>>>        ชาวพุทธแท้ หรือชาวพุทธในทะเบียนบ้านต่างกันอย่างไร ?       อลัชชีคืออะไร ?        เงินกับพระอย่างไรเหมาะควร ??        กรรมของชาวไทย ปัจจุบันและวิธีแก้ไข            หนทางสู่การปฏิบัติ            อานาปานสติอย่างที่ท่านเข้าใจจริงหรือ ?และFAQ อานาปานสติ
.........บทที่ 1 สิ่งที่ชาวพุทธควรทราบและทำความเข้าใจ

            มูลแห่งการแยกนิกายหลังพุทธปรินิพพาน เกิดจากไม่ลงรอยของความเห็นในเรื่องวินัยโดยในที่นี้ จะขอยกวินัยบางข้อมากล่าวให้พอจับประเด็นได้  ในขณะพระองค์ใกล้ปรินิพานนั้น ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า  "สิกขาบทข้อใดที่เห็นว่า เล็กน้อยให้หมู่สงฆ์ยกเว้นได้" ภายหลังพุทธปรินิพพานหมู่สงฆ์ประชุมกันโดยมีพระมหากัสสปะ อันเป็นอัครมหาสาวกที่พระองค์เคยแสดงให้เห็นว่ามีธรรมเสมอพระองค์เป็นประธาน

         ในที่ประชุมนั้นมีภิกษุจากทั่วเขตมาร่วมประชุม เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัยคำสอนจนถึงหัวข้อดังกล่าวคือ  “ข้อใดที่เห็นว่าเล็กน้อยให้หมู่สงฆ์ยกเว้นได้”   หมู่สงฆ์เห็นควรปรับอาบัติทุกกฎแก่พระอรหันต์อานนท์ผู้ซึ่งสำเร็จอรหันต์ก่อนเข้าประชุมครั้งนั้น  โดยปรับอาบัติทุกกฎไว้หลายข้อ หนึ่งในนั้นคือการไม่ทูลถามพระพุทธองค์ว่า อาบัติเล็กน้อยนั้นคือโทษขั้นใดบ้าง   บ้างก็ว่าตั้งแต่โทษสังฆาทิเสสลงมาเป็นอาบัติเล็กน้อย  บ้างก็ว่าปาจิตตีย์ลงมาจัดว่าเล็กน้อย    บ้างก็ว่าทุกกฎเล็กน้อย  ในที่ประชุมล้วนเป็นอรหันต์ทรงคุณปฏิสัมภิทา(คุณวิเศษครบถ้วน)  หลายร้อยองค์นั้นลงความเห็นว่าจะไม่เปลี่ยน  หรือยกเลิก  หรือละเว้นสิกขาบทใดเลย เพราะอันสิกขาบทเหล่านั้นที่พระองค์ทรงประทานพระบัญญัติไว้แล้ว คารวาสก็ทราบว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควรแก่สมณศากบุตรหากว่าหมู่สงฆ์เรา กระทำการยกเลิกสิกขาบทใด จะเป็นการครหาแก่คฤหัสว่า สมณศากบุตรประพฤติสิกขาบทเฉพาะเวลาที่พระองค์ทรงมีพระชนมชีพเท่านั้นเป็นดั่ง "ชั่วกาลแห่งควันไฟ" คือประพฤติสิกขาบทเฉพาะสมัยพระองค์เท่านั้น สงฆ์จึงมีมติจะไม่ถอนสิกขาบทใดเลยตั้งแต่นั้นและเป็นต้นเค้าแห่งนิกายเถรวาทสืบมา  ขยายความส่วนนี้  อันว่าศีลภิกษุแยกออกเป็น 2 ลักษณะคือ


 1. ศีลที่เป็นพื้นฐานของพรหมจรรย์คือ ข้อการปฏิบัติ และไม่พึงปฏิบัติ เพื่อมรรคผลนิพพาน 150 ข้อ

2. ศีลที่เป็นมรรยาทอันดี อีกมากมายแต่ยกเอามาในปาติโมกข์   77 ข้อ รวมเป็น 227 ข้อ   ฉะนั้นในปัจจุบันจึงอาจมีผู้เข้าใจผิดได้ว่าศีลพระ      ภิกษุสงฆ์มีเพียง 227 ข้อ หรืออาจเข้าใจผิดว่า ภิกษุศีลทั้ง 227 ข้อเป็นศีลหลัก


พระพุทธเจ้าตรัสว่า (คารวสูตรที่ ๑ เล่ม ๑๔ อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต)
ดูกรภิกษุทั้งหลายข้อที่ภิกษุผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ไม่มีความประพฤติเสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
อภิสมาจาร(หลายพันข้อ)ถ้าไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จะรักษาอธิพรหมจริยกาสิกขา (150 ข้อ)
อาทิพรหมจริยกาสิกขาถ้าไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จะบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์ได้
ธรรมของพระเสขะไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้
รักษาศีลขันธ์ไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
สัมมาทิฏฐิไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีสัมมาสมาธิให้....ยังมีต่อ

วิเคราะห์คำตอบผ่านพระสูตรดังกล่าว พระพุทธองค์ทรงกล่าวลำดับแห่งภูมิธรรมไว้ชัด และเน้นลำดับท้ายว่า เรื่องสัมมาปฏิบัติที่จะเข้าถึงได้ ต้องมีพื้นฐาน ที่แน่นหนาชัดเจน และสะท้อนให้เห็นอีกฝั่งคือมิจฉาปฏิบัติ ไม่ใช่จะอะไรก็ได้ เปลี่ยนแปลงกันตามความเห็นที่คิดว่าเหมาะสม เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัยหรืออื่นๆ จึงกลายเป็นเรื่องกร่อนพุทธพจน์ในที่สุด แต่ถึงกระนั้น การเป็นอยู่ของมหานิกายปัจจุบันทั่วโลกเข้าใจจุดนี้ว่า เขารับสัทธรรมแบบปฏิรูป และจิตสำนึกเขาเหล่านั้น ก็รับแบบตามกันมา พระมหายานส่วนมากไม่มีโอกาสที่จะพบกับ พระสัทธรรมแบบเถรวาท และคิดว่าแค่นั้นพวกท่านเหล่านั้นพอแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ในแง่ปัจจุบันคือปรับเข้าได้และเพิ่มจำนวนสมาชิกได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำลาย พระสัทธรรมไปในตัว

          พุทธองค์ตรัสอีกแห่งว่าผู้ไม่มีความละอายเรียกว่า "อลัชชี" ในปัจจุบันพุทธศาสนิกขน ส่วนใหญ่อาจเข้าใจได้ว่า  อลัชชีคือ  ผู้ต้องปาราชิกซึ่งไม่ถูกต้อง  อลัชชีในความหมายตามพุทธดำรัสนั้นหมายถึง  ภิกษุที่ประเภททำทองไม่รู้ร้อน ในการไม่เคารพสิกขาบท คือประพฤตินอกคำสอน นอกวินัยจนเคยชิน

คำถามต่อมาคืออาบัติระดับใดที่เพิกเฉยแล้วเรียก อลัชชี  ? ก็ต้องตอบว่าในทุกสิกขาบทหลักพร้อมด้วยอนุบัญญัติหรือข้อยกเว้นต่างๆพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ”อลัชชีแม้หนึ่งรูปก็สามารถทำให้ภิกษุทั้งร้อยเป็นอลัชชีได้”   เมื่อลองมาดูชีวิตจริงของพระภิกษุ

           ยกตัวอย่างที่พระต้องพบทุกวัน  ถ้าไม่มั่นใจจริงๆ  ระหว่างหมู่คณะแล้ว อึดอัดมาก   เช่น  พระ ก รับเงินไว้และซื้อของด้วยเงิน   พระ ข ไม่รู้มาร่วมบริโภคใช้สอยด้วย   พระ ข โดนอาบัติไปด้วย   ท่านปรับอาบัติทุกๆ ย่างก้าว  อีกตัวอย่าง พระ ก  รับประเคนของมาผิดวิธี ไม่เห็น ไม่รู้ และฉันของนั้นๆด้วย อาบัติไปด้วยเช่นกัน  แล้วท่านปรับทุกคำกลืน คือ 1 กลืน 1 อาบัติ ที่ยกมาเป็นอาบัติที่อยู่ในศีลอันเป็นพื้นของพรหมจรรย์ หากหมู่สงฆ์อยู่กันอย่างพร้อมเพรียงท่านน่ารัก น่าเคารพนับถือมาก  และพร้อมกันนั้นท่านจะรักสามัคคีกันยิ่งกว่าเพื่อนตาย เพราะท่านจะ ดูแลอาบัติให้กันและกันด้วย

         ปัจจุบันที่เห็นส่วนใหญ่เอาแต่สำคัญผิดว่า พรรษามากหน่อยก็ทำงาน พระศาสนาในแง่การเผยแผ่พระศาสนา  ในความเป็นจริงตามพุทธเจตนาแล้ว  ท่านไม่ต้องทำการเผยหรอก  ท่านประพฤติตามคำสอน ให้ชัดเจนนั้นเป็นการเผยแผ่เชิงคุณภาพอย่างชัดเจน  เมื่อผลเกิดแล้วค่อยเผยแผ่ หากไม่ปฏิบัติตามยังดำรงตนเป็นอลัชชีอยู่   เป็นการทำลายพระศาสนาทางอ้อมเสียมากกว่า   อย่านึกว่าในปัจจุบันไม่มีพระลัชชี (ผู้ทีมีความละอาย) มีอยู่อย่างแน่นอน

           พวกเราท่านทั้งหลายคงเคยเห็นในหลวงถวายทาน  ในซองที่พระองค์ถวายไม่ใช่เงิน แต่เป็นใบปวารนา พระบางท่านก็อาจจะกล่าวได้ว่า “รับใบปราวนาก็ผิดเหมือนกันสู้รับตรง ๆไปเลย บริสุทธิ์ใจดี”  นั้นว่าไปนั้น กรรมจริงๆ เหตุเพราะศึกษาน้อยถึงแม้จะมี ดีกรีสูงสุดทางภาษาบาลีหรือจบดอกเตอร์ทางพุทธศาสนาหากไม่ละอายในสิกขาบท  ก็ยังจัดได้ว่าศึกษาน้อยเพราะคำว่า  ศึกษา  ในความหมายของพระผู้มีพระภาคนั้นกินเนื้อความ รวมถึงภาคปฏิบัติ  อันมีศีลเป็นเบื้องแรก หากจะพิจารณาอย่างแยบคายแล้วต้องวิเคราะห์ตัวบท    ขอยกมาอธิบายในที่นี้เลยวินัยสิกขาบทข้อนี้คือ "ภิกษุใดรับก็ดีให้รับก็ดี ซึ่งทองเงินหรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี  เป็นอาบัติปาจิตตีย์ (1ใน150) "  ขยายความดังนี้   

1.รับเอง       2.ใช้ให้รับ        3.ไม่รับเองและไม่ใช้ให้คนรับแต่ยินดีในเงินทองที่เก็บไว้ให้



           ทั้ง 3 ข้อเข้าข้อใดข้อหนึ่งเป็นอาบัติปาจิตตีย์  ท่านที่รับใบปวารนา ท่านต้องสำรวมจิตไม่ให้เป็นอาบัติ  ครูอาจาร์ ท่านจึงสอนให้ทิ้งจิตไปที่  ของที่จะได้มาจากเงินนั้นแทน   เพื่อกันอาบัติและ ข้อสำคัญอีกข้อ  บางท่านบอกไม่เห็นเป็นอะไรปลงอาบัติเอา ในเรื่องการปลงอาบัตินั้น  หากท่านเป็นอาบัติเดียวกันรับปลงให้กันไม่ได้(สภาคาบัติ)   บางที่ถ้าไม่แน่ใจ  ท่านต้องส่งพระ 1 รูป  ไปปลงกับพระต่างวัดแล้วกลับ มาวัดเดิมเพื่อชำระศีลของทั้งหมู่คณะ ก่อนฟังปาติโมกข์ทุกครึ่งเดือน

            หากไม่ทำอย่างนั้นในปาติโมกข์ท่านจะถามทุกรูปเป็นบาลีครับว่าท่านยัง บริสุทธิ์ดีอยู่หรือ ?หากไม่บอกว่ายังติดข้อไหนอยู่ก็เข้าข่ายโกหกแล้วจะปฏิบัติหาความสงบที่ไหนละ เมื่อเป็นดังนั้นท่านจะระวังพระจากที่อื่นมาก ว่าหากศีลไม่เสมอกันเข้ามาแล้วหมู่สงฆ์จะเดือดร้อนจึงดูเสมือนท่านจิตใจคับแคบ หรือยกตนข่มท่านในบางครั้งซึ่งมีมูลเหตุ  และหากท่านเหล่า นั้นทราบว่ามีศีลเท่าเทียมกันท่านจะให้การต้อนรับและปฏิสัณฐานตามวินัยข้อที่ทรงบัญญัติไว้ในเรื่องการ ดูแลกันและกันอย่างงดงาม ไม่เชื่อท่านที่คิดว่ามีสภาพยกตนข่มท่านลองปฏิบัติดูทำที่วิถีของตนก่อน 




                                        



Create Date : 13 พฤษภาคม 2553
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2554 11:08:33 น. 2 comments
Counter : 3733 Pageviews.

 
สาธุ โมทนาด้วยครับ


โดย: chiwat IP: 58.9.136.214 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2553 เวลา:6:03:34 น.  

 
สาธุ


โดย: chiwat IP: 58.9.154.211 วันที่: 17 ธันวาคม 2553 เวลา:5:53:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

aero.1
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




การศึกษาทางโลก
รบ. ธรรมศาสตร์ 2536(นักศึกษาทุนภูมิพล)

การศึกษาทางธรรม
-สัทธิวิหาริก สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 พศ 2535
-พระเจ้าหน้าที่เวรดูแลพระอาการ สมเด็จญาณสังวร
-อดีตพระป่า(หนองป่าพง)
-ประธานรุ่นนักศึกษาภาคมหาบัณฑิตมหามกุฏราชวิทยาลัย 2546

.

**************************
Friends' blogs
[Add aero.1's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.