>>>        ชาวพุทธแท้ หรือชาวพุทธในทะเบียนบ้านต่างกันอย่างไร ?       อลัชชีคืออะไร ?        เงินกับพระอย่างไรเหมาะควร ??        กรรมของชาวไทย ปัจจุบันและวิธีแก้ไข            หนทางสู่การปฏิบัติ            อานาปานสติอย่างที่ท่านเข้าใจจริงหรือ ?และFAQ อานาปานสติ

สารบัญ Group 1 สรุปคำตอบที่โต๊ะศาสนา 2549-2553 โดย Aero.1






บทที่ 1.สิ่งที่ชาวพุทธควรทราบและทำความเข้าใจ
- มูลแห่งการแยกนิกายหลังพุทธปรินิพพาน
- การจรรโลงพระสัทธรรมยุคพระเจ้าอโศกมหาราช
- ช่วงพ.ศ. 1700 การสิ้นสุดของพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
- การประดิษฐานและการรักษาพระสัทธรรมในประเทศไทย

บทที่ 2.กรรมของชาวไทย ปัจจุบันและวิธีแก้ไข
- กรรมที่เกิดจากการยอมรับการปฏิรูปพระสัทธรรม
- คำถามว่าถวายเงินให้พระบาปไหม ?
- ภาพแผนภูมิวงจรการก่อกรรม
- หลักธรรมที่นำมาใช้ในการพิจารณาแนวทางแก้ไข
- ภาพแผนภูมิวงจรการเกิดกรรมการเมืองไทย
- แนวทางแก้ไขเบื้องต้นและภาพแผนภูมิการถอดสลักกรรม
- แนวทางแก้ไขในภาพรวมระยะยาว
- วิเคราะห์วาระกรรมใหม่ในอนาคต

บทที่ 3.สิ่ง ที่ชาวพุทธแท้ต้องแสวงหาและวิธีปฏิบัติเมื่อพบมีแล้ว
- ความหมายของสองสิ่งที่ต้องแสวงหา ปรโตโฆสะ+โยนิโสมนสิการ
- กัลยาณมิตรคือใคร?
- การพิจารณาเลือกหากัลยาณมิตรและการปฏิบัติปฏิสัณฐานต่อกัลยาณมิตร

บทที่ 4.วิธี พิจารณาความ อริยสัจจะ
- ความหมายและกิจหน้าที่ในอริยสัจ
- จำแนกชนิดและประเภทของทุกข์
- สรุปตัวทุกข์และรู้จักสิ่งที่บดบังไม่ให้เห็นทุกข์
-สรุปตัณหาและข้อสังเกต /-สรุปมรรคและข้อสังเกต
- อธิบายภาพวงจรการเกิดทุกข์อันมีต้นเหตุอันใกล้จากตัณหา
- มรรคมีองค์ 8 และข้อสังเกตโดยเน้นถึงสภาพที่ปัจจุบันชนส่วนใหญ่เข้าใจไม่ตรง

บทที่ 5.หน ทางสู่การปฏิบัติ
- จริตและชนิดกรรมฐาน
- ตารางแสดงจริตพร้อมทั้งลำดับขั้นสูงสุดของกรรมฐานแต่ละกอง
- ข้อมูลลักษณะของผู้ที่มีจริตต่างๆ (จริต 6)
- วิธีแก้ไขในจริตฝ่ายต่างๆ
- กรรมฐานที่เหมาะสมกับจริตต่างๆ
- อธิบายข้อสังเกตพฤติกรรมบุคคลในจริตต่างๆโดยละเอียด
- อจินไตย 4 รู้ก่อนปฏิบัติ ป้องกันการวิกลจริต
- ปีติในฌานนั้นพุทธองค์หมายเอา ผรณาปีติเท่านั้น
- เดินถูกทางแต่ก็หลง; วิปัสสนูปกิเลส 10

บทที่ 6.อานาปานาสติในทัศนะของ ข้าพเจ้า
- FAQ คำถามคำถามอานาปานสติที่ถามบ่อย

บทที่ 7.วินัยของพระภิกษุสงฆ์ที่ประชาชนควรทราบรวบรวมและ เรียบเรียงโดย พระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล ป.ธ. ๙) วัดบวรนิเวศ มรณภาพ 2542

ภาคผนวก



เกริ่นนำ

เรียนทุกท่านครับ


กระทู้นี้มีเจตนาเป็นการแจ้งให้ท่านทั้งหลายทราบว่ากระผมได้ทำสรุปการตอบคำถามไว้ในบล๊อก หากทว่าบทความทั้งหมดในบล๊อกมีความยาว โดยมีทั้งส่วนที่เป็นหลักจากคัมภีร์ และส่วนประกอบด้านความคิดเห็นที่เกิดจากการปฏิบัติ ที่สะท้อนออกมาว่าชนยุคนี้ขาดอะไร เท่าแต่ที่กำลังสติปัญญาอันน้อยนิดจะสามารถกล่าวให้ครอบคลุมได้ เจตนาสำคัญที่จัดทำขึ้นมา เพื่อมุ่งต่อการทำความเข้าใจ ให้มีผลต่อการปรับจิตแต่ละขั้นของชนส่วนมากในยุคนี้

เจตนารมณ์แรกเข้ามาในห้องนี้ เพื่อที่จะชี้ในเห็นโทษภัย ของการไม่เคารพคำสอนของพระพุทธองค์โดยเฉพาะเรื่องเงิน(1 ใน ศีล 150 ข้อ)ทั้งในส่วนของนักบวช และในส่วนของฆราวาส อันเป็นข้อเบื้องต้นของการปฏิบัติ อีกทั้งการฝังรากของแนวคิด ละเมิดพุทธบัญญัติดังกล่าวจนเกิดเป็นประเพณี ค่านิยมของคนในสังคมอย่างผิดๆ มาตลอดระยะเวลา 80 ปีมานี้ และการบรรยายนั้นเจตนาสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การชี้แจงเรื่อง การทำสมาธิอานาปานสติ แต่การจะกล่าวอานาปานสติแต่เบื้องแรกทันทีนั้นอาจไม่สำเร็จประโยชน์ได้จีงบรรยายเนื้อหาที่ควรรู้ก่อนภาวนาในที่นี้ด้วย

การศึกษาพระสัทธรรมคำสอนนั้น หากเราท่านทั้งหลาย ทราบถึงความเป็นไปโดยรวมของการพัฒนาและดำรงอยู่ของพระสัทธรรมแล้ว จะทำให้ทราบตำแหน่งแห่งที่ของหนทางดำเนินในแนวพุทธว่ามีการปฎิรูปไปในทิศทาง ใดบ้าง พร้อมกับเห็นคุณค่าของสิ่งมีคุณค่าสูงสุดที่ชาวไทยทั้งหลายมีอยู่ คือการดำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ของพระสัทธรรมและเหล่าบริสุทธิสงฆ์ อันไม่สามารถหาได้อีกแล้วจากสถานที่อื่นในสากลจักรวาล และเมื่อทราบภาพโดยกว้าง โดยภาพรวมแล้ว จึงสามารถศึกษาเจาะลงให้ชัด, ตรงในคำสอนอันบริสุทธิ์ต่อไป

จากการที่หลายท่านได้อ่านบทความนี้ คงได้ประโยชน์จากเจตจำนงค์ดังกล่าวนั้น และจากการที่ได้เขียนสรุปการตอบคำถามนี้ ก็หวังว่าท่านผู้อ่านจะทราบถึงที่ไปที่มาของ เรื่องราวความเป็นมาของการรักษาไว้ซึ่งพระสัทธรรมบริสุทธิ์ในยุคต่างๆเพื่อจะได้นำ ไปเป็นส่วนประกอบในการศึกษาพระสัทธรรมให้ยิ่งขึ้นไปและพร้อมกันนั้นแสดงให้ เห็นมูลเหตุ ของจุดผกผันของพระศาสนาในยุคต่างๆเพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งที่ยืนในพระศาสนา ว่าเราท่านทั้งหลายอยู่ตรงส่วนใดของพระศาสนาเพื่อประโยชน์ในการกำหนดท่าที ว่าการเป็นชาวพุทธของเราท่านทั้งหลายนั้นชัดเจนเพียงใดและมีทางออกของพุทธ ศาสนิกชนร่วมกันคิดร่วมกันสร้างความสามัคคีของชนในชาติอย่างไรโดยไม่ให้ กระทบต่อการทรงไว้ซึ่งแนวทางการศึกษาตามพระไตรปิฎกฉบับเถระวาทซึ่งเป็นเบ้า หลอมวัฒนธรรมของชนในชาติมาอย่างยาวนาน


ด้วยความเคารพและขออนุโมทนา











 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2554 1:17:18 น.
Counter : 5422 Pageviews.  

.........บทที่ 1 สิ่งที่ชาวพุทธควรทราบและทำความเข้าใจ

            มูลแห่งการแยกนิกายหลังพุทธปรินิพพาน เกิดจากไม่ลงรอยของความเห็นในเรื่องวินัยโดยในที่นี้ จะขอยกวินัยบางข้อมากล่าวให้พอจับประเด็นได้  ในขณะพระองค์ใกล้ปรินิพานนั้น ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า  "สิกขาบทข้อใดที่เห็นว่า เล็กน้อยให้หมู่สงฆ์ยกเว้นได้" ภายหลังพุทธปรินิพพานหมู่สงฆ์ประชุมกันโดยมีพระมหากัสสปะ อันเป็นอัครมหาสาวกที่พระองค์เคยแสดงให้เห็นว่ามีธรรมเสมอพระองค์เป็นประธาน

         ในที่ประชุมนั้นมีภิกษุจากทั่วเขตมาร่วมประชุม เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัยคำสอนจนถึงหัวข้อดังกล่าวคือ  “ข้อใดที่เห็นว่าเล็กน้อยให้หมู่สงฆ์ยกเว้นได้”   หมู่สงฆ์เห็นควรปรับอาบัติทุกกฎแก่พระอรหันต์อานนท์ผู้ซึ่งสำเร็จอรหันต์ก่อนเข้าประชุมครั้งนั้น  โดยปรับอาบัติทุกกฎไว้หลายข้อ หนึ่งในนั้นคือการไม่ทูลถามพระพุทธองค์ว่า อาบัติเล็กน้อยนั้นคือโทษขั้นใดบ้าง   บ้างก็ว่าตั้งแต่โทษสังฆาทิเสสลงมาเป็นอาบัติเล็กน้อย  บ้างก็ว่าปาจิตตีย์ลงมาจัดว่าเล็กน้อย    บ้างก็ว่าทุกกฎเล็กน้อย  ในที่ประชุมล้วนเป็นอรหันต์ทรงคุณปฏิสัมภิทา(คุณวิเศษครบถ้วน)  หลายร้อยองค์นั้นลงความเห็นว่าจะไม่เปลี่ยน  หรือยกเลิก  หรือละเว้นสิกขาบทใดเลย เพราะอันสิกขาบทเหล่านั้นที่พระองค์ทรงประทานพระบัญญัติไว้แล้ว คารวาสก็ทราบว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควรแก่สมณศากบุตรหากว่าหมู่สงฆ์เรา กระทำการยกเลิกสิกขาบทใด จะเป็นการครหาแก่คฤหัสว่า สมณศากบุตรประพฤติสิกขาบทเฉพาะเวลาที่พระองค์ทรงมีพระชนมชีพเท่านั้นเป็นดั่ง "ชั่วกาลแห่งควันไฟ" คือประพฤติสิกขาบทเฉพาะสมัยพระองค์เท่านั้น สงฆ์จึงมีมติจะไม่ถอนสิกขาบทใดเลยตั้งแต่นั้นและเป็นต้นเค้าแห่งนิกายเถรวาทสืบมา  ขยายความส่วนนี้  อันว่าศีลภิกษุแยกออกเป็น 2 ลักษณะคือ


 1. ศีลที่เป็นพื้นฐานของพรหมจรรย์คือ ข้อการปฏิบัติ และไม่พึงปฏิบัติ เพื่อมรรคผลนิพพาน 150 ข้อ

2. ศีลที่เป็นมรรยาทอันดี อีกมากมายแต่ยกเอามาในปาติโมกข์   77 ข้อ รวมเป็น 227 ข้อ   ฉะนั้นในปัจจุบันจึงอาจมีผู้เข้าใจผิดได้ว่าศีลพระ      ภิกษุสงฆ์มีเพียง 227 ข้อ หรืออาจเข้าใจผิดว่า ภิกษุศีลทั้ง 227 ข้อเป็นศีลหลัก


พระพุทธเจ้าตรัสว่า (คารวสูตรที่ ๑ เล่ม ๑๔ อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต)
ดูกรภิกษุทั้งหลายข้อที่ภิกษุผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ไม่มีความประพฤติเสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
อภิสมาจาร(หลายพันข้อ)ถ้าไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จะรักษาอธิพรหมจริยกาสิกขา (150 ข้อ)
อาทิพรหมจริยกาสิกขาถ้าไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จะบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์ได้
ธรรมของพระเสขะไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้
รักษาศีลขันธ์ไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
สัมมาทิฏฐิไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีสัมมาสมาธิให้....ยังมีต่อ

วิเคราะห์คำตอบผ่านพระสูตรดังกล่าว พระพุทธองค์ทรงกล่าวลำดับแห่งภูมิธรรมไว้ชัด และเน้นลำดับท้ายว่า เรื่องสัมมาปฏิบัติที่จะเข้าถึงได้ ต้องมีพื้นฐาน ที่แน่นหนาชัดเจน และสะท้อนให้เห็นอีกฝั่งคือมิจฉาปฏิบัติ ไม่ใช่จะอะไรก็ได้ เปลี่ยนแปลงกันตามความเห็นที่คิดว่าเหมาะสม เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัยหรืออื่นๆ จึงกลายเป็นเรื่องกร่อนพุทธพจน์ในที่สุด แต่ถึงกระนั้น การเป็นอยู่ของมหานิกายปัจจุบันทั่วโลกเข้าใจจุดนี้ว่า เขารับสัทธรรมแบบปฏิรูป และจิตสำนึกเขาเหล่านั้น ก็รับแบบตามกันมา พระมหายานส่วนมากไม่มีโอกาสที่จะพบกับ พระสัทธรรมแบบเถรวาท และคิดว่าแค่นั้นพวกท่านเหล่านั้นพอแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ในแง่ปัจจุบันคือปรับเข้าได้และเพิ่มจำนวนสมาชิกได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำลาย พระสัทธรรมไปในตัว

          พุทธองค์ตรัสอีกแห่งว่าผู้ไม่มีความละอายเรียกว่า "อลัชชี" ในปัจจุบันพุทธศาสนิกขน ส่วนใหญ่อาจเข้าใจได้ว่า  อลัชชีคือ  ผู้ต้องปาราชิกซึ่งไม่ถูกต้อง  อลัชชีในความหมายตามพุทธดำรัสนั้นหมายถึง  ภิกษุที่ประเภททำทองไม่รู้ร้อน ในการไม่เคารพสิกขาบท คือประพฤตินอกคำสอน นอกวินัยจนเคยชิน

คำถามต่อมาคืออาบัติระดับใดที่เพิกเฉยแล้วเรียก อลัชชี  ? ก็ต้องตอบว่าในทุกสิกขาบทหลักพร้อมด้วยอนุบัญญัติหรือข้อยกเว้นต่างๆพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ”อลัชชีแม้หนึ่งรูปก็สามารถทำให้ภิกษุทั้งร้อยเป็นอลัชชีได้”   เมื่อลองมาดูชีวิตจริงของพระภิกษุ

           ยกตัวอย่างที่พระต้องพบทุกวัน  ถ้าไม่มั่นใจจริงๆ  ระหว่างหมู่คณะแล้ว อึดอัดมาก   เช่น  พระ ก รับเงินไว้และซื้อของด้วยเงิน   พระ ข ไม่รู้มาร่วมบริโภคใช้สอยด้วย   พระ ข โดนอาบัติไปด้วย   ท่านปรับอาบัติทุกๆ ย่างก้าว  อีกตัวอย่าง พระ ก  รับประเคนของมาผิดวิธี ไม่เห็น ไม่รู้ และฉันของนั้นๆด้วย อาบัติไปด้วยเช่นกัน  แล้วท่านปรับทุกคำกลืน คือ 1 กลืน 1 อาบัติ ที่ยกมาเป็นอาบัติที่อยู่ในศีลอันเป็นพื้นของพรหมจรรย์ หากหมู่สงฆ์อยู่กันอย่างพร้อมเพรียงท่านน่ารัก น่าเคารพนับถือมาก  และพร้อมกันนั้นท่านจะรักสามัคคีกันยิ่งกว่าเพื่อนตาย เพราะท่านจะ ดูแลอาบัติให้กันและกันด้วย

         ปัจจุบันที่เห็นส่วนใหญ่เอาแต่สำคัญผิดว่า พรรษามากหน่อยก็ทำงาน พระศาสนาในแง่การเผยแผ่พระศาสนา  ในความเป็นจริงตามพุทธเจตนาแล้ว  ท่านไม่ต้องทำการเผยหรอก  ท่านประพฤติตามคำสอน ให้ชัดเจนนั้นเป็นการเผยแผ่เชิงคุณภาพอย่างชัดเจน  เมื่อผลเกิดแล้วค่อยเผยแผ่ หากไม่ปฏิบัติตามยังดำรงตนเป็นอลัชชีอยู่   เป็นการทำลายพระศาสนาทางอ้อมเสียมากกว่า   อย่านึกว่าในปัจจุบันไม่มีพระลัชชี (ผู้ทีมีความละอาย) มีอยู่อย่างแน่นอน

           พวกเราท่านทั้งหลายคงเคยเห็นในหลวงถวายทาน  ในซองที่พระองค์ถวายไม่ใช่เงิน แต่เป็นใบปวารนา พระบางท่านก็อาจจะกล่าวได้ว่า “รับใบปราวนาก็ผิดเหมือนกันสู้รับตรง ๆไปเลย บริสุทธิ์ใจดี”  นั้นว่าไปนั้น กรรมจริงๆ เหตุเพราะศึกษาน้อยถึงแม้จะมี ดีกรีสูงสุดทางภาษาบาลีหรือจบดอกเตอร์ทางพุทธศาสนาหากไม่ละอายในสิกขาบท  ก็ยังจัดได้ว่าศึกษาน้อยเพราะคำว่า  ศึกษา  ในความหมายของพระผู้มีพระภาคนั้นกินเนื้อความ รวมถึงภาคปฏิบัติ  อันมีศีลเป็นเบื้องแรก หากจะพิจารณาอย่างแยบคายแล้วต้องวิเคราะห์ตัวบท    ขอยกมาอธิบายในที่นี้เลยวินัยสิกขาบทข้อนี้คือ "ภิกษุใดรับก็ดีให้รับก็ดี ซึ่งทองเงินหรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี  เป็นอาบัติปาจิตตีย์ (1ใน150) "  ขยายความดังนี้   

1.รับเอง       2.ใช้ให้รับ        3.ไม่รับเองและไม่ใช้ให้คนรับแต่ยินดีในเงินทองที่เก็บไว้ให้



           ทั้ง 3 ข้อเข้าข้อใดข้อหนึ่งเป็นอาบัติปาจิตตีย์  ท่านที่รับใบปวารนา ท่านต้องสำรวมจิตไม่ให้เป็นอาบัติ  ครูอาจาร์ ท่านจึงสอนให้ทิ้งจิตไปที่  ของที่จะได้มาจากเงินนั้นแทน   เพื่อกันอาบัติและ ข้อสำคัญอีกข้อ  บางท่านบอกไม่เห็นเป็นอะไรปลงอาบัติเอา ในเรื่องการปลงอาบัตินั้น  หากท่านเป็นอาบัติเดียวกันรับปลงให้กันไม่ได้(สภาคาบัติ)   บางที่ถ้าไม่แน่ใจ  ท่านต้องส่งพระ 1 รูป  ไปปลงกับพระต่างวัดแล้วกลับ มาวัดเดิมเพื่อชำระศีลของทั้งหมู่คณะ ก่อนฟังปาติโมกข์ทุกครึ่งเดือน

            หากไม่ทำอย่างนั้นในปาติโมกข์ท่านจะถามทุกรูปเป็นบาลีครับว่าท่านยัง บริสุทธิ์ดีอยู่หรือ ?หากไม่บอกว่ายังติดข้อไหนอยู่ก็เข้าข่ายโกหกแล้วจะปฏิบัติหาความสงบที่ไหนละ เมื่อเป็นดังนั้นท่านจะระวังพระจากที่อื่นมาก ว่าหากศีลไม่เสมอกันเข้ามาแล้วหมู่สงฆ์จะเดือดร้อนจึงดูเสมือนท่านจิตใจคับแคบ หรือยกตนข่มท่านในบางครั้งซึ่งมีมูลเหตุ  และหากท่านเหล่า นั้นทราบว่ามีศีลเท่าเทียมกันท่านจะให้การต้อนรับและปฏิสัณฐานตามวินัยข้อที่ทรงบัญญัติไว้ในเรื่องการ ดูแลกันและกันอย่างงดงาม ไม่เชื่อท่านที่คิดว่ามีสภาพยกตนข่มท่านลองปฏิบัติดูทำที่วิถีของตนก่อน 




                                        




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2554 11:08:33 น.
Counter : 3745 Pageviews.  

........-มูลเหตุแห่งการแยกนิกายหลังพุทธปรินิพพาน


             หลังจากสังคายนาครั้งแรกไม่นาน  คณะสงฆ์ได้แยกออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกยึดตามมติเถระ ได้แก่กลุ่มอรหันต์ปฏิสัมภิทาดังกล่าวมาข้างต้น     กลุ่ม 2.  ยึดเอาคำพุทธพจน์ที่ให้เว้นได้ในข้อเล็กน้อย   และพร้อมกับเรียกตัวเองว่านิกายมหายานอันหมายถึงยานใหญ่สามารถขนคนได้มาก   เพราะข้อจำกัดไม่มากและข้อขัดแย้งน้อยไม่ต่อว่ากันเรื่องศีล( ความเห็นส่วนตัวเพราะคุณก็ผิดผมก็ผิดว่ากันไม่ได้)   แต่ก็ยังเห็นต่างกันไปอีกมากมายเพราะหมดจุด ยืนไม่มีบรรทัดฐานที่แน่นอนทำให้นิกายมหายานแตกออกไปอีกเป็นร้อยนิกาย  อีกทั้งมีพุทธพจน์ตรัสไว้ให้โอนอ่อนพุทธบัญญัติได้โดยให้โอนอ่อนกับคำสั่งของกษัตริย์ในแว่นแคว้นนั้นได้หากจะเกิดราชภัย  (คือบางประเทศสั่งประหารพระเอาดื้อๆ)

เห็นได้จากในเมืองจีนสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศไม่อำนวยจึงเปลี่ยนสิกขาบท ด้วยระยะทางและกาลเวลาพระในประเทศญี่ปุ่นบางนิกายจึงมีภรรยาได้  และพร้อมกันนั้นก็ขนานนามกลุ่มแรกว่า นิกายหีนยาน อันหมายถึงยานคุณภาพต่ำขนส่งคนได้น้อย ในขณะที่กลุ่มแรกเรียกตนเองว่าเถระวาทหรือกลุ่มผู้ฟังคำของพระที่ร่วมประชุมครั้งแรกหลังจากนั้นไม่นานมีการตั้งมหาวิทยาลัยนารันทา เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและใหญ่ที่สุดในโลกขึ้นโดยนิกายมหายานมีพระเข้ามาศึกษาเป็นหมื่นรูป ในจำนวนนั้นมีมหาเถระที่เข้าศึกษาที่เป็นที่รู้จักของคนไทยอยู่ด้วยท่านผู้ นั้นคือ พระถัง ซัมจังรวมอยู่ด้วยหลัง  จากการที่พระพุทธธรรมเจริญมาก ก็ขนานไปกับความเสื่อมเช่นกัน เอกลาภมีมากในเหล่าพระสงฆ์ พระสัทธรรมเริ่มเบี่ยงเบนติดเข้าไปในความรู้ผิดๆบางรูปจึงเริ่มสะสมด้วยเหตุ ว่าเพื่อสืบพระศาสนาให้มากๆนานๆ   เมื่อมีทรัพย์มากก็เริ่มหลงผนวกกับการสรรเสริญ  ผู้หญิงก็เริ่มเข้ามาจะโดยฝ่ายไหนเริ่มก็แล้วแต่จึงเป็นที่อิดหนาของญาติ โยมอีกทั้งความแตกแยกของ 2 นิกายดังกล่าว

ขยายความเรื่องนิกายดังนี้

             จะเข้าใจได้ต้องรู้ข้อมูลครบทุกแง่ ไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์ คำศัพท์ทางพุทธศาสตร์ ศีลวินัยทั้งภิกษุและภิกษุณีนิกายเกิดขึ้นมาจากอะไร เกิดจาก ทิฎฐิ(โดยเฉพาะศีลและผลการปฏิบัติขั้นสูง) พระพุทธองค์จึงบัญญัติเรื่องนานาสังวาส ฉะนั้นจะกล่าวว่านิกายไม่มีในพุทธกาลก็ไม่ตรงนัก เพราะในทางความเป็นจริงความแตกต่างของการปฏิบัติในเรื่องศีลเกิดตั้งแต่ในพุทธสมัย เพียงแต่ไม่ได้เรียกว่า นิกายนั้นนิกายนี้ ส่วนใหญ่ใช้ว่า อารามฝ่ายเหนือ อารามฝ่ายใต้ อันนี้กล่าวโดยไม่รวมส่วน มหายาน เพราะหลังพุทธปรินิพพาน โดยเถรวาท เองก็แยกออกเป็น 18 นิกาย ภายหลังสูญหายหมด(หาข้อมูลได้จากประวัติพระไตรปิฎก) เหลือเถระวาทสายที่สรุปกันว่า บริสุทธิจริงๆ ตามนัยเถรวาทคือตามความดั่งเดิมของ ท่านมหากัสสป และหมู่สงฆ์ที่เข้าร่วม สังคายนา ครั้งแรกส่วนที่เห็นต่างกัน เพราะทิฐิคลาดเคลื่อนจากพระเถระบางส่วนที่ไม่ได้เข้าร่วมสังคายนา
             อีกทั้งมีพุทธบัญญัติเรื่องการอยู่ ร่วมกับพระกลุ่มที่ปฏิบัติผิดพุทธบัญญัติ ทรงปรับอาบัติทุกกฏไว้(หรือมากกว่ากรณีมีปัจจัยอื่นพ่วง) และทรงกล่าวว่า อลัชชีหนึ่งรูปสามารถทำให้ ภิกษุทั้ง ร้อยเป็น อลัชชี ฉะนั้น การที่ภิกษุผู้ปฏิบัติตรงจะไม่ลงสังฆกรรมร่วมกับ อลัชชี จึงมีเหตุ ดังกล่าว

คำศัพท์ที่ควรรู้ความหมายเพื่อพิจารณาได้

นานาสังวาส*พจนานุกรมพุทธศาสตร์ นานาสังวาส -  มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วม (คืออุโบสถและสังฆกรรมเป็นต้น) ที่ต่างกัน,สงฆ์ผู้ไม่ร่วมสังวาส คือไม่ร่วมอุโบสถและสังฆกรรมด้วยกัน เรียกว่าเป็นนานาสังวาสของกันและกัน

  •  เหตุที่ทำให้เป็นนานาสังวาสมี ๒ คือภิกษุทำตนให้เป็นนานาสังวาส เอง เช่น อยู่ในนิกายหนึ่งไปขอเข้านิกายอื่น หรือแตกจากพวก  เพราะ  เหตุวิวาทาธิกรณ์อย่างหนึ่ง

  •  อีกอย่างหนึ่ง ถูกสงฆ์พร้อมกันยกออกจากสังวาส

  •              ส่วนมุมมองเรื่องนิกายในภาพรวมผู้เขียนเห็นว่าพุทธพจน์กล่าวความ หมายโดยรวม คือ  หากผู้ปฏิบัติมรรค 8 ยังคงอยู่  พรหมจรรย์(อรหันต์สภาพ)จะไม่สิ้นจากโลกนี้  การบรรลุไม่ระบุเพศก็จริงอยู่  และไม่ระบุนิกายก็จริงอยู่แต่ นิกายนั้นแสดงให้เห็นถึงคล้ายกับ ภาชนะที่บรรจุ ความบริสุทธิอย่างยิ่งไว้

    ขยายความ คำว่า

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว )

    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว )

    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว )

    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติสมควรแล้ว)ยะทิทัง(ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ)

    จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    ( คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ )

    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ( นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า )

  • อาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา )

  • ปาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ )

  • ทักขิเณยโย ( เป็นผู้ควรรับทักษิณา )

  • อัญชะลีกะระณีโย ( เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี )

  • อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. ( เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ )

  •              ฉะนั้น หากจะกล่าวว่า อริยบุคคลไม่จำเป็นต้องเป็นภิกษุก็จริงอยู่แต่เนื้อนาบุญ นั้นคือ คณะสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดีแล้ว  ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว  สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว   ซึ่งเป็นรูปของหมู่สงฆ์ จะไปเทียบกับ บุคคล ไม่ได้ว่าเป็นเนื้อนาบุญอย่างยิ่ง ถึงแม้จะเป็น อรหันต์บุคคลก็ตามที  ขนาดพระพุทธองเองยังให้เกียรติหมู่สงฆ์และยังตรัสกล่าวว่า การทำบุญกับหมู่สงฆ์ มีผลานิสงค์มากว่า การทำบุญ โดยส่วนพระองค์(คือถวายต่อพระองค์)

                ข้าพเจ้าเห็นโทษของการกล่าวอ้างนิกายทุกกรณีอยู่ แต่ในขณะเดียวกัน การอ้างนิกายนั้นเพื่อ แยกชัดให้เห็นถึงความบริสุทธิคุณ ของความเป็นพุทธธรรม ซึ่งไม่สามารถแยกจาก พุทธศาสนาได้  ในฐานะชาวพุทธแท้ต้องเข้าใจจุดนี้ก็จะสามารถรู้ได้ว่า แผ่นดินไทยมีคุณค่าอย่างไร เพราะเป็น สถานที่ ที่ตั้งของ แหล่ง อู่ข้าว อู่น้ำทางจิตวิญญาณ มาตลอดเวลา หลาย 1000 ปี คือเป็นแหล่งดินดี เป็นแหล่งเนื้อนาบุญที่ดี ประเสริฐ ข้าพเจ้าไม่ปฏิเสธเลยว่า นิกายอื่นๆ  ไม่มีอริยบุคคล  หากทว่าในส่วนของสังฆมลฑล นิกายอื่นๆ นั้นบางที่ บางแห่ง บางพวก ไม่ใช่ เนื้อนาบุญ อันประเสริฐ ตามพุทธพจน์ / พุทธบัญญัติและ ในขณะเดียวกัน แผ่นดินนี้ก็คละไปด้วยความเป็น นานาสังวาส  ที่ชาวพุทธต้องเรียนรู้เพื่อ ชี้ชัดในการร่วมกิจกรรมด้วย  ไม่งั้นหากไปพบกับกลุ่มที่ ไม่เป็นไปตามพุทธอนุญาต ก็ไม่คุ้มกับการร่วมกิจกรรมนั้นๆเลย



                                                          




     

    Create Date : 13 พฤษภาคม 2553    
    Last Update : 21 ธันวาคม 2553 23:32:38 น.
    Counter : 4243 Pageviews.  

    .......- การจรรโลงพระสัทธรรมยุคพระเจ้าอโศกมหาราช

                 เหล่านี้จัดเป็นภัยภายในของพุทธศาสนา ส่วนภัยภายนอกก็เกิดศาสนาฮินดูใหม่ขึ้นมาโดยเป็นการผสมคำสอนของพุทธกับพราหมณ์เข้าด้วยกันจึงแนบแน่นในจิตวิญญาณชาวอินเดียอย่างรวดเร็วเพราะความเบื่อและหา ทางออกไม่ถูกของคนจึงยึดที่พึงไว้ก่อนเพราะสอดรับกับความเป็นอยู่ดั่งเดิมรวมทั้งการถือวรรณะ ในขณะเดียวกันนั้นทางตอนเหนือของอินเดียมีอาณาจักรของประเทศที่นับถืออิสลามอยู่ และวิธีการของสมัยนั้นก็ขยายดินแดนกันด้วยการรบอันเป็นเรื่องปกติของยุทธวิธีการขยายดินแดนของมนุษย์ในสมัยนั้น ซึ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยการล่มสลายที่เกิดจากภายนอกเหตุการณ์ดำเนินไปอย่างนั้น


                 ประมาณช่วง ก่อน พ.ศ.500 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น ทรงเป็นยอดนักรบรวบรวมแผ่นดินไว้ได้มากขณะเดียวกันก็รบราฆ่าฟันคนมากมายเช่นกัน ช่วงปลายสมัยทรงเห็นคุณค่าพระธรรมจึงเปลี่ยนมานับถือพุทธธรรมอย่างเต็มพระองค์ และมีเหตุการณ์หนึ่งที่จัดเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญคือ มีเหตุหมู่สงฆ์ตกลงร่วมลงปาติโมกข์กันไม่ได้ ด้วยเหตุระแวงเรื่องศีลเพราะหากไม่บริสุทธิ์ ปาติโมกข์ก็ไม่เป็นอันสมบูรณ์ พระเจ้าอโศกทรงทราบจึงมีราชดำรัส คราวๆว่า "ทหารไปจัดการซะ" ทหารไปถึงก็นิมนต์ให้หมู่สงฆ์ลงปาติโมกข์ แต่อย่างไรพระก็ไม่ลงฟัง ทหารจะเกรงพระอาญาอย่างไรไม่ทราบ และด้วยเป็นชาตินักรบมาตลอดชีวิต จึงถามพระที่ละรูปและบังคับให้ลงฟังปาติโมกข์ถ้ารูปไหนไม่ลงจะฆ่าให้ตาย พระ ก็ไม่ลง ทหารจึงลงมือฆ่าพระทีละรูปไม่ทราบว่าฆ่าไปกี่รูป จนกระทั้งมาหยุดอยู่ที่พระรูปหนึ่งทหารไม่กล้าฆ่า เพราะภิกษุรูปนั้นคือพระอนุชาของพระเจ้าอโศกนั้นเอง จึงนำความกลับไปทูลถวายรายงานพระเจ้าอโศก เมื่อพระเจ้าอโศกได้ฟังดังนั้นก็ทรงเสียพระทัยเป็นอย่างมากเพราะทรงไม่มีเจตนาเข่นฆ่าพระ จึงทรงประกาศบำรุงพระศาสนาเป็นอันมากทรงสร้างพระสถูปหรือวัดทั่วประเทศ 84,000 สถูป/วัด


                ในช่วงเวลานั้นมีนโยบายที่จะส่งพระสงฆ์ออกเผยแผ่พระ ธรรมคำสอนสู่ประเทศต่างๆ 9 สาย หนึ่งในนั้นคือ พระโสณะและพระอุตตระ เป็นพระภิกษุสงฆ์อรหันต์ ในสมัยนั้นเดินทางมาดินแดนขวานทอง สืบเชื่อสายบริสุทธิ์จากนิกายเถรวาทโดยตรง เพราะทางการสืบวงศ์ภิกษุนั้นหรือการบวชนั้นหากคณะสงฆ์ที่บวชให้มีไม่ครบตามพุทธานุญาตกำหนด คือ 5 หรือ10 รูป ขึ้นอยู่กับความยากในการหาพระสงฆ์ในประเทศนั้นๆ ซึ่งหากครบจำนวนแต่มีผู้ปาราชิกอยู่ด้วยก็ถือว่าไม่ครบองค์การบวชนั้นๆก็ไม่ สมบูรณ์ หรือไม่เป็นพระภิกษุ ฉะนั้นจึงต้องเลือกอุปัชฌาย์และหมู่สงฆ์ที่ผู้บวชมั่นใจ การส่งสมณทูตมาประกาศพระศาสนาครั้งนั้นจนกระทั่งสำเร็จลุล่วงจึงจัดว่าการประดิษฐานพระธรรมคำสอนในประเทศเราหรือดินแดนสุวรรณภูมิเริ่มถือกำเนิด ขึ้น ณ เวลานั้น


    อ่านต่อ -ช่วงพ.ศ. 1700 การสิ้นสุดของพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย คลิ๊ก...

                                                    




     

    Create Date : 13 พฤษภาคม 2553    
    Last Update : 3 ธันวาคม 2553 18:06:50 น.
    Counter : 1509 Pageviews.  

    .......-ช่วงพ.ศ. 1700 การสิ้นสุดของพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย


                จนกระทั้งลุถึงประมาณปี พ.ศ. 1700 หลังจากมีการประดิษฐาน พุทธธรรมทั้ง 9 สาย ดังกล่าวโดยใช้เวลาในการประทับอย่างมั่นคงในดินแดนทั้ง 9 สายเป็นที่เรียบร้อยในด้านดินแดนพุทธภูมิ คืออินเดียนั้นประมาณ ปี1700 เป็นจุดสิ้นสุดการสืบต่อพุทธธรรมคำสอนในดินแดนเกิดพระสัทธรรม กล่าวได้ว่าพุทธธรรมคำสอนเกือบทั้งหมดถูกฝังอยู่ใต้ดิน มหาวิทยาลัยนารันทาถูกเผาราบ ห้องสมุดถูกเผาอยู่เป็นเดือน พระสงฆ์ต้องหนีลงใต้ บ้างถูกฆ่า บ้างถูกบังคับจับสึก บ้างถูกบังคับให้เสพเมถุน(ร่วมเพศ)เพื่อทำลายสายพันธุ์สงฆ์ หลังจากนั้นไม่นานกล่าวกันว่าชาวอินเดียแม้แต่ฝันก็ไม่เคยฝันถึงวิปัสสนา อันเป็นโพธิธรรมเฉพาะพระองค์อีกต่อไป (ผู้อื่น แสดงได้ ถึง สมาบัติ 8 ,วิปัสสนา มีแค่ อนิจจัง ทุกขัง) เป็นอันปิดฉากพุทธธรรมยุคเก่าเพียงเท่านั้นชาวพุทธเรามีโอกาสได้รู้เรื่องราวพุทธสถานต่างๆ ก็เมื่อช่วงยุคล่าอาณานิคม หรือประมาณ150ปีก่อนนี้เอง ที่รัฐบาลอังกฤษได้ทำการขุดโดยนักโบราณคดี


                 โดยการนำของ Sir Alexander Cunningham (1814-1893) จนกระทั้งพบสถูปในสภาพปรักหักพัง พร้อมกับศิลาจารึกสมัยพระเจ้าอโศกจึงทำให้เกิดความสนใจอย่างมาก และเริ่มที่จะหาข้อมูลศึกษาต่อในแง่อักษรและวรรณคดีอินเดียโบราณโดยข้อมูลต่างๆได้กระจายอยู่โดยรอบภูมิภาคชมพูทวีปในรูปของพระไตรปิฎกภาษาบาลีหลังจากใช้เวลาศึกษาหาข้อมูลอยู่พอสมควรจึงสามารถแปลข้อความในชิ้นส่วนเสาสถูปและจารึกต่างๆ ดังกล่าว หลังจากแปลแล้วก็ลองปฏิบัติดูปรากฏว่า นักโบราณคดีบางท่านบวชเป็นภิกษุสงฆ์ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาต่อมาจึงมีการ ตั้งศูนย์บาลีศึกษา หรือสมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ในประเทศอังกฤษ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๔ (ค.ศ.๑๘๘๑) ผู้ริเริ่มตั้งคือ ศาสตราจารย์ ที. ดับเบิลยู. ริส เดวิดส์ (T.W. Ryhs Davids) ด้วยความประสงค์ที่จะพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลี ด้วยอักษรโรมัน และคำแปลพระไตรปิฎกทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ


               หน่อโพธิ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เจริญไกลต้นเป็นลูกไม้ที่ล่นใกล้ต้นก็จริง แต่ใบโพธิ์และกิ่งก้านนั้นใหญ่มากปกคลุมบริเวณกว้าง ถึงเกิดขึ้นได้ถ้าไม่ย้ายก็อยู่ใกล้ต้นแม่ไม่ได้จะต้องตายในที่สุดในขณะเดียวกันเมล็ดพันธ์แห่งโพธิ์ก็สามารถแพร่พันธุ์ไปได้ไกลมากเพราะมีนกกานำไป เมื่อได้ที่สิ่งแวดล้อมเหมาะก็สามารถเจริญเติบโตได้อย่างมั่นคงเป็นร่มเงาให้ที่นั้นสืบไป จะเห็นได้ว่าในก่อนที่เกิดการล้มสลายพุทธธรรมในอินเดียนั้นประมาณ 700 ปี หน่อพุทธะทั้ง 9 หน่อได้ขจรขจายออกไปทุกทิศทุกทาง โดยผสมผสานกลมกลืน กับสภาพแวดล้อมนั้นๆเพื่อช่วยให้โลกมีทางออกแห่งจิตใจ โดยสำเร็จประโยชน์ตนแล้วจึงสงเคราะห์ประโยชน์โลกด้วยอีกฝ่ายหนึ่ง ดำรงพระพุทธธรรมไว้ให้นานที่สุด


                                                    





     

    Create Date : 13 พฤษภาคม 2553    
    Last Update : 5 ธันวาคม 2553 20:19:32 น.
    Counter : 1736 Pageviews.  

    1  2  3  4  

    aero.1
    Location :
    นนทบุรี Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    การศึกษาทางโลก
    รบ. ธรรมศาสตร์ 2536(นักศึกษาทุนภูมิพล)

    การศึกษาทางธรรม
    -สัทธิวิหาริก สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 พศ 2535
    -พระเจ้าหน้าที่เวรดูแลพระอาการ สมเด็จญาณสังวร
    -อดีตพระป่า(หนองป่าพง)
    -ประธานรุ่นนักศึกษาภาคมหาบัณฑิตมหามกุฏราชวิทยาลัย 2546

    .

    ************************** [Add aero.1's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.