกจากนี้ในขณะที่เรียน pre-sessional course อาจยังมีการพาเที่ยวเมืองอีกด้วย

ส่วนตัวผมเอง จากเดิมตอนที่ยังไม่ได้สอบ IELTS (ใช้คะแนน TOEFL ยื่นแทน) จำเป็นต้องเรียน pre-sessional course 10 สัปดาห์ แต่พอผมผ่านแล้ว ผมยังเลือกที่จะเรียนแบบ 4 สัปดาห์แทนด้วยเหตุผลข้างต้น ทั้งนี้ก่อนไป ผมยังได้ไปสมัครคอร์สวิชาทำนองนี้ในประเทศไทย คือ Academic English Program @AUA ราชดำริ ซึ่งจะทำให้ผมได้พัฒนาทักษะเหล่านี้ก่อนไปเรียนจริง (ซึ่งคงจะส่งผลพอๆกับการเรียน 10 สัปดาห์ แต่จ่ายในราคาที่ต่ำกว่า) ส่วนรายละเอียดของโปรแกรมสามารถหาได้จาก //www.auathailand.org/aepindex.php ครับ

ทั้งนี้การเรียน Academic  English Program (AEP) จำเป็นต้องเรียนที่สาขา ราชดำริ เท่านั้น และต้องสอบก่อนเรียนด้วยครับ โดยข้อสอบจะทดสอบการฟัง อ่าน เขียน และพูด โดยคล้ายๆ ข้อสอบ TOEFL iBT ครับ

โดยระดับคะแนนจะแบ่งออกเป็น 1 - 6 และหลังจากสอบ 1 ชม เขาจะติดคะแนนและสามารถสมัครเรียนได้ทันที อย่างไรก็ดีสำหรับใครที่ภาษาไม่ค่อยแข็งแรง และไม่ผ่านเกณฑ์ที่คะแนนระดับ 1 ก็จะไม่สามารถเรียนในหลักสูตรนี้ได้ครับ (พนักงานบอกว่า ที่คะแนนระดับ 1 จะเทียบเท่ากับ aua regular course level 9 - 10 ครับ)

คะแนนจะออกมาดังนี้ครับ

 




Create Date : 18 เมษายน 2555
Last Update : 18 เมษายน 2555 15:23:00 น.
Counter : 4207 Pageviews.

0 comment
มาซื้อกระเป๋าเดินทางกันเถอะ !!

บทความนี้จะเน้นในเรื่องของกระเป๋าเดินทางนะครับ แต่ก่อนจะไปถึงประเภท ชนิดของกระเป๋าเดินทางนั้น สำหรับคนที่ยังไม่มีกระเป๋าเดินทางใดๆ ควรจะสำรวจดูก่อนว่า ที่หมายที่ตนเองจะไป มีสายการบินใดลงบ้าง ทั้งนี้เพราะสายการบินแต่ละสายอนุญาตให้นำจำนวนกระเป๋าโหลดลงใต้เครื่องต่างกัน เช่น บัตรโดยสารแบบนักเรียนของ Emirates จะให้อนุญาตให้โหลดกระเป๋าลงใต้เครื่องได้ 1 ใบ น้่ำหนัก 30 kg ในขณะที่ British Airway จะอนุญาตให้โหลดกระเป๋าลงใต้เครื่อง 2 ใบ ใบละ 23 kg นอกจากนี้ทุกสายการบินจะอนุญาตให้ผู้โดยสารถือกระเป๋าขึ้นเครื่องได้อีก 1 ใบ (carry on) น้ำหนักประมาณ 7 kg

ทีนี้พอเรารู้ถึงจำนวนกระเป๋าที่แน่ชัดแล้ว มาเลือกซื้อกระเป๋ากันเถอะ .. โดยทั่วไปแล้วกระเป๋าเดินทางในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ

    • แบบแข็ง (Hard Case)

    • แบบผ้า (Soft Case)

ทั้งนี้ข้อดีและข้อเสียของแต่ละแบบแตกต่างกันคือ

ข้อดีและข้อเสียของ Hard Case

ข้อดีคือ เพราะเคสหนา ทำให้ปกป้องสิ่งของในกระเป๋าที่อาจแตกง่ายได้ครับ

ข้อเสียคือ เพราะเคสแข็ง จึงทำให้ใส่ของได้ไม่มาก (ยัดไม่ได้ครับ)

ข้อดีและข้อเสียของ Soft Case ก็จะตรงกันข้ามกับแบบบนครับคือ

ข้อดี สามารถจุของได้มาก (เนื่องจากแบบผ้า สามารถขยายได้ จึงยัดของได้มากกว่า)

ข้อเสีย ไม่สามารถป้องกันของแตกง่ายได้ครับ เสี่ยงในกรณีกระแทกและของอาจเสียหายได้

ทั้งนี้ไม่มีสูตรไหนตายตัวนะครับว่าแบบไหนดีกว่า ยังคงขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลนะครับ

 




Create Date : 12 เมษายน 2555
Last Update : 12 เมษายน 2555 21:54:46 น.
Counter : 2522 Pageviews.

0 comment
UK VISA Tier 4

การสมัคร VISA ที่ศูนย์ยื่นคำร้องขอวีซ่าของสหราชอาณาจักร

ที่ตั้ง: The UK Visa Application Centre (BTS ราชดำริ) 183 อาคารรีเจนท์ เฮ้าส์ ชั้น 2 (ติดกับ AUA) ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตประทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทรศัพท์: 02 800 8050

เวลาทำการ จ - ศ    8.30 - 15.00 น; รับหนังสือคืน 15.00 - 16.30 น

เอกสารที่ใช้นำมายื่นในการสมัครขอ VISA

  1. ใบสมัคร online สมัครได้ที่ //www.visa4uk.fco.gov.uk
  2. ใบ PBS Appendix 8 General Student Self Assessment Form ที่กรอกเสร็จสมบูรณ์
  3. ตั๋วแลกเงิน (ถ้าซื้อจากธนาคารสาขาต่างจังหวัด) หรือ แคชเชียร์เช็ค (เฉพาะธนาคารสาขาในกรุงเทพฯ) สั่งจ่าย British Embassy Bangkok ราคาค่าธรรมเนียม 14,450 บาท (Tier 4 สำหรับนักเรียนที่ศึกษาเกิน 6 เดือน) -- ณ วันที่ 12/4/55
  4. หนังสือเดินทาง (Passport) ที่กำหนดหมดอายุครอบคลุมระยะเวลาของวีซ่า มีหน้าว่างอย่างต่ำ 1 หน้า พร้อมสำเนาหน้าแรก 2 ชุด และสำเนาทุกหน้าที่มีตราเข้า-ออกเมือง 1 ชุด และหนังสือเดินทางฉบับเดิม (ถ้ามี) พร้อมสำเนาหน้าแรก
  5. บัตรประชาชน 1 พร้อมสำเนา 2 ชุด 
  6. รูปถ่ายพื้นหลังขาว ขนาด 45 mm * 35 mm จำนวน 1 ใบ
  7. Confirmation of Acceptance for Studies หรือ CAS เป็นหนังสือรับรองจากทางมหาวิทยาลัย โดยทางมหาวิทยาลัยจะออกก่อนคอร์สเริ่มไม่เกิน 3 เดือน
  8. เอกสารทั้งหมดที่ระบุใน CAS เช่น Transcript, Graduate Certificate, IELTS, etc พร้อมสำเนา
  9. Bank Statement เป็นภาษาอังกฤษ และมียอดเงินขั้นต่ำ (ไม่ต่ำกว่าค่าเรียนและค่าครองชีพตามสถานฑูตกำหนด*) คงไว้เป็นเวลา 28 วันทั้งนี้ต้องขอจากธนาคารสาขาที่ไปเปิดบัญชี และเอกสารต้องมีอายุไม่เกิน 1 เดือนจนถึงวันยื่นขอ VISA

  10. Financial Garantee เป็นภาษาอังกฤษ

    • กรณี นักเรียนเป็นเจ้าของบัญชี หรือ หนึ่งในเจ้าของบัญชี ต้องระบุชื่อเจ้าของบัญชีเป็นภาษาอังกฤษ โดยระบุว่า Mr/Ms ..(ชื่อนักเรียน).. has immediate access to this account

    • กรณี ผู้ปกครองเป็นเจ้าของบัญชี ต้องระบุชื่อเจ้าของบัญชีเป็นภาษาอังกฤษ โดยระบุว่า Mr/Ms ..(ชื่อผู้ปกครอง).. has immediate access to this account ทั้งนี้การใช้บัญชีของผู้ปกครองต้องมีเอกสารที่เพิ่มขึ้นมาด้วยคือ

      • สูติบัตรของนักเรียนฉบับจริง

      • ใบแปลสูติบัตรนักเรียน

      • จดหมายสปอนเซอร์

      • สำเนาบัตรประชาชนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจากผู้ปกครอง

      • ทะเบียนสมรส รวมถึงเอกสารการเปลี่ยนชื่อ ทั้งตัวจริงและฉบับแปล (กรณีชื่อนามสกุลในเอกสารข้างต้นไม่เหมือนกัน)

    • ตัวอย่าง Remarks: The minimum balance of xxxxx THB or xxx GBP has been maintained in this account since DD/MM/YYYY (A minimum of 28 days.)

    • PS หนังสือรับรองทางการเงิน (Bank Statement) ต้องมีอายุไม่เกิน 1 เดือน นับจากวันที่ยื่นสมัครVisa

    • PSS ชนิดของบัญชี ควรเป็นบัญชีออมทรัพย์ (พันธบัตร ทองคำ กองทุนหรือใบหุ้นไม่สามารถใช้ได้)

    • PSSS ยอดเงินขั้นต่ำ = (ค่าเทอม - 1500[ค่า deposit]) + ค่าครองชีพ 7,200 GBP (+( ค่าเรียนภาษา - deposit ค่าเรียนภาษา))

  11. ผลตรวจเชื้อวัณโรค (TB Certificate) จาก IOM สำหรับ Tier 4 (General / Adult) Student Visa

  12. ATAS (สำหรับนักเรียนที่เรียนพวกสายวิศวกรรม ควรเช็คด้วยว่าหลักสูตรที่สมัครต้องใช้ ATAS หรือไม่)

  13. ใบนัดหมาย online

***เอกสารทั้งหมดที่ใช้ยื่นต้องเป็นตัวจริง และเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ถ้าเอกสารใดเป็นภาษาอื่น ต้องได้รับการแปลจากผู้แปลที่ได้รับการรับรองจากสถานฑูตอังกฤษ และเอกสารทุกอย่างต้องถ่ายสำเนาไว้ด้วย***

ที่มา: Mcducation

การพิจารณาในการออก Visa จะใช้วิธีการคิดคะแนนแบบ Points Based System (PBS) โดยผู้สมัครต้องได้ 40 คะแนนเพื่อให้ตรงคุณสมบัติ แล้ว 40 คะแนนนี้มาจากไหน ..

    • 30 คะแนน พิจารณาจาก CAS (A Confirmation of Acceptance of Study) จากมหาวิทยาลัยที่ตอบรับผู้สมัครเข้าศึกษา ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัคร และหลักสูตรที่จะศึกษาต่อ
    • 10 คะแนน พิจารณาจากเอกสารทางการเงิน ซึ่งต้องครอบคลุมค่าเรียน และค่าที่พักตลอดระยะเวลาศึกษา




Create Date : 12 เมษายน 2555
Last Update : 12 เมษายน 2555 10:16:54 น.
Counter : 6905 Pageviews.

1 comment
Tips for IELTS Test

เนื้อหาในบทความนี้นะเน้น tips ที่ผมใช้ในการสอบ IELTS นะครับ โดยเทคนิคต่างๆที่ได้มานี้ ได้จากคำแนะนำ และหนังสือหลายๆแหล่งครับ จึงขอมาสรุปไว้ ณ ตรงนี้

ส่วนตัวผมเอง สอบ IELTS ครั้งแรกใช้เวลาเตรียมตัว 1 เดือนครับ หนังสือที่ใช้ในการเตรียมตัว ผมเคยลงไว้ใน Blog นี้แล้ว สามารถหาดูได้นะครับ ส่วนคะแนนผมได้ IELTS Band 7.5 (Listening 8 Reading 7.5 Writing 6.5 Speaking 7) ครับ

Listening

     ระยะเวลาสอบประมาณ 20 นาที พอสอบเสร็จจะมีเวลาให้ 10 นาทีในย้ายคำตอบจากกระดาษคำถาม (เวลาทำข้อสอบให้เขียนลงไปบนกระดาษคำถามเลย) ไปยังกระดาษคำตอบครับ โดยข้อสอบจะมีทั้งหมด 4 ส่วน จากง่ายไปยาก โดยเวลาในเทปถ้ามีการสะกดคำ แล้วเรายังหาที่ตอบไม่ได้ ให้จดไปลงข้างๆเลยครับ ส่วนใหญ่ถ้าเทปสะกดคำมาให้ออกแน่ๆ นอกจากนี้เวลาตอบให้เขียนตัวพิมพ์ใหญ่ให้หมดเลยครับ เป็นการป้องกันการพิมพ์พลาดของพวกชื่อถนน หรืออะไรที่เดี๋ยวขึ้นตัวใหญ่บ้าง เล็กบ้างครับ นอกจากนี้ ก่อนฟังเทปแต่ละส่วน จะให้เวลาเราดูคำถามก่อนครับ ให้วง Key word เลย และให้ดูคำถามข้ามไปอีกข้อครับ กันเราหลง ท้ายนี้ถ้าข้อไหนพลาดแล้ว อย่าไปสนใจครับ ไม่อย่างนั้นจะพลาดหมด

Reading

     จะมีให้อ่าน 3 บทความครับ จากง่ายไปยากเช่นกัน การสอบ Reading ที่ยากสุดคือต้องแข่งกับเวลาครับ ถ้าบริหารเวลาไม่ดี จะทำให้ทำไม่ทันได้ นอกจากนี้ข้อควรระวังเกี่ยวกับข้อสอบ Reading คือ จะไม่มีการเพิ่มเวลาในการย้ายคำตอบจากกระดาษคำถามครับ ดังนั้นเวลาจบแต่ล่ะ passage ควรเขียนคำตอบลงไปในกระดาษคำถามเลย ส่วนตัวอักษรก็ตัวใหญ่เช่นเดียวกันครับ โดยทริคในการบริหารเวลา ผมแนะนำว่า เพราะเนื้อหาแบ่งจาก ง่ายไปยาก ดังนั้นควรให้เวลา Passage 1 น้อยสุด และ Passage 3 มากที่สุดครับ โดยจะใช้สูตร 15-20-25 ครับ กล่าวคือ ให้เวลา First Passage 15 นาที Second Passage 20 นาที และ Final Passage 25 นาที ทั้งนี้ในแต่ละ passage ต้องเผื่อเวลาในการเขียนคำตอบ 2 - 3 นาทีด้วยครับ ดังนั้นระยะเวลาอ่านและทำจะลดลง ข้อแนะนำอีกข้อคือ ควรเขียนคำตอบลงไปในกระดาษคำถามเช่นกันครับ เพราะถ้าเขียนไปในกระดาษคำตอบเลย เวลาหาข้อต่อไป อาจงงได้ครับ ว่าข้อไหนทำแล้ว ขอไหนยังไม่ได้ทำ

Writing

ทริคในการทำข้อสอบ Writing คือให้ทำ part 2 ก่อนครับ เพราะผู้ตรวจให้คะแนนส่วนนี้มากกว่า โดยการเขียนทั้ง part 1 และ 2 ควรมีโครงสร้าง และง่ายต่อการอ่านนะครับ ทั้งนี้มีข้อควรระวัง โดยจำนวนคำของการเขียนจะได้แค่ บวกลบ 10 percent นะครับ ไม่ใช่ว่าเขียนยิ่งเยอะยิ่งดี (ผมโดนมากับตัวเองแล้ว) ทั้งนี้การเขียนเยอะอาจทำให้เรามีจุดผิดมากขึ้น หรือถ้าไม่มีจุดผิดก็อาจโดนหักได้ครับ

Speaking

ทริคในส่วนนี้คือพูดให้มากครับ อย่าถามคำตอบคำ เน้นการ Flow ครับ ไม่ได้แปลว่าให้พูดน้ำไหลไฟดับ หรือเร็วฟ้าผ่า ให้พูดให้คล่อง ชัด และฟังรู้เรื่อง อย่าตอบห้วนๆ แค่ Yes No ครับ ให้บอกเหตุผลไปด้วยว่า เพราะอะไร ถ้าคิดเหตุผลไม่ออก ก็บอกประเภทที่ชอบไปก็ได้ครับ เช่น Do you like to read? Yes, I love to read many types of books. Especially self-improvement. The reason why I love this type is for the reason that I want to become a influential person in the future ก็ว่าไปครับ

ทิ้งท้ายนะครับ จะมีการสอบ pre-ielts ของ British Council กับ IDP ถ้าเป็นไปได้ ให้ลองหาโอกาสสอบนะครับ เพื่อเอาประสบการณ์ก่อนสอบจริง แค่นี้เวลาสอบจริงจะได้ไม่ประหม่าครับ




Create Date : 08 เมษายน 2555
Last Update : 8 เมษายน 2555 16:33:48 น.
Counter : 4535 Pageviews.

0 comment
Fly to Edinburgh!!

หลังจากหาข้อมูลมานะครับ จะมีแค่ไม่กี่สายการบินที่บินตรงไป Edinburgh เลย นอกนั้นส่วนมากจะมีแต่จาก Bangkok - London ดังนั้นวันนี้จะขอนำเสนอว่า มีวิธีใดบ้างที่จะไปถึง Edinburgh ได้

  1. Bangkok - London - Edinburgh by British Airway (BA) วิธีนี้จะเป็นการบินตรงเลยครับ โดยต้อง Transit เครื่องที่ Heathrow ซึ่งกินเวลาพอสมควร
  2. Bangkok - London โดยสายการบินอะไรก็ได้ครับ ลง Heathrow จากนั้นสามารถ นั่งรถไฟ รถบัส หรือเช่ารถ แล้วต่อไปยัง Edinburgh ได้ โดยนั่งรถไฟน่าจะประมาณ 6 ชม รถบัสอาจนานกว่านั้นครับ วิธีนี้จะโดยทั่วไปแล้วจะถูกกว่าการเดินทางแบบแรก โดยเฉพาะนั่งรถไฟ หรือรถบัส แล้วจองซื้อล่วงหน้าเป็นเวลานานๆ แต่ถึงแม้วิธีนี้จะถูกกว่า แต่ก็ต้องแลกกับการเหนื่อยกว่าเช่นกัน
  3. Bangkok - Glasgow - Edinburgh วิธีนี้จะนั่งสายการบินไปลงที่ Glasgow, Scotland ครับ โดยจากที่ดูสายการบินก็จะมี Emirates จากนั้นให้นั่งรถบัส หรือรถไฟมา Edinburgh ครับ ใช้เวลาประมาณ 1 ชม วิธีนี้จะถูกกว่าการเดินทางแบบแรกเช่นกันครับ
  4. Bangkok - Europe -Edinburgh วิธีนี้จะเป็นวิธีบินลงสนามบิน Edinburgh เหมือนแบบแรกครับ แต่เปลี่ยนสถานที่ transit โดยมีสายการบินหลายสายครับ ลงจอด Europe แล้วเปลี่ยนเครื่องไป Edinburgh สายการบินได้แก่ KLM หรือ Air France




Create Date : 08 เมษายน 2555
Last Update : 8 เมษายน 2555 14:16:35 น.
Counter : 1789 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  

iAblazel
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]