>>>        ชาวพุทธแท้ หรือชาวพุทธในทะเบียนบ้านต่างกันอย่างไร ?       อลัชชีคืออะไร ?        เงินกับพระอย่างไรเหมาะควร ??        กรรมของชาวไทย ปัจจุบันและวิธีแก้ไข            หนทางสู่การปฏิบัติ            อานาปานสติอย่างที่ท่านเข้าใจจริงหรือ ?และFAQ อานาปานสติ
- FAQ คำถามอานาปานสติที่ถามบ่อย


            คำถาม
1.เลยเกิดอาการสงสัยว่าการฝึกของตน เองถูกต้องหรือไม่?
2.ถ้า จะฝึกเป็นสมถต้องสร้างนิมิตอะไรหรือไม่?
3.แล้วจะ รู้ได้อย่างไรว่ามา ถูกทางแล้ว มันต้องสังเกตเห็นอะไรหรือเปล่าครับ
4.เลย มาสอบถามรบกวนผู้ รู้ถึงการเข้าฌานว่ามีวิธีฝึกอย่างไร
5.หากใครมี ไฟล์สอนด้วยจะดีมาก ครับ
*******************************
ตอบ ข้อ 1. ถูกต้องหรือไม่ตอบเป็น 2 นัยยะ คือ
1.1 ถูกตามจริตหรือไม่ (หาข้อมูลเรื่องจริต) อานาฯ เหมาะกับ วิตกจริตและโมหะจริต
1.2 ถูกตามวิธีหรือไม่ หากจะบอกว่าผิดถูกในอานาปานสติ คงกล่าวได้ยากว่าวิธีไหนถูกผิดเพราะต้องดูองค์ประกอบอื่นๆ และอีก ทั้งขั้นตอนก่อนปฏิบัติซึ่งต้องเตรียม ได้แก่
ศีล
ตัด เครื่องกังวลใจ10(หาคำ "ปลิโพธ")
พิจารณาโทษของกามต่างๆในเชิง เปรียบเทียบ(หาคำ "โทษของกาม")
ตรวจสอบมีอะไรค้างคาใจให้โกรธไหม ขจัดออกโดย "อภัยทาน"
ระลึกคุณพระรัตนตรัย(อิติปิโสแปล หรือดูพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ)
สถานที่ ป่า ใต้ต้นไม้ หรือที่ว่างจากบ้านเรือน หรืออาจเป็นเรือนว่างคือไม่มีเสียงอึกทึก
ท่า นั่ง ตั้งกายตรง
สรุปเบื้องต้น พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
อุ ชุง กายัง ปะณิธายะ ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปต๎วา, ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นบริเวณ ปากทางเข้าออกแล้ว,
โส สะโต วะ อัสสะสะติ, สะโต ปัสสะสะติ, เป็นผู้ มีสติอยู่นั่นเทียว หายใจเข้า มีสติอยู่ หายใจออก,
(๑) ทีฆัง วา อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะปัสสะสามีติ ปะชานาติ, เมื่อหายใจเข้ายาว, ออกยาว เธอก็ รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว ออกยาว, โดยยาวสั้นหมายถึง ยาวสั้นตามกาลเวลา และลมหายใจปกติจัดเป็น ลมยาว
*********************************
ตอบ ข้อ 2. ส่วนที่ต้องทำ คือบริกรรมนิมิต ในที่นี้คือ รู้ผัสสะของลมหายใจเข้าออก ตามกาลเวลาจริงส่วนนิมิตตามความหมายที่ ชอบพูดถึงกันคือ เห็นนู้นเห็นนี่อธิบายดังนี้
อุคหนิมิต หมายถึงขณะที่จิตเข้าถึงสภาพที่ใกล้ สภาวะเฉียดฌาน มีเครื่องบอกคือ ลักษณะตามแบบ เช่น เหมือน มดไต่ เหมือนความรู้สึกเมฆหมอก (หาคำ อุคหนิมิต ในอานาปานสติ)
ปฏิภาคนิมิต หมายถึง การรู้สภาพความรู้สึกเบื้องต้ตามอุคหนิมิตนั้นแหละ แต่แสดงถึงความลึกของกำลังสมาธิดังมีการอธิบายในคัมภีร์วิสุทธิมรรคดังนี้
"เมื่อพระโยคาพจรประกอบเนือง ๆ ดังนี้บ่มิช้าอุคคหนิมิตแลปฏิภาคนิมิต ก็ปรากฏแก่พระโยคาพจรนั้นแลอุคคหนิมิตปฏิภาคนิมิตจะเหมือนกันทุกพระโยคาพจร หาบ่มิได้ บางอาจารย์กล่าวว่าพระโยาคาพจรบางพระองค์อุคคหนิมิตเมื่อบังเกิดขึ้นนั้น มีสัมผัสอันเป็นสุขปรากฏดุจหนึ่งว่าเป็นปุยนุ่นบ้างปุยสำลีบ้าง แลนิมิตทั้ง ๓ นี้เล็งเอาอุคคหนิมิตสิ่งเดียว แลคำพิพากษาในอรรถกถานั้นว่าอุคคหนิมิตแลปฏิภาคนิมิตนี้ปรากฏแก่พระโยคาพจร บางพระองค์เป็นช่วงดังรัศมีดาว แลพวงแก้วมณี พวงแก้วมณีมุกดาแลพระโยคาพจรบางพระองค์ อุคคหนิมิตปฏิภาคนิมิตมีสัมผัสอันหยาบปรากฏดังเมล็ดในฝ้ายบ้าง ดังเสี้ยนสะเก็ดไม้แก่นบ้าง บางพระองค์ปรากฏดังด้ายสายสังวาลอันยาวแลเปลวควันเพลิงบ้าง บางพระองค์ปรากฏดุจหนึ่งใยแมลงมุมอันขึงอยู่แลแผ่นเมฆแลดอกบัวหลวงแลจักรรถ บางทีปรากฏดังดวงพระจันทร์พระอาทิตย์ก็มี แลกรรมอันเดียวนั้นก็บังเกิดต่าง ๆ กันด้วยสัญญาแห่งพระโยคาพจรมีต่าง ๆ กัน"
************************
ตอบ 3 นิมิต เป็นภาษาบาลี แปลเป็นไทยว่า เครื่องหมาย เครื่องชี้ ในที่นี้ ก็คือการชี้ให้เห็น ระดับของพื้นจิต ที่เสพสมาธิ นั้นเอง ส่วนจะรู้ ว่าถูกหรือไม่นั้นให้ตรวจสอบดังนี้
พิจารณาที่ ปิติ ขยายความ เมื่อนิมิตเป็นเครื่องชี้ระดับความเข้มของสมาธิที่เกิดในจิตเครื่อง แสดงที่เกิดทางกาย คือ ปิติ 5 (หาคำ ปิติ 5) จะรู้ว่าถูกหรือผิด มีเรื่องที่ต้องตรวจสอบอยู่มากโดยสรุปต้องตรวจสอบทั้งหมดของการดำเนินชีวิต ว่าอยู่ในมรรค 8 หรือไม่ คือเป็นสมาธิในมรรคหรือไม่ หรือเรียกง่ายๆว่า สัมมาสมาธิ โดย ปิติ ตามนัยยะของพระพุทธเจ้านั้น คือ ปิติข้อ 5 (ผรณาปิติ)เท่านั้น
***********************************
ตอบข้อ 4 การจะรู้ได้ว่าถึงฌาน หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ อุคหนิมิตแสดงถึงภาวะเฉียดฌาน ปฏิภาคนิมิตแสดงระดับฌานเกิด แต่ความยากไม่อยู่ที่การเกิดแต่อยู่ที่ การรักษา(ทรง) ซึ่งยากมาก ต้องปฏิบัติอย่างถูกต้อง และอุกฤตมากๆ แต่ไม่เกินวิสัยแห่งผู้มี บุญญาบารมี สะสมมาดีแล้ว
ตัวอย่าง ประกอบอย่างที่พระสารีบุตรท่านกล่าวว่า
"[นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิตลม
อัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ
รู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ]*ท่านสารีบุตร ปฏิสัมภิทามรรคกถา
อธิบาย อนึ่งธรรม ๓ ประการ คือลมออก ๑ ลมเข้า ๑ นิมิต ๑ จะได้เป็นอารมณ์แห่งจิตอันเดียวกันหามิได้ ลมออกก็เป็นอารมณ์แห่งจิตอัน ๑ ลมเข้าก็เป็นอารมณืแห่งจิตอัน ๑ ต่างกันดังนี้ ก็แลพระโยคาพจรพระองค์ใดบ่มิได้รู้ซึ่งธรรมทั้ง ๓ คือลมออกมิได้ปรากฏแจ้ง ลมเข้าก็มิได้ปรากฏแจ้ง นิมิตก็มิได้ปรากฏแจ้ง มิได้รู้ซึ่งธรรมทั้ง ๓ ประการนี้แล้ว พระกรรมฐานแห่งพระโยคาพจรพระองค์นั้นก็มิได้สำเร็จซึ่งอุปจารแลอัปปนา ต่อเมื่อใดธรรมทั้ง ๓ นี้ ปรากฏแจ้งพระกรรมฐานแห่งพระโยคาพจรนั้นจึงจะสำเร็จถึงซึ่งอุปจารฌานแลอัปปนา ฌานในกาลนั้น โดยพระวิสุทธิมรรคอธิบาย การเกิด และการประครองรักษา

"อนึ่งธรรม ๓ ประการ คือลมออก ๑ ลมเข้า ๑ นิมิต ๑ จะได้เป็นอารมณ์แห่งจิตอันเดียวกันหามิได้ ลมออกก็เป็นอารมณ์แห่งจิตอัน ๑ ลมเข้าก็เป็นอารมณืแห่งจิตอัน ๑ ต่างกันดังนี้ ก็แลพระโยคาพจรพระองค์ใดบ่มิได้รู้ซึ่งธรรมทั้ง ๓ คือลมออกมิได้ปรากฏแจ้ง ลมเข้าก็มิได้ปรากฏแจ้ง นิมิตก็มิได้ปรากฏแจ้ง มิได้รู้ซึ่งธรรมทั้ง ๓ ประการนี้แล้ว พระกรรมฐานแห่งพระโยคาพจรพระองค์นั้นก็มิได้สำเร็จซึ่งอุปจารแลอัปปนา ต่อเมื่อใดธรรมทั้ง ๓ นี้ ปรากฏแจ้งพระกรรมฐานแห่งพระโยคาพจรนั้นจึงจะสำเร็จถึงซึ่งอุปจารฌานแลอัปปนา ฌานในกาลนั้น
เมื่อนิมิตบังเกิดดังนี้แล้ว ให้พระโยคาพจรไปยังสำนักอาจารย์พึงถามดูว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อาการดังนี้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าพระมหาเถรสันทัดในคัมภีร์ทีฆนิกายนั้น ถ้าศิษย์มาถามดังนั้น อาจารย์อย่าพึงบอกว่านั่นแลคืออุคคหนิมิตแลปฏิภาคนิมิต และจะว่าใช่นิมิตก็อย่าพึงว่า พึงบอกว่าดูกรอาวุโส ดังนั้นแลท่านจงมนสิการไปให้เนือง ๆ เถิด ครั้นอาจารย์บอกว่าเป็นอุคคปฏิภาคแล้ว สตินั้นก็จะคลายความเพียรเสียมิได้จำเริญพระกรรมฐานสืบไป ถ้าบอกว่าดังนั้นมิใช่นิมิต จิตพระโยคาพจรก็จะถึงซึ่งนิราศสิ้นรักใคร่ยินดีในพระกรรมฐาน เหตุดังนั้นอย่าได้บอกทั้ง ๒ ประการ พึงเตือนแต่อุตสาหะมนสิการไปอย่าได้ละวาง
ฝ่ายพระมหาเถระผู้กล่าวคัมภีร์มัชฌิมนิกายว่า ให้อาจารย์พึงบอกดูกรอาวุโส สิ่งนี้คืออุคคหนิมิตสิ่งนี้คือปฏิภาคนิมิตบังเกิดแล้ว ท่านผู้เป็นสัตบุรุษจงอุตสาหะมนสิการพระกรรมฐานไปจงเนือง ๆ เถิด และพระโยคาพจรเป็นศิษย์พึงตั้งซึ่งภาวนาจิตไว้ในปฏิภาคนิมิตนั้น จำเดิมแต่ปฏิภาคนิมิตบังเกิดแล้วอันว่านิวรณธรรมทั้ง ๕ มีกามฉันทะเป็นต้นก็สงบลง บรรดากิเลสธรรมทั้งหลายมีโลภะ โทสะ เป็นต้นก็รำงับไป จิตแห่งพระโยคาพจรก็จะตั้งมั่นลงด้วยอุปจารสมาธิ แลพระโยคาพจรนั้น อย่าพึงมนสิการซึ่งนิมิต โดยวรรณมีสีดังปุยนุ่นเป็นต้น อย่าพึงพิจารณาโดยสีอันหยาบ แลลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้น พึงเว้นเสียซึ่งสิ่งอันมิได้เป็นที่สบาย ๗ ประการ มีอาวาสมิได้เป็นสบายเป็นต้น พึงเสพซึ่งสบาย ๗ ประการ มีอาวาสสบายเป็นต้น แล้วพึงรักษานิมิตนั้นไว้ ให้สถาพรเป็นอันดี ประดุจนางขัตติยราชมเหสีอันรักษาไว้ซึ่งครรภ์ อันประสูติออกมาได้เป็นบรมจักรพรรดิราชนั้น
เมื่อรักษาไว้ได้ดังนี้แล้ว พระกรรมฐานก็จำเริญแพร่หลายแลพระโยคาพจรพึงตกแต่งซึ่งอัปปนาโกศล ๑๐ ประการ ประกอบความเพียรให้เสมอพยายามสืบไป อันว่าจตุกฌานปัญญจกฌานก็จะบังเกิดในมิตนั้น โดยลำดับดังกล่าวมาแล้วในปฐวีกสิณ เมื่อจตุกฌานปัญจกฌานบังเกิดแล้ว ถ้าพระโยคาพจรมีความปรารถนาจะจำเริญซึ่งพระกรรมฐานด้วยสามารถสัลลักขณาวิธี แลวัฏฏนาวิธี จะให้ถึงซึ่งอริยผลนั้น ให้กระทำฌานอันตนได้นั้นให้ชำนาญคงแก่วสี ๕ ประการแล้ว จึงกำหนดซึ่งนามรูป คือจิตแลเจตสิกกับรูป ๒๘ ปลงลงสู่วิปัสสนาปัญญาพิจารณาด้วยสามารถสัมมัสสนญาณเป็นต้นก็สำเร็จแก่พระ อริยมรรคอริยผล มีพระโสดาบันเป็นต้น เป็นลำดับตราบเท่าพระอรหัตตผลเป็นปริโยสาน ด้วยอำนาจจำเริญซึ่งพระอานาปาสติกรรมฐานนี้ เหตุดังนั้นพระโยคาพจรกุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตชาติอย่าพึงประมาท จงหมั่นประกอบเนือง ๆ ซึ่งพระอานาปาสติสมาธิอันกอปรด้วยอานิสงส์เป็นอันมากดังกล่าวมานี้ ฯ "

***************
*******************
ตอบ ข้อ 5 VDO แสดงพุทธอุปกรณ์ การสอน


ที่ว่าเป็น การดึงลมหายใจ อย่าไป กดลมหายใจ หรือ เข่นลมหายใจ จะทำให้อึดอัด จงผ่อนคลายหายใจปกติ ส่วนในขั้นพัฒนา สังเกตุดังนี้ เมื่อทำตามวิธีการขั้นนี้ติดต่อกันไม่เกิน 7 วัน นิมิตจะเกิดสิ่ง ที่ต้องทำต่อไปคือต้องรักษา(ดูที่ อารักขกรรมฐาน)และ อัปนาโกศล 10
เครื่อง หมายชี้จุดนี้คือ ลมหายใจจะหายไป ไม่ต้องตกใจ ให้ตั้งจิตไว้ที่เดิม จะเห็นได้ว่าในที่สุด ลมหายใจจะกลับมา แต่ละเอียดยิ่งขึ้น จนกระทั้งแทบจับไม่ได้ถึง สัมผัสของลม พระสารีบุตรท่านกล่าวเปรียบดั่ง การตีกังสดาน คือเสียงจะ กังวานคงอยู่แม้ตีตั้งแต่ครั้งแรก ลมหายใจก็เช่นกัน จะสั้นจนกระทั้งเหมือน สัมผัสได้ถึงจิตวิญาณแห่งลมหายใจ เมื่อทำได้ดั่งนี้ หมายถึงการเข้าสู่ขั้นที่ 2(เต็มรูป) ใน อานาปานสติ 16
รัส สัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะปัสสะสามีติ ปะชานาติ, เมื่อหายใจเข้าสั้น, ออกสั้น เธอก็ รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ออกสั้น ดัง นี้

หมายเหต เพิ่มข้อควรระวัง การทรงนิมิตนั้นต้องทำ วสี5 ให้ชำนาญด้วย หากไม่ทำจะเสื่อมหมดที่ทำมาและท่าน เปรียบดั่ง โคที่หากินบนภูเขา โดยไม่รู้สถานที่ หากพลาดอาจตกจากเขาสูงได้(พระวิสุทธิมรรค)

-เรื่องที่ต้องศึกษาเพิ่ม 1.อจินไตย 4 2.วิปัสนูกิเลส 10 3.วิปัสนากรรมฐาน

คำถาม
ขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ
เท่า ที่พอจะทราบมา ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิขั้นพื้นฐานที่ทุกๆ คนก็สามารถเข้าถึงได้ เช่น สมาธิขณะอ่านหนังสือแต่อยากรู้ ถ้าหากนั่งสมาธิแล้วก้าวข้ามขณิกสมาธิไปสู่อุปจารสมาธิอารมณ์ ความรู้สึกในอุปจารสมาธิจะเป็นอย่างไร แล้วที่มีอาการหายใจติดขัดเหมือน จะหยุดหายใจในทันทีระหว่างนั่งสมาธิ จะแก้ได้อย่างไร

------------------------------------------------------------------------------
คำ ตอบ
หากจะถามให้ได้ประโยชน์ ต้องขอข้อมูลมากกว่านี้
เช่น คุณจขกท.ทำอย่างไร
ที่ว่านั่งสมาธิน่ะกองไหน
คุณบอกแต่ เพียงหายใจติดขัด ไม่กล้าเดาจริงๆ ว่าเป็น กองไหนและอาการของขณิก สมาธิ อุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ แต่ละกองไม่เหมือนกันจะให้ตอบ ไม่สามารถจริงๆในส่วนตรงนี้จึงขอขยายความตามคำถามโดยรวม มุ่งเน้นที่สังคมยังเข้าใจเบี่ยงเบนและที่สำคัญจะกล่าวถึง ข้อ ควรสังเกตุและข้อพึงระวัง ดังนี้
------------------------------------------------------------------------
คำ แปลที่จำง่ายคือ
ขณิกสมาธิ = ระดับที่ไม่สามารถตั้งสมาธิอยู่ได้คือ ไม่ทรงตัว
อุปจารสมาธิ = เกือบตั้งมั่น หมายถึงเกือบเข้าไปในฌานนิวรณ์แทบไม่เหลือ แต่ก็ไม่สามารถทรงตัว โบราณท่านว่า ห่างแค่เส้นผม
อัปปนาสมาธิ = เข้าฌานเต็มรูป และทรงตัวได้
อนึ่ง คำว่า ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ นั้นหากกล่าวโดดๆ อาจหมายถึง ระดับของสมาธิที่เนื่องฌาน 1 ได้ แต่ไม่ได้เป็นแต่เพียงนั้น อาจหมายถึงในฌานชั้นอื่นๆได้ เช่น ทรงฌาน1 ได้ แต่เข้า 2 ไม่ได้คือพอเข้า 2 แล้วไม่สามารถทรง อันนั้หมายถึง ระดับอุปจารสมาธิของฌาน 2 เป็นต้น
ส่วน เรื่องของตัววัด มี 3 ตัววัด คือ 1.นิวรณ์ 5 2.นิมิต 3.ปิติ
1. นิวรณ์ 5 เป็นสภาพธรรม ตามแบบก็ว่าไปหาอ่านเอาเองครับ แต่ในที่นี้จะกล่าวเรื่องควรพิจารณาอย่างไรในส่วนของ ลักษณะเป็นเครื่องมือวัด ก็จะตอบว่าเป็นสภาพนามธรรม แต่เป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญมากต้องตรวจสอบอยู่เสมอ ซึ่งเป็นความหมายตามธรรมที่หมายถึงสภาพที่กั้นฌานนั้นเอง คือสรุปเมื่อ นิวรณ์ 5 ไม่มี ก็คือ สภาวะฌานนั้นเอง
หรือหลายท่านอาจใช้องค์ 5 ในฌาน ตรวจสอบ หากไปพิจารณาขณะทำก็ทำให้เสียการใหญ่เพราะท่านห้ามไว้ สำหรับมือใหม่ หรือมือเก่าแต่ยังขาดความชำนาญจริงๆ(คือมีเยอะประเภทชำนาญหลอกๆ)
ส่วน ใหญ่ผู้ชำนาญการ ใช้ตรวจสอบตอนนอกช่วงเวลาปฏิบัติ(จัดเป็นวิปัสสนาด้วย) โดยคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวในช่วงการทำวสี ว่าเป็นเรื่องอันตรายด้วยซ้ำ หากไม่ทำวสีข้ออื่นก่อนแล้วมาทำข้อ วสี 5(ตรวจสอบองค์ฌาน) > (หาคำ วสี 5 อ่านประกอบ ) เพราะจะไปลดทอนกำลังวสีตัวอื่น คือกล่าวง่ายๆ วสี เป็นขั้นตอนการฝึกให้ชำนาญ มี 5ระดับ โดยย่อคือ 1.ทรงได้ง่าย(ติดเครื่องอยู่เสมอ) 2.เข้าได้เมื่อต้องการ 3.ออกได้เมื่อต้องการ 4.ตั้งเวลาได้ 5.ตรวจสอบได้ ย้ำหากไปตรวจสอบตั้งแต่แรกจะทำให้ความชำนาญข้ออื่นไม่เกิด ปฏิบัติไป ร้อยปีก็ไม่เกิดผล
ฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจก่อนหากไม่แล้วก็จะทำให้ เสียการได้ ที่นี่เราจะวัดอย่างไร ก็เหลือเตรื่องมืออีก 2 อัน
2.นิมิต จะกล่าวแบบรวบรัด นิมิตเป็นเรื่องที่ต่างกันของแต่ละกองกรรมฐาน มี 3 ระดับ คือ
2.1 บริกรรมนิมิต
2.2 อุคหนิมิต
2.3 ปฏิภาคนิมิต
ลักษณะการใช้งาน นิมิต แปลเป็นภาษาไทยได้ตรงๆเลย คือ เครื่องชี้ ที่เราเห็น พระท่านฝังลูกนิมิต นั้นแหละ ท่านทำเครื่องหมายชี้เขตอุโบสถ
ที่นี่มาดูว่าในสมาธิชี้อะไร โดยสรุป สั้นๆ ง่าย ๆ ก็ชี้ระดับสมาธินั้นแหละ คือ
บริกรรมนิมิต(ไม่หมายเฉพาะคำว่า ท่องบ่น) ชี้ว่าตอนนั้นน่ะเป็น ขณิกสมาธิ
อุคหนิมิต(นิมิตขั้นกลาง) ชี้ว่าตอนนั้นน่ะเป็น อุปจารสมาธิ
ปฏิภาคนิมิต(นิมิตทรงตัว) ชี้ว่าตอนนั้นน่ะเป็น อัปปนาสมาธิ
แต่หากทว่า แต่ละกองกรรมฐานนิมิตนี้มีลักษณะแตกต่างกันออกไป ท่านครูบาอาจารย์แยกไว้ชัดเจนแล้วในแบบวิสุทธมรรคในกองกรรมฐานต่างๆ ย้ำแบบบอกไว้หมดแล้ว ผู้ที่ไม่ตรงตามแบบก็ยังไม่ใช่ตามพุทธนัยยะ เพราะอย่าลืมว่าสมาธิระดับตรงนี้มีมาก่อน พระพุทธเจ้าทรงอุบัติ ฉะนั้นนิมิต นอกแบบจึงอาจไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงให้เรียนรู้ จนกระทั้งอาจมีผู้บอกอีกได้ว่าของสายเขานั้นๆ วิธีวิธีของเขานั้น หายไปตั้งแต่ ช่วงต้นๆ ศาสนา แล้วมาค้นเจอใหม่ ซึ่งมุขนี้ตอนศาสนาพุทธช่วง ประมาณ 1200 หลังพุทธกาล ชาวพุทธพบเจอ มุข(อกุศโลบาย)นี้มาแล้ว คือ พวกพราหมณ์เห็นว่า พุทธขยายตัวเร็วมาก ตัวเองจะเล็กลงในสังคม ทั้งในแง่ศรัทธา หรือแม้แต่ทรัพย์ จึงได้รวมกันกล่าวว่า เจอคัมภีร์สมัยพุทธกาลจากเมืองบาดาล ในคัมภีร์กล่าวว่า พุทธเจ้าเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ โดยมาแปลงคำสอนบางสอน แนบเข้ามาเพื่อให้เหมาะ จนกลายพันธุ์ เป็นศาสนาฮินดูในที่สุด โดยพุทธเองก็เสียที่ยืนและเสียสัทธาไปมาก สำหรับผู้ไม่รู้ จากนั้น 500 ปี อินเดียก็หมดพุทธธรรมคำสอน ฉะนั้นแบบหรือพระไตรปิฎกจึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ต้องดูให้อยู่ตรงกับแนวคำสอน
ส่วนในระดับสูง นิมิตตามแบบนั้นๆ จะพัฒนากลายเป็น สภาพรู้ โดยอาจเรียกว่า ญาณ หรืออะไรก็แล้วแต่ เช่น บางคนบอกเอาไว้ดูกรรม บางคนเรียกว่านั่งทางใน ซึ่งหากมาถึงตรงนี้ มีข้อสำคัญยิ่งเพราะผู้ปฏิบัติหลงกันเยอะ กลายเป็นผู้รู้นู้นนี่นั้นไปเรื่อยเปื่อย แต่หากญาณนี้เป็นเรื่องที่ต้องระวังมาก ท่านใช้ไว้ศึกษาธรรม หรืออธิบายธรรม หรือสืบอายุพระศาสนา ไม่ใช่เอาไว้ใช้ส่วนตัวหรือจะอ้างไปได้ว่าสงเคราะห์สัตว์ เช่น บอกหวย ดูกรรม,แสกนกรรม,ดูหมอ,สะเดาะเคราะห์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ นำความเสื่อมมาให้ในที่สุด แต่ถึงไม่ยังไม่เสือม ขณะทำก็ก่อกรรมคือทำให้คนหลง เพราะตัวรู้ชนิดนี้แปลกจะหรอกได้สุดๆ เพราะเดียวก็จริงๆ เดียวก็ไม่จริง และในที่สุดกลายเป็นรู้จริงแต่ไม่จริง คือจับสาระ อะไรไม่ได้ อันนี้ต้องระวังอย่าไปใช้ส่วนตัว(ปัจเจกบุคคล)
3.ปีติ 5 พิจารณาที่ปิติ ขยายความ เมื่อนิมิตเป็นเครื่องชี้ "ระดับความเข้ม" ของสมาธิที่เกิดในจิต เครื่องชี้แสดงที่เกิดทางกาย คือ ปิติ 5 (หาคำ ปิติ 5)
จะรู้ว่าถูกทาง มีเรื่องที่ต้องตรวจสอบอยู่มากโดยสรุปต้องตรวจสอบทั้งหมดของการดำเนินชีวิต ว่าอยู่ในมรรค 8 หรือไม่ คือเป็นสมาธิในมรรคหรือไม่ หรือเรียกง่ายๆว่า สัมมาสมาธิ ถ้าครบแล้วต้องแต่งอินทรีย์ 5 ให้สมดุลย์ ถึงจะเข้าสู่ ปิติตัวที่ 5 ได้
โดย ปิติ ตามนัยยะของพระพุทธเจ้านั้น คือ ปิติข้อ 5 (ผรณาปิติ)เท่านั้น ลักษณะคือ ซึมซาบทั่วร่างกาย เหมือนน้ำเต็มกระเพาะ บางท่านแผ่ไปทุกส่วนในร่างกายจากภายใน คล้ายๆกับซ่านกายไปทั่วทั้งกาย
พอกล่าวถึงเรื่องนี้มีเรื่องหนึ่ง เมื่อประมาณสัก 15 ปีที่แล้ว ที่เป็นกรณีศึกษา หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ลงข่าว ที่ จ.นครปฐม เรื่องคนนั่งสมาธิแล้ว ฆ่าตัวตายยกครัว โดยให้เหตุผลในหนังสือลาตายว่า
"กลัวว่าจะทำให้โลกนี้ มนุษย์ ไม่มีที่อยู่เพราะตัวเอง ตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนอาจคับโลกได้ จึงตัดสินใจลาตาย"
ฉะนั้นเป็นเรื่องอันตรายถ้าหากออก นอกคำสอน โดยในที่นี้ต้องบอกว่าจะป้องกันตัวนี้ได้ต้องดูที่ อจินไตย 4 และวิปัสนูกิเลส 10 ดูให้เข้าใจหลาย ๆ รอบ จะสามารถป้องกันภัยจากตัวเองได้


                                                



Create Date : 13 พฤษภาคม 2553
Last Update : 14 ธันวาคม 2553 0:55:13 น. 0 comments
Counter : 2337 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

aero.1
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




การศึกษาทางโลก
รบ. ธรรมศาสตร์ 2536(นักศึกษาทุนภูมิพล)

การศึกษาทางธรรม
-สัทธิวิหาริก สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 พศ 2535
-พระเจ้าหน้าที่เวรดูแลพระอาการ สมเด็จญาณสังวร
-อดีตพระป่า(หนองป่าพง)
-ประธานรุ่นนักศึกษาภาคมหาบัณฑิตมหามกุฏราชวิทยาลัย 2546

.

**************************
Friends' blogs
[Add aero.1's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.