Mygazine : เก็บทุกสิ่งที่สนใจ
ตรวจสุขภาพเป็นกันแค่ไหน เช็คด่วน!

ได้เวลาแล้วล่ะ ที่คุณต้องพาร่างกายที่มีแต่จะสะสมโรคไปหาหมอกันบ้าง ไม่ได้ไปรักษาหรอกนะ แต่เป็นการเช็คการทำงานของร่างกายว่าเราพร้อมแค่ไหน และเสี่ยงต่อการเป็นโรคอะไรบ้าง จะได้ป้องกันภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน

อย่างไรก็ตาม เรามีเคล็ดสำคัญมาฝาก ว่าการตรวจสุขภาพนั้นควรศึกษาเบื้องต้นกันก่อน แม้เราจะดูแลตัวเองมาดีแค่ไหนก็ตาม นั่นก็คือ...

เราควรตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุเท่าไหร่?
ความจริงแล้ว เราควรตรวจและสำรวจร่างกายมาตั้งแต่เด็กๆ เลยก็ว่าได้ อย่างการที่เราได้ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงนั่นไง บางครั้งก็ไปฉีดยากันโรคต่างๆ แต่เมื่อเราโตขึ้น ร่างกายสมบูรณ์มากขึ้น ก็ควรที่จะตรวจร่างกายอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี อาจเริ่มต้นที่อายุ 20 ปี ที่เป็นการตรวจสุขภาพโยรวม และค่อยๆ เพิ่มรายละเอียดมากขึ้น

ตรวจอะไรกันบ้าง?
สำคัญที่ว่า ครอบครัวเรามีประวัติทางสุขภาพอย่างไรด้วย ถ้าบรรพบุรุษของเราเป็นโรคที่น่าเป็นห่วง อย่าง เบาหวาน มะเร็ง โรคเกี่ยวกับเลือดและหัวใจ โรคไต ฯลฯ ก็ควรตรวจการทำงานของอวัยวะนั้นๆ ประกอบกับการตรวจสุขภาพโดยรวม อย่างการตรวจความดัน ตรวจอัตราการเต้นหัวใจ ตรวจเลือด ตรวจมะเร็ง ตรวจปริมาณไขมัน เป็นต้น

เตรียมตัวยังไงดี?
ตามปกติแล้วเราไม่ควรระมัดระวังหรือเตรียมตัวเป็นพิเศษ เว้นเสียแต่งดชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล ที่จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่หากเราต้องการเจาะเลือด ควรอย่างยิ่งในการงดอาหารก่อนตรวจอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หากต้องการตรวจไขมันในเลือดก็ควรจะงดอาหารก่อน 12 ชั่วโมง ที่สำคัญ ไม่ควรออกกำลังกายก่อนการเจาะเลือด เพราสารที่หลั่งออกมาจะมีผลต่อการตรวจเลือดได้

ควรถามอะไรคุณหมอบ้าง?
ปกติแล้วคุณหมอจะถามเราเพื่อตรวจประวัติต่างๆ อย่างเช่น เรามีปัญหาอะไรบ้าง เคยเจ็บป่วยอะไรไหม ครอบครัวมีประวัติทางสุขภาพอย่างไร การใช้ยามีปัญหาอะไรบ้าง เป็นต้น

แต่จะดียิ่งกว่า ถ้าเราเตรียมตัวมาล่วงหน้ากับการสอบถามคำแนะนำจากคุณหมอในสิ่งที่ต้องการรู้ อย่างเช่น เรามีแนวโน้มที่เป็นโรคอะไรบ้าง มีวิธีป้องกันอย่างไร วิธีรักษาสุขภาพที่เหมาะสม การสังเกตมะเร็งที่กังวลควรทำอย่างไร (เช่นมะเร็งเต้านม) และควรเข้ารับการตรวจอย่างไร-ในช่วงระยะเวลาไหน เป็นต้น

ข้อนี้อย่าละเลย
รายการบางอย่างอาจทำให้เราละเลยได้ รู้แล้วมาทบทวนอีกทีว่าเราไม่ควรพลาดอะไร
- ตรวจสายตา สำคัญขนาดที่ว่าอาจมีผลต่อการมองเห้นเลยทีเดียว เช่นการเป็นต้อลม ต้อหิน หรือโรคที่คาดไม่ถึง
- ตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ วิธีนี้จะมีการนิ้วล้วงทวาร อาจฟังดูจั๊กจี๋ไปนิด แต่ก็สำคัญอย่าบอกใคร
- ตรวจแยกฮีโมโกลบิน / โรคทางเพศสัมพันธ์ รายการนี้สำหรับคนที่เตรียมตัวจะแต่งงาน
- ตรวจความแน่นของกระดูก หากเรามีน้ำหนักตัวน้อย มีกรรมพันธุ์ด้านโรคกระดูกพรุน และคนที่ใช้ยาสเตียรอยด์

ตรวจเสร็จแล้วทำอย่างไร?
เมื่อทราบผลการตรวจสุขภาพแล้ว ใครที่สุขภาพดีก็น่าดีใจ แต่ใครที่พบว่ามีความเสี่ยงกับการเป็นโรคอะไรนั้น ก็ควรอย่างยิ่งที่จะปรึกษาคุณหมอ และกลับมาศึกษาเพิ่มเติมในการดูแลตัวเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นสามารถถนอมร่างกายเราให้ทำงานดีๆ ไปได้อีกนาน เผลอๆ อาจทำให้โรคขยาด หยุดการเจริญเติบโตก็เป็นได้ ...และควรตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กันด้วย จะได้หมดกังวลว่าร่างกายเราปลอดภัยหายห่วง

ที่มา : sabai-arom.com





Create Date : 18 กันยายน 2552
Last Update : 14 มกราคม 2553 11:37:24 น. 3 comments
Counter : 381 Pageviews.

 
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับสาระความรู้ดีๆ อย่าแล้วเริ่มอยากไปตรวจมั่ง


โดย: I3ow (<Lhim> ) วันที่: 18 กันยายน 2552 เวลา:11:10:31 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ

กำลังคิดจะไปตรวจสุขภาพพอดี


โดย: อ้อ (sandseasun ) วันที่: 18 กันยายน 2552 เวลา:14:19:20 น.  

 
น่าสนใจโดยเฉพาะผู้สูงอายุเช่นผม แต่ปัญหาอยู่ที่ถ้า
เราใช้สิทธิข้าราชการไปตรวจที่โรงพยาบาลของรัฐ
หมอจะไม่ให้ตรวจ คือเขาจะตรวจเมื่อป่วยไม่ใช่เพื่อให้
เรารู้ตัวก่อน ขอคำแนะนำหน่อยครับ กำลังจะไปตวจ


โดย: Ni.Somsak (Ni.Somsak ) วันที่: 21 กันยายน 2552 เวลา:5:46:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Never be Afraid to Dream
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]









หมายเหตุ :
1. ขอขอบคุณเจ้าของโค้ด รูป และของแต่งบล็อกที่รวมกันเป็นบล็อกนี้ทุกท่านและขออภัยที่ไม่สามารถเอ่ยชื่อได้ เนื่องจาก จขบ.เซฟมาเยอะจนไม่สามารถจำได้ว่าเอามาจากบล็อกของท่านใดบ้าง

2. ขอขอบคุณไว้ล่วงหน้า ณ ที่นี้ สำหรับทุกท่านที่แวะมาเยี่ยม มาแสดงความเห็นค่ะ และขออภัยหากไม่ได้กลับไปเยี่ยม
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Never be Afraid to Dream's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.