Group Blog
 
All blogs
 
ธรรมในชีวิตประจำวัน



หลักแห่งการปฏิบัติธรรม ๕ ประการ

๑. ศีล ด้วยการทำตนให้สงบ ระวังความชั่วทางกาย - ใจ
๒. สมาธิ ต้องฝึกจิต อบรมจิตให้ระงับความวิตกฟุ้งซ่าน
๓. ปัญญา ต้องศึกษาลักษณะจิตด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ในหลักแห่งความจริง
๔. วิมุตติ ต้องเข้าใจลักษณะแห่งจิต ที่พ้นจากเพลิงทุกข์ ว่าเป็นอย่างไร
๕. วิมุตติญาณทัสสนะ ต้องศึกษาถึงความรู้จักตน ว่าอย่างไรจึงรู้แน่
กายสุจริต วจีสุจริตต มโนสุจริต


หัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ๓ ประการได้แก่

๑.ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
๒.ทำความดีให้ถึงพร้อม
๓.ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส

ฆราวาสธรรม ๔

คือธรรมสำหรับการครองเรือนในชีวิตของบุคคลทั่วไปได้แก่
๑. สัจจะ คือ พูดจริงทำจริงและซื่อตรง
๒. ทมะ คือ ฝึกหัดแก้ไขปรับปรุง
๓. ขันติ คือ อดทนตั้งใจและขยัน
๔.จาคะ คือ เสียสละ

ธรรมคุ้มครองโลกมี ๒ อย่างคือ

๑.หิริ คือ ความละอายใจในการทำบาป
๒.โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวผลของการทำชั่ว

อิทธิบาท ๔ หรือธรรมที่ช่วยให้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์ได้แก่

๑. ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่
๒. วิริยะ คือ ความเพียร
๓. จิตตะ คือ เอาใจฝักใฝ่ ไม่วางธุระ
๔. วิมังสา คือ หมั่นตริตรอง พิจารณาเหตุผล

สัมมัปปาธาน ๔

๑. พยายามเพื่อจะไม่ให้เกิดอกุศลกรรม คือ บาปเกิดในตน
๒. พยายามเพื่อจะละอกุศลธรรม คือ บาปที่เคยเกิดขึ้นแล้วในตน
๓. พยายามเพื่อจะเจริญกุศลธรรม คือ บุญให้มีในตน
๔. พยายามเพื่อรักษากุศลธรรม คือ บุญที่เกิดขึ้นแล้วในตนให้มีอยู่
ข้อแรกคือ ให้ระวังทวารหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ข้อที่เหลือ คือ ต้องขับไล่ของเก่า คืออย่าไปแยแส ไม่ต้องรำพึง เพียงแต่เจริญสติ

มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

๑.สัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่การเห็นในอริยสัจ ๔ คือ

ทุกข์

เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (สมุทัย)

ความดับทุกข์ (นิโรธ)

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (มรรค)

๒.สัมมาสังกัปปะ คือดำริชอบ ได้แก่

ดำริที่จะออกจากกาม (เนกขัมมะ)

ดำริในการไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น

ดำริในการไม่เบียดเบียนผู้อื่น

๓.สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ ได้แก่การเว้นจากวจีทุจริต ๔ คือไม่ประพฤติชั่วทางวาจาอันได้แก่

ไม่พูดเท็จ (มุสาวาทา)

ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ปิสุณาย วาจาย)

ไม่พูดคำหยาบคาย (ผรุสาย วาจาย)

ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ (สัมผัปปลาปา)

๔.สัมมากัมมันตะ คือทำการงานชอบโดยประกอบการงานที่ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดศีลธรรม และเว้นจากการทุจริต ๓ อย่างได้แก่

การเบียดเบียนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (ปาณาติบาต)

การลักขโมย และฉ้อฉลคดโกง แกล้งทำลายผู้อื่น (อทินนาทาน)

การประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร)

๕.สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีวิตชอบได้แก่ การเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด การประกอบสัมมาอาชีพคือ

เว้นจากการค้าขายเครื่องประหารมนุษย์และสัตว์

เว้นจากการค้าขายมนุษย์ไปเป็นทาส

เว้นจากการค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร

เว้นจากการค้าขายน้ำเมา

เว้นจากการค้าขายยาพิษ

๖.สัมมาวายามะ คือมีความเพียรชอบ ๔ ประการได้แก่

เพียรระวังมิให้บาปหรือความชั่วเกิดขึ้น

เพียรละบาปหรือความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว

เพียรทำกุศลหรือความดีให้เกิดขึ้น

เพียรรักษากุศลหรือความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่

๗.สัมมาสติ คือระลึกชอบได้แก่ การระลึกวิปัฏฐานได้แก่ การระลึกในกาย เวทนา จิต และธรรม ๔ ประการคือ

พิจารณากาย ระลึกได้เมื่อรู้สึกสบายหรือไม่สบาย พิจารณาลมหายใจเข้าออก

พิจารณาเวทนา ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆ มีราคะ โทสะ โมหะหรือไม่

พิจารณาจิต ระลึกได้ว่าจิตกำลังเคร้าหมองหรือผ่องแผ้ว รู้เท่าทันความนึกคิด

พิจารณาธรรมให้เกิดปัญญา ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในใจ

๘.สัมมาสมาธิ คือตั้งใจชอบ ทำจิตให้สงบระงับจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ให้มีอารมณ์แน่วแน่เป็นอันเดียว เพื่อให้จิตจดจ่อไม่ฟุ้งซ่าน หาอารมณ์อันไม่มีโทษให้จิตยึด จะได้ไม่พร่าไปหลายทางได้แก่ การเจริญฌานทั้ง ๔ คือ

ปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑

ทุติยฌาน หรือฌานที่ ๒

ตติยฌาน หรือฌานที่ ๓

จตุตถฌาน หรือฌานที่ ๔

เคล็ดลับการเป็นพหูสูต ๕ อย่าง

๑.ฟังมาก หรือศึกษาเล่าเรียนมาก
๒.จำมาก คือหมั่นสังเกตจดจำสิ่งต่างๆที่เห็นมา เรียนมา
๓.ท่องจนคล่องขึ้นใจ คือจำได้โดยไม่ต้องนึกคิด
๔.เจนใจ คือการคิดจนสร้างมโนภาพในใจขึ้นได้ทันที
๕.ทะลุปรุโปร่ง คือนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาพิจารณาเป็นข้อสรุป อธิบายต้นสายปลายเหตุได้อย่างถูกต้อง

หมวดกสิน ๑๐

เป็นการทำสมาธิด้วยวิธีการเพ่ง

๑. ปฐวีกสิน เพ่งธาตุดิน
๒. อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ
๓. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
๔. วาโยกสิน เพ่งลม
๕. นีลกสิน เพ่งสีเขียว
๖. ปีตกสิน เพ่งสีเหลือง
๗. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
๘. โอฑาตกสิณ เพ่งสีขาว
๙. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
๑๐. อากาศกสิณ เพ่งอากาศ

หมวดอสุภกรรมฐาน ๑๐

เป็นการตั้งอารมณ์ไว้ให้เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยงดงาม มีแต่สิ่งสกปรกโสโครก น่าเกลียด

๑๑. อุทธุมาตกอสุภ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายบวมขึ้น พองไปด้วยลม ขึ้นอืด
๑๒. วินีลกอสุภ วีนีลกะ แปลว่า สีเขียว
เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว คละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่มีเนื้อมาก มีสีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก มีสีเขียวในที่มีผ้าคลุมไว้ ฉะนั้นตามร่างกายของผู้ตาย จึงมีสีเขียวมาก
๑๓. วิปุพพกอสุภกรรมฐาน เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
๑๔. วิฉิททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลางกาย
๑๕. วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกยื้อแย่งกัดกิน
๑๖. วิกขิตตกอสุภ เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย มีมือ แขน ขา ศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง
๑๗. หตวิกขิตตกอสุภ คือ ซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
๑๘. โลหิตกอสุภ คือ ซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็นปกติ
๑๙. ปุฬุวกอสุภ คือ ซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
๒๐. อัฏฐิกอสุภ คือ ซากศพที่มีแต่กระดูก



อนุสสติกรรมฐาน ๑๐

อนุสสติ แปลว่า ตามระลึกถึง เมื่อเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะแก่จริต จะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ ตั้งมั่นได้รวดเร็ว

๒๑. พุทธานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
๒๒. ธัมมานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
๒๓. สังฆานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
๒๔. สีลานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
๒๕. จาคานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงผลของการบริจาคเป็นอารมณ์
๒๖. เทวตานุสสติเป็นกรรมฐาน ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
๒๗. มรณานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
๒๘. กายคตานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในจาคะจริต
๒๙. อานาปานานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในโมหะ และวิตกจริต
๓๐. อุปสมานุสสติกรรมฐาน ระลึกความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์

หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา

๓๑. อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพ่งอาหารให้เห็นเป็นของน่าเกลียด บริโภคเพื่อบำรุงร่างกาย ไม่บริโภคเพื่อสนองกิเลส


หมวดจตุธาตุววัฏฐาน

๓๒. จตุธาตุววัฏฐาน ๔ พิจารณาร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ

หมวดพรหมวิหาร ๔

พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมเป็นที่อยู่ของพรหม พรหมแปลว่าประเสริฐ
พรหมวิหาร ๔ จึงแปลว่า คุณธรรม ๔ ประการ ที่ทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติเป็นผู้ประเสริฐ ได้แก่

๓๓. เมตตา คุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน ให้มีความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกามารมณ์ เมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นทุกข์
๓๔. กรุณา ความสงสารปรานี มีประสงค์จะสงเคราะห์แก่ทั้งคนและสัตว์
๓๕. มุทิตา มีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่มีจิตริษยาเจือปน
๓๖. อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย


หมวดอรูปฌาณ ๔

เป็นการปล่อยอารมณ์ ไม่ยึดถืออะไร มีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุขประณีต ในฌานที่ได้ ผู้จะเจริญอรูปฌาณ ๔ ต้องเจริญฌานในกสินให้ได้ฌาณ ๔ เสียก่อน แล้วจึงเจริญอรูปฌาณจนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

๓๗. อากาสานัญจายตนะ ถือ อากาศเป็นอารมณ์ จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตย่อใหญ่เล็กได้ ทรงจิตรักษาอากาศไว้ กำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
๓๘. วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมด ต้องการจิตเท่านั้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
๓๙. อากิญจัญญายตนะ กำหนดความไม่มีอะไรเลย อากาศไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ามีอะไรสักหน่อยหนึ่งก็เป็นเหตุของภยันตราย ไม่ยึดถืออะไรจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์
๔๐. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งที่มีสัญญาอยู่ก็ทำเหมือนไม่มี ไม่รับอารมณ์ใด ๆ จะหนาว ร้อนก็รู้แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย ปล่อยตามเรื่อง เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

อ้างอิงจาก //www.moe.go.th/webrad/webproject/family/3/dhamma/p5.htm


Create Date : 23 ตุลาคม 2549
Last Update : 23 ตุลาคม 2549 21:13:10 น. 1 comments
Counter : 689 Pageviews.

 
แวะมาอ่านเรื่องราวดีดีก่อนนอนค่ะฝันดีนะคะคืนนี้


โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 23 ตุลาคม 2549 เวลา:21:16:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ตุ๊ดตู่ โอ้เย
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]









Friends' blogs
[Add ตุ๊ดตู่ โอ้เย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.