>>>        ชาวพุทธแท้ หรือชาวพุทธในทะเบียนบ้านต่างกันอย่างไร ?       อลัชชีคืออะไร ?        เงินกับพระอย่างไรเหมาะควร ??        กรรมของชาวไทย ปัจจุบันและวิธีแก้ไข            หนทางสู่การปฏิบัติ            อานาปานสติอย่างที่ท่านเข้าใจจริงหรือ ?และFAQ อานาปานสติ
บทที่ 4 วิธีพิจารณาความ อริยสัจจะ


Photobucket





ประเภทของทุกข์ แบ่งตามลักษณะการใช้ ตรัสสอนในที่ต่างๆ มี ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ

             ก.ทุกข์ ๑๐ ประเภท คือ
๑. สภาวทุกข์ หรือทุกข์ประจำสังขาร ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ
๒. ปกิณณกทุกข์ หรือทุกข์จร ได้แก่ โทมนัส(ทุกข์ใจ) อุปายาส(ความห่วงหาอาลัย)
๓. นิพัทธทุกข์ คือทุกข์เนืองนิตย์ ได้แก่ หนาว ร้อน หิว กระหาย ฯลฯ
๔. พยาธิทุกข์ คือทุกข์เกิดจากการเจ็บไข้ได้ป่วย ถูก ศรัตราวุธ
๕. สันตาปทุกข์ คือทุกข์เกิดจากความร้อนรุ่มเพราะอำนาจของราคะ โทสะ โมหะ
๖. วิปากทุกข์ คือทุกข์เกิดขึ้นเพราะผลกรรมตามสนอง
๗. สหคตทุกข์ คือทุกข์ที่เกิดจากโลกธรรม ๘
๘. อาหารปริเยฏฐิทุกข์ คือทุกข์เกิดขึ้นเพราะต้องการแสวงอาหาร
๙. วิวาทมูลกทุกข์ คือทุกข์ที่เกิดจากการทะเลาะวิวาทเป็นสาเหตุ
๑๐. ทุกขขันธ์ คืออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ บางทีเรียกว่า " ทุกข์รวบยอด"

            ข.ทุกข์ ๑๒ ประเภท
๑. ชาติทุกข์ สัตว์ที่เกิดมาเป็นทุกข์
๒. ชราทุกข์ อินทรีย์ที่คร่ำคร่าเป็นทุกข์
๓. พยาธิทุกข์ ความเจ็บป่วยเป็นทุกข์
๔. มรณทุกข์ ความตายเป็นทุกข์
๕. โสกทุกข์ ความพลุ่งพล่านในใจเป็นทุกข์
๖. ปริเทวทุกข์ ความร่ำไห้คร่ำครวญเป็นทุกข์
๗. ทุกขทุกข์ ร่างกายนี้เป็นทุกข์
๘. โทมนัสทุกข์ ความทุกข์ใจเป็นทุกข์
๙. อุปายาสทุกข์ ความห่วงหาอาลัยเป็นทุกข์
๑๐. อัปปิเยหิ วิปปโยคทุกข์ ความตรอมใจเป็นทุกข์ (ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก)
๑๑. ปิเยหิ วิปปโยคทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์
๑๒. ยัมปิฉัง น ลภติ ทุกข์ ความวุ่นงายไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาเป็นทุกข์



            สรุปตัวทุกข์ที่แท้จริงนั้นเกิดมาจากอุปทานคือการยึด มั่นถือมั่นในตัวตน อันประกอบขึ้นจากขันธ์ ๕ (เบญจขันธ์) อันได้แก่ รูปและนาม คือตัวทุกข์ที่แท้จริง การยึดมั่นในขันธ์ ๕ที่เรียกว่า " อุปทานขันธ์ " หมายถึงการยึดมั่นใน ๑.รูป ๒.เวทนา ๓.สัญญา ๔.สังขาร ๕.วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน


            ข้อสังเกต ในทุกข์นั้นบุคคลส่วนใหญ่จะเข้าไปคลุกในทุกข์ กล่าวคือดิ้นรนหาทางออกจากทุกข์ จึงทำให้สร้างทุกข์มากขึ้นไปอีกหลายเท่า ขึ้นอยู่กับ ยึดมั่นในตัวตน(อุปทานขันธ์) ตัวของตัว มากน้อยแตกต่างกัน ในขณะที่วิสัยพุทธะ หรือวิสัยผู้รู้ตามสภาพความเป็นจริงนั้นจะไม่เข้าไปคลุกในทุกข์ เพราะเหตุ รู้ตามสภาพความเป็นจริงว่า ไม่ใช่บุคคลเรา เขา เป็นแต่เพียง สภาพของ ผลแห่งกรรม เย็นร้อนอ่อน แข็ง ตึง ไหว ในคำสอนพุทธองค์ทรงให้กำหนดรู้อันเป็นกิจในอริสัจ คือ อยู่กับ กายและใจ นั้นเอง เมื่อทำต่อเนื่องจดจ่อพร้อมกับมรรค๘ แล้วนั้น อนิจจัง,ทุกขัง,อนัตตา ก็จะแสดงตนเพราะ ตัวที่บังลักษณะไตรลักษณ์ หมดอำนาจ คือ


            1.ความสืบต่อ(สันตติ) ปิดบัง อนิจจตา หมายถึงลักษณะความไม่เที่ยงตั้งอยู่ไม่ได้ ในความเป็นจริงแล้วทุกสรรพสิ่งมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลาด้วยความเร็วมหาศาล เกิดดับ ๆ เปรียบดั่ง หลอดไฟฟลูอเรสเซนท์ นั้นกระพริบอยู่ตลอดแต่เรามองเห็นว่ามันเปิดโดยไม่กระพริบ ซึ่งในการศึกษาพุทธธรรมนั้น เราน้อมเข้ามาหาตนเป็นสมรภูมิ คือที่ที่พิจารณาเท่านั้น คือศึกษาเข้าหาภายใน กายและ/หรือใจ ด้วยวิธีรู้เท่านั้น คือเป็นการ รู้อยู่ สักว่ารู้อย่างเดียวไม่ไปก้าวก่ายในทุกข์ เมื่อเราไม่ไปสาลาวนหรือคลุก กับทุกข์ จึงจะมีหนทางที่จะเห็นทุกข์ในอริยสัจ และก้าวต่อไปโดยสงบเพื่อเห็นรากของทุกข์ (สมุทัย) เพื่อไป ดำเนินการกำจัดในขั้นนั้นโดยวิธีอันแยบคาย คือ การประหารตัณหาอย่างเมตตากรุณา ซึ่งจะกล่าวต่อไปในสรุปและข้อสังเกตตัณหา


            2. อิริยาบถ ปิดบัง ทุกขตา หมายถึง ลักษณะความทนได้ยากโดย ทั่วไปตามธรรมชาติของบุคคลนั้นเมื่อเกิดทุกข์ก็จะแก้ด้วยวิธีเปลี่ยน อิริยาบถทางกาย๑ หรือทางใจ๑ ทางกายเมื่อทุกข์ ก็เปลี่ยนท่า ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่อย่างนี้ตลอด ทางใจก็เปลี่ยนงานเช่น ทุกข์ใจก็ฟังเพลง คุยคลายทุกข์จึงเป็นเหตุให้ไม่รู้เห็นทุกข์ตามสภาพความเป็นจริง ด้วยอำนาจของตัณหา แท้ที่จริงแล้วขณะพิจารณาในจุดละเอียด (ไม่พึงพิจารณาตั้งแต่เพิ่งเริ่มต้นกำหนด )ของอาการทุกข์นั้นไม่ควรเปลี่ยนอิริยาบถ เพราะนั้นคือสมรภูมิที่ทุกข์จะแสดงให้เห็น ความไม่เที่ยง คือตัวทุกข์เองก็มีสภาพไม่เที่ยงตั้งอยู่ไม่ได้ และความทนได้ยากในตัวทุกข์เองอยู่ กล่าวคือ

2.1ทุกข์กายกำหนดรู้กาย/เวทนา

2.2ทุกข์ใจกำหนดรู้สัณฐานของใจว่ามีลักษณะอย่างไรรู้จิต/ธรรมในใจ เมื่อทำต่อเนื่องจดจ่อพร้อมกับมรรค๘ แล้วนั้น ธรรมชาติจะแสดงตัวเป็นบทเรียนให้เห็นถึงสภาพ อนิจจตา(ความไม่เที่ยงตั้งอยู่ไม่ได้) ทุกขตา(ความทนได้ยาก)อนัตตตา(ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน)เพราะเหตุจากทุกข์นี่ เองจึงจัดว่า มนุษย์สมบัตินั้นเหมาะสมที่สุดในการที่จะ เห็นธรรม


            3. กลุ่มก้อน ฆานะ ปิดบัง อนัตตา หมายถึงลักษณะความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เป็นแต่เพียง เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึงไหว จาก บทเรียนที่ผ่านมาจะทำให้บุคคลสามารถรู้ได้ว่า ไม่ใช่ตัวตนแต่เพียงเป็นสภาวะ เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป จึงไม่ไปยึดมั่นใน ขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวตนบุคคล เราเขาโดยลักษณะอาการนี้จะแสดงชัดขึ้นๆ ในลำดับแห่งภูมิธรรม


            ประเภทของตัณหา
1. กามตัณหา คือ ความทะยานอยากได้ของตัณหา 6 ประการ คือ ทาง ประสาททั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับเรื่องทางเพศเท่านั้น
2. ภวตัณหา คือ ความทะยานอยากเป็น อยากมี หรืออยากให้อยู่
3. วิภวตัณหา คือ ความทะยานอยากไม่ให้เป็น ไม่ให้อยู่ หรือให้พ้นไป อยากในไม่อยาก สรุปก็คือ อยาก
ตัณหา ทั้ง 3 ประการนี้ไม่ได้เกิดตามลำพังแต่เกิดต่อเนื่องกัน เช่น กามตัณหา คือ อยากได้ เมื่อได้มาแล้วก็เป็นภวตัณหา คือ อยากให้อยู่ตลอดไป แต่เมื่อเบื่อก็เกิดวิภวตัณหา คืออยากให้พ้นไปจากตน จึงรวมเรียกว่า ตัณหา 3 และที่เกิดภายนอก/ภายใน รวมทั้งที่ เกิดใน กาลเวลาทั้ง ๓ อดีต ปัจจุบัน อนาคต รวมเป็นตัณหา 108 (3 X 6 X 2 X 3 = 108)





                                                



Create Date : 13 พฤษภาคม 2553
Last Update : 27 มกราคม 2554 19:36:17 น. 0 comments
Counter : 2122 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

aero.1
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




การศึกษาทางโลก
รบ. ธรรมศาสตร์ 2536(นักศึกษาทุนภูมิพล)

การศึกษาทางธรรม
-สัทธิวิหาริก สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 พศ 2535
-พระเจ้าหน้าที่เวรดูแลพระอาการ สมเด็จญาณสังวร
-อดีตพระป่า(หนองป่าพง)
-ประธานรุ่นนักศึกษาภาคมหาบัณฑิตมหามกุฏราชวิทยาลัย 2546

.

**************************
Friends' blogs
[Add aero.1's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.