|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
|
เหยี่ยวแดง
ถ่ายมาจากกรงนกในสวนสัตว์เมืองเล็กๆเมืองหนึ่งบนเกาะสุมาตรา ตอนเหนือ


รูปร่างลักษณะ เหยี่ยวแดง เป็นเหยี่ยวขนาดกลาง ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ มีความยาวจาก ปลายปาก จดปลายหาง 51 ซม. ตัวผู้มีความยาวจาก ปลายปากจดปลายหาง 43 ซม. รูปร่างล่ำสัน คอค่อนข้างสั้น แต่ใหญ่ และ แข็งแรง หัวค่อนข้างโต เช่นเดียวกับเหยี่ยวทั้งหลาย ตาโต ปากบนเป็นของุ้มแหลมคม เพื่อใช้ในการฉีกเหยื่อ ปากล่างสั้นกว่าปากบน เมื่อหุบปากสนิท ปากล่างจะซ่อนอยู่ใต้ปากบนพอดี บริเวณโคนปาก มีหนังเปลือยเปล่า เรียกว่า Cere โดยรูจมูกเปิดออกที่แผ่นหนังนี้ ปีกของเหยี่ยวแดง มีลักษณะ ค่อนข้าง ยาว และ ปลายปีก ค่อนข้างแหลม ขนปลายปีก มี 10 เส้น ขนหางยาวปานกลาง และ ปลายหางค่อนข้าง มน ขาสั้นแต่แข็งแรง ด้านหน้าของขา ท่อนล่าง มีเกล็ดขนาดใหญ่ เรียงซ้อนทับกัน นิ้วเท้ายื่นไปข้าง หน้า 3 นิ้ว และ ยื่นไปข้างหลัง 1 นิ้ว เช่นเดียวกับเหยี่ยวอื่นๆ นิ้วเท้าหลังค่อนข้างใหญ่ และ แข็งแรง มาก เล็บเท้าโค้งแหลมคม แข็งแรง ในเวลาที่มันใช้กรงเล็บขยุ้มเหยื่อ เล็บหลังจะ แทง ทะลุตัวเหยื่อ ทันที จึงทำให้เหยื่อบาดเจ็บ หรือ ตายได้ทันทีเหมือนกัน
สีสันของเหยี่ยวแดงไม่เหมือนเหยี่ยวชนิดใด เห็นแค่ครั้งเดียวก็จำได้แล้ว บริเวณหัว ทั้งหมดรวมทั้งคอ และ หน้าอก เป็นสีขาว แต่ก้านขนเป็นสีค่อนข้างดำ จึงดูคล้ายกับว่า มีลายดำๆ ลางๆ ปนอยู่ด้วย เนื่องจากสีขาวโพลน ของมันนี่เอง จึงทำให้ชาวตะวันตก เรียกมันว่า Brahminy Kite เพราะทำให้เขานึกถึงพวกพราหมณ์ ในประเทศอินเดีย ที่ชอบห่มผ้าขาวทั้งตัว ส่วนที่เหลือของลำตัว ทั้งหมดคือหลัง ไหล่ ตะโพก และ ขนคลุมโคนหาง ขนหาง รวมทั้งขนคลุมปีก ขนกลางปีก ด้านนอก และ ด้านใน ท้อง ขนคลุมใต้โคนหาง และ ขนโคนขาเป็นสีน้ำตาลปนแดงซึ่งสวยมาก โดยเฉพาะ ในเวลา ที่มันร่อนอยู่ท่ามกลางแสงแดดจัด บริเวณปลายหาง มีสีจางเล็กน้อยจนออกเทา ส่วนขนปลายปีกเป็นสีดำ ในเวลาที่ มันบินตีโค้งร่อนไป เราแลเห็นใต้ปีกของมันเป็นสีน้ำตาลปนแดงเช่นกัน สีขาวโพลน กับ สีน้ำตาลแดงตัดกันเด่นชัดมาก จนน่าจะเรียกได้ว่า สวยกว่าเหยี่ยวใดๆ ตาของมันเป็นสีน้ำตาล และ มีหนังเปลือยเปล่ารอบๆ รูจมูกเป็นสีเหลือง ปากสี คล้ำๆ ขา และ นิ้วเท้าเป็นสีเหลืองหม่น

เหยี่ยวแดงที่ยังโตไม่เต็มวัย ต่างจาก เหยี่ยวแดงที่โตเต็มวัยแล้ว มาก เพราะ เหยี่ยวแดงที่ยังไม่โต เต็มวัย เมื่อดูเผินๆ แล้วจะคล้ายกับ เหยี่ยวดำ ( Black Kite ) หรือ เหยี่ยวทุ่ง ( Eastern Marsh Harrier ) มาก แต่ถ้าสังเกตรูปร่าง ของปีก และ หาง รวมทั้งท่าบินประกอบ ด้วย ก็จะแยกความแตกต่างจากเหยี่ยวดำ และ เหยี่ยวทุ่งได้ง่าย ส่วนบนของลำตัว มีสีน้ำตาลคล้ำ แต่บริเวณหัว และ คอ มีสีจางเล็กน้อย และ มีลายขีดสีจางๆ ยกเว้นขนคลุมหู ซึ่งมีสีเข้ม ออกดำ คาง และ ใต้คอ ก็มีสีน้ำตาลจางๆ ส่วนล่างของลำตัวที่เหลือมีสีน้ำตาลจางๆ แต่มีลายกว้างๆ สีน้ำตาลจางๆ ยกเว้นบริเวณกึ่งกลาง ท้อง และ ขนคลุมใต้โคนหาง ซึ่งมีสีน้ำตาลจางๆ ด้านใต้ปีก มีแถบขาว บริเวณโคนขนปลายปีก เช่นเดียวกับเหยี่ยวดำ แต่ ปลายหางไม่แยกเป็นแฉก แบบเหยี่ยวดำ ปีกของเหยี่ยวแดง ยังสั้น กว่า และ กว้างกว่า เหยี่ยวดำ อีกด้วย นอกจากนี้ข้อพับ ปีก ยังหักมุมน้อยกว่าปีกอีกด้วย สำหรับความแตกต่าง จากเหยี่ยวทุ่ง สังเกตได้ในขณะบิน เพราะเหยี่ยวทุ่งนั้น จะยกปีกทำมุมกับ ลำตัว เป็นรูป ตัว V แต่เหยี่ยวแดง จะยกปีกออกเกือบ จะอยู่ในระดับเดียวกับลำตัว บินค่อนข้างช้า และ กระพือปีก สลับกับการร่อนไปเรื่อยๆ

นิสัยประจำพันธุ์ เมื่อบินร่อน และ หากินจนเหนื่อยแล้ว เหยี่ยวแดงจะบินลงไปเกาะพักผ่อน ตามต้นไม้สูงๆ ริมน้ำ โดยเฉพาะต้นไม้ที่แห้งตาย หรือต้นไม้ที่มีกิ่งแห้งๆ และ มักจะพบเห็นมันเกาะพักผ่อน อยู่ตามต้นไม้ สูงๆ ในป่าชายเลนอยู่บ่อยๆ เหยี่ยวบางตัวอาจ บินลงไปเกาะพักผ่อนบนหัวเสา ที่ปักอยู่กลางน้ำ หรือ ริมน้ำ แต่เหยี่ยว บางตัว ก็ชอบบินลงไป เกาะพักผ่อนอยู่บนเชือก หรือโซ่ที่ห้อยระโยงระยาง อยู่บนเรือขนาดใหญ่ หรือ ไม่ก็เกาะอยู่บน ส่วนที่สูงสุดของอาคาร พอเริ่มหิว และ หายเหนื่อยแล้ว จึงบินออกไปหากินใหม่
แหล่งอาศัยหากิน เหยี่ยวแดงเป็นนกประจำถิ่น และมักพบได้บ่อย ในเขต การแพร่กระจายพันธุ์ และมักเห็นบินร่อนอยู่เหนือตอนล่าง ของแม่น้ำสายใหญ่ๆ ตาม ปากแม่น้ำ ที่ไหลลงทะเล รอบๆเกาะ และหมู่เกาะต่างๆ ที่ใกล้ๆชายฝั่งทะเล แต่บริเวณที่จะ พบ เห็น เหยี่ยว แดงได้บ่อยๆ จะต้องเป็นท่าเรือ ซึ่งมีเรือประมง และ เรือเดินสมุทรมา แล่น เทียบท่า ทั้งนี้ เพราะ เหยี่ยวแดงมีนิสัยชอบโฉบเฉี่ยวกินปลา หรือ ซากสัตว์อื่นๆ ที่ลูกเรือทิ้งลงน้ำไป ในเวลา ที่เรือ เดินสมุทรมาเทียบท่า เราจึงมักเห็นเหยี่ยวแดงบินอยู่เหนือ และ รอบๆ เรือ พอลูกเรือ โยนปลา หรือซากสัตว์อื่นๆลงน้ำ เหยี่ยวแดง ก็ จะพุ่งตัวลงไปที่ผิวน้ำ แล้วใช้กรงเล็บขยุ้มซากนั้น เอาขึ้นมา กินทันที โดยที่ตัวของมันไม่เปียกน้ำเลย แต่มันก็ กินปลาเป็นๆ ที่มันบินทิ้งตัวลงมาที่ผิวน้ำ โดยไม่ต้องชะลอ หรือ บินนิ่งๆก่อนเลย แล้วก็ใช้กรงเล็บจับปลาที่ผิวน้ำ โดยที่ ตัว ของมันไม่แตะผิวน้ำเลย พอขยุ้มจับปลาได้แล้ว มันก็รีบบินขึ้นสู่ท้องฟ้า ทันที และเอี้ยวตัวลงมาที่เท้า เพื่อใช้ จงอย ปาก ฉีกกินปลากลางอากาศ จนกระทั่งหมดตัว ขณะที่มันจับปลา เหยี่ยวแดงจะจับปลาไว้แนบกับท้อง และ หัวปลาจะ ยื่นไปข้างหน้าเสมอ เช่นเดียวกับเหยี่ยวชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะ เหยี่ยวออสเปร และ นกออก ( White - bellied Sea - Eagle ) ซึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยปลาเช่นกัน
นอกจากเราจะพบเหยี่ยวแดงบินร่อน อยู่เหนือตอนล่างของแม่น้ำ ปากอ่าว ชายฝั่งทะเล และ เกาะเล็กๆ ชายฝั่งแล้ว ในบางครั้งเราก็พบเหยี่ยวแดงบินร่อนอยู่เหนือ ทุ่งนา หนอง บึง ทะเลสาบ และ แม่น้ำ ซึ่งอยู่ห่างไกล จากทะเล เหยี่ยวแดงที่หากินลึกเข้ามาในแผ่นดิน จะมีอาหารหลากหลายมากขึ้น เหยื่อส่วนใหญ่ จะอยู่บน พื้นดิน เช่น กบ เขียด ปู งู รวมทั้งซากสัตว์ด้วย เมื่อเห็นเหยื่อ มันจะพุ่งตัวลงมาเพื่อใช้กรงเล็บขยุ้มเหยื่อ แล้วเอาขึ้นไปกินกลางอากาศ แต่ในบาง ครั้ง มันก็บินไล่จับแมลง ที่บินอยู่กลางอากาศด้วยกรงเล็บของมัน เหยี่ยวแดงที่หากินอยู่ใกล้บ้านคน ในบางครั้ง มันก็ บินลงมาโฉบเอาลูกเป็ดลูกไก่ เอาขึ้นไปกินด้วย เมื่อครั้งที่ยังมี การล่าสัตว์อยู่มากนั้น เหยี่ยวแดงมักบิน ตามนักล่าสัตว์ เพื่อคอยโฉบเอานกปากซ่อม หรือเป็ดป่า ที่ถูกยิงตาย หรือบาดเจ็บ เอาไปกิน คาร์ โจฮัน อาการ์ด เคยรายงานว่า พบเห็น เหยี่ยวแดงโฉบลงไปโจมตีนกกระสาที่บาดเจ็บ แต่โชคร้าย เหยี่ยวแดงตัวนั้นถูกนกกระสา ใช้ปาก แทงตาย บางครั้งผู้ล่า ก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ผู้ถูกล่าได้เหมือนกัน
เรามักไม่ค่อยได้ยินเสียงร้องของเหยี่ยวแดง ทั้งๆที่มันส่งเสียงร้องได้เหมือนกับเหยี่ยวชนิดอื่นๆ แต่ เสียงร้องของมันเบาและขึ้นจมูกดัง " คี" หรือ "พี" ลากเสียงยาวๆ แต่มักได้ยินบ่อยๆในฤดูผสมพันธุ์ มันจะร้องทั้งใน ขณะเกาะ และขณะบิน ในเวลาพลบค่ำ เหยี่ยวแดงมักจะพากันบินร่อนอยู่เหนือ ต้นไม้ที่มันจะเกาะหลับนอน เป็นจำนวน มาก และ มันจะเกาะนอนรวมๆกัน บนต้นไม้ต้นเดียวกัน หรือใกล้ๆกัน ในบางภูมิภาค เช่น ในอินเดียตอนใต้ เคยพบว่า มีเหยี่ยวแดงมาเกาะนอนรวมๆกันนับร้อยๆตัวทีเดียว นอกจากนี้ในบางภูมิภาค เหยี่ยวแดง อาจจะออกหากิน แม้ว่าจะ พลบค่ำ แล้วอีกด้วย เบอร์แธรม อี. สมิทธิ์ เล่าว่า ที่ถ้ำ พา - อัน (Pa - an ) ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ประเทศพม่า เขาได้เห็นเหยี่ยวแดงราว 20 ตัว บินอยู่เหนือถ้ำแห่งนี้ แม้ว่าพระอาทิตย์จะลับฟ้าไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อคอยโฉบจับกิน ค้างคาว ที่ บินออกมาจากถ้ำ เพื่อออกไปหากิน ทำนองเดียวกับเหยี่ยวค้างคาว ซึ่งมีเชื้อสายค่อนข้างจะใกล้ชิดกับมัน

การแพร่กระจายพันธุ์ เหยี่ยวแดงเป็นนกประจำถิ่น ซึ่งแพร่กระจายกว้างขวางตั้งแต่ ปากีสถาน เรื่องมายังจีนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงนิวกินี รวมทั้งหมู่เกาะใกล้เคียง และ ทวีปออสเตรเลียด้วย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จำแนกออกเป็น 4 ชนิดย่อย เนื่องจากบริเวณหน้าอกมีลายแตกต่างกัน และ ขนาด ก็แตกต่างกันเล็กน้อย สำหรับในประเทศไทยนั้น พบถึง 2 ชนิดย่อย เหยี่ยวแดงพันธุ์อินเดีย Haliastur indus indus มีการแพร่กระจายกว้างขวางที่สุด เพราะพบตั้งแต่ ปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา และ บังคาเทศ เรื่อยมายังพม่า หมู่เกาะ อันดามัน ไทย เขมร เวียตนาม และ จีนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่พบบนเกาะไหหลำ ทางใต้นั้นจะพบเรื่อยไปตาม ชายฝั่งทางด้านตะวันออกของภาคใต้ จนถึงปัตตานี เหยี่ยวแดงพันธุ์มลายู Hallasture ihdus intermedius แพร่กระจาย ตั้งแต่ชายฝั่งด้านตะวันตกของภาคใต้ ของ ประเทศไทย เรื่อยลงไปยังมลายู สุมาตรา ชวา บอร์เนียว สุลาเวสี ฟิลิปปินส์ และ เกาะเล็กๆ ใกล้เคียง เหยี่ยวแดงชนิดย่อยนี้ มีขนาด พอๆกับเหยี่ยวแดงพันธุ์อินเดีย แต่มีลายขีดคล้ำๆ บนหน้าอก สีขาวจะค่อนข้างจางกว่า และ เห็นไม่ชัด
สำหรับประเทศไทย เหยี่ยวแดงพันธุ์อินเดียนั้น เราจะพบได้ตั้งแต่ระดับน้ำทะเล และ บนที่ราบต่ำไปจน ถึงระดับความสูง 1,800 เมตร ทีเดียว ทางแถบปากีสถาน เรื่อยมายังพม่าและไทยนั้น เราจะพบเหยี่ยวแดงได้ทั่วไป ทั้งตามชายฝั่งทะเล และ ภายในแผ่นดินซึ่งเป็นทุ่งนา และ หนองบึง รวมทั้งตามแม่น้ำสายใหญ่ๆ ด้วย แต่ทางแถบจีนด้าน ตะวันออกเฉียงใต้ เวียตนาม และ เขมร เราจะพบเหยี่ยวแดงได้เฉพาะตามชายฝั่งทะเล และ ตอนล่างของแม่น้ำสายใหญ่ๆ ในประเทศไทย
ในอดีต เราเคยพบเหยี่ยวแดงบินร่อนหากินอยู่เหนือทุ่งนา หนอง บึง แม่น้ำ และ ชายฝั่งทะเล แต่ในปัจจุบัน ประชากรของเหยี่ยวแดงในแผ่นดินลดน้อยลงมาก นานๆ จะเจอตัวสักครั้ง ทั้งนี้คงจะเป็นเหตุผลเดียวกันกับ การลด จำนวน ลง ของ เหยี่ยวดำ ( Black Kite ) และ อีแร้ง ( Vulture ) ชนิดต่างๆ นั้นคือ ซากสัตว์ที่เป็นอาหารหลักของมัน ลดน้อยลง เมื่อการสุขาภิบาลของมนุษย์ดีขึ้น รวมทั้งการใช้ยาฆ่าแมลงในนาข้าวกันมากขึ้น และ การโค่นล้มต้นไม้สูงๆ ที่เหยี่ยวแดง ต้อง ใช้เป็นแหล่งทำรังวางไข่ด้วย
เฮอร์เบิร์ต จี. เด็กแนน กล่าวไว้ในหนังสือ The Birds of Northern Thailand ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2488 ว่า เหยี่ยวแดงเป็นนกประจำถิ่น ที่พบได้บ่อยมากในภาคเหนือ ตามแม่น้ำสายใหญ่ๆ หนองบึง ขนาดใหญ่ และในหมู่บ้าน และ ตัวเมือง ในจังหวัดเชียงใหม่ เขาพบเหยี่ยวแดงได้ตลอด ทั้งปี แต่ในเดือนเมษายน จะหาได้ยากหรือแทบไม่เจอตัว และพบได้บ่อยๆ ตามแม่น้ำปิง โดยบินร่อน หากินปะปนกับเหยี่ยวดำ ด้วย นอกจากในตัวจังหวัดเชียงใหม่แล้ว เรายังพบ ในจังหวัดเชียงราย และ จังหวัดพระเยาในปัจจุบันด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดาย เพราะในปัจจุบัน เราไม่พบเหยี่ยวแดงใน ภาค เหนือ อีกต่อไปแล้ว
ในกรุงเทพ ในอดีตเคยพบเหยี่ยวแดงร่อนหากินอยู่ตามลำน้ำเจ้าพระยา เป็นเรื่องปกติ แต่ปัจจุบัน ทั้งเหยี่ยวแดง และ เหยี่ยวดำหายไปหมด ไม่เห็นมาวนเวียนเหนือลำน้ำเจ้าพระยา เหมือนเดิม เนื่องจาก ต้นไม้ใหญ่สองฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาถูกโค่นลงหมด มันจึงไม่มีที่ทำรังวางไข่ แต่ทางตอนเหนือของกรุงเทพ แถบ จ. ปทุมธานี และ ตอนล่าง ของกรุงเทพฯ แถบ จ. สมุทรปราการ ยังพอมองเห็นเหยี่ยวแดงได้บ้าง
เหยี่ยวแดงอีก 2 ชนิดย่อย ที่ไม่พบในประเทศไทยนั้น หัว และ คอ ของมันเป็นสีขาวล้วนๆ ไม่มีลายขีดดำๆ ลายๆ เลย เหยี่ยวแดงพันธุ์นิวกินี Haliastur indes firrenera แพร่กระจายอยู่ตามหมู่เกาะโมลุกกะ นิวกินี หมู่เกาะบิสมาร์ค หมู่เกาะหลุยเสด Louislade ) และ หมู่เกาะ Admiralty Is. และ เกาะเล็กๆ ใกล้เคียง รวมทั้ง ตามชายฝั่ง ตอนเหนือ และ ทางด้านตะวันออกของทวีปออสเตรเลีย สำหรับภายในแผ่นดินของทวีป ออสเตรเลีย และ นิวกินีซีกตะวัน ออก รวมทั้งเกาะนิวคาลโดเนีย ด้วย เราจะพบเหยี่ยวอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสาย ใกล้ชิดกับเหยี่ยว แดง คือ Whisling Kite เหยี่ยวชนิดนี้มีลายสีน้ำตาลทั่วตัว และ ก็ยังชอบร่อนอยู่เหนือน้ำ เช่นเดียว กับ เหยี่ยวแดง แต่ก็ชอบบินอยู่เหนือ ที่แห้งแล้ง ด้วย เหยี่ยวแดงพันธุ์ไซโลม่อน ( Haliastur indus flaittostris ) พบแถบหมู่เกาะ โซโลมอน และ เกาะใกล้เคียง ชนิดย่อยนี้ ปากสีเหลือง

ข้อมูลจาก Bird-Home.com
Create Date : 01 กันยายน 2550 |
Last Update : 2 กันยายน 2550 15:50:42 น. |
|
40 comments
|
Counter : 49593 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: โม IP: 58.8.145.7 วันที่: 1 กันยายน 2550 เวลา:20:50:06 น. |
|
|
|
โดย: เราชื่อไรแล้วอ่ะ IP: 125.24.142.148 วันที่: 18 ตุลาคม 2550 เวลา:9:36:29 น. |
|
|
|
โดย: เอ๋คับ IP: 124.157.142.220 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2550 เวลา:22:14:29 น. |
|
|
|
โดย: wildbirds วันที่: 3 พฤศจิกายน 2550 เวลา:19:57:23 น. |
|
|
|
โดย: ศิริวิทย์ IP: 58.9.127.189 วันที่: 24 พฤศจิกายน 2550 เวลา:18:53:43 น. |
|
|
|
โดย: ศิริวิทย์ IP: 58.9.127.189 วันที่: 24 พฤศจิกายน 2550 เวลา:18:54:26 น. |
|
|
|
โดย: ทีม IP: 58.8.145.129 วันที่: 3 กรกฎาคม 2551 เวลา:18:06:53 น. |
|
|
|
โดย: ต้น IP: 203.172.34.129 วันที่: 19 กันยายน 2551 เวลา:15:29:33 น. |
|
|
|
โดย: ต้น IP: 203.172.34.129 วันที่: 19 กันยายน 2551 เวลา:15:32:40 น. |
|
|
|
โดย: รักนก นาพันธุ์ IP: 124.120.135.109 วันที่: 6 พฤษภาคม 2552 เวลา:23:06:41 น. |
|
|
|
โดย: รัก IP: 119.42.110.76 วันที่: 8 ตุลาคม 2552 เวลา:13:47:01 น. |
|
|
|
โดย: รัก IP: 119.42.110.76 วันที่: 8 ตุลาคม 2552 เวลา:13:50:25 น. |
|
|
|
โดย: วันวาน IP: 113.53.150.26 วันที่: 10 ตุลาคม 2552 เวลา:12:18:51 น. |
|
|
|
โดย: wildbirds วันที่: 12 ตุลาคม 2552 เวลา:11:35:35 น. |
|
|
|
โดย: radiergummi วันที่: 30 มีนาคม 2553 เวลา:22:38:33 น. |
|
|
|
โดย: pop IP: 124.122.237.150 วันที่: 13 เมษายน 2553 เวลา:15:02:04 น. |
|
|
|
โดย: fon2010 IP: 118.172.245.144 วันที่: 18 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:00:53 น. |
|
|
|
โดย: fon2010 IP: 118.172.245.144 วันที่: 18 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:07:03 น. |
|
|
|
โดย: จีน่า IP: 113.53.164.140 วันที่: 8 สิงหาคม 2553 เวลา:11:06:22 น. |
|
|
|
โดย: con IP: 118.172.97.44 วันที่: 15 สิงหาคม 2553 เวลา:17:20:08 น. |
|
|
|
โดย: AA IP: 58.8.174.169 วันที่: 23 พฤศจิกายน 2553 เวลา:23:26:19 น. |
|
|
|
โดย: แอนค่ะ IP: 110.171.16.139 วันที่: 23 มิถุนายน 2554 เวลา:20:52:27 น. |
|
|
|
โดย: แอนค่ะ IP: 110.171.16.139 วันที่: 23 มิถุนายน 2554 เวลา:20:57:32 น. |
|
|
|
โดย: บอส IP: 111.84.255.106 วันที่: 9 ตุลาคม 2554 เวลา:16:11:06 น. |
|
|
|
โดย: กตชกร IP: 192.168.1.11, 183.89.89.94 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:16:02:26 น. |
|
|
|
โดย: จตชกร IP: 192.168.1.11, 183.89.89.94 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:16:03:27 น. |
|
|
|
โดย: แจ๊ค ลำปาง อ.แม่ทะ ต.สันดอนแก้ว IP: 118.175.146.37 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:22:12:06 น. |
|
|
|
โดย: รน IP: 61.19.52.58 วันที่: 29 มีนาคม 2555 เวลา:10:55:58 น. |
|
|
|
โดย: เอก08425876123 IP: 180.183.171.164 วันที่: 18 พฤษภาคม 2555 เวลา:11:46:28 น. |
|
|
|
โดย: เอก0842587613 074456338 IP: 180.183.171.164 วันที่: 18 พฤษภาคม 2555 เวลา:11:49:12 น. |
|
|
|
โดย: บอล IP: 182.52.89.58 วันที่: 10 กรกฎาคม 2555 เวลา:14:33:04 น. |
|
|
|
โดย: รน IP: 61.19.52.58 วันที่: 15 สิงหาคม 2555 เวลา:11:30:13 น. |
|
|
|
โดย: รน IP: 61.19.52.58 วันที่: 15 สิงหาคม 2555 เวลา:11:33:21 น. |
|
|
|
โดย: อาซอ IP: 183.89.135.81 วันที่: 26 มกราคม 2557 เวลา:19:37:53 น. |
|
|
|
โดย: ตระกาล IP: 171.4.14.174 วันที่: 3 เมษายน 2557 เวลา:22:20:29 น. |
|
|
|
โดย: ตระกาล IP: 171.4.14.174 วันที่: 3 เมษายน 2557 เวลา:22:24:01 น. |
|
|
|
โดย: ตระกาล IP: 171.4.14.174 วันที่: 3 เมษายน 2557 เวลา:22:25:26 น. |
|
|
|
โดย: ตระกาล IP: 171.4.14.174 วันที่: 3 เมษายน 2557 เวลา:22:27:33 น. |
|
|
|
โดย: ต่อ IP: 49.230.185.11 วันที่: 19 พฤษภาคม 2558 เวลา:12:54:36 น. |
|
|
|
โดย: ตั๊ก IP: 1.47.168.223 วันที่: 29 มิถุนายน 2558 เวลา:21:47:12 น. |
|
|
|
| |
|
|
|
Location :
ชลบุรี Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]

|
ชอบความเป็นธรรมชาติและมีชีวิตง่ายๆ..ไม่ชอบความวุ่นวายในสังคม
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2539 ห้ามผู้ใดนำรูปภาพและข้อความของที่นี่ไปใช้ในทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นการลอกเลียน แก้ไขดัดแปลงข้อความ รูปภาพ หากผู้ใดละเมิดโดยไม่ได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด
|
|
|
|
|
| |
|
|
|