<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 

Chang Lover รักพัง รักพลาย in E

Mekong #15 (rec: 110909)
Song: Chang Lover รักพัง รักพลาย in E (Dbm/A7)
Music by a_somjai







*บ่น่กับบ้าน

เนื้อร้องแต่งไว้เมื่อ 30 เมษายน 2554

ช้าง ช้างช้าง ช้างช้าง ช้างพังนะ ไม่ใช่ช้างพลาย
ช้าง ช้างช้าง ช้างช้าง ช้างพลาย ก็ไม่ใช่ช้างพัง
ช้าง ช้างช้าง ช้างช้าง นั่นช้างพัง รึว่า เป็นช้างพลาย

น้อง น้องน้อง น้องน้อง น้องสาวนะ ไม่ใช่น้องชาย
น้อง น้องน้อง น้องน้อง น้องชาย ก็ไม่ใช่น้องชิง
น้อง น้องน้อง น้องน้อง นั่นน้องหญิง รึว่า เป็นน้องชาย

รัก รักรัก รักรัก รักหญิงนะ ไม่ใช่รักชาย
รัก รักรัก รักรัก รักชายนะ ไม่ใช่รักชิง
รัก รักรัก รักรัก รักเป็นน้องหญิง รึว่า รักเป็นน้องชาย

- ความเข้าใจเรื่อง เพศภาวะ หรือ เพศสภาพ (Gender) ของแต่ละบุคคล แต่ละกลุ่มคน และแต่ละสถานการณ์แวดล้อม ก็ย่อมหมายความไปสุดขั้วข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจมีงอกกิ่งที่สามเติมเข้าอีก ก็เป็นได้ทั้งนั้นแหละ สุดแล้วแต่วัยวุฒิ วุฒิภาวะ บวกกับประสบการณ์ของคนเราแต่ละคนอีกด้วย

- อ้างเอาแบบกว้าง ๆ ก็ว่า ... "เพศภาวะ (Gender) หมายถึง ภาวะความเป็นหญิง เป็นชาย ที่ไม่ได้ถูกกำหนดโดยระบบชีววิทยา แต่ถูกกำหนดโดยปัจจัยทางวัฒนธรรม สังคม และอื่นๆ ทำให้สังคมเกิดความคาดหวังต่อความเป็นหญิงและชายในแง่มุมเฉพาะต่างๆ และมีส่วนกำหนดความเชื่อ ทัศนคติ มายาคติ (myth) รวมทั้งประเพณีปฏิบัติต่างๆ ที่ถูกทำให้กลายเป็นบรรทัดฐานของสังคมในเรื่องของความเป็นหญิงเป็นชาย เพศภาวะเป็นสิ่งที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เช่น ผู้หญิงไทยในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นนิยมแต่งกายโดยนุ่งโจงกระเบนและไว้ผมสั้นเหมือนกับผู้ชาย จนชาวต่างชาติไม่สามารถแยกแยะคนไทยเพศหญิงและชายออกจากกันได้ ปัญหาของการทำความเข้าใจเพศภาวะ คือ ความเข้าใจผิดที่ว่า เพศสรีระเป็นตัวกำหนดเพศภาวะของบุคคล" (หากสนใจมากว่านี้ ก็ตามลิงค์นี้ไป ทำความเข้าใจดู -- Link --)




 

Create Date : 10 กันยายน 2554    
Last Update : 10 กันยายน 2554 12:55:14 น.
Counter : 1153 Pageviews.  

Buddha Vandana ไหว้พระพุทธเจ้า in Cm




Mekong #14 (rec: 110905)
Song: Buddha Vandana (salutation to Buddha) ไหว้พระพุทธเจ้า in Cm/Ed (Bb F)
music by a_somjai

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

I pay homage to the Blessed One,
the Worthy One, the Fully Enlightened One.










 

Create Date : 05 กันยายน 2554    
Last Update : 5 กันยายน 2554 13:20:58 น.
Counter : 826 Pageviews.  

Sweet Home Chiang Mai สบายดีที่เชียงใหม่.




Mekong #13 (rec: 110830)
Song: Sweet Home Chiang Mai สบายดีที่เชียงใหม่ (In Cm/Eb)
music by a_somjai






* บ่นกับบ้าน
- หัดทำ mp4 เป็นชิ้นงานได้สำเร็จเป็นครั้งแรก..... This is my fist mp4 - DIY .
- ช่วงนี้จะขอพักทางเทคนิค เว้นระยะช่องไฟอารมณ์ ระหว่างการศึกษางานดนตรีพื้นฐานพื้นบ้านของคนถิ่นกลิ่นน้ำแม่โขงสักระยะหนึ่งก่อน เพื่อให้เกิดความกระสันกระหายอยากนำสู่ความมุ่งมั่นสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ต่อไป
- ความจริงแล้ว เพลง "สบายดีที่เชียงใหม่" เคยทำมาแล้ว 2 สำนวน/สำเนียง ลงไว้ในบล็อกนี้แหละ แต่ตอนนี้จัดเก็บเป็นสำเนาเข้ากรุ (saved as draf) ไว้อ้างอิงส่วนตัว (ด้วยเขินอายความเคยเป็นนักกีตาร์บลูส์มือใหม่ หมายความว่า ไม่เผยแพร่ - publish) ณ ที่นี้จะคัดสำเนาเนื้อร้องมาลงปูมไว้ก็แล้วกัน

สบายดีที่เชียงใหม่ – Sweet Home Chiang Mai

คำร้อง/ทำนองโดย A_somjai (ตุลาคม 2553/2010)



ท้องฟ้าใสใส
หัวใจเบาเบา
ลมเย็นยามเช้า
เฝ้าชมตาวัน

เหน็บหนาว เหมยหมอก
(เมฆขาว เหมยหมอก)
ดอกรัก ดอกฝัน
มีเธอ มีฉัน ...อยู่ร่วมวันเวลา


มีธารน้ำใส มีใบไม้เขียว มีเรียวโค้งรุ้ง
มีถิ่นท้องทุ่ง ไร่นา ข้าวปลาหลาย
ญาติมิตรก็มากมาย เฮาก็สบายดีเน้อ


ฉันก็สบายดีที่เชียงใหม่
เราอยู่เชียงใหม่ ก็สบายดี
เออ เฮาจะเจอกันเมื่อไร
คิดเติงเชียงใหม่ ก็มาแอ่วซี




[ มงแสะมง แสะ ๆ มง ตะหลุมตุ่มมง ....

นกเขา ขันแวดเวียง
นกเอี้ยง ขันแวดบ้าน
ดิน น้ำ ฟ้า ป่า ดง ดอย แล...นา ไร่
โอ้ ลาลา ... ]


ฉันก็สบายดีที่เชียงใหม่
ฉันอยู่เชียงใหม่ ก็สบายดี
เออ เราจะเจอกันเมื่อไร
คิดถึงเชียงใหม่ ก็มาแอ่วซี



updated: 06-09-11

เอา audio เพลงมาแปะแขวนไว้ท้ายบล็อกก็แล้วกัน

  • สบายดีที่เชียงใหม่ – Sweet Home Chiang Mai เล่นเมื่อ 03-10-2010


  • สบายดีที่เชียงใหม่ – Sweet Home Chiang Mai เล่นเมื่อ 08-04-2011




     

    Create Date : 31 สิงหาคม 2554    
    Last Update : 6 กันยายน 2554 10:22:53 น.
    Counter : 781 Pageviews.  
  • Home and House Building ปลูกบ้าน แปลงเฮือน

    Mekong #12 Khub Tai Dam (rec: 110826)
    Song:Home and House Building ปลูกบ้าน แปลงเฮือน in A/F#m
    music by a_somjai









    * บ่นกับบ้าน

    - ต้นแบบบทศึกษาสำหรับงานดนตรีวันนี้ ได้แก่ เรื่องของ ไทดำ ไทด่อน [ด่อน หมายถึงสัตว์รวมทั้งมนุษย์ที่มีสีผิวกายขาวเผือก แต่นัยทางวัฒนธรรมหมายถึง เครื่องบ่งชี้ว่า ดำหรือขาว คือ ผ้า(เส้นไหม)เครื่องแต่งตัวของเพศหญิง ว่าเป็นโทนสีออก ดำหรือขาว เด่นชัดกว่ากัน ดูเพิ่มเติม Link: Tai Dam people นี้ และ Link: TAI DAM HERITAGE CHANNEL นี้]







    - เมื่อทำการบ้านภาคดนตรีวันนี้ พบว่าการแก้โจทย์ที่เป็นแนวลายทาง "การขับร้องดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิมขนานแท้" อย่าง "ขับไทดำ" นั้น...ยาก ถึง ยากมาก, งานของข้าพเจ้าที่เห็นอยู่นี้ แม้ได้พยามแก้ไข ถอด ใส่ มาหลาย ๆ เสียงแล้ว ก็อะนะ...


    - สิ่งที่พอทำได้คือ กลับไปหาความคุ้นเคยกับเสียงไทดำ ตอนวัยเด็ก-วัยรุ่นของตนเอง ก็นึกถึงเพลง ไทดำรำพัน ของท่าน ก. วิเสส (สังคมโลกช่วงยุคสงครามเย็น, สงครามเวียดนาม) เลยหยิบเอา Melody ของเพลงนี้มาช่วยเล่าอารมณ์เพลง ประมาณนี้



    - วิธีแก้ปัญหาการสร้างงานใหม่จากของเดิม(เพลงพื้นบ้านบริสุทธิของชุมชนดั้งเดิม หรือ กลุ่มชนเมืองแบบสันโดษห่างไกลจากการติดต่อแลกเปลี่ยนกับกลุ่มชนอื่น ๆ ...ว่าอีกอย่างก็คือถูกครอบงำจากอำนาจเหนือจากภายนอกน้อยกว่า พวกชาวบ้านเมืองที่อยู่ใกล้มือเท้าพระราชา ว่างั้นเต๊อะ) กรณีนี้ครูเพลง(ชาวลาว)ท่านใช้เพลงดนตรีที่ได้รับการจัดระเบียบดีแล้วโดยหมู่ชนที่รวมหมู่กันเหนียวแน่นกว่ากลุ่มดั้งเดิม (คือกลุ่มสังคมชุมชนที่มีระบบการปกครองแบบเมืองใหญ่ นคร อาณาจักร เป็นต้น จึงมีการพัฒนาวัฒนธรรมดนตรีมโหรีระดับดุริยางคศิลป์) เข้ามาใช้นำเสนอในงาน

    เพลงดนตรีที่ว่านั้นคือ ทำนองเพลง ขับทุ่มหลวงพระบาง เอามาใช้เป็นเครื่องมือเดินอารมณ์ร่วมของผู้เล่นและผู้ฟัง (ผู้มีประวัติศาสตร์ประสบการณ์เป็นเจ้าของร่วมกันหรือเกี่ยวข้องกันและคนนอกกลุ่ม) จึงพูดว่าได้ของออกมาเป็นงานสร้างสรรค์สามารถเข้าถึงใจคนได้อย่างเป็นอมตะ(ในวงกว้าง) ดังปรากฏอยู่นี้แหละครับ

    - แม้จะเดินตามรอยท่าน แต่แล้ว(งานของตัวเรา)ก็ยังไม่ค่อยเรียบรื่นหู ไม่ลงตัวอย่างงานของเดิมอยู่ดี จึงต้องขอยั้งยอมยกไว้ก่อน ก็ต้องเอาแค่นี้ละกัน หากดันทุรังก็คงไปไม่ถึงไหนอยู่ดี .


    - ส่วน MV เพลงไทดำรำพัน 2 สำเนาที่แนบมาท้ายบล็อกวันนี้ ก็เพื่อบันทึกความหมายและที่มาของ "เนื้อเพลง" เอาไว้เผื่อผู้สนใจศึกษาเรื่องคนไทดำ จะได้หยิบไปใช้บ้างครับ....




    * คำว่า "ปะไห ปะนา" ต้องแก้ไขเป็น "ปะไฮ่ ปะนา" น้ำตาไท(ไต)ไหล จึงจะถูก เพราะว่า "ไฮ่ ก็คือ ไร่" ต่างจาก "ไห ก็คือ ไห", ส่วนคำว่า ปะ หรือ ป๋า เป็นคำใช้ในภาษาลาว ตรงกับภาษาลื้อและคำเมืองทางภาคเหนือของไทยใช้ว่า ละ, ซึ่งหมายถึง ละทิ้งไป เช่น คนเหนืออู้ว่า ตัวจะละลูกละเมียหนีไปกา? เท่ากั่บคนเว้าลาวอีสานว่า เจ้าสิปะลูกป๋าเมียหนีไปสั้นบ่? เป็นต้น






    - อ้อ เรื่องดนตรี(ร่วมสมัย)ของไทดำนั้น กล่าวได้ว่า นอกจากแนวโน้มปัจจุบันคนรุ่นใหม่จะมีรสนิยมดนตรีออกไปแบบเดียวกับชาวเวียตนามแล้ว พวกเขาก็ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากกลุ่มคนพูดลาวทางเมืองลาวหลายอยู่ แล้วงานศึกษานี้คงเป็นการเดินทางยาวไกลของตัวโน๊ตอีกชุด ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าน่าจะกลับมาสำรวจดูได้ง่าย(กว้างและลืก)ได้อีกหลายรอบในภายหลัง ดังนั้นกำลังนี้จึงคิดไว้ว่า...ด้วยเหตุว่า "ไทดำ ไทด่อน" สายเหนือนั้นสืบ "เคอ หรือ เครือ สำเนียงพูดและการขับร้องเล่นดนตรี สำเนียงสืบกัน....ไปได้ถึงสิบสองปันนาผู้อยู่ทางตอนใต้ของจีนเลยทีเดียว" ดังนั้น.... ต่อไปคราวหน้าจะกลับมาว่ากันถึงเรื่อง "ขับลือและเพลงดนตรีของคนใช้ภาษาลื้อ" ทางสิบสองปันนา กันเสียก่อน (การขับลือนี้ทางเมืองไทย ก็ยังมีหลงเหลืออยู่ในหมู่ชาวลื้อ แถวเชียงของ เชียงคำ เชียงแสน เชียงราย และเมืองน่าน เป็นต้น)




     

    Create Date : 27 สิงหาคม 2554    
    Last Update : 28 สิงหาคม 2554 11:16:18 น.
    Counter : 679 Pageviews.  

    Song of a Rainy day เพลงฟ้าหน้าฝน

    Mekong #11 / Long Nan Rhumba (rec: 110823)
    เพลง: Song of a Rainy day เพลงฟ้าหน้าฝน in G (Em Am9)
    Music by a_somjai








    * บ่นกับบ้าน
    - บทศึกษาคราวนี้ เป็น "ซอล่องน่าน" ฉบับต้นแบบของครูเพลงพื้นบ้านพ่อครูคำผาย นุปิง (ร่วมสมัยขนานแท้)



    - งานวันนี้ เราทำออกมาสมัยแนว ๆ แบบว่า รุมบ้า ๆ













    - uodated: 06-09-11 ลองฟังงานของครูเพลงลูกทุ่งรุ่นเก่าท่านทำไว้
    เพลง ลาวตีเขียด- สุรพล สมบัติเจริญ



    - ทำให้คิดไปว่าจากอดีตกาล ท่วงทำนองพื้นบ้านเดิมของ "ดนตรีลาว-ลาวกาว-ลำแคนเต้ยพม่า-ซอลื้อ-ซอพม่า" คงเดินทางไกล ไปอาศัยอยู่ในศูนย์อำนาจสยามทางภาคกลาง แล้วเทคโนโลยีอุตสาหกรรมดนตรีสมัยใหม่ก็นำมันย้อนหวนกลับคืนมาสู่ชาวบ้านไทยบ้านลาวเหมือนเดิมในเวลาต่อมา




     

    Create Date : 23 สิงหาคม 2554    
    Last Update : 6 กันยายน 2554 11:39:16 น.
    Counter : 703 Pageviews.  

    1  2  3  4  5  6  7  8  9  

    a_somjai
    Location :
    เชียงใหม่ Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    Friends' blogs
    [Add a_somjai's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.