25.6 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
25.5 พระสูตรหลักถัดไป คืออนุปทสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 3-59
ฐานาฐานะ, 2 มกราคม เวลา 16:34 น.

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง
อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง
              แปลว่า มีชื่อและเรื่องราวแตกต่างกัน กล่าวคือชื่อและเรื่องราวไม่เกี่ยวข้องกัน.
              เว้นไว้แต่ภูเขาอิสิคิลิเท่านั้น กล่าวคือ
              พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ภูเขาอิสิคิลินี้แล มีชื่อก็เช่นนี้ มีบัญญัติก็เช่นนี้ ฯ
              หรือน่าจะแปลว่า ชื่อและเรื่องราวเป็นเรื่องเดียวกัน หรือชื่อและเรื่องราวสอดคล้องกัน.

              ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสบอกพระนามพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๕๐๐ พระองค์
ใช่ไหมคะ แต่พระนามเหมือนกัน จึงตรัสรวมกัน
อธิบายว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น อรรถกถากล่าวว่า
              บทว่า เอเต จ อญฺเญ จ ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านี้ ทั้งที่มาในพระบาลี
และไม่ได้มาในพระบาลี กับพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่าอื่น พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้มีพระนาม
อย่างเดียวเท่านั้น.
              ก็บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ เหล่านี้ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๒ องค์ก็ดี ๓ องค์ก็ดี
๑๐ องค์ก็ดี ๑๒ องค์ก็ดีได้มีพระนามอย่างเดียวกัน เหมือนพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมี
พระอานันทะเป็นต้น.

              ๓. มหาปทุมกุมารอยู่ในพระครรภ์พระมารดา ส่วนกุมารนอกนั้น
อาศัยครรภ์มลทินอุบัติขึ้น
อธิบายว่า มหาปทุมกุมาร อุบัติในครรภ์ด้วยปกติ (ชลาพุชะ)
              ส่วนกุมารนอกนั้นอาศัยครรภ์มลทิน เช่นน้ำคร่ำหรือเหงื่อไคล
จัดเป็นกำเนิดอื่นจากชลาพุชะ โดยนัยนี้น่าจะเป็นสังเสทชะ.
              คำว่า โยนิ 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โยนิ_4

ความคิดเห็นที่ 3-60
GravityOfLove, 2 มกราคม เวลา 22:42 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-61
GravityOfLove, 2 มกราคม เวลา 22:44 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๖. อิสิคิลิสูตร ว่าด้วยภูเขาอิสิคิลิ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3647&Z=3723&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลิ เขตพระนครราชคฤห์
             สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย แล้วตรัสถามว่า
             บรรดาเราทั้งหลายนี่ พวกเธอแลเห็นภูเขาเวภาระ ภูเขาปัณฑวะ ภูเขาเวปุลละ
ภูเขาคิชฌกูฏ ภูเขาอิสิคิลินั่นหรือไม่
             ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า เห็น พระพุทธเจ้าข้า
             ตรัสว่า ภูเขาเหล่านั้น ต่างก็มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง
             ยกเว้นภูเขาอิสิคิลิ ซึ่งมีชื่อและบัญญัติเป็นอย่างเดียวกัน
             เรื่องเคยมีมาแล้ว พระปัจเจกพุทธ ๕๐๐ องค์ ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน
             พระปัจเจกพุทธเหล่านั้น เมื่อกำลังเข้าไปสู่ภูเขานี้ คนแลเห็น
             แต่ท่านเข้าไปแล้ว คนไม่แลเห็น
             มนุษย์ทั้งหลายเห็นเหตุดังนี้นั้น จึงพูดกันอย่างนี้ว่า ภูเขาลูกนี้ กลืนกินฤาษีเหล่านี้
ภูเขานี้จึงถูกเรียกว่า อิสิคิลิ (กลืนกินฤๅษี)
             พระผู้มีพระภาคตรัสบอกชื่อของพระปัจเจกพุทธทั้งหลาย มีพระปัจเจกสัมพุทธชื่อ
อริฏฐะ เป็นต้น
             ตอนท้ายตรัสว่า
             เธอทั้งหลายจงไหว้พระปัจเจกพุทธเหล่านั้น ผู้ล่วงเครื่องข้องทั้งปวงได้แล้ว
ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ผู้มีคุณนับไม่ถ้วน ผู้ปรินิพพานแล้วเถิด

[แก้ไขตาม #3-62]

ความคิดเห็นที่ 3-62
ฐานาฐานะ, 3 มกราคม เวลา 12:52 น.

GravityOfLove, 8 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
             ๑๖. อิสิคิลิสูตร ว่าด้วยภูเขาอิสิคิลิ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3647&Z=3723&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
10:44 PM 1/2/2014

             ย่อความไม่ถูกต้อง ดังนี้ :-
             บรรดาเราทั้งหลายนี่ พวกเธอแลเห็นภูเขาเวภาระ ภูเขาปัณฑวะ ภูเขาเวปุลละ
ภูเขาคิชฌกูฏ ภูเขาอิสิคิลินั่นหรือไม่
             ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า เห็น พระพุทธเจ้าข้า
             ตรัสว่า ภูเขาเหล่านั้น ต่างก็มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ควรแก้ไขให้ได้นัยว่า
             ภูเขา 4 ลูก คือ ภูเขาเวภาระ ภูเขาปัณฑวะ ภูเขาเวปุลละ ภูเขาคิชฌกูฏ
             ภูเขา 4 ลูกนี้ มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง
             ส่วนภูเขาอิสิคิลิ มีชื่อและบัญญัติเป็นอย่างเดียวกัน.

              พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ภูเขาอิสิคิลินี้แล มีชื่อก็เช่นนี้ มีบัญญัติก็เช่นนี้

ความคิดเห็นที่ 3-63
GravityOfLove, 3 มกราคม เวลา 14:21 น.

ขอบพระคุณค่ะ
แก้ไข
             ตรัสว่า ภูเขาเหล่านั้น ต่างก็มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง             
             เรื่องเคยมีมาแล้ว พระปัจเจกพุทธ ๕๐๐ องค์ ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน

เป็น

             ตรัสว่า ภูเขาเหล่านั้น ต่างก็มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง
             ยกเว้นภูเขาอิสิคิลิ ซึ่งมีชื่อและบัญญัติเป็นอย่างเดียวกัน
             เรื่องเคยมีมาแล้ว พระปัจเจกพุทธ ๕๐๐ องค์ ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน

ความคิดเห็นที่ 3-64
ฐานาฐานะ, 3 มกราคม เวลา 14:37 น.

              คำถามในอิสิคิลิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3647&Z=3723

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. เคยพบพระนามของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง
ใน 500 องค์ ในพระสูตรอื่นๆ บ้างหรือไม่ พระสูตรอะไร?

ความคิดเห็นที่ 3-65
GravityOfLove, 3 มกราคม เวลา 14:51 น.

             ตอบคำถามในอิสิคิลิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3647&Z=3723

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ได้อาศัยที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน เวลาท่าน
เข้าไปสู่ภูเขานี้คนแลเห็น แต่ท่านเข้าไปแล้วคนแลไม่เห็น มนุษย์ทั้งหลายจึง
พูดว่าภูเขาลูกนี้กลืนกินฤๅษีเหล่านี้ ชื่อว่า อิสิคิลิๆ จึงเกิดขึ้น
             ๒. พระนามของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า
             ๓. ประวัติย่อของนางปทุมวดี ผู้ตั้งความปรารถนาให้ได้บุตร ๕๐๐ คน
---------------------------
             2. เคยพบพระนามของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง
ใน 500 องค์ ในพระสูตรอื่นๆ บ้างหรือไม่ พระสูตรอะไร?
             ไม่เคยพบค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-66
ฐานาฐานะ, 3 มกราคม เวลา 15:14 น.

GravityOfLove, 16 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในอิสิคิลิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3647&Z=3723
...
2:50 PM 1/3/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ข้อ 1.๓. ประวัติย่อของนางปทุมวดี ผู้ตั้งความปรารถนาให้ได้บุตร ๕๐๐ คน
             พอทราบหรือไม่ว่า นางปทุมวดี เป็นผู้ใดในสมัยที่พระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่?
             2. เคยพบพระนามของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง
ใน 500 องค์ ในพระสูตรอื่นๆ บ้างหรือไม่ พระสูตรอะไร?
             ไม่เคยพบค่ะ
             แนะนำพระสูตรชื่อว่า ทุติยาปุตตกสูตรที่ ๑๐
[บางส่วน]
             คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้สั่งให้จัดบิณฑบาตถวายพระปัจเจกสัมพุทธะ นามว่า ตครสิขี
ว่าท่านทั้งหลาย จงถวายบิณฑะแก่สมณะแล้วลุกจากอาสนะเดินหลีกไป แต่ครั้นถวายแล้ว
ภายหลังได้มีวิปฏิสารว่า บิณฑบาตนี้ ทาสหรือกรรมกรพึงบริโภคยังดีกว่า
นอกจากนี้เขายังปลงชีวิตบุตรน้อยคนเดียวของพี่ชาย เพราะเหตุทรัพย์สมบัติอีก
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=2927&Z=2986
             อรรถกถาทุติยาปุตตกสูตรที่ ๑๐
[บางส่วน]
             บทว่า ปจฺฉา วิปฺปฏิสารี อโหสิ ความว่า ได้ยินว่า เศรษฐีนั้นพบพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แม้ในวันอื่นๆ แต่เขามิได้เกิดจิตคิดจะถวายทาน.
             ในวันนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ตครสิขี บุตรคนที่ ๓ ของนางปทุมวดีเทวี
พระองค์นี้ยับยั้งอยู่ด้วยสุขเกิดแต่ผลสมาบัติ ณ ภูเขาคันธมาทน์ ลุกขึ้น ณ เวลาเช้า บ้วนโอษฐ์
ณ สระอโนดาด นุ่งสบงสีแดงดังน้ำชาด คาดประคดเอว ถือบาตรจีวร เข้าจตุตถฌานอันเป็นบาท
แห่งอภิญญา เหาะไปด้วยฤทธิ์ลงที่ประตูนครห่มจีวรแล้ว ถือบาตร ถึงประตูเรือนของเศรษฐีตามลำดับ
ด้วยอากัปปะอาการมีก้าวไปเป็นต้นที่น่าเลื่อมใส ประหนึ่งวางของมีค่าพันหนึ่งที่ประตูนคร
สำหรับชาวนครทั้งหลาย.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=390

ความคิดเห็นที่ 3-67
GravityOfLove, 3 มกราคม เวลา 18:47 น.

             นางปทุมวดี เป็นผู้ใดในสมัยที่พระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่?
             ตอบว่า เป็นพระอุบลวรรณาเถรี
             ประวัติพระอุบลวรรณาเถรี (บางส่วน)
             ท่านเจ้าข้า ขอผิวกายของดิฉันจงเป็นประดุจผิวภายในห้องดอกอุบลขาบเหล่านี้
ในสถานที่ที่ดิฉันเกิดแล้วเกิดอีกนะเจ้าข้า.
             พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย ท่านอนุโมทนาแก่มารดาแล้วก็ไปสู่เขาคันธมาทน์.
             แม้หญิงนั้นทำกุศลจนตลอดชีวิต จุติจากภพนั้นแล้วบังเกิดในเทวโลก.
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิในครอบครัวเศรษฐี. ก็เพราะนางมีผิวพรรณ
เสมอด้วยดอกอุบลขาบ. บิดามารดาจึงขนานนามของนางว่า อุบลวรรณา
.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=150&p=3

             ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายซ้าย
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุบลวรรณา

ความคิดเห็นที่ 3-68
ฐานาฐานะ, 3 มกราคม เวลา 18:56 น.

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
             นางปทุมวดี เป็นผู้ใดในสมัยที่พระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่?
             ตอบว่า เป็นพระอุบลวรรณาเถรี
...
6:47 PM 1/3/2014
             ถูกต้องครับ ตอบคำถามได้ดี.
             รู้คำตอบมาก่อน หรือว่าค้นหาจึงรู้ หรือว่าถามใคร?

ความคิดเห็นที่ 3-69
GravityOfLove, 3 มกราคม เวลา 18:58 น.

เคยรู้มาก่อน แต่ไม่ค่อยแน่ใจค่ะ
(จะให้ถามใครคะ ไม่มีใครให้ถามค่ะ)

ความคิดเห็นที่ 3-70
ฐานาฐานะ, 3 มกราคม เวลา 19:14 น.

              พี่ชายพี่สาว ก็ถามได้.

ความคิดเห็นที่ 3-71
GravityOfLove, 3 มกราคม เวลา 20:11 น.

รับทราบค่ะ แต่ไม่มีใครอ่านพระไตรปิฎกเลยค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-72
ฐานาฐานะ, 3 มกราคม เวลา 18:57 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อิสิคิลิสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3647&Z=3723

              พระสูตรหลักถัดไป คือมหาจัตตารีสกสูตร [พระสูตรที่ 17].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              มหาจัตตารีสกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3724&Z=3923
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252

              อานาปานสติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3924&Z=4181
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=282

              กายคตาสติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4182&Z=4496
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=292

              สังขารูปปัตติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4497&Z=4713
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=318

ย้ายไปที



Create Date : 22 มกราคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:28:01 น.
Counter : 450 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มกราคม 2557

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog