CPA_Elearning ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต by เด็กจอมแก่น
 
ตอนที่2 รู้จักกับ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)-(8)

สำหรับคนที่ไม่รู้จักมาตรา 40 ให้ดูที่นี่ (ประมวลรัษฏากร) หรือกฏหมายสรรพากร

//www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata38

มาตรา 39 ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

"เงินได้พึงประเมิน" หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ ด้วย

มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว

(3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

(4) เงินได้ที่เป็น
(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืม หรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม

(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือ ประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว

เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดาในกรณีบิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน ความในวรรคสองให้ใช้บังคับกับบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ด้วยโดยอนุโลม

(ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
(ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
(จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน
(ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
(ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

(5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก
(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน
(ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
(ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
ในกรณี (ก) ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้มีเงินได้แสดงเงินได้ต่ำไป ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินได้นั้นตามจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ตามปกติ และให้ถือว่าจำนวนเงินที่ประเมินนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้ ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามส่วน 2 หมวด 2 ลักษณะ 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณี (ข) และ (ค) ให้ถือว่าเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้วแต่วันทำสัญญาจนถึงวันผิดสัญญาทั้งสิ้น เป็นเงินได้พึงประเมินของปีที่มีการผิดสัญญานั้น

(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
(7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว

เงินค่าภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทใด ไม่ว่าทอดใดหรือในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือเป็นเงินได้ประเภทและของ ปีภาษีเดียวกันกับเงินได้ที่ออกแทนให้นั้น

มาตรา 42 ทวิ เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40(1) และ (2) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง

มาตรา 42 ตรี เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) เฉพาะที่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท
ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง

อันนี้เสริมให้ สำหรับตีความว่า ตามสัญญาจ้างแรงงานจะให้หมายถึง 40(1) เท่านั้น

//www.rd.go.th/publish/5206.0.html#mata81

(ฐ) การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน


สำหรับกฏหมายสรรพากร ข้างต้น ขอให้น้องๆ สนใจเฉพาะที่ทำตัวหนา เพราะจะเกี่ยวข้องอยู่เฉพาะมาตรา 40(1),(2),(3),(8) เท่านั้น
คราวนี้น้องๆ ลองดูตามประเภทของเงินได้พึงประเมินข้างต้น แล้วลองดูที่พี่ แยกประเภทรายได้ของนักเขียนไว้ ว่าตรงใจกับน้องหรือไม่ ทำไมจึงแบ่งประเภทเช่นนั้น แค่นี้ก่อนค่ะ





Create Date : 13 กันยายน 2549
Last Update : 13 กันยายน 2549 22:00:00 น. 9 comments
Counter : 53316 Pageviews.  
 
 
 
 
ทำไมเรียนภาษีมันยากขนาดนี้...โว้ย
 
 

โดย: ผักกาดจอ IP: 114.128.183.85 วันที่: 15 มกราคม 2552 เวลา:21:14:45 น.  

 
 
 
รบกวนสอบถามได้มั๊ยคะ
คือตอนนี้ทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับส่วนราชการแห่งหนึ่ง เงินที่ได้รับคือ ค่าตอบแทน
เมื่อปีที่แล้ว สรรพากรบอกว่าต้องเอารายได้ไปคำนวณรวมกับสามี เหตุผลเพราะเป็นค่าตอบแทนไม่ใช่เงินเดือน ทำให้ต้องจ่ายภาษีเพิ่มอีก 2 หมื่นกว่าบาท จ่ายที่ควรจะได้คืนประมาณ เกือบๆ 2 หมื่น (สามีเงินเดือนเยอะ) แต่ตัวเราเองเงินเดือนนิดเดียว ตรงนี้เงินที่ได้ถือว่าเข้าตาม 40 (1) หรือไม่ และจริงๆ แล้วต้องคำนวณรวมคะ???

ขอบคุณคะ
 
 

โดย: happyberry IP: 161.200.132.97 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:13:54:57 น.  

 
 
 
ง่ายจะตายเรื่องกล้วยๆ
 
 

โดย: มด IP: 10.0.1.66, 203.172.165.242 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:56:54 น.  

 
 
 
ข้อมูลทั้งหมดอ่านได้อย่างเดียวหรอ ทำไมไม่ให้ copy ถ้า Post แล้วไม่ให้ copy ลบทิ้งไปดีกว่า เปลือง Blog.
 
 

โดย: หวังดี IP: 172.20.9.68, 203.144.130.176 วันที่: 21 เมษายน 2554 เวลา:11:13:57 น.  

 
 
 
น้องหวังดี

พี่มีคำแนะนำให้ คือ
1. ถ้ายังเด็กอยู่ศึกษาหาความรู้เยอะๆ นะจ๊ะ โดยเฉพาะ กฏหมายลิขสิทธิ์ พรบ.คอมพิวเตอร์ แต่ถ้าโตแล้ว ยิ่งต้องพัฒนาขึ้นอีกเยอะๆ นะ จะได้ตามทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
2. blog มีเนื้อที่ให้เยอะจ้า ไม่ต้องกลัวเปลือง
 
 

โดย: เด็กจอมแก่น วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:14:10:00 น.  

 
 
 
จากคุณ happyberry
เงินที่ได้เป็นเงินจากหน้าที่หรือตำแหน่งงาน ประเภทที่ 2 หรือเปล่าค่ะ
เพราะในการคำนวณภาษี ต้องเป็นประเภทที่ 1 เท่านั้นที่ภริยาสามารถแยกคำนวณกับสามีได้
 
 

โดย: opavan IP: 115.87.154.81 วันที่: 17 กรกฎาคม 2554 เวลา:15:15:32 น.  

 
 
 
1.รบกวนช่วยอธิบายถึงค่าลดหย่อนที่จะเปลี่ยนแปลงไปหลังจากที่ศาลรฐธรรมนูญสั่งให้สามีภริยาแยกยื่นเงินได้ทุกประเภทหน่อยค่ะ
2เงินได้40(1)และ(2) เวลาคิดหักณที่จ่ายมี4ขั้นตอน แล้วประเภทอื่นๆมีคิด4ขั้นตอนด้วยไหมคะ
 
 

โดย: เจเจ IP: 171.98.105.24 วันที่: 20 กรกฎาคม 2555 เวลา:1:18:55 น.  

 
 
 
ได้รับทองคำทำงานครบสิปปีบริบษัท เป็นของกำนัลหรือเป็นรายได้ ถ้าเป็นของกำนัลต้องนำทองคำมาคิดภาษีหรือไม่
 
 

โดย: อันโต IP: 203.156.41.14 วันที่: 9 มีนาคม 2556 เวลา:13:23:54 น.  

 
 
 
ดีมากสำหรับคนไม่รู้
 
 

โดย: พลอย IP: 49.230.210.253 วันที่: 2 กรกฎาคม 2558 เวลา:20:11:44 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

เด็กจอมแก่น
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




CPA / TA (Tax Auditor)

ติวCPA

หัวหน้าแก๊งค์บัญชี :

ชื่อหัวหน้าแก๊งค์บัญชี เกิดจาก ไปเห็น ซาตาน (อาเฮียเกลือร่วง) ตั้งชื่อบล็อกว่า แก๊งค์บัญชีอะไรดีล่ะ ก็เลย แกล้งชิงตำแหน่งหัวหน้ามาซะก่อน ไม่สนล่ะว่าใครจะเก่งกว่า 555 ข่มซะงั๊น

ปกติคนเรียนบัญชี มักจะถูกมองว่า ลักษณะนิสัยที่ละเอียด รอบคอบ บางคนชอบกินจุกจิก บางคนไม่ค่อยชอบออกสังคมเท่าใด แต่ถ้าทำนานๆไป จะมองกำไรขาดทุนในทุกๆเรื่อง 555 อันนี้แอบเข้าไปอ่านบล็อกของ คุณ wbj เอ๊ะ มันจริงรึเปล่าล่ะนี่

วันนึง ก็ไปเห็นกระทู้ห้องสีลมว่า มีใครเจอ External Audit มาถามโน่นถามนี่บ้างเนี่ย ทำไมเค้าถึงเลือกทำงานในอาชีพที่ทำให้คนเกลียด งึมงำๆๆ เอาไงดี ก็มันได้ตังส์อ่ะ
[Add เด็กจอมแก่น's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com