>>>        ชาวพุทธแท้ หรือชาวพุทธในทะเบียนบ้านต่างกันอย่างไร ?       อลัชชีคืออะไร ?        เงินกับพระอย่างไรเหมาะควร ??        กรรมของชาวไทย ปัจจุบันและวิธีแก้ไข            หนทางสู่การปฏิบัติ            อานาปานสติอย่างที่ท่านเข้าใจจริงหรือ ?และFAQ อานาปานสติ
-ลักษณะของผู้ที่มีจริตต่างๆ (จริต 6)

ลักษณะของผู้ที่มีจริตต่างๆ (จริต 6)
ที่มา: //www.moral.is.in.th/?md=content&ma=show&id=18

            ลักษณะของผู้ที่หนักในราคจริต
๑. มายา มายา เจ้าเล่ห์
๒. สาเถยฺยํ โอ้อวด
๓. มาโน ถือตัว
๔. ปาปิจฺฉตา ปรารถนาลามก
๕. มหิจฺฉตา ปรารถนามาก มีความอยากใหญ่
๖. อสนฺตุฏฺฐิตา ไม่สันโดษ
๗. สิงฺคํ แง่งอน
๘. จาปลฺยํ ขี้โอ่

ลักษณะของผู้ที่หนักในโทสจริต
๑. โกโธ มักโกรธ
๒. อุปนาโห ผูกโกรธ
๓. มกฺโข ลบหลู่คุณท่าน
๔. ปลาโส ตีตนเสมอท่าน
๕. อิสฺสา ริษยา
๖. มจฺฉริยํ ตระหนี่

ลักษณะของผู้ที่หนักในโมหจริต
๑. ถีนํ หดหู่
๒. มิทฺธํ เคลิบเคลิ้ม
๓. อุทฺธจฺจํ ฟุ้งซ่าน
๔. กุกฺกุจจํ รำคาญ
๕. วิจิกิจฺฉา เคลือบแคลง
๖. อาทานคฺคาหิตา ถือมั่นในสิ่งที่ยึดถือ ถืองมงาย
๗. ทุปฺปฏินิสฺสคฺคิตา สละ (สิ่งที่ยึดถือ เช่น อุปาทาน) ได้ยาก

ลักษณะของผู้ที่หนักในสัทธาจริต
๑. มตฺตจาคตา บริจาคทรัพย์เป็นนิจ
๒. อริยานํ ทสฺสนกามตา ใคร่เห็นพระอริยะ
๓. สทฺธมฺมํ โสตุกามตา ใคร่ฟังพระสัทธรรม
๔. ปาโมชฺชพหุลตา มากด้วยความปราโมทย์
๕. อสฐตา ไม่โอ้อวด
๖. อมายาวิตา ไม่มีมารยา

ลักษณะของผู้ที่หนักในพุทธิจริต
๑. โสวจสฺสตา ว่าง่าย
๒. กลฺยาณมิตฺตตา มีมิตรดีงาม
๓. โภชเน มตฺตญฺญุตา รู้ประมาณในโภชนะ
๔. สติสมฺปชญฺญํ ระลึกและรู้สึกตัว
๕. ชาคริยานุโยโค ประกอบความเพียร
๖. สํเวชนีเยสุ ฐาเนสุ สํเวโค สลดใจในสิ่งที่ควรสลด
๗. สํวิคฺคสฺส โยนิโส ปธานํ เริ่มตั้งความที่ใจสลดไว้โดยแยบคาย

ลักษณะของผู้ที่หนักในวิตกจริต
๑. ภสฺสพหุลตา พูดมาก
๒. คณารามตา ยินดีคลุกคลีในหมู่คณะ
๓. กุสลานุโยเค อรติ ไม่ยินดีในการประกอบกุสล
๔. อนวฏฺฐิกิจฺจตา มีกิจไม่มั่นคง จับจด
๕. รตฺติธูมายนา กลางคืนเป็นควัน
๖. ทิวาปชฺชลมา กลางวันเป็นเปลว
๗. หุราหุรํ ธาวนา คิดพล่านไปต่างๆ นานา

วิธีแก้ไขในจริตฝ่ายต่างๆ
“พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้เป็นราคจริต บุคคลนี้เป็นโทสจริต บุคคลนี้เป็นโมหจริต บุคคลนี้เป็นวิตกจริต บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต บุคคลนี้เป็นญาณจริต”พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสบอกอสุภกรรมฐาน แก่บุคคล ผู้เป็นราคจริตย่อมตรัสบอก เมตตาภาวนา แก่บุคคล ผู้เป็นโทสจริต
ย่อมทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ดำรงอยู่ในการเรียน ในการไต่ถามในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ในการอยู่ร่วมกับครู

ย่อมตรัสบอก อานาปาณสติ แก่บุคคล ผู้เป็นวิตกจริตย่อมตรัสบอกพระสูตรอันเป็นนิมิตดีความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม
ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลายของตนอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความเลื่อมใสแก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต

ย่อมตรัสบอกธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนาซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์มีอาการเป็นอนัตตา แก่บุคคล ผู้เป็นญาณจริต

********************************
กรรมฐานกรรมฐานที่เหมาะสมกับคนที่มี " จริต " ต่างกัน หรือ การภาวนาสมาธิ วิธีใดบ้างครับ ? จึงจะเหมาะสมกับคนที่มี " จริต " ต่างกันดังกล่าว เพื่อทำให้จิตตั้งมั่นง่าย (เป็นสมาธิ) คู่ควรไปใช้งานทางปัญญาได้โดยเร็ว
(1) คนบางคนชอบรวย อยากรวยเงินทอง อยากรวยกล้วยไม้ อยากรวยเครื่องประดับ อยากรวยบริวาร อยากรวยเครื่องแต่งกาย
อยากรวย ฯลฯ เขาเป็นคนที่..... " หนักไปทางโลภะจริต "
(2) คนบางคนขี้โมโห ขุ่นเคืองขัดใจง่าย เมื่อไม่ได้ดั่งใจ เขา... " หนักไปทางโทสะจริต "
(3) คนบางคนเชื่อง่าย งมงาย ตื่นข่าว ได้ยินแล้วก็เชื่อทันที เขา... " หนักไปทางโมหะจริต "

จริต 6 ได้แก่
1. ราคจริต หมายถึง ผู้ที่มีความประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาน กรรมฐานสำหรับแก้ คือ อสุภกรรมฐาน และกายคติ (การพิจารณากาย)
2. โทสจริต หมายถึง ผู้มีความประพฤติหนักไปทางใจร้อน ขี้โมโห ขี้หงุดหงิด กรรมฐานสำหรับแก้ คือ พรหมวิหาร และกสิณ
3. โมหจริต หมายถึง ผู้มีความประพฤติหนักไปทางเขลา งมงาย กรรมฐานที่จะช่วยคือ การเจริญอานาปาณสติ การสนทนาธรรมกับผู้รู้
4. สัทธาจริต หมายถึง ผู้มีความประพฤติหนักไปทางน้อมใจเลื่อมใสสิ่งต่างๆ ได้ง่าย มีจิตซาบซึ้งง่าย กรรมฐานที่จะช่วยคือการพิจารณาอนุสติ
5.พุทธจริต หรือญาณจริต หมายถึง ผู้มีความประพฤติหนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา กรรมฐานที่เหมาะสมคือ มรณานุสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหาเรปฏิกูลสัญญา
6. วิตกจริต หมายถึง ผู้มีความประพฤติหนักไปทางความคิดฟุ้งซ่าน กรรมฐานที่เหมาะสมคือ การเจริญอานาปานสติ การเพ่งกสิณ
****************
สำหรับกรรมฐานที่กล่าวเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น
เพราะกรรมฐาน หรือเครื่องมือในการฝึกจิตมีถึง 40 ชนิด
*****************************
กระทู้นี้ อุปมาเหมือน ถาดใบใหญ่ใส่ผลไม้ ที่เชิญให้นำผลไม้หลากหลายชนิดมาใส่ไว้ ผลไม้ดังกล่าวเปรียบเป็น "จริต" ให้ผู้สนใจได้ตรวจตนว่ามีจริตเช่นใด เพื่อไปเลือกกรรมฐานบำเพ็ญสมาธิให้ตรงกับจริตตนจริต คือ ความประพฤติ พื้นนิสัย พื้นเพแห่งจิต ของคนที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง จริต 14 ได้แก่ ราคจริต โทสจริต โมหจริต สัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต ราคโทสจริต ราคโมหจริต โทสโมหจริต ราคโทสโมหจริต สัทธาพุทธิจริต สัทธาวิตกจริต พุทธิวิตกจริต สัทธาพุทธิวิตกจริตผู้มีราคะเป็นเจ้าเรือน เรียกว่า ราคจริต จริตอื่นก็แยกไปทำนองเดียวกัน
--------------------
จริต 14 ย่อลงเป็น 7 ได้แก่
ราคจริต+สัทธาจริต , โทสจริต+พุทธิจริต ,
โมหจริต+วิตกจริต , ราคโทสจริต+สัทธาพุทธิจริต , ราคโมหจริต+สัทธาวิตกจริต , โทสโมหจริต+พุทธิวิตกจริต และ ราคโทสโมหจริต+สัทธาพุทธิวิตกจริต
--------------------
ราคะ กับ ศรัทธา คล้ายคลึงกันคือ ความยึดมั่น ใฝ่หาความดี ไม่ผลักไส
ราคะ ประสงค์สิ่งสนองตัณหา ส่วน ศรัทธา แสวงหาสิ่งดีทางศีลธรรม
ราคะ ไม่สละสิ่งเลว ส่วน ศรัทธา ไม่สละสิ่งดี

โทสะ กับ พุทธิ คล้ายกันคือ ไม่ยึดมั่น ใฝ่หาความผิดพลาด ผลักไส
โทสะ ไม่ยึดติดสิ่งดี ส่วน พุทธิ คอยหาดทษของความประพฤติผิด
โทสะ ผลักไสผู้อื่น ส่วน พุทธิ ผลักไสความยอมตาม

โมหะ กับ วิตก คล้ายกันคือ ไม่มั่นคง เคลื่อนไหว
โมหะ ไม่สงบเพราะถูกรบกวน ส่วน วิตก ไม่สงบเพราะคิดฟุ้งซ่านไปหลาpทาง
โมหะ เคลื่อนไหวไม่ร้ทางไป ส่วน วิตก เคลื่อนไหวเพราะไม่เอาจริงจัง
จริตอื่น ๆ ก็เทียบเคียงทำนองเดียวกันนี้ จึงย่อลงเหลือ 7 บุคคล
--------------------
การฝึก............
ราคจริต ฝึกได้เร็ว เพราะแนะนำง่าย มีศรัทธามาก ไม่ค่อยมี โมหะ วิตก
โทสจริต ฝึกได้เร็ว เพราะแนะนำง่าย มีปัญญามาก ไม่ค่อยมี โมหะ วิตก
โมหจริต ฝึกได้ช้า เพราะแนะนำยาก เนื่องจากมี โมหะ วิตก ไม่ค่อยมีศรัทธา ปัญญา
ราคโทสจริต ฝีกได้เร็ว เพราะแนะนำง่าย มีศรัทธา ปัญญากล้า ไม่ค่อยมีโมหะ วิตก
ราคโมหจริต ฝึกได้ช้า เพราะแนะนำยาก ไม่มี ศรัทธา และมีโมหะ วิตก มาก
โทสโมหจิต ฝึกได้ช้า เพราะแนะนำยาก ไม่มี ปัญญา และมี โมหะ วิตก มาก
ราคโทสโมหจริต หรือ สัทธาพุทธิวิตกจริต ฝึกได้ช้าเพราะแนะนำยาก ไม่มีปัญญา และมี โมหะ วิตก มาก
--------------------
จริต 7 ย่อลงเป็น 3........ตามอกุศลมูล คือ ราคจริต โทสจริต โมหจริต
--------------------
สาเหตุของจริต มาจาก กรรมที่ทำในอดีต ธาตุทั้งหลาย และโทษ
-- ผู้สะสมกุศลกรรมไว้ในอดีตชาติ โดยอุบายวิธีที่น่ารักน่าชอบใจ กับ
-- ผู้จุติจากวิมาน มาปฏิสนธิในโลก ...เป็นราคจริต

-- ผู้ในอดีตชาติ สั่งสมกรรมอันก่อเวร คือ การฆ่า ทรมาน จับกุมคุมขัง กับ
-- ผู้จุติจากนรก หรือ กำเหนิดงู มาปฏิสนโนโลก ...เป็นโทสจริต

-- ผู้ในอดีตชาต ดื่มน้ำเมามาก และเว้นจากการศึกษาสนทนาธรรม กับ
-- ผู้จุติจากกำเหนิดดิรัจฉาน มาปฏิสนธิในโลก ...เป็นโมหจริต

ดังนั้น : กรรมที่ทำในอดีต จึงเป็นสาเหตุของจริต.......
-----------------------------------
ธาตุ :
- ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เสมอกัน ...เป็นราคจริต
- ธาตุลม ธาตุไฟ สูง ...เป็นโทสจริต
- ธาตุดิน ธาตุน้ำ เพิ่มสูง ...เป็นโมหจริต
-----------------------------------
โทษในร่างกาย
---ผู้มีเสมหะมากกว่าปกติ ...เป็นราคจริต
---ผู้มีน้ำดีมากกว่าปกติ ...เป็นโทสริต
---ผู้มีลมมากกว่าปกติ ...เป็นโมหจริต
--------------------
ท่านพระอาจารย์ ได้แนะนำหลัก การเลือกกัมมัฏฐาน ไว้ดังนี้....
1. บุคคล ราคจริต ควรปฏิบัติ อสุภสัญญา 10 , กายคตาสติ
.....เพราะทำให้เอาชนะราคะได้
......บุคคล ราคจริต ไม่ควรปฏิบัติ อัปปมัญญา 4
.....เพราะนิมิตของอัปปมัญญา เป็นสิ่งที่งดงาม
2. บุคคล โทสจริต ควรปฏิบัติ อัปปมัญญา 4
....เพราะทำให้เอาชนะโทสะได้ หรือควรปฏิบัติ วัณณกสิณ
....เพราะจิตเธอน้อมไปในกัมมัฎฐานนั้น
.....บุคคล โทสจริต ไม่ควรปฏิบัติ อสุภสัญญา 10
....เพราะจะทำให้ ปฏิฆสัญญา เกิดขึ้น
3. บุคคล โมหจริต ( ที่ยังไม่ได้สั่งสมอบรมปัญญาด้วยการศึกษา )
....ไม่ควรปฏิบัติกัมมัฏฐานใด เพราะเธอไม่รอบรู้ ความเพียรย่อมไร้ผล
.....บุคคล โมหจริต ควรสืบสวน ค้นคว้าเกี่ยวกับธรรม ฟังธรรมเทศนา
....ตามกาล ด้วยความเคารพ ยกย่องธรรม อยู่ใกล้อาจารย์ สั่งสมปัญญา
....แล้วปฏิบัติกัมมัฏฐานสักอย่างหนึ่ง ที่เธอชอบใจ
....อนึ่ง มรณสติ และ จตุววัฏฐาน เหมาะแก่เธอเป็นพิเศษ
4. บุคคลสัทธาจริต ควรปฏิบัติ อนุสสติ 6 เริ่มด้วยพุทธานุสสติ
.....เพราะทำให้ศรัทธาของเธอมั่นคง
5. บุคคลพุทธิจริต ควรปฏิบัติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหาเรปฏิกูลสัญญา
.....มรณสติ และอุปสมานุสสติ ....เพราะเธอเป็นคนละเอียดล้ำลึก
.....อนึ่ง ..บุคคลพุทธิจริต ไม่ถูกห้ามปฏิบัติ กัมมัฏฐาน ใด ๆ เลย
6. บุคคลวิตกจริต ควรปฏิบัติ อานาปานสติ
....เพราะกำจัดความฟุ้งซ่านได้

*** เมื่ออาจารย์ที่เธออาศัยอยู่ด้วย สังเกตจริยาหรือจริต ของเธอแล้ว
จึงได้กำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน ที่เหมาะสมสำหรับใช้อบรม...
*** พอจะได้เป็นองค์ความรู้บ้างนะครับ ถ้ายังไม่เข้าไปที่อาจารย์ใด
ก็ให้ตัวเองเป็นอาจารย์ ทบทวนสังเกตตัวเองว่า มีจริตหนักไปทางใด

ดังบาลี : อัตตาหิ อัตตโน นาโถ " ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน "

ถาม : จะดูบุคคล มีจริตเช่นใด ดูจากอันใดครับ ?

* ทราบได้จาก ลักษณะจริยา 7 คือ การมองดูรูป กิเลส ลักษณะการเดิน
ลักษณะการนุ่งห่ม ลักษณะการบริโภค การงาน และ การนอนหลับ

อธิบาย การมองดูรูป...
-- มองดูรูป เสมือนไม่เคยเห็นมาก่อน มองไม่เห็นข้อเสียของรูป ไม่พิจารณารูป ไม่พิจารณาคุณความดีแม้เพียงเล็กน้อยของรูป ไม่เป็นอิสระจากความต้องการใน รูปารมณ์ หลังพิจารณาแล้วก็ยังไม่เป็นตัวของตัวเอง ....นี้คือบุคคล ราคจริต
-- มองดูรูปไม่นาน ราวกับว่าเหนื่อยหน่าย เมื่อหงุดหงิด จะก่อทะเลาะวิวาทกับ ผู้อื่นบ่อย ๆ แม้สิ่งใดดี เขาก็ไม่ชอบใจ ปัดทิ้งหมด วิถีชีวิตเขาถูกกำหนดโดย โทษ ท่าทีเขาต่ออารมณ์ทางทวารอื่น ก็ทำนองนี้ ....นี้คือบุคคล โทสจริต
-- มองดูรูป ในเรื่องคุณและโทษของสิ่งใดก็ตาม เขาจะเชื่อคนอื่น ใครว่าอะไร มีค่าหรือน่าชม เขาก็ว่าตามเพราะเขาไม่รู้อะไร ท่าทีเขาต่ออารมณ์ทางทวารอื่น ก็ทำนองนี้ ....นี้คือบุคคล โมหจริต
อธิบาย กิเลส.........
-- ริษยา มานะ มายา สาไถย มักมาก ....นี้คือ ราคจริต
-- โกรธ พยาบาท มักขะ ตระหนี่ อุปนาหะ ....นี้คือ โทสจริต
-- ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา โมหะ ....นี้คือ โมหจริต
อธิบาย จากการเดิน..........
-- ยกเท้าเดินเร็ว ก้าวสม่ำเสมอ สาวเท้าสม่ำเสมอ วางลงไม่เต็มพื้นเท้า
ยกเท้าก้าวเดินสง่างาม ....นี้คือบุคคล ราคจริต
-- กระตุกเท้ายกขึ้น เหยียบลงผลุนผลัน เท้าเขาเฉียดกัน วางเท้าคล้าย
จะขุดดิน ....นี้คือบุคคล โทสจริต
-- ยกเท้าปัดไปปัดมา เหยียบลงก็ปัดไปปัดมา ..นี้คือบุคคล โมหจริต
อธิบาย การนุ่งห่ม..........
-- ไม่ครองจีวรเก่าหรือขาด ครองช้า ไม่ห้อยรุ่มร่าง เป็นปริมณฑล (ราคจริต)
-- ครองจีวรรวดเร็ว สูงเกินควร ไม่เป็นปริมณฑล (โทสจริต)
-- ครองจีวรช้า ไม่เป็นปริมณฑล ไม่น่าดูหลายประการ (โมหจริต)
อธิบาย การบริโภค.........
-- พอใจอาหารรสกลมกล่อม ประณีต หวาน ต้องการอาหารพอควร
ตะล่อมเรียบร้อยพอเหมาะคำ บริโภคด้วยความพอใจ แม้ไม่อร่อยนัก (ราคจริต)
-- พอใจอาหารรสเปรี้ยว ไม่ตะล่อมเป็นคำให้เรียบร้อย บริโภคคำโต
ถ้าอาหารไม่สู้อร่อย เธอไม่พอใจ (โทสจริต)
-- พอใจอาหารไม่แน่นอน ไม่จัดเป็นคำ บริโภคคำเล็ก ปากเธอมีอาหารเปรอะเปื้อน เข้าปากบ้าง ตกลงในภาชนะบ้าง บริโภคไม่สำรวม (โมหจริต)
อธิบาย การงาน........
-- จับไม้กวาดพอดี กวาดไม่รีบ ไม่กระจาย เรียบร้อย (ราคจริต)
-- คว้าไม้กวาดรีบ กวาดเร็ว กระจายทั่ว เรียบร้อย (โทสจริต)
-- จับไม้กวาดเชื่องช้า กวาดไม่เรียบร้อย ไม่สม่ำเสมอ (โมหจริต)
อธิบาย การนอน.......
-- เตรียมที่นอนไม่รีบ ทำเรียบร้อย ค่อย ๆ เอนกาย งอแขนขา ถูกปลุกกลางคืน จะลุกขึ้นทันทีทันใด และตอบแบบไม่เต็มใจ (ราคจริต)
-- รีบนอน ณ ที่เธอได้พบ หน้านิ่วคิ้วขมวดเวลาหลับ ถูกปลุก ฯ จะลุกขึ้นทันที และตอบแบบไม่พอใจ (โทสจริต)
-- ไม่เตรียมที่นอนให้เรียบร้อย เวลาหลับ แขนขาอ้าถ่างออก ถูกปลุก ฯ เธอบ่นพึมพำและนานจึงค่อยตอบ


** เมื่อพระอาจารย์ สังเกตเห็นจริตมาหลายเดือนแล้ว **
ก็จะกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ที่เหมาะเพื่อใช้อบรมจิตของเธอผู้นั้น




                                                



Create Date : 13 พฤษภาคม 2553
Last Update : 3 ธันวาคม 2553 18:37:32 น. 2 comments
Counter : 11940 Pageviews.

 
สาธุครับขอบคุณครับ


โดย: เพิรข์ IP: 118.173.192.51 วันที่: 18 กันยายน 2557 เวลา:18:13:50 น.  

 
ขอบคุณค่ะ สาธุ..


โดย: n noui IP: 49.230.79.100 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2557 เวลา:9:48:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

aero.1
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




การศึกษาทางโลก
รบ. ธรรมศาสตร์ 2536(นักศึกษาทุนภูมิพล)

การศึกษาทางธรรม
-สัทธิวิหาริก สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 พศ 2535
-พระเจ้าหน้าที่เวรดูแลพระอาการ สมเด็จญาณสังวร
-อดีตพระป่า(หนองป่าพง)
-ประธานรุ่นนักศึกษาภาคมหาบัณฑิตมหามกุฏราชวิทยาลัย 2546

.

**************************
Friends' blogs
[Add aero.1's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.