Bangkok Home Review, Interior, Design, Decoration, & Etc.
วัชรพลจะมีรถไฟฟ้าสายสีเทา ใหม่ล่าสุด!!!


สนข.เขย่าแผนแม่บทรถไฟฟ้าใกล้เสร็จ ชง "โสภณ" พิจารณา เบื้องต้นขยายจาก 10 สายเป็น 12 สาย เพิ่ม "สีขาว-เทา" รวมระยะทาง 467 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 8 แสนล้านบาท หัก กทม.รื้อใหม่แนวสีเขียว "สนามกีฬา-พรานนก" เป็น "มักกะสัน-ราชปรารภ-เพชรบุรีตัดใหม่-ยมราช-ราชดำเนิน-ศิริราช-พรานนก" เลื่อนชั้นสีชมพู "แคราย-มีนบุรี" เป็นเส้นทางเร่งด่วนรับศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ



นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สนข.ได้รายงานความคืบหน้าภาพรวมแผนแม่บทรถไฟฟ้าให้นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรับทราบ โดยจัดลำดับความสำคัญว่าสายใดที่จะก่อสร้างเร่งด่วน ในระยะแรก ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ซึ่งเป็นแผนก่อสร้าง 20 ปี (2553-2572) เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน และโครงการรถไฟฟ้าที่บรรจุในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ด้วย



เพียงแต่ยังมีรายละเอียดที่บริษัทที่ปรึกษาจะต้องศึกษาให้ชัดเจน เรื่องค่าก่อสร้าง ที่จะต้องปรับลด แนวเส้นทางโดยเฉพาะส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงสนามกีฬา-พรานนก ที่อาจต้องปรับแนวเส้นทางใหม่ เนื่องจากมีปัญหาพื้นที่ก่อสร้างจากสนามกีฬา-ยศเส คับแคบ และจะต้องหารือร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ด้วย



plan bts 



โดยแนวเส้นทางใหม่จะใกล้เคียงแนวเดิมเป็นใต้ดินตลอดทั้งสาย ระยะทาง 12 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 4 หมื่นล้านบาท เริ่มจากมักกะสันโดยเชื่อมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ผ่านราชปรารภ เชื่อมบีทีเอสที่สถานีราชเทวี แล้วเข้าถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ผ่านยมราช ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยงานราชการจำนวนมาก เช่น ทำเนียบรัฐบาล สำนักงานข้าราชการพลเรือนหรือ ก.พ. เข้าถนนราชดำเนิน ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งจะเป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านการแพทย์ของเอเชีย ไปสิ้นสุดที่สถานีปลายทางพรานนก



"สายนี้รัฐบาลอยากให้เกิดโดยเร็ว เพื่อเสริมการพัฒนาโดยรอบถนนราชดำเนิน ที่มีแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานหลายแห่ง นอกจากนี้ยังจัดลำดับความสำคัญของสายสีชมพู จากแคราย-มีนบุรี ให้สร้างเร็วขึ้น เพื่อรับกับศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ จะเป็นระบบโมโนเรล"



นายประณตกล่าวว่า การจัดลำดับความสำคัญใหม่ยังคงมี 10 สายหลัก แต่ยังไม่สรุปว่าจะก่อสร้างเพิ่มอีกกี่เส้นทาง แบ่งเป็น 3 ระยะ รวมระยะทาง 467 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างเบื้องต้น 8 แสนล้านบาท คือระยะ 5 ปีแรก เริ่มสร้างปี 2553 เปิดบริการปี 2557 มี 5 สาย ปัจจุบันที่พร้อมประมูลก่อสร้างคือสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่  23 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 56,599 ล้านบาท อยู่ระหว่างประกวดราคา เปิดใช้ปี 2556-2557 สายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต 26 กิโลเมตร 77,563 ล้านบาท เตรียมการประกวดราคา เปิดใช้ปี 2556 ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15 กิโลเมตร กำลังก่อสร้าง เปิดใช้ปี 2555



สายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 12.6 กิโลเมตร 25,248 ล้านบาท และสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ 11.4 กิโลเมตร 32,052 ล้านบาท รฟม.เตรียมประกวดราคา เปิดบริการปี 2557 สายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค 27 กิโลเมตร 79,904 ล้านบาท กำลังเจรจาเงินกู้ เปิดบริการช้าไปจากกรอบเป็นปี 2559



ระยะที่ 2 อีก 5 ปีต่อมา เริ่มปี 2558 เปิดบริการได้ปี 2562 ซึ่งบางสายทางในระยะแรกที่ก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ต้องเลื่อนเปิดให้บริการในเฟสนี้ เช่น สายสีน้ำเงิน ต่อขยายแนวเส้นทางเดิมออกไปชานเมืองมากขึ้น แต่มีบางสายทางอาจจะก่อสร้างก่อน เช่น สายสีชมพู จากแคราย-มีนบุรี 34.4 กิโลเมตร 38,230 ล้านบาท สายสีน้ำตาลที่จะรวมเป็นสายเดียวกับสายสีส้มเดิม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ-มีนบุรี 33 กิโลเมตร 1.2 แสนล้านบาท จะตัดก่อสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ก่อน 20 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 73,075 ล้านบาท โดยสีชมพูกับน้ำตาลอาจจะแล้วเสร็จปี 2555-2556 เพราะอยู่ในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล



นอกจากนี้มีสายสีเขียวเข้ม สะพานใหม่-ลำลูกกา คลองสี่ 13.9 กิโลเมตร 22,800 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาและออกแบบรายละเอียด สายสีเขียวอ่อนช่วงสมุทรปราการ (บางปิ้ง)-บางปู 9.1 กิโลเมตร อยู่ระหว่างศึกษาและออกแบบรายละเอียด สายสีเหลืองอ่อนช่วงรัชดาฯ-ลาดพร้าว-พัฒนาการ 12.6 กิโลเมตร 16,580 ล้านบาท สายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก 19 กิโลเมตร

 

ระยะที่ 3 ภายในเวลา 10 ปี (2563-2572) เป็นสายใหม่ที่ยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดและบริษัทที่ปรึกษาเสนอ รวมทั้งเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดง เช่น สายสีม่วงช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ 19.8 กิโลเมตร 66,820 ล้านบาท สายสีส้มส่วนที่เหลือ จากบางกะปิ-บางบำหรุ 13 กิโลเมตร 56,060 ล้านบาท สายสีเหลืองเข้มช่วงพัฒนาการ-สำโรง 17.8 กิโลเมตร 31,740  ล้านบาท สายสีเทาช่วงวัชรพล-ลาดพร้าว-พระราม 4-สะพานพระราม 9 ระยะทาง 21 กิโลเมตร 31,870 ล้านบาท สายสีขาวจากมักกะสัน-ดินแดง-บางบำหรุ 9 กิโลเมตร 38,442 ล้านบาท สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-นครปฐม สายสีแดงช่วงมักกะสัน-แปดริ้ว สายสีเขียวช่วงบางหว้า-พุทธมณฑลสาย 4 เป็นต้น



"ตามแผนแม่บทนี้จะต้องยึดถือไปตลอด 20 ปี ซึ่งดูแล้วสายทางที่น่าจะเห็นเป็นรูปธรรมช่วง 10-15 ปี แต่จะมีการปรับทุกๆ 5 ปี เพื่อจัดลำดับความสำคัญใหม่ให้เหมาะสมกับการพัฒนาที่เกิดขึ้นจริง โดยอาจมีบางสายแม้จะถูกจัดอยู่ในระยะที่ 2-3 แต่อาจจำเป็นต้องก่อสร้างก่อน" นายประณตกล่าว



 






Create Date : 26 พฤษภาคม 2552
Last Update : 26 พฤษภาคม 2552 6:51:01 น. 5 comments
Counter : 816 Pageviews.

 
ไม่ต้องรีบก็ได้นะ รอมายี่สิบปีแล้ว รออีกสิบปีก็ไม่เป็นไรหรอก


โดย: ช้ามากนะ IP: 114.241.177.165 วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:8:45:36 น.  

 
แล้วป้า จะอยู่ถึงมะเนี่ย...


โดย: Annie/Fl. IP: 173.78.101.222 วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:9:59:58 น.  

 
ถ้าโครงการของรัดทะบาดชุดนี้เหรอลูกผมป.3อยู่คงต้องรอจบป.ตรีก่อนแร้วหล่ะ


โดย: toto IP: 124.120.56.248 วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:10:21:44 น.  

 
รัฐบาลประชาวิบัติ รอบนายกชวน

ก็สร้างเสาขยะที่วิภาวดีมาแล้ว

รอบนี้ พ่อหน้าหล่อสมองกลวง

จะสร้างอะไรดีน่ะ

เลิกฝันเถิดครับพี่น้อง



โดย: 5555 IP: 124.121.115.233 วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:11:06:22 น.  

 
จะสร้างไรก็สร้างเถอะจ๊ะที่รัก อย่ามีแต่คำพูดและข่าวที่สวยหรูนะจ๊ะ ประเทศอื่นเขาทำทะลุทะเลข้ามมหาสุทรกันแล้วจ๊ะที่รักทั้งหลาย สงสัยต้องรอให้ฟันปลอมขึ้นจึงจะได้ใช้เด้อ


โดย: เบื่อทุกรัฐบาล IP: 203.154.188.20 วันที่: 24 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:22:32 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

High Bridge
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add High Bridge's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.