Bangkok Home Review, Interior, Design, Decoration, & Etc.

ราคาที่ดินใหม่ "นนทบุรี-รัตนาธิเบศร์"แรง! อานิสงส์แนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงดันราคาพุ่ง

เปิดพิมพ์เขียวราคาประเมินที่ดินใหม่กรมธนารักษ์ทั่วประเทศรอบบัญชีปี
2555-2558 ปรับเพิ่ม 15-25% โฟกัสเขต กทม.
ราคาประเมินสูงสุดแนวรถไฟฟ้า"สีลม-พัฒน์พงศ์-สุรวงศ์-สุขุมวิท" เพิ่ม
25% เมืองท่องเที่ยว "ภูเก็ต-ชลบุรี-ประจวบฯ" เพิ่ม 30% ฟาก "นนทบุรี"ได้รถไฟฟ้าสายสีม่วงดันราคาที่ดิน
2 ฝั่งถนนพุ่งมากกว่า 30% กรุงเทพฯ-นนทบุรี ทะลุ 1 แสนบาท/ตร.ว. รัตนาธิเบศร์ 1.2
แสนบาท/ตร.ว.



นายวินัย วิทวัสการเวช
อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมกำลังเก็บข้อมูลที่ดิน ราคาซื้อขาย
เพื่อประเมินและจัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ใหม่
เพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับปรุงราคาประเมินใหม่ ทั้งเป็นรายแปลงและรายบล็อก
ในรอบบัญชี 2555-2558 ที่จะประกาศใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2555
ภาพรวมราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศ 30 ล้านแปลง คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย
15-25%


@ แนวรถไฟฟ้าเพิ่มเฉลี่ย 25%


นายชูชีพ จิตร์อำไพ
ผู้อำนวยการสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน (สป.) กรมธนารักษ์ เปิดเผย
"ประชาชาติธุรกิจ" เพิ่มเติมว่า จากการเก็บข้อมูลคาดว่าราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศจะปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย
15-25% วิเคราะห์จากการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ
ซึ่งราคาที่ออกมารอบใหม่นี้จะใกล้เคียงกับราคาซื้อขายตลาด
โดยพื้นที่กรุงเทพฯปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15%
เทียบจากรอบบัญชีที่ใช้อยู่ขณะนี้ปรับขึ้น 7% ราคาที่ดินสูงสุดอยู่ในแนวรถไฟฟ้าทั้งสายเก่าและสายใหม่ที่จะเปิดบริการและก่อสร้างเพิ่มเติม
โดยปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 25%


ราคาประเมินเปลี่ยนแปลงสูงสุดของพื้นที่กรุงเทพฯ
เช่น ถนนสีลม เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15% จาก 650,000 บาท/ตร.ว. เป็นกว่า 700,000
กว่าบาท/ตร.ว. ถนนพัฒน์พงศ์ ถนนธนิยะ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 25% จาก 550,000 บาท/ตร.ว. เป็น 650,000-700,000 บาท/ตร.ว.
เป็นต้น เนื่องจากอยู่ติดรถไฟฟ้าบีทีเอส และอยู่ในย่านธุรกิจใจกลางเมือง
เป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า สถาบันการเงิน โรงแรม และแหล่งการค้าจำนวนมาก


นอกจากนี้ มีถนนสุรวงศ์อยู่ติดกับทำเลที่มีการเปิดใช้อาคารจามจุรีสแควร์
ทำให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นเป็น 450,000 บาท/ตร.ว. รถไฟฟ้าต่อขยายบีทีเอส
"อ่อนนุช-แบริ่ง" ทำให้ถนนสุขุมวิทช่วงปลาย ๆ ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 650,000
บาท/ตร.ว. ขณะที่รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายบีทีเอส "ตากสิน-บางหว้า" ทำให้ที่ดินย่านฝั่งธนบุรีปรับเพิ่มเช่นกัน


@ "เยาวราช"
ขยับเล็กน้อย


ส่วนพื้นที่มีราคาต่ำสุดพบว่ามีการขยับราคาเล็กน้อย
อาทิ ย่านตะวันออกของกรุงเทพฯ เช่น บริเวณมีนบุรี หนองจอก เป็นต้น
ขณะที่พื้นที่ทำเลถนนเยาวราช ย่านธุรกิจดั้งเดิมมีการเปลี่ยนมือน้อย
ราคาอาจจะขยับไม่มาก จากราคาเดิม 550,000 บาท/ตร.ว. ถนนเกษตร-นวมินทร์ ราคาเดิม
66,000 บาท/ตร.ว. ปัจจุบันราคาขายอยู่ที่ 70,000 บาท/ตร.ว.
ย่านโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิราคาไม่ตก แต่ปรับเพิ่มขึ้นไม่มาก


นายชูชีพกล่าวว่า
พื้นที่ต่างจังหวัดที่จะปรับเพิ่มขึ้นเป็นเมืองท่องเที่ยว เฉลี่ยเพิ่ม 30% เช่น
ภูเก็ต ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น ส่วนเชียงใหม่อาจจะปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก


@ สายสีม่วงดันราคาประเมินพุ่ง
30%


ที่น่าสนใจคือที่ดินใน
"จ.นนทบุรี" ราคาสูงสุดอยู่บริเวณเดอะมอลล์งามวงศ์วาน จาก 96,000
บาท/ตร.ว. เป็น 150,000 บาท/ตร.ว. และพื้นที่มีรถไฟฟ้าสายสีม่วง


(บางซื่อ-บางใหญ่) พาดผ่าน
พื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาสูงสุดอยู่ช่วงถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีถึงแยกแคราย เช่น
ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ตั้งแต่ข้ามคลองบางเขนถึงแยกแคราย จาก 64,000 บาท/ตร.ว. เป็น
100,000 บาท/ตร.ว.


ถนนรัตนาธิเบศร์
จากศาลากลางจังหวัดนนทบุรีถึงห้างเซ็นทรัลทาวน์ จาก 80
,000 บาท/ตร.ว. เป็น 120,000 บาท/ตร.ว.
ที่ดินจากห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลทาวน์เป็นต้นไป จาก 65
,000
บาท/ตร.ว. เป็น 80
,000 บาท ถนนราชพฤกษ์ตัดใหม่ จาก 50,000 บาท/ตร.ว. เป็น 65,000 บาท/ตร.ว.
ช่วงแยกแคราย-ปากเกร็ด อนาคตมีรถไฟฟ้าสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี)
ราคาปรับเพิ่มจาก 56
,000 บาท/ตร.ว. เป็น 80,000 บาท/ตร.ว. เป็นต้น






Free TextEditor




 

Create Date : 20 มกราคม 2554    
Last Update : 20 มกราคม 2554 7:44:22 น.
Counter : 1880 Pageviews.  

บิ๊กแบรนด์ส่งซิก คู้บอน-เลียบคลองสอง ผุดบ้านเดี่ยว-ทาวน์โฮมรับถนน 6 เลน


ทำเลย่าน "รามอินทรา-คู้บอน" กำลังกลายเป็นทำเลมาแรงสุด ๆ สำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ทั้งที่เป็นบิ๊กแบรนด์ในตลาดหลักทรัพย์และรายเล็กนอกตลาด หลังกรุงเทพมหานคร (กทม.) อัพเกรดถนนเดิมจากคู้บอนต่อเนื่องถึงเลียบคลองสอง จาก 2 ช่องจราจรเป็น 6 ช่องจราจร โครงการแล้วเสร็จเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

"มิสเซอร์เวย์" ไม่รอช้า ลงสำรวจพื้นที่เริ่มต้นออกสตาร์ตตั้งแต่ริมถนนรามอินทรา บนหลักกิโมเมตรที่ 8 เลี้ยวซ้ายเข้าไปในซอยคู้บอน พบว่าสภาพปัจจุบันยังไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือเป็นถนน 2 ช่องจราจรตลอด 2 ข้างทาง และยังไม่มีโครงการบ้านจัดสรรใหม่ ๆ เท่าใดนัก ส่วนใหญ่เป็นโครงการเก่าที่อยู่ลึกเข้าไปในซอย

ที่เห็นติดป้ายบอกชื่อมีอยู่ประปราย อาทิ โครงการเดอะเทรนด์ คอนโดมิเนียม ขนาด 25 ตร.ม. ราคา 8.9 แสนบาท/ยูนิต ของ บจ.วนิชธุรกิจ โครงการทาวน์โฮม แบรนด์ Bann Mai รามอินทรา-คู้บอน ของ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ราคาขายเริ่มต้น 2.99 ล้านบาท

จากนั้น เส้นทางสำรวจเกาะไปตามแนวถนน ผ่านวัดคู้บอน ลอดใต้จุดตัดถนนวงแหวนรอบนอก เลี้ยวเข้าสู่ถนนเลียบคลองสอง ทันทีที่ถึงจุดนี้ ก็เริ่มสัมผัสบรรยากาศที่คึกคักขึ้น เพราะ 2 ข้างทางจนถึงทางเชื่อมถนนหทัยราษฎร์ มีป้ายโฆษณาขายบ้านพรึ่บตลอดเส้น ทั้งเก่าและใหม่ ที่น่าสังเกต คือมีโครงการใหม่กระจุกตัวถึงประมาณ 6-7 โครงการ

แลนด์ฯผุดโปรเจ็กต์ใหม่

เรามาเริ่มต้นกันที่จุดตัดถนนวงแหวนรอบนอกก่อนถึงแยกถนนพระยาสุเรนทร์ เป็นที่ตั้งโครงการของค่ายแลนดฯ ซึ่งกำลังล้อมรั้วก่อสร้างโครงการใหม่ทำเลติดริมถนนเด๊ะ สอบถามผู้รับเหมาได้ความว่า เป็นบ้านเดี่ยวภายใต้แบรนด์ "ชัยพฤกษ์" เตรียมเปิดขายอีก 3 เดือนข้างหน้านี้



วังทอง-แสนสิริ ชิงดำทาวน์เฮาส์

ถัดไปเป็นโครงการ "ฮาบิเทีย วงแหวน-รามอินทรา" ของ บจ.พิวรรธนา ในเครือ บมจ.แสนสิริ เป็นทาวเฮาส์หน้ากว้าง 6 เมตร ขนาด 21 ตร.ว.ขึ้นไป พื้นที่ใช้สอย 112 ตร.ม. 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ จำนวน 233 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 1.88 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง มียอดจองแล้ว 50% กำหนดแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2554

ติดกับตลาดจตุโชติพลาซ่า โครงการ "ดุสิตแกรนด์พาร์ค" เปิดขายบ้านเดี่ยวลอตสุดท้าย 30 หลัง 50 ตร.ว. พื้นที่ใช้สอย 175 ตร.ม. และ 58 ตร.ว. พื้นที่ใช้สอย 205 ตร.ม. ราคาเริ่มต้น 3.4 ล้านบาท จากยูนิตทั้งโครงการ 250 หลัง

ต่อด้วยโครงการ "ไอดีไซน์ วงแหวน-รามอินทรา" ของค่ายวังทองกรุ๊ป ที่แตกทำเลจากกรุงเทพฯโซนเหนือมาโซนตะวันออก "ปราโมทย์ เจษฎาวรางกูล" เอ็มดีบอกว่า กำลังซื้อยังมีเหลือเฟือ โดยเฉพาะทาวน์เฮาส์ 1 ล้านต้น ๆ ขายดีจริง ๆ

โดยโครงการนี้ วังทองได้พัฒนาพื้นที่ 30 ไร่ เป็นทาวน์โฮม 2 ชั้น 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ พื้นที่ใช้สอย 116 ตร.ม. เนื้อที่ 21 ตร.ว. ราคาขายเริ่มต้น 1.87 ล้านบาท 282 ยูนิต มูลค่าโครงการ 550 ล้านบาท

เมื่อผ่านไฟแดงแยกถนนปัญญา-รามอินทรา และซาฟารีเวิลด์ จะผ่านโครงการบ้านนพอนันต์ เรื่อยมาถึงโลตัสเอ็กซ์เพรส และโครงการ "พัฒนาสิริ The Pride" ติดกันเป็นโครงการ "บ้านบดินทร" รามอินทรา-ซาฟารี ทาวน์โฮม หน้ากว้าง 4-6 เมตร พื้นที่ใช้สอย 109 ตร.ม. 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ

ลลิลฯผุดแบรนด์ใหม่ "แลนซีโอ"

จากนั้นได้ออกวิ่งต่อไปเรื่อย ๆ ด้าน ซ้ายมือ "บ้านบุรีรมย์ รามอินทรา-ซาฟารี" โครงการเก่าของเจ้าถิ่น บมจ.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ แต่เปิดขายเฟสใหม่ บ้านเดี่ยว 50 ตร.ว. เริ่มต้น 2.59 ล้านบาท พร้อมเปิดตัวโครงการใหม่ฝั่งตรงข้าม เป็นบ้านเดี่ยวชื่อแบรนด์ "แลนซีโอ" เปิดขายมา 6-7 เดือน ภายใต้คอนเซ็ปต์บ้านสร้างไปขายไป 400 ยูนิต 50 ตร.ว. ราคา 3-5 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ก็ยังพบว่ามีผู้ประกอบการหน้าใหม่ โครงการ "อาร์เค พาร์ค รามอินทรา-คู้บอน" ของ บจ.รุ่งพัฒนาพร็อพเพอร์ตี้ พัฒนาเป็นทาวน์โฮมเนื้อที่ 18 ไร่ 207 ยูนิต เริ่มต้น 1.59 ล้านบาท มูลค่าการลงทุนกว่า 450 ล้านบาท จะทยอยเริ่มให้ลูกค้าเข้าอยู่ได้ภายในต้นปี 2554

รั้วติดกันเป็นโครงการ "รื่นฤดี 6" ทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น เริ่มต้น 1.5 ล้านบาท ยังไม่มีกำหนดเปิดขาย ถัดจากนี้ไปจนสุดปลายทางติดถนนหทัยราษฎร์จะเป็นโครงการเก่า เช่น โครงการอรุณวรรณ 4 โครงการพัฒนาสิริ ซาฟารีเวิลด์ ฯลฯ ขณะเดียวกัน มีโครงการใหม่กำลังก่อสร้างชื่อ ไม่คุ้นหู อย่างโครงการพาทาโกเนีย ทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น ของวสิน พร็อพเพอร์ตี้ เป็นต้น

ราคาที่ดินพุ่งไร่ละ 10 ล้าน

ภาพที่เกิดขึ้นซ้อนกันก็คือราคาซื้อขายที่ดินปรับตัวสูงขึ้น นับจากที่ กทม.เริ่มมีการปรับปรุงถนนใหม่ แต่มาเห็นผลชัดเจนเมื่อปีที่แล้ว และราคาสูงต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

จากการสอบถามผู้ประกอบการหลายรายพูดเป็นเสียงเดียวกัน ราคาขยับขึ้นมาก เมื่อเทียบกับราคาประเมินในปี 2552-2554 ติดถนนเลียบคลองสองเคยอยู่ที่ 1,300-14,000 บาท/ตร.ว. ถนนคู้บอนขยับมาอยู่ที่ 40,000-50,000 บาท/ตร.ว.

"วิสิฐ กิตติอุดม" เอ็มดีของรุ่งพัฒนาพร็อพเพอร์ตี้ บริษัทพัฒนาที่ดินนอกตลาด หลักทรัพย์ เจ้าของโครงการอาร์เค พาร์ค บอกว่า ปีนี้ราคาที่ดินปรับตัวขึ้นมาก เทียบจากปีที่แล้ว ราคาซื้อขายติดถนนอยู่ที่ 6 ล้านบาท/ไร่ ปีนี้ราคาปรับเพิ่มเป็น 10 ล้านบาท/ไร่ หลัง กทม.ปรับผิวและขยาย ถนนคู้บอน-เลียบคลองสองเดิมเป็น 6 ช่องจราจรเสร็จ

"ตอนนี้ที่ดินเปล่าย่านนี้แทบจะไม่มีเหลือแล้ว เพราะผู้ประกอบการมาซื้อเพื่อพัฒนาโครงการ หมดไปตั้งแต่ปีที่แล้ว"

ด้าน "ปราโมทย์" แห่งค่ายวังทอง ช่วยคอนเฟิร์มอีกแรง ราคาที่ดินขยับตามถนนใหม่จริง ๆ จากประสบการณ์ที่บริษัทได้ซื้อที่ดินไว้เมื่อปีที่แล้ว จากเดิมที่ทำเลติดถนนราคาขายเคยอยู่ที่ 10,000-20,000 บาท/ตารางวาเท่านั้น

ถึงแม้ว่าที่ดินจะหายาก แต่จากการประเมินด้วยตาเปล่า ตลอด 2 ฝั่งริมถนน ยังมีที่ว่างรอการพัฒนาเหลือ สำหรับ ผู้ประกอบการจัดสรรหน้าใหม่และหน้าเก่า เข้าไปพัฒนาโครงการได้อีกหลายโปรเจ็กต์

แต่สำหรับผู้ซื้อบ้าน หากอยากได้บ้านเดี่ยวเนื้อที่กว้าง ๆ ราคาไม่แพงมาก 2-3 ล้านบาท หรือทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮมดีไซน์เก๋ ๆ ระดับราคา 1 ล้านต้น ๆ ไม่ห่างไกลจากถนนสายหลักมากนัก ทำเล"คู้บอน-เลียบคลองสอง" น่าจะเป็นทำเลทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว...ฟันธง




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2553    
Last Update : 12 สิงหาคม 2553 19:50:25 น.
Counter : 2015 Pageviews.  

บ้านน้องใหม่จาก Q HOUSE







ไม่ใช่เรื่องเกินความคาดหมายมากนักเมื่อบิ๊กเพลเยอร์ในวงการอสังหาริมทรัพย์ "ควอลิตี้ เฮ้าส์" หรือ "คิวเฮ้าส์" เจ้าตลาดบ้านหรูวงการอสังหาฯเมืองไทยประกาศเปิดเกมรุกตลาดบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด และคอนโดมิเนียมเซ็กเมนต์ต่ำกว่า 3 ล้านบาทอย่างเต็มตัว โดยมีเป้าหมายเกลี่ยหน้าดิน 7 โครงการทั้งแนวราบ-แนวสูง ทยอย เปิดตัวภายในไตรมาส 3 ปีนี้



คิวเฮ้าส์จัดระเบียบพอร์ตลงทุนใหม่ โดยจัดตั้งบริษัทลูก "เดอะคอนฟิเด้นซ์" ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ถือหุ้น 100% โดยบริษัท คาซ่าวิลล์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกเช่นกัน



ก่อนหน้านี้ "คาซ่าวิลล์" ได้รับการเปิดตัวว่าเป็น "ไฟติ้งแบรนด์" ของคิวเฮ้าส์มาก่อน ดังนั้น "เดอะคอนฟิเด้นซ์" จึงนับเป็นความพยายามจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อมารันแผนไฟติ้งแบรนด์ครั้งที่ 2



การเกิดขึ้นของ "เดอะคอนฟิเด้นซ์" มาพร้อมกับการทำคลอดแบรนด์น้องใหม่ "เดอะทรัสต์" (The Trust) โดยโปรโมตอดีตลูกหม้อคิวเฮ้าส์ "บุญมี รัตนนุกรม" ซึ่ง โฉบไปนั่งทำงานในออฟฟิศของ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท ระยะสั้น ๆ ไม่ถึงปี คราวนี้กลับมารั้งตำแหน่งใหญ่ "กรรมการผู้จัดการ" เดอะคอนฟิเด้นซ์อย่างเต็มตัว



ว่ากันว่า คิวเฮ้าส์ดึง "บุญมี" กลับมาครั้งนี้เพื่อให้เป็นแต้มต่อแผนปั้นไฟติ้งแบรนด์ เพราะผ่านประสบการณ์ก่อสร้างระบบ พรีแฟบถึงแม้จะช่วงระยะสั้น ๆ ก็ตาม โดยพรีแฟบจะร่นระยะเวลาก่อสร้างลงเหลือประมาณ 5 เดือนเท่านั้น



"การทำตลาดจะชัดเจนเพราะไม่ต้องไปผูกติดกับบริษัทแม่ นโยบายเสาหลักมีเพียงเรื่องกรอสมาร์จิ้นต้องรักษาระดับ 30% ส่วนเน็ตมาร์จิ้นเป็นตัวเลข 2 หลัก หรือประมาณ 15% เทียบเท่าบริษัทแม่" คำกล่าวเปิดตัวสั้น ๆ ของ "เอ็มดี บุญมี"



ในเชิงกลยุทธ์ "รัตน์ พานิชพันธ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) บอกว่า เหตุผลที่ คิวเฮ้าส์ตัดสินใจลงมาเล่นตลาดล่างในครั้งนี้เพื่อต้องการเติมเต็มสินค้าให้ครอบคลุมทุกเซ็กเมนต์ของตลาดที่อยู่อาศัย แน่นอนว่าตลาดระดับบนกลุ่มราคายูนิตละ 7 ล้านบาทขึ้นไปนั้น คิวเฮ้าส์มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่ง และ "ยืนแชมป์" อย่างยาวนานจนถึงขณะนี้



"ปัจจุบันเรามีบ้านราคาต่ำกว่า 5 ล้านน้อยมาก ขณะที่เซ็กเมนต์สินค้าราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ถือเป็นตลาดแมสและมีศักยภาพมาก แต่เรากลับไม่มีสินค้าในตลาดนี้เลย นี่เป็นครั้งแรกที่ตัดสินใจลงมาเล่นเพื่อขยายฐานลูกค้า ในอนาคตสัดส่วนรายได้จะมาจาก 3 ส่วน ได้แก่ ควอลิตี้ เฮ้าส์ 40% คาซ่าวิลล์ 40% และเดอะ คอนฟิเด้นซ์ 20%"



ข้อสังเกตสำหรับกลยุทธ์โปรดักต์ไฟติ้งแบรนด์รอบนี้ "รัตน์" บอกว่า จะเป็นบ้าน "ขายก่อนสร้าง" หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็น "บ้านสั่งสร้าง" นั่นเอง เหตุผลเพราะตลาดระดับไม่เกิน 3 ล้านบาท พฤติกรรมผู้บริโภคจะต้องมีเวลาให้วางเงินดาวน์ เพราะกระเป๋าไม่หนักเหมือนลูกค้าตลาดบ้านหรู แต่มีเสน่ห์ตรงที่มีฐานตลาดระดับแมส โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจติดหล่มการเมืองดังเช่นในปัจจุบัน



โปรดักต์ภายใต้แบรนด์เดอะทรัสต์รอบเปิดตัวมีทั้งหมด 4 เวอร์ชั่นประกอบด้วย บ้านเดี่ยวใช้แบรนด์ "เดอะทรัสต์ วิลล์" ขนาด 50 ตารางวา สตาร์ต 2.9 ล้านบาท/ยูนิต ทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น แบรนด์ "เดอะทรัสต์ทาวน์" เริ่มต้น 1.9 ล้านบาท/ยูนิต ทาวน์เฮาส์ 3 ชั้นแบรนด์ "เดอะทรัสต์ซิตี้" เริ่มต้น 3.5 ล้านบาท (ทำเลไพรมแอเรีย) และคอนโดฯ ใช้แบรนด์ "เดอะทรัสต์ เรสซิเด้นซ์" เริ่มต้น 1.2 ล้านบาท/ยูนิต



พิมพ์เขียวโครงการมีอยู่ในมือ 12 โปรเจ็กต์ แต่จะทยอยเปิดตัวในปีนี้เพียง 7 โปรเจ็กต์ มูลค่ารวม 7,000 ล้านบาท (ดูตารางประกอบ) โดยพื้นที่เป้าหมายจะปูพรมโครงการในทำเลรอบนอกกรุงเทพฯ อาทิ ทำเลซอยนวลจันทร์, หทัยราษฎร์, รัตนาธิเบศร์, วัชรพล, วงแหวนลำลูกกา ฯลฯ



คิวเฮ้าส์คาดหวังรายได้จากบริษัทน้องใหม่ในปีแรกไว้ที่ 200 ล้านบาท และจะเพิ่มสัดส่วนให้เป็น 20% ของรายได้รวมภายใน 3 ปีข้างหน้า หรือแบรนด์เดอะทรัสต์จะต้องมียอดขายประมาณ 3,000 ล้านบาทภายในปี 2556






 

Create Date : 21 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 21 พฤษภาคม 2553 8:18:37 น.
Counter : 1088 Pageviews.  

8 บิ๊กอสังหาฯเปิดแนวรบปี′53 ทุ่ม1.3แสนล้านแย่งชิงเค้กตลาดคอนโด

โหมโรงอสังหาฯปีเสือดุ เผยบิ๊กแบรนด์ถมลงทุนท่วมแสนล้านบาท มั่นใจกำลังซื้อกลับมาพีกรอบใหม่ สวมบทหัวขบวนขย่มตลาด คอนโดฯเฟื่องจัด ทุกค่ายเขย่าพอร์ตเพิ่มสัดส่วนล่าลูกค้า ทั้ง "พฤกษา-ศุภาลัย-แอล.พี.เอ็น.-แลนด์-แสนสิริ-เอพี-เอสซี-คิวเฮ้าส์" ชี้แข่งเดือดแน่

ทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้บริษัทพัฒนาที่ดินชั้นนำเริ่มทยอยประกาศแผนลงทุนในปี 2553 โดยส่วนใหญ่มีการขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีนี้ สอดคล้องกับผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการพัฒนาที่ดิน ที่ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) สำรวจครั้งล่าสุดช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอสังหาฯมีค่าเท่ากับ 55.8 สูงสุดเท่าที่ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯเคยจัดทำดัชนีนี้มา และเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2552 ซึ่งดัชนีมีค่าเท่ากับ 48.1 ถือว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอสังหาฯปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นการฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 จากที่เคยต่ำสุดที่ 36.3 ช่วงไตรมาส 4/2551
@ลอนช์โปรเจ็กต์ใหม่แสนล้าน
จากการสำรวจของ "ประชาชาติธุรกิจ" พบว่าในปี 2553 เฉพาะบริษัทพัฒนาที่ดินระดับบิ๊กแบรนด์แค่ 7-8 ราย ไม่รวมอสังหาฯรายกลาง รายเล็ก จะมีการลงทุนเปิดตัวโครงการใหม่คิดเป็นมูลค่าสูงถึงกว่า 1.3 แสนล้านบาทแล้ว ที่น่าสังเกต คือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เพิ่มสัดส่วนการลงทุนพัฒนาโครงการประเภทคอนโดมิเนียมมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในขณะที่มูลค่าตลาดรวมทั้งประเทศปีนี้อยู่ที่ประมาณกว่า 3 แสนล้านบาท
@พฤกษาฯแชมป์ลงทุนปีี53
ในจำนวนนี้ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท บริษัทพัฒนาที่ดินดาวรุ่งครองแชมป์ลงทุนคิดเป็นมูลค่าสูงที่สุด โดยปี 2553 จะเปิดตัวโครงการใหม่ 48 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท กระจายครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ต่างจังหวัด และต่างประเทศ ขณะที่บิ๊กแบรนด์อสังหาฯรายอื่น ๆ ก็วางแผนลงทุนคิดเป็นมูลค่าค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 1-2 หมื่นล้านบาท อาทิ บมจ.เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จะเปิดตัวโครงการใหม่ 10-20 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1.5-2 หมื่นล้านบาท บมจ.แสนสิริหลังเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกหนึ่งเท่าตัววางแผนขยายการลงทุนเพิ่มอีกเท่าตัวเช่นเดียวกัน

บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ 13 โครงการ มูลค่า 1.56 หมื่นล้านบาท บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์ 8 โครงการ มูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ลงทุน 10 โครงการ มูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาท บมจ.ศุภาลัยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 โครงการ มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท บมจ.เอสซี แอสเสทฯ ลงทุน 12-13 โครงการ มูลค่า 9 พันล้านบาทถึง 1 หมื่นล้านบาท ฯลฯ
@บิ๊กแบรนด์โฟกัสตลาดคอนโดฯ
ที่น่าจับตามอง คือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต่างเพิ่มสัดส่วนการลงทุนคอนโดฯมากขึ้นตามเทรนด์ตลาด ขณะเดียวกันก็ยังให้ความสำคัญกับตลาดแนวราบทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ เพราะคาดว่าปีหน้าตลาดคอนโดฯยังไปได้ดี แม้จะมีซัพพลายออกมาเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นศุภาลัย เอสซี แอสเสท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค พฤกษา เรียลเอสเตท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ ฯลฯ ขณะที่พี่เอื้อยวงการอสังหาฯอย่าง บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เจ้าของคอนโดฯแบรนด์ The Room และ The Bangkok ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้โหมบุกตลาดมากนัก ก็หันมาเพิ่มสัดส่วนการลงทุนคอนโดฯ มากขึ้น

ก่อนหน้านี้นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ วิเคราะห์ว่า ตลาดคอนโดฯปีนี้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก สาเหตุหลักมาจากคนรุ่นใหม่เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อบ้านหลังแรกจากทาวน์เฮาส์มาเป็นคอนโดฯ และคาดว่าปีหน้าคอนโดฯยังจะได้รับความนิยมและน่าจะมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 50% ของยอดที่อยู่อาศัยจดทะเบียนใหม่ทั้งปี โดยในส่วนของแลนด์ฯปีหน้าจะเปิดตัวคอนโดฯใหม่เพิ่ม 4-5 โครงการ คิดเป็นสัดส่วนลงทุน 20% จากปัจจุบันไม่ถึง 10%

@หวั่นโอเวอร์ซัพพลาย
ก่อนหน้านี้ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยผลสำรวจว่า ช่วงครึ่งหลังปีนี้ตลาดคอนโดฯระดับราคา 1-2 ล้านบาท ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อมากขึ้น ในจำนวนนี้ 10-20% เป็นการซื้อไว้เพื่อปล่อยเช่า ซึ่งน่าเป็นห่วง เพราะเวลานี้ตลาดเช่าอย่างโครงการอพาร์ตเมนต์มีจำนวนยูนิตในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล สูงถึง 7 แสนหน่วย ขณะเดียวกันได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับซัพพลายคอนโดฯที่จะออกมามากขึ้นด้วย โดยเฉพาะโครงการที่จะเกิดใหม่ในปี 2553-2554 หากผู้ประกอบการไม่คาดการณ์ตลาดให้ดีก็อาจจะเกิดปัญหาโอเวอร์ซัพพลายได้
@เอสซีฯบุก 13 โครงการ ใกล้ 1 หมื่นล้าน
ร.อ.กรี เดชชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทมีโครงการทั้งสิ้น 9 โครงการ ปีหน้าวางแผนลงทุนประมาณ 12-13 โครงการ มูลค่าโครงการรวมกว่า 9,000-10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นแนวราบ 80% และคอนโดมิเนียม 20% โดยคาดว่าจะลงทุนคอนโดฯอย่างน้อย 2 โครงการ มีทั้งโลว์ไรส์และไฮไรส์ ราคาขายประมาณ 1 แสนบาท/ตารางเมตร

"ตลาดคอนโดฯปีหน้าการแข่งขันน่าจะรุนแรง แต่ก็ขึ้นกับโซน เช่น โซนรัชดาฯ ลาดพร้าวมีคอนโดฯเยอะแต่ราคาขายทำได้ไม่เกิน 7-8 หมื่นบาท/ตารางเมตร แต่ถ้าโซนสุขุมวิทยังไปได้ดีแต่จะแข่งกันหนักเรื่องแลนด์แบงก์ นั่นคือ ดีมานด์ยังมีทั้งแนวราบและแนวสูง แต่ด้านซัพพลายยังไม่น่าห่วงมากนักเพราะจะถูกสกัดโดยสถาบันการเงิน ทำให้โอกาสเป็นของผู้ประกอบการรายใหญ่เหมือนปีนี้"
@LPN ขอโตพอเพียง 8 โครงการ 1.3 หมื่น ล.
นายทิฆัมพร เปล่งศรีสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) มองตลาดคอนโดฯปีหน้าว่า ยังมีดีมานด์ในตลาดเนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันจะกลับมาสูงอีกครั้ง ตลาดหลักยังคงเป็นระดับราคายูนิตละ 1-3 ล้านบาท โดยปีหน้าบริษัทคาดว่าจะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ประมาณ 7-8 โครงการ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท แบรนด์หลักที่จะเป็นตัวบุก คือ ลุมพินีคอนโดทาวน์ ราคาขายตารางเมตรละ 3-4 หมื่นบาท มีสัดส่วน 60% ของพอร์ตรวม ที่เหลือจะคละกันไประหว่างแบรนด์ลุมพินีเพลสและลุมพินีสวีท ราคาตารางเมตรละ 5-6 หมื่นบาท

"ตลาดปีหน้าภาพรวมโตขึ้น ซัพพลายก็จะมากขึ้น แต่จะบาลานซ์ซัพพลาย-ดีมานด์ด้วยสถาบันการเงิน ทั้งการเข้มงวดปล่อยกู้ผู้พัฒนาโครงการและสินเชื่อผู้ซื้อรายย่อย" นายทิฆัมพรกล่าว

@ชี้ปีหน้าแข่งเดือดแน่
นายชายนิด โง้วศิริมณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปี 2553 เพอร์เฟควางแผนจะพัฒนาโครงการใหม่ 10 โครงการ รวมมูลค่าประมาณ 12,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้จะเป็นคอนโดฯ 3 โครงการ ซึ่งบริษัทให้ความสำคัญเพราะถือเป็นเซ็กเมนต์ที่สามารถรับรู้รายได้จากการโอนห้องชุดเป็นจำนวนมากในคราวเดียว แตกต่างจากบ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮาส์ที่เป็นการทยอยโอน

"ถ้าโฟกัสเฉพาะเซ็กเมนต์คอนโดฯเชื่อว่าปีหน้าจะมีโครงการใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นแน่ เพราะพิสูจน์แล้วพฤติกรรมการอยู่อาศัยวันนี้เปลี่ยนแปลงไป ต้องการพักอาศัยใกล้ที่ทำงาน ประกอบกับโครงการรถไฟฟ้าสายทางใหม่ ๆ ไม่ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นนัก ทำให้โครงการใหม่กระจุกตัวอยู่ในทำเลใกล้เคียงกัน




 

Create Date : 10 ธันวาคม 2552    
Last Update : 10 ธันวาคม 2552 6:44:07 น.
Counter : 453 Pageviews.  

มาสเตอร์แปลน รถไฟฟ้า 12 สาย ลงทุน 3 เฟส 20 ปี 8.3 แสนล้าน


มาสเตอร์แปลน รถไฟฟ้า 12 สาย ลงทุน 3 เฟส 20 ปี 8.3 แสนล้าน



 



ภายในเดือนสิงหาคมนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) จะเสนอแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ ปริมณฑล ให้คณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ "รัฐบาลมาร์ค 1" พิจารณา โดยแผนแม่บทใหม่ล็อกระยะเวลาการพัฒนาไว้ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2572 ครอบคลุมพื้นที่ในรัศมี 700 ตารางกิโลเมตร เปลี่ยนแปลง ไปจากแผนเดิม มีทั้งเป็นเส้นทางขีดขึ้นใหม่ ตัดตอนและต่อเติมจากเส้นทางเดิมให้สั้นลงและยืดออกไปชานเมืองมากขึ้น มีโครงข่ายทั้งหมด 12 สาย ระยะทางรวม 487 ก.ม. สถานี 311 สถานี เงินลงทุน 838,250 ล้านบาท



เปิดโพย 12 เส้นทางใหม่



เที่ยวนี้ สนข.การันตีว่า จะไม่ เปลี่ยนแปลงอีกแม้การเมืองผลัดใบ ประกอบด้วย 1.สีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-บางซื่อ-หัวลำโพง-มหาชัย) 85.3 ก.ม. เงินลงทุน 147,750 ล้านบาท เป็นเส้นทางแนวเหนือ-ใต้ ตามแนวของการรถไฟ แห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีช่วงบางซื่อ-รังสิต-ธรรมศาสตร์ ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง-บางบอน และช่วงบางบอน-มหาชัย



2.สีแดงอ่อน (ศาลายา-ตลิ่งชัน-บางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก) 58.5 ก.ม. 86,340 ล้านบาท แนวตะวันออก-ตะวันตก ตามแนว ร.ฟ.ท. มีช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และตลิ่งชัน-มักกะสัน



3.สีแดงเลือดหมู (แอร์พอร์ตลิงก์) จากพญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ 28.5 ก.ม. 25,920 ล้านบาท



4.สีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-หมอชิต-สมุทรปราการ-บางปู) 66.5 ก.ม. 102,420 ล้านบาท แนวเหนือ-ตะวันออก ตามแนวถนนพหลโยธิน และสุขุมวิท มีช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ช่วงสะพานใหม่-คูคต-ลำลูกกา ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และแบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู



5.สีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) 15.5 ก.ม. 15,130 ล้านบาท แนวตะวันตก-ใต้ ตามแนวถนนพระรามที่ 1 ถนนสาทร มีช่วงสะพานตากสิน-ถนนตากสิน ช่วงถนนตากสิน-บางหว้า และ ช่วงสนามกีฬา-ยศเส



6.สีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค-พุทธมณฑลสาย 4) 55 ก.ม. 93,100 ล้านบาทเป็นเส้นทางสายวงแหวนและแนวถนนเพชรเกษม มีช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค และช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4



7.สีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ และแคราย-ปากเกร็ด) 49.8 ก.ม. 135,880 ล้านบาท เส้นทางหลักแนวเหนือ-ใต้ มีช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ และแคราย-ปากเกร็ด



8.สีส้ม (บางบำหรุ-มีนบุรี) 32 ก.ม. 117,600 ล้านบาท เส้นทางหลักแนว ตะวันออก-ตะวันตก มีช่วงบางบำหรุ- ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ และบางกะปิ-มีนบุรี



9.สีชมพู (ปากเกร็ด-มีนบุรี) 29.9 ก.ม. 31,240 ล้านบาท รองรับศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ และการเติบโตทางด้านเหนือ เริ่มจากปากเกร็ด-วงเวียนหลักสี่-วงแหวนรอบนอก-มีนบุรี



10.สีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) 30.4 ก.ม. 38,120 ล้านบาท รองรับพื้นที่ย่านลาดพร้าว ศรีนครินทร์ และทางด้านตะวันออกของ กทม. เริ่มจากลาดพร้าว-พัฒนาการ-สำโรง



11.สีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9) 26 ก.ม. 31,870 ล้านบาท รองรับพื้นที่ย่านสาธุประดิษฐ์และการโตทางด้าน ตะวันออกเฉียงเหนือของ กทม. เริ่มจากวัชรพล-ลาดพร้าว ช่วงลาดพร้าว- พระราม 4 และพระราม 4-สะพานพระราม 9



12.สีดำ (ดินแดง-สาทร) 9.5 ก.ม. 12,880 ล้านบาท รองรับย่านดินแดง ย่านมักกะสัน เริ่มจากช่วง กทม.2-ดินแดง-ศูนย์มักกะสัน-สาทร



แบ่งการลงทุนเป็น 3 เฟส



ด้านการก่อสร้าง สนข.แบ่งเป็น 3 ระยะ นับตามปีเปิดบริการ คือระยะ 5 ปีแรก (2553-2557) เปิดบริการปี 2557 มี 5 สาย คือสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต-ธรรมศาสตร์) 36.3 ก.ม. สร้างต้นปี 2553 สีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่) 11.4 ก.ม. และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 12.8 ก.ม. สร้างต้นปี 2554 สีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) 23 ก.ม. สร้างต้นปี 2553 สีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) 27 ก.ม. สร้างกลางปี 2553



ระยะ 10 ปี (2553-2562) เปิดบริการปี 2562 มีสีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง-บางบอน) 29 ก.ม. สีแดงอ่อน (บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน) 9 ก.ม. และช่วงมักกะสัน-หัวหมาก 10 ก.ม. สร้างต้นปี 2555 ช่วงตลิ่งชัน-มักกะสัน 10.5 ก.ม. สร้างต้นปี 2558 ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14 ก.ม. สร้างต้นปี 2557 สีเขียวเข้ม (สะพานใหม่-คูคต) 7 ก.ม. สร้างต้นปี 2554 สีเขียวอ่อน (สนามกีฬา- ยศเส) 1 ก.ม. สร้างต้นปี 2556



สีม่วง (บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ) 19.8 ก.ม. สร้างต้นปี 2557 สีส้ม (บางบำหรุ-ศูนย์วัฒนธรรม) 12 ก.ม. สร้างต้นปี 2557 ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ 9 ก.ม. และช่วงบางกะปิ-มีนบุรี สร้างต้นปี 2555 สีชมพู (ปากเกร็ด-หลักสี่) 12 ก.ม. และช่วงวงเวียนหลักสี่-วงแหวนรอบนอก 10.4 ก.ม. สร้างต้นปี 2555 และช่วงวงแหวนรอบนอก-มีนบุรี 7.5 ก.ม. สร้างต้นปี 2558



ระยะ 10 ปีหลัง (2562-2572)เปิดบริการปี 2572 มีสีแดงเข้ม (บางบอน-มหาชัย) 18 ก.ม. สร้างต้นปี 2559 สีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑลสาย 4) 8 ก.ม. สร้างต้นปี 2561 สีม่วง (แคราย-ปากเกร็ด) 7 ก.ม. สร้างกลางปี 2560 สีเหลือง (ลาดพร้าว-พัฒนาการ) 12.6 ก.ม. สร้างต้นปี 2563 ช่วงพัฒนาการ-สำโรง 17.8 ก.ม. สร้างต้นปี 2565



สีเทา (วัชรพล-ลาดพร้าว) 8 ก.ม. สร้างต้นปี 2568 ช่วงลาดพร้าว-พระราม 4 รวม 12 ก.ม. และพระราม 4-สะพานพระราม 9 ระยะทาง 6 ก.ม. สร้าง ต้นปี 2566 สีดำ (ดินแดง-มักกะสัน-สาทร) 9.5 ก.ม. สร้างต้นปี 2563 สีเขียวเข้ม (คูคต-ลำลูกกา) 6.5 ก.ม. สร้างต้นปี 2567 และช่วงสมุทรปราการ-บางปู 7 ก.ม. สร้างต้นปี 2569





 

Create Date : 28 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 28 กรกฎาคม 2552 6:25:35 น.
Counter : 1095 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

High Bridge
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add High Bridge's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.