บทความฉบับนี้ขอพูดในเรื่องของการตรวจเช็คคาปาซิเตอร์ ซึ่งก็คืออุปกรณ์ทางไฟฟ้าอย่างหนึ่ง ที่มีอยู่ในเครื่องทำความเย็นและแอร์ แต่ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการตรวจเช็คขออธิบายในเกี่ยวกับรายละเอียดของคาปาซิเตอร์ที่ใช้ในแอร์กันก่อน
คาปาซิเตอร์ (Capacitor) ในภาษาช่างมักนิยมเรียกสั้นๆว่า แค๊ป (Cap) หรือคาปา
แต่ในชื่อภาษาไทยได้ถูกบัญญัติไว้ว่า "ตัวเก็บประจุ" ซึ่งหน้าที่หลักของคาปาซิเตอร์ ก็เหมือนดังชื่อของมันคือมีหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า ในกรณีของคาปาซิเตอร์ที่ใช้กับเครื่องทำความเย็นนั้นตัวคาปาซิเตอร์จะทำหน้าที่เป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้ากระแสสลับและจะจ่ายประจุไฟฟ้าที่เก็บสะสมให้กับโหลดประเภทมอเตอร์เพื่อเพิ่มอำนาจแม่เหล็กทำให้มีแรงบิดสตาร์ทเพิ่มขึ้น
เพราะในระบบเครื่องทำความเย็นที่ใช้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ซึ่งมีกำลังแรงม้าสูง หากเป็นมอเตอร์ที่ใช้ระบบไฟฟ้า 1 เฟส การสตาร์ทออกตัวด้วยตัวของมันเอง อาจจะไม่สามารถทำได้ จำเป็นต้องมีคาปาซิเตอร์เพื่อช่วยในการเริ่มเดินมอเตอร์ เพิ่มแรงบิดให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์เริ่มหมุน
ส่วนประกอบของคาปาซิเตอร์ หลักๆจะมีอยู่ 3 ส่วนคือ
1. แผ่นโละ ซึ่งเป็นแผ่นโลหะประเภทอะลูมิเนียม จำนวน 2 แผ่นวางอยู่ใกล้กันมีฉนวนหุ้มอยู่
2. ฉนวน ทำมาจากกระดาษชุบด้วยน้ำยาเคมีที่เรียกว่า น้ำยาอิเล็กโทรไลต์
3. วัสดุห่อหุ้ม(เปลือกนอก) ทำหน้าที่เป็นตัวสำหรับบรรจุชิ้นส่วนภายใน
ในตัวคาปาซิเตอร์ จะมีค่าความต้านทานของตัวมันเองอยู่ และมีค่าความจุในการเก็บสะสมประจุไฟฟ้า มีหน่วยเป็น "ไมโครฟาราด" (Microfarad =µFD) ซึ่งสามารถเขียนเทียบได้โดย 1 Farad (FD) = 10^6 µFD
สำหรับคาปาซิเตอร์ที่ใช้งานในระบบเครื่องทำความเย็นและแอร์ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
คาปาซิเตอร์สตาร์ท,แคปสตาร์ท (Starting Capacitor) และ คาปาซิเตอร์รัน,แคปรัน (Running Capacitor) โดยการนำคาปาซิเตอร์ทั้งสองชนิดนี้มาต่อใช้งาน จะมีวัตถุประสงค์การนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน ขึ้นกับขนาดและของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์
การแยกชนิดของคาปาซิเตอร์ที่ใช้ในงานระบบเครื่องทำความเย็นและแอร์ จะใช้การแยกโดยดูที่ลักษณะภายนอกเป็นหลัก ซึ่งมีหลักในการจำง่ายๆ นั่นคือ
คาปาซิเตอร์สตาร์ท (Starting Capacitor) เปลือกหุ้มเป็นพลาสติกมีสีดำ ค่าความจุสูง ค่าทนแรงดันต่ำ
คาปาซิเตอร์รัน (Runnin Capacitor) เปลือกหุ้มเป็นโลหะมีสีเงิน ค่าความจุต่ำ ค่าทนแรงดันสูง
การตรวจสอบคาปาซิเตอร์
ในส่วนการตรวจสอบหรือตรวจเช็คคาปาซิเตอร์ โดยทั่วไปแล้วที่นิยมใช้กันในเวลาปฏิบัติงานจริงจะมี 2 วิธี ได้แก่
วิธีที่ 1 คือการทดสอบโดยใช้มัลติมิเตอร์ สามารถแยกออกได้อีกสองรูปแบบคือ ใช้มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก(มิเตอร์แบบเข็ม) และ ใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
1.1 การตรวจสอบคาปาซิเตอร์โดยใช้มัลติมิเตอร์อนาล็อก(มิเตอร์แบบเข็ม)
การตรวจสอบ โดยมัลติมิเตอร์อนาล็อก(มิเตอร์แบบเข็ม) ให้ปรับย่านวัดไปที่ ค่าความต้านทาน R x 1K แล้วนำปลายสายของมิเตอร์มาจี้ที่ขั้วทั้ง 2 ของคาปาซิเตอร์ ถ้าคาปาซิเตอร์ใช้งานได้เข็มของมิเตอร์จะสวิงชี้ขึ้นมาในระดับครึ่งสเกล แล้วเข็มจะค่อยๆตกลง ถือว่าคาปาซิเตอร์ยังใช้งานได้ แต่ถ้าคาปาซิเตอร์ ขาดเมื่อวัดแล้วเข็มจะไม่กระดิกขึ้นเลย
และหากในกรณีที่คาปาซิเตอร์ตัวนั้นลัดวงจรภายใน เมื่อวัดด้วยมิเตอร์อนาล็อก เข็มบนหน้าปัดของมิเตอร์ จะสวิงชี้ขึ้นจนสุดสเกล (ถึงเลข 0) หรือเต็มสเกล ซึ่งก็แสดงว่าคาปาซิเตอร์อันนั้นลัดวงจรภายใน
1.2 การตรวจสอบโดยใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
ปัจจุบันมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล เริ่มเข้ามามีบทบาทมากในแวดวงงานช่างไฟฟ้า เนื่องจากมีการแสดงค่าที่แม่นยำในระดับจุดทศนิยม และใช้งานง่ายกว่ามากเมื่อเทียบกับมัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก อีกทั้งรูปทรงของมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลในปัจจุบันก็มีให้เลือกหลากลาย ตั้งแต่ขนาดเล็กกระทัดรัดไปจนถึงขนาดใหญ่ รวมทั้งฟังก์ชั่นการทำงานที่ถูกพัฒนาให้วัดค่าทางไฟฟ้าได้หลากหลายในเครื่องเดียว
และที่สำคัญ...ราคาค่าตัวของมัลติมิเตอร์ในปัจจุบัน ก็มีการปรับลดราคาลงมาอยู่ในระดับที่ไม่แพงเหมือนในอดีต ทำให้สามารถหาซื้อมาใช้พกพาออกไปใช้งานนอกสนามแบบสมบุกสมบันได้โดยไม่ต้องเสียดาย
หรือสำหรับท่านใดที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงสายงานไฟฟ้า แต่มักจะซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้านด้วยตนเองอยู่บ่อยครั้ง การจะจะซื้อมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลไว้ติดบ้านสักเครื่อง ก็มีประโยชน์ไม่ใช่น้อย
วิธีการตรวจเช็คคาปาซิเตอร์โดยใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล ก็ไม่อยาก เพราะมิเตอร์แบบดิจิตอลหลายๆรุ่นที่วางขาย ต่างก็มีฟังก์ชั่นสำหรับวัดค่าความจุคาปาซิเตอร์มาให้พร้อม เพียงแค่กดเปลี่ยนโหมดมาเป็นโหมดวัดค่าความจุคาปาซิเตอร์ แล้วเอาสายวัดทั้งสองของมิเตอร์ไปแตะกับขั้วทั้งสองของคาปาซิเตอร์
ถ้าคาปาซิเตอร์ยังดีอยู่บนหน้าจอก็จะแสดงตัวเลขค่าความจุของคาปาซิเตอร์มาให้ ถ้าไม่แสดงก็แปลว่าคาปาซิเตอร์ขาด หรือถ้าแสดงค่าเป็นอินฟินิตี้ (Infinity) แสดงว่าคาปาซิเตอร์อันนั้น...ลัดวงจร
วิธีที่ 2 คือการการชาร์จประจุให้โดยตรง โดยการจ่ายแรงดันไฟฟ้าเข้า 220 โวลต์ เข้าไป เพื่อดูความสามารถในการกักเก็บประจุไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์
แต่ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าวิธีนี้ หากท่านใดที่ไม่มีความรู้ความชำนาญทางด้านงานช่างไฟฟ้า ก็ขอให้ข้ามวิธีนี้ไปได้เลย อ่านเพื่อเป็นความรู้ได้ แต่ไม่แนะนำให้ทำตาม เพราะอาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้าได้
โดยวิธีนี้ก็คือการชาร์จประจุ จ่ายไฟจากแหล่งจ่าย 220 โวลต์ เข้าสู่คาปาซิเตอร์ ซึ่งพูดให้เห็นภาพก็คือ การนำขั้วของคาปาซิเตอร์ 2 ขั้ว แต่ละขั้วมาต่อเข้ากับสายไฟหรือแหล่งจ่ายไฟ โดยต่อขั้วคาปาซิเตอร์เข้ากับ L และ N โดยอาจจะเป็นสายไฟฟ้าที่เสียบมาจากเต้ารับ เป็นการจ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์ เข้าไปที่คาปาซิเตอร์โดยตรง ในระยะเวลาสั้นๆ (แค่ 5 - 10 วินที) แล้วดึงสายออกจากแหล่งจ่ายไฟ
โดยในทางทฤษฏี นี่ก็คือการชาร์จประจุให้กับคาปาซิเตอร์นั่นเอง
แต่สิ่งที่ควรระมัดระวังหลังจากที่ชาร์จประจุให้คาปาซิเตอร์แล้ว คืออย่าเผลอจับที่ขั้วคาปาซิเตอร์เด็ดขาด เพราะมันมีประจุไฟฟ้าที่แรงดันพอๆกับไฟบ้านเก็บอยู่ ถ้าเผลอไปจับอาจได้รับบาดเจ็บได้ และก่อนจะหยิบจับคาปาซิเตอร์ไปใช้งาน ต้องไม่ลืมทำการคายประจุด้วยหลอดใส้หรือไม่ก็ลัดวงจรที่ขั้วคาปาซิเตอร์เสียก่อน เพื่อคายประจุที่สะสมอยู่ออกมาให้หมด
และการทดสอบคาปาซิเตอร์หลังจากที่ชาร์จประจุเข้าไปแล้ว ก็คือการคายประจุออกมาจากคาปาซิเตอร์ โดยนำสายทั้ง 2 เส้นของคาปาซิเตอร์มาต่อเข้ากับหลอดไฟ ชนิดหลอดไส้ (incandescent) ขนาด 25-40 วัตต์ หากไส้หลอดไฟสว่างขึ้นมา ก็แสดงว่าคาปาซิเตอร์ตัวนั้นยังคงมีสภาพดีอยู่ สามารถเก็บประจุและคายประจุออกมาได้ แต่ถ้าไส้หลอดไม่มีอาการตอบสนอง ก็เป็นไปได้ว่าคาปาซิเตอร์ตัวนั้นไม่สามารถเก็บประจุได้อีกแล้ว
และหากพูดถึงการตรวจเช็คในหน้างานจริง การลงไปตรวจเช็คแอร์ที่ตรงหน้างานจริงก็อาจจะมีข้อจำกัดด้านอุปกรณ์ ช่างแอร์ยุคก่อนๆจึงมักจะใช้วิธีลัด เพื่อคายประจุให้กับคาปาซิเตอร์ ซึ่งก็คือการเอาปลายสายของคาปาซิเตอร์ที่ชาร์จประจุเสร็จมาแตะกันเพื่อลัดวงจร หรือใช้ปลายไขควงลัดวงจรระหว่างขั้วของคาปาซิเตอร์ ซึ่งถ้าหากคาปาซิเตอร์ยังดีอยู่คือสามารถเก็บประจุได้ เมื่อลัดวงจรขั้วคาป่าซิเตอร์ก็จะมีประกายไฟแลบออกมาให้เห็น แต่ถ้าหากเอาปลายสายมาแตะกันหรือลัดวงจรด้วยปลายไขควงแล้ว ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย ก็แสดงว่าคาปาซิเตอร์ตัวนั้นขาดไปแล้ว
ซึ่งการทดสอบโดยการชาร์จประจุให้คาปาซิเตอร์โดยตรง ในบางครั้งถ้าบังเอิญไปเจอเอาคาปาซิเตอร์ที่มีการลัดวงจรภายใน และเราดูภายนอกอาจไม่รู้ว่ามันลัดวงจรด้านใน แต่เมื่อนำคาปาซิเตอร์มาต่อเข้าแหล่งจ่ายไฟ 220 โวลต์ เพื่อชาร์จประจุ ก็จะเกิดการลัดวงจรทันที และส่งผลให้เบรกเกอร์หรือฟิวส์ที่แผงสวิทช์ก็ตัดไฟทันที อันนี้ก็ควรระมัดระวังเพราะอาจจะทำให้ตกใจและอาจจะเป็นอันตรายได้
ดังนั้นการชาร์จประจุด้วยแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ จึงเป็นวิธีแบบลัดที่อาจจะไม่ค่อยปลอดภัยสักเท่าไหร่ หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง
หากพูดกันตามหลักการ สำหรับการคายประจุด้วยวิธีการลัดวงจรขั้วคาปาซิเตอร์ เป็นวิธีการที่อาจจะไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ไม่ค่อยปลอดภัย ซึ่งถ้าใครจะเรียกว่าวิธีมักง่าย ก็คงไม่ผิด ซึ่งผู้เขียนเองก็ไม่สนับสนุนให้วิธีการชาร์จประจุแล้วทำการลัดวงจรขั้วคาปาซิเตอร์โดยตรง เพราะอาจจะเป็นอันตรายได้
ซึ่งที่นำวิธีดังกล่าวมาบอกเล่ากันในบทความนี้ก็เพื่อเป็นความรู้เท่านั้น โดยเพื่อให้รู้ว่ายังมีวิธีนี้ถูกใช้งานจริงอยู่ แต่ก็ไม่สนับสนุนให้ทำตาม
การทดสอบคาปาซิเตอร์ตามวิธีการที่ได้กล่าวมานี้ คือวธีการทดสอบที่นิยมทำกันในวงการช่างแอร์ ใช้เพื่อทดสอบคาปาซิเตอร์ที่มีในเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศเป็นหลัก ซึ่งการทดสอบตรวจเช็คคาปาซิเตอร์ วิธีที่ปลอดภัยสุดก็คือการใช้มัลติมิเตอร์เป็นตัววัดทดสอบ ซึ่งการใช้งานจริงถ้าหากมีมิเตอร์อยู่แล้วก็ควรใช้มิเตอร์ทำการทดสอบจะดีที่สุด
1. เนเธเธเธชเธเธฒเธ เนเธเนเธเธเธฃเธฐเธเธธเนเธขเธญเธฐเธเนเธฒเธเธเธฒเธเธเนเธญเธข
2. เนเธเธเธฃเธฑเธ เนเธเนเธเธเธฃเธฐเธเธธเธเนเธญเธข เธเนเธฒเธเธเธฒเธเนเธขเธญเธฐ
เธขเธฑเธเนเธเธเนเธเธฒเธกเธเธฑเธเธเธฐเธซเธเนเธญเธขเธเนเธฒ
1. เนเธ Dcv เธงเธฑเธเธเนเธฒเธเนเธเธเธฒเธข.เนเธเธเนเธเธญเธฃเธตเน เธญเธฑเธเธเธตเนเธงเธฑเธเนเธเธทเนเธญเนเธซเนเธฃเธนเนเธงเนเธฒเธกเธตเธเธฃเธฐเธเธธเธเธตเนเนเธญเธก เธซเธฃเธทเธญเธงเนเธฒเธงเธฑเธเนเธเธทเนเธญเนเธซเนเธฃเธนเนเธงเนเธฒเนเธเนเธเนเธเน เธเธตเนเนเธญเธกเธเน เธญเธฑเธเธเธตเนเธขเธฑเธเธชเธเธเธฐเธชเธฑเธขเธญเธฐเธเนเธฒ
2. เนเธDcmA เธญเธฑเธเธเธตเนเธงเธฑเธเธญเธฒเธฃเธฒเธขเธซเธงเนเธฒ เนเธเนเธงเธฑเธเธเธฑเธเธเธฑเธง R เนเธงเธฅเธฒเนเธเธเธตเธเธตเธงเธดเนเธเธเนเธฒเธเนเธเนเนเธซเธกเธเธฃเธฑเธ เธงเนเธฒเธกเธฑเธเธงเธดเนเธเธเนเธฒเธเธเธตเนเธกเธดเธฅเธฅเธดเนเธญเธก เธเธงเธฒเธกเธเธดเธเธเธตเนเธเธนเธเธซเธฃเธทเธญเธเธดเธเธญเธฐเธเธฃเธฑเธ เธกเธฒเธเธญเธขเธเธญเธเนเธเน เธเธฐเธเธญเธเธเธธเธเธซเธฅเธฒเธขเนเน