CPA_Elearning ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต by เด็กจอมแก่น
 
ตอนที่ 1 ประเภทของนักเขียน และ ประเภทของเงินได้(มาตรา)+บทนำ

หลังจากลองดูข้อมูลตามที่โพสคุยกันของเพื่อนๆ น้องๆ นักเขียนในเวบบอร์ดแล้วเห็นว่าหลายๆ คน(มากๆ) น่าจะยังไม่เข้าใจเรื่องภาษีกับอาชีพนักเขียนสักเท่าไร และคิดว่าฝ่ายบัญชีของสำนักพิมพ์เอง บางแห่ง ก็ยังหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้อง คาดเดาว่าเพื่อตัดความยุ่งยาก ก็เลยหักภาษี ณ ที่จ่ายง่ายๆ ซะเลย

เลยคิดว่าตัวเองก็มีอาชีพที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับด้านบัญชีและภาษี ฉะนั้นก็น่าจะให้ความรู้กับนักเขียนเกี่ยวกับภาษีให้ถูกต้อง เมื่ออ่านแล้วน้องๆ เพื่อนๆ สามารถเอาข้อกฏหมายไปใช้ หรือโต้แย้งกับฝ่ายบัญชีของสำนักพิมพ์นั้นๆ ได้เลย ถ้าเห็นว่าไม่เป็นไปตามประมวลรัษฏากรกำหนด (ก็กรมสรรพากรนั่นแหละ) หรือเห็นว่าจะทำให้น้องๆ เสียผลประโยชน์ เอ่อ แล้วนี่เราจะโดนฝ่ายบัญชีสำนักพิมพ์ รุมยำรึเปล่า พูดเล่น แต่สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ นะ

จะพยายามเรียบเรียงให้อ่านง่ายที่สุด ภาษากฏหมายน้อยที่สุด ใครไม่เข้าใจตรงไหนก็โพสถามเข้ามาได้ยินดีตอบให้ในส่วนของนักเขียน ตอนนี้กำลังรวบรวมข้อมูลอยู่นะ และก็ได้ปรึกษากับ ผู้สอบบัญชี CPA-Min หรือที่พวกเราเรียกกันว่า อับดุล ถามอะไรตอบได้หมดอยู่ด้วย(บางข้อเราก็ตอบไม่ได้) เพราะบางครั้งกฏหมายเราต้องตีความ บางทีไม่เข้าใจตีความผิดอีกต่างหาก

ถ้าหากนักเขียนผู้ที่ที่มีผลงาน และเคยได้รับค่าเรื่องมาแล้วก็ช่วยเข้ามาให้ข้อมูลว่าปกติแล้ว ปฏิบัติอย่างไร สำนักพิมพ์หักภาษีไว้อย่างไร จะดีมากเลย จะได้เป็นข้อมูลที่แท้จริงว่าถูกต้องหรือไม่

ทำความเข้าใจกันก่อนนะ เรื่องภาษีของนักเขียนที่จะนำมาเขียนในที่นี้จะนำมาเฉพาะ ส่วนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น คือนักเขียนที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย จะไม่รวมนักเขียนที่อยู่ต่างประเทศ หรือ สนพ.จ่ายเงินให้บริษัทต่างประเทศ เพราะจะทำให้ทุกคน มึนงง ปั่นป่วน คลื่นไส้ พาลจะไม่สบายเอาเปล่าๆ



ตอนที่ 1 ประเภทของนักเขียน และ ประเภทของเงินได้พึงประเมิน(มาตรา40)


สำหรับนักเขียนปกติแล้วเราจะแบ่งเป็นประเภทดังนี้
1. นักเขียนใน
2. นักเขียนนอก

นักเขียนใน ก็ได้แก่ นักเขียนที่เป็นลูกจ้างของ สำนักพิมพ์นั่นแหละ แต่ว่า รายได้ของนักเขียนใน จะเกิดจาก เงินเดือน และ ค่าลิขสิทธิ์ ในผลงานของตัวเอง หรือแปลบทความ ก็แล้วแต่

1. ซึ่งไม่น่ามีปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น เพราะทั้งหมดนั้น จะเป็นเงินได้พึงประเมิน ในมาตรา 40(1) ประเภทเดียวเท่านั้น ฉะนั้น การหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็หักรวมทั้งหมด แบบเงินเดือน ที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนถูกหักอยู่ทุกเดือนนั่นแหละ
2. แต่กรณีที่เขียนนิยายขึ้นมาแล้วให้สำนักพิมพ์ขายเป็นพอกเก็ตบุ๊ค หรือว่าเอาบทความหรือนิยาย ที่เขียนให้กับบริษัท เช่น นิตยสารรายปักษ์เป็นตอนๆ เหล่านั้นมารวมเล่ม ก็จะเหมือนกับนักเขียนนอกคือ เป็นมาตรา 40(3)

นักเขียนนอก ได้แก่ นักเขียนที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างของบริษัท นั่นแล คราวนี้รายได้ของนักเขียนนอก มันจะมี หลายแบบ ที่สับสนปนงงงวย

(1) ก็คือ นักเขียนทั้งหลายที่สร้างสรรค์ผลงานอันเป็นลิขสิทธิ์ของตนเอง แล้วได้ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์ ซึ่งจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ อันนี้จะเป็นเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(3)

(2) นักแปล ที่รับจ้างแปลผลงาน อันเป็นลิขสิทธิ์ของคนอื่น (ไม่ใช่ทั้งของนักเขียนแล้วก็ไม่ใช่ของสำนักพิมพ์) อันนี้จะเป็น เงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(3) เช่นกัน
*** ลิขสิทธิ์ต้นฉบับเป็นของคนอื่นแต่ลิขสิทธิ์ฉบับแปลเป็นของผู้แปล ***

(3) นักแปลเหมือนกัน แต่ว่า รับจ้างแปลผลงาน อันเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ อันนี้จะแตกต่างกับ (2) แล้ว เพราะสำนักพิมพ์เป็นเจ้าของผลงาน ส่วนนักแปลกลายเป็นผู้รับจ้างไป ฉะนั้น จะกลายเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) การรับจ้างทำงานให้ อันคำนึงถึงผลสำเร็จของงานเป็นหลัก

เพิ่มเติมให้อีก 1 กรณีคือ

การขายลิขสิทธิ์
นักเขียนที่ขายลิขสิทธิ์ผลงาน ขอย้ำว่าขายนะคะ ไม่ใช่ให้ใช้ลิขสิทธิ์ เป็นการขายขาดไปเลย สำนักพิมพ์ที่ซื้อไปก็จะกลายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ข้อนี้จะกลายเป็นเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(8) ซะแล้ว

ขอให้น้องๆ ไปอ่าน กฏหมาย มาตรา 40 ทั้งหมดได้ในตอนที่ 2 เอามาลงให้แล้ว และเมื่ออ่านแล้วน้องๆ ลองตีความดูว่า ทำไมจึงจัดประเภทของรายได้เช่นนั้น ส่วนเรื่องของการหัก ภาษี ณ ที่จ่ายจะเป็นตอนต่อไป

***เพิ่มเติมนิดนึง เพราะคุณMin เข้ามาตรวจการบ้านแล้วแก้ไขให้ 555***


Create Date : 13 กันยายน 2549
Last Update : 18 กันยายน 2549 13:50:34 น. 1 comments
Counter : 1219 Pageviews.  
 
 
 
 
แวะมาเยี่ยมบล็อกค่ะ พี่ขอแอดFriend'blogหน่อยนะคะ

 
 

โดย: princess of the moon (printcess of the moon ) วันที่: 30 ตุลาคม 2549 เวลา:15:39:56 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

เด็กจอมแก่น
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




CPA / TA (Tax Auditor)

ติวCPA

หัวหน้าแก๊งค์บัญชี :

ชื่อหัวหน้าแก๊งค์บัญชี เกิดจาก ไปเห็น ซาตาน (อาเฮียเกลือร่วง) ตั้งชื่อบล็อกว่า แก๊งค์บัญชีอะไรดีล่ะ ก็เลย แกล้งชิงตำแหน่งหัวหน้ามาซะก่อน ไม่สนล่ะว่าใครจะเก่งกว่า 555 ข่มซะงั๊น

ปกติคนเรียนบัญชี มักจะถูกมองว่า ลักษณะนิสัยที่ละเอียด รอบคอบ บางคนชอบกินจุกจิก บางคนไม่ค่อยชอบออกสังคมเท่าใด แต่ถ้าทำนานๆไป จะมองกำไรขาดทุนในทุกๆเรื่อง 555 อันนี้แอบเข้าไปอ่านบล็อกของ คุณ wbj เอ๊ะ มันจริงรึเปล่าล่ะนี่

วันนึง ก็ไปเห็นกระทู้ห้องสีลมว่า มีใครเจอ External Audit มาถามโน่นถามนี่บ้างเนี่ย ทำไมเค้าถึงเลือกทำงานในอาชีพที่ทำให้คนเกลียด งึมงำๆๆ เอาไงดี ก็มันได้ตังส์อ่ะ
[Add เด็กจอมแก่น's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com