>>>        ชาวพุทธแท้ หรือชาวพุทธในทะเบียนบ้านต่างกันอย่างไร ?       อลัชชีคืออะไร ?        เงินกับพระอย่างไรเหมาะควร ??        กรรมของชาวไทย ปัจจุบันและวิธีแก้ไข            หนทางสู่การปฏิบัติ            อานาปานสติอย่างที่ท่านเข้าใจจริงหรือ ?และFAQ อานาปานสติ
-การประดิษฐานและการรักษาพระสัทธรรมในประเทศไทย

            แผ่นดินใหม่พุทธธรรมฝ่ายเถระวาทที่เหลืออยู่ในโลกอย่างชัดเจนก็คือแถบบริเวณประเทศไทย พม่านี้เท่านั้นโดยมีการแลกเปลี่ยน กันทำสังฆกรรม เพื่อความคงไว้ซึ่ง ธรรมวินัย แท้ๆ ยกตัวอย่างเช่นกรณีประเทศศรีลังกาที่ได้กล่าวมาแล้ว ไทยกับพม่าหรือมอญก็เช่นกันหลังจากศึกสงครามเมื่อพระไตรปิฎกเสียหายก็หาจากแหล่งดังกล่าวมาเติม ในสมัยเสียกรุงครั้งที่ 1 ไม่ถูกเผาทำลาย การจัดการจึงไม่ยุ่งยากเท่าไร โดยมีวิธีอิงความบริสุทธิ์ในการแก้ไข 2 สถาน คือ

1. ความคงที่มาของพระไตรปิฎกให้ดั่งเดิมที่สุดเท่าจะทำได้
2. ความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ที่เป็นองค์กำเนิดรุ่นต่อๆไป งานหลังนี้ค่อนข้างหนักครับเพราะไม่รู้ใครเป็นใคร ดีชอบอย่างไรดูที่ไหน ก็ต้องใช้ผู้ชำนาญพิเศษ เฉพาะทางมาพิสูจน์กัน


            มีเรื่องบันทึกไว้ว่า พระเจ้าตากหลังจากทรงกอบกู้เอกราชได้แล้วนั้นได้ทรงโปรดให้มีการทำสังคยานาพุทธธรรมครั้งใหญ่ในต้นรัชกาล จากการที่ก่อนเคยผนวชอยู่ 3 พรรษา และพร้อมกับปฏิบัติไปด้วยในขณะที่เกิดศึกประชิดเมืองกรุงศรีอยุธยาใกล้แตกนั้น การต้านทัพพม่าในหัวเมืองบางแห่งนิมนต์พระ เป็นผู้นำการต่อต้านข้าศึกและอาจฆ่าคนหรือสั่งให้ฆ่าไปบ้าง จึงทรงให้จัดนำพระอุปัชฌาย์ทั่วประเทศเข้าเฝ้า และดำรัสว่าหากท่านใดรูปใดหมดจากความเป็นพระแล้วให้บอกซะตอนนี้ แล้วพระองค์จะเลือกภรรยาให้ พร้อมให้ทำงานในราชการ หากยังยืนยันความบริสุทธิ์ก็ให้อธิษฐานจิต ดำน้ำ จนกว่าจะตีระฆังหากผ่านจนครบเสียงระฆังก็ทรงอนุญาตให้กลับไปดูแลพระศาสนาต่อไป หากไม่ผ่านพระองค์จะลงโทษประหารชีวิต


            เหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงพระราชภาระอันหนักขององค์ศาสนูปถัมภกในประวัติศาสตร์ชาติไทยเราเพื่อดำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ของขอบขัณฑสีมาในบวรพุทธศาสนาจากนั้นในรัชสมัยพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อๆมาก็ทรงโปรดให้มีการทำสังคายนาอยู่ เสมอเพื่อให้คงความบริสุทธิ์ของพระสัทธรรมไว้แต่ในส่วนขององค์คณะสงฆ์น้อยครั้งมากที่จะมีการจัดการเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากและไม่มีวิธีการที่ชัดเจนในการจัดการ นอกจากต้องอาศัยผู้ที่มีความแตกฉานทั้ง การศึกษา และปฏิบัติพร้อมผลของการปฏิบัติที่ชัดเจนตามคำสอน


             อนึ่ง ในเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมานั้นมีเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษคือ ตัวภาษาที่ใช้บันทึกพระสัทธรรม อันว่าพุทธองค์ทรงใช้ภาษาบาลีในการอธิบายธรรม จะอธิบายสักเล็กน้อยในภาษาบาลีนั้นเป็นภาษาที่ตาย กล่าวคือเป็นภาษาที่ไม่มีตัวอักษรใช้เขียน มีเพียงภาษาพูดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในครั้งพุทธกาลเท่านั้น
พระพุทธองค์จึงใช้ภาษานี้ในการอธิบายพระสัทธรรม อีกทั้งเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ชัดเจนมากความคลาดเคลื่อนของความหมายที่เกิด จากการกร่อนทางภาษาจึงมีน้อยมาก จึงเป็นผลดีอย่างมากในการรักษาสืบทอดพระสัทธรรมคำสอนสืบจนปัจจุบัน ในสมัยพุทธกาลนั้นใช้วิธีท่องจำพระธรรมถ่ายทอดโดยการบอก ท่อง บ่น จัดแยกเป็นหมวด หมู่ชัดเจน หลังจากพุทธปรินิพพานเล็กน้อย ได้มีการสังคายนาและจารึกเป็นหนังสือขึ้นโดยใช้อักษรจากภาษาอื่นมาเทียบ เสียง เช่น เอาอักษร เทวนาครี มาใช้


            เมื่อพระสัทธรรมถึงประเทศเราในสมัยนั้นซึ่งเป็นยุคชนชาติขอม ครองแผ่นดินนี้อยู่จึงนำเอาอักษรขอมมาเทียบเสียงในภาษาบาลี ขอยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ เช่น เอาอักษรอังกฤษ เทียบเสียงบาลี คำว่า นะโมตัสสะ ก็จะได้ว่า Namo Tussa จะเห็นได้ว่าทำความเข้าใจยากมากไทยเราใช้รูปแบบลักษณะนี้มาตั้งแต่เริ่มมี พระสัทธรรมเข้ามา


            ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการที่จะเรียนรู้ธรรมในพระไตรปิฎกได้นั้น จึงต้องเป็นผู้รู้ในภาษาอย่างน้อยๆ 3 ภาษาคือ 1. รู้ภาษาไทยอ่าน ออก เขียนได้ 2.รู้ภาษาขอมชัดเจนอ่านออกเขียนได้ 3. รู้ภาษาบาลีเมื่อผสมอักษรขอม แล้วอ่านออก เขียนได้ ฉะนั้นผู้ที่จะเข้าใจพระไตรปิฎกในสมัยก่อนได้จึงมีน้อยมาก ลำพังภาษาไทยเองผู้อ่านออกเขียนได้ก็ไม่มาก จึงต้องเป็นผู้มีภูมิรู้ชั้นสูงมากๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชนชั้นราชวงศ์ หรือหากไม่ใช่ก็จะได้รับแต่งตั้งบางทีก็สถาปนา ขึ้นเป็นชั้นต่างๆ เช่น หลวงพ่อทวด ๆ ครั้นได้ข่าวการแต่งตั้งเป็นสังฆราชองค์ท่านจึงหนีเข้าป่าแถบภาคใต้ไม่ขอรับตำแหน่ง สมเด็จโตพรหมรังสีหนีเข้าป่าแถบอีสานเหนือจนในหลวงรัชกาลที่ 4 ตามกลับมาด้วยวิธีให้ส่งตัวพระที่รูปลักษณะคล้ายองค์ปู่โตเข้ามาพระนคร จนกระทั่งหลวงปู่เห็นว่าเป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่หมู่สงฆ์จึงกลับเข้ามา จำพรรษาในพระนครตั้งแต่นั้น


         พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เช่นกันพระองค์ประสูติภายใต้ร่มเศวตฉัตรในพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงเป็นเจ้าฟ้าพระองค์ต้นที่จะขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา ขณะสิ้นรัชสมัยรัชกาลที่ 2 นั้น พระองค์ทรงพระเยาว์อยู่มาก จึงมีการสรุปตกลงกันของราชนิกุลและผู้มีอำนาจในสมัยนั้น กราบทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา เสด็จขึ้นครองราชย์แทนเจ้าฟ้ามกุฎ(รัชกาลที่4) จึงทรงออกผนวชเป็นเณรน้อยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ณ วัดมหาธาตุใกล้บรมมหาราชวัง ครั้นเมื่อเข้ามาศึกษาก็ทรงร่ำเรียนด้วยความแตกฉานอย่างรวดเร็ว ใน 3 ภาษาที่เป็นพื้นดังที่กล่าวข้างต้นโดยคณาจารย์ชั้นครูระดับประเทศ


            ใช้เวลาทรง เรียน 3 ปีจึงสามารถอ่านพระบาลีเข้าพระทัย ขณะทรงเป็นเณรน้อยนั้นเอง ทรงศึกษาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จวบจนกระทั้งพระชันษาครบบวช จึงทรงผนวชเป็นภิกษุสงฆ์และย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดราชาธิวาส เพื่อให้เหมาะแก่การปฏิบัติเพราะวัดราชาในสมัยนั้นมีสภาพเป็นวัดป่า ในขณะนั้นเองทรงมีพระดำริว่า ทำไมพระสงฆ์ในขณะนั้นจึงประพฤติหรือมีความเป็นอยู่ไม่เหมือนในพระไตรปิฎก(ใน สมัยนั้นพระยังไม่จับหรือรับเงิน ทอง ความประพฤติจึงเป็นเรื่อง อื่นๆ) และทรงเริ่มหาภิกษุที่จะให้ความชัดเจนในเรื่องนี้โดยทั่วแคว้น มีโอกาสก็ออกจาริกไปเพื่อดูความเป็นอยู่ของพระในถิ่นไกลๆ

            ซึ่งในสมัยนั้นการเดินทางเต็มไปด้วยภยันตราย นานาประการ โดยการนั้นทรงพบสมบัติคู่แผ่นดิน เช่น หลักศิลาจารึก พระพุทธรูปองค์สำคัญของประเทศหลายๆ องค์ องค์พระปฐมเจดีย์ และทรงตั้งปณิธาน อธิษฐานจิตว่า จักต้องหาให้พบหมู่สงฆ์หมู่ใดที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบศึกษาลงลึกถึงศีลละเอียดรวมทั้งธุดงควัตร 13(ข้อวัตรเด็ดขาด13ข้อเพื่อการบรรลุธรรม) จากการที่ทรงหาหมู่สงฆ์อยู่นั้นพระองค์ทรงผนวชซ้ำ(ทัฬหีกรรม; บวชซ้ำเพื่อทำให้มั่นใจ)อยู่ 4 ครั้ง จนกระทั้งมีพรรษาใกล้ 10 โปรดให้มีการขุดลูกนิมิต แห่งวัดราชาขึ้นมาดูว่าผูกถูกต้องตามพุทธพจน์หรือไม่


            การทรงพิสูจน์ เพื่อคงไว้ซึ่งความบริสุทธิแห่งพุทธดำรัสในครั้งนั้น ปรากฏผลว่าอุโบสถนั้นผูกนิมิตไม่สมบูรณ์ซึ่ง วิธีบวชตามพุทธานุญาติที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งบันทึกไว้ชัดเจนว่าการบวชนั้นๆ ไม่สมบูรณ์ จึงทัฬหีกรรมอีกครั้งกับคณะสงฆ์เชื้อสายมอญ ณ อุโบสถกลางน้ำที่จัดทำเพื่อการนี้โดยเฉพาะ(ถือว่าเป็นอุโบสถที่บริสุทธิ์ ที่สุด) หน้าท่าน้ำเจ้าพระยาวัดราชาธิวาสนั้นเอง จากนั้นจึงเห็นว่าการจะอยู่วัดราชาต่อแล้วปฏิบัติที่แตกต่างจากพระยุคนั้น จะเป็นการไม่สะดวกแก่การประพฤติ


            อีกทั้งพระเถระ(10พรรษาขึ้น)มหาเถระ(20พรรษาขึ้น)ในวัด ที่พรรษามากกว่าพระองค์ก็มาก จึงมีพระดำริหาอารามเพื่อศึกษาตามแนวที่พระองค์ศึกษามาจากพระไตรปิฎก จึงทรงย้ายมาวัดรังสีบริเวณบางลำพู แล้วทรงตั้งชื่อใหม่ว่า วัดบวรนิเวศวิหาร อันมีความหมายว่า ที่พักของวังหน้า(ชั้นยศรองจากพระเจ้าแผ่นดิน) เมื่อเสด็จมาประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศได้มีคณะสงฆ์ที่ติดตามมาด้วยความ เลื่อมใสในแนวทางพร้อมกับ ราชนิกุล ข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ตามมาผนวชกับพระองค์โดยพระองค์ทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ ให้ด้วยพระองค์เองและทรงนำประพฤติปฏิบัติ โดยทรงขนานนามคณะสงฆ์นี้ว่าคณะธรรมยุติ


            ธรรมยุติในความหมายดั่งเดิม มีความหมายว่าคณะที่ใช้ธรรมเป็นข้อยุติ มีจุดประสงค์เพื่อปฏิบัติตามแนวพระไตรปิฎกที่สืบต่อกันมาตามสาย พุทธวงศ์นิกายเถรวาทที่มีเจตนาไม่เปลี่ยนคำสอนเดิม ซึ่งเป็นการขัดแย้งอย่างรุนแรงในสมัยนั้นจะด้วยการไม่ได้ศึกษาประวัติกำเนิด เถระวาทหรืออย่างไรไม่ทราบพระในสมัยนั้นส่วนใหญ่จึงเห็นว่าพระธรรมวินัยใน สมัยนั้นไม่สามารถปฏิบัติตามได้ บางเหล่าบางบุคคลที่ศึกษาน้อยยังกล่าวว่าพระองค์ทำสังฆเภทหรือการยุยงให้ สงฆ์แตกกัน แต่ด้วยความที่เป็นหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์และทรงกระทำด้วยความรู้จริง เหตุการณ์จึงไม่รุนแรงมากนักจะเห็นได้ว่าพระองค์ไม่มีเจตนาในการแยกนิกาย สงฆ์


            นับจากทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารพระองค์ผลิตบุคคลากร ทางพระศาสนามากมายโดยทรงให้พระภิกษุที่บวชโดยพระองค์เมื่อมีพรรษามากขึ้น ก็ทรงให้ครองวัดอื่นโดยรอบและพร้อมกันนั้นทรงโปรดให้สร้างวัดขึ้นอีกหลายวัด พระองค์ทรงเห็นว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะสืบต่อพระศาสนา เพราะหากมีผู้รู้หนังสือมากก็จะสามารถเรียนรู้หรือถ่ายทอดตามคำพุทธพจน์ได้ สะดวกและตรงแนวทางขึ้น จึงทรงโปรดให้มีการเรียนสอนหนังสือในวัดขึ้น ซึ่งจัดว่าเป็นระบบการศึกษาครั้งแรกในประเทศและยังมีงานอื่นอีกมากที่ทรง ประทานแก่ประเทศชาติและพระศาสนาจวบจนสิ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการอาราธนาให้ลาสิกขาบทเพื่อขึ้นครองราชย์ โดยมีภิกษุพรรษา 27 พระชนมายุ 47 พรรษา


             หลังจากขึ้นครองราชย์พระองค์ได้ทรงสืบสานงานเก่าขณะทรงผนวชโดยเฉพาะเรื่อง การศึกษา ทรงให้กำเนิดโรงเรียนในราชสำนัก ทรงให้มีการเรียนสอนภาษาอังกฤษ แก่บรรดาเจ้าฟ้า และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพื่อประโยชน์ในการเจรจาบ้านเมือง โดยเฉพาะการวางแผนหาทางออกเรื่องการกำหนดท่าที่ต่อการล่าอาณานิคมของประเทศ ทรงอำนาจ ซึ่งเป็นอันตรายใหญ่ในการรักษาพระพุทธธรรม และแผนในการกระจายการศึกษาออกไปทั่วประเทศในนามคณะสงฆ์ไทย พร้อมกับเริ่มแปลงอักษรขอมในพระไตรปิฎกให้เป็นอักษรไทย(แล้วเสร็จในรัชสมัย รัชกาลที่ 5) จึงทำให้การเรียนรู้พระธรรมคำสอนสะดวกขึ้น หลักจากพระไตรปิฎกชุดนี้ออกไปทั่วประเทศ 1000 ชุด เมล็ดพันธุ์แห่งผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบจึงเริ่มกำเนิดขึ้น


            ลุถึงในปี พ.ศ.2413ได้เกิดบุคคลที่มีคุณูปการต่อพระสัทธรรมขึ้น คือหลวงปู่มั่น เมื่อถึงอายุครบบวช องค์ท่าน ได้ออกบวชราวปีพ.ศ.2433 และเป็นผลผลิตเอกอุชัดเจนในแนวทางเถระวาทที่แน่วแน่ในการประพฤติ พรหมจรรย์ ทั้งสิกขาบทและธุดงควัตร กล่าวคือเพียบพร้อมทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จัดเป็นผลผลิตโดยตรงของในหลวงรัชกาลที่4 ทั้งในแง่ของพระไตรปิฎกทีศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น และสายสืบวงศ์การบวชจากพระองค์โดยตรง เป็นแม่ทัพธรรมในยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง ในขณะที่องค์ท่านไม่ได้เป่าประกาศให้เผยแผ่พระศาสนาเยอะๆมากๆนานนนๆ แต่หากองค์ท่านทำที่ตนพระองค์เองก่อน


            เมื่อพร้อมแล้วจึงสงเคราะห์หมู่สงฆ์ ตามธรรมและวินัยอันเป็นการเผยแผ่พระสัทธรรมอย่างแท้จริงการศึกษาพระไตรปิฎก ในปัจจุบันนี้ เริ่มจากการแปลออกเป็นภาษาไทยความหมายไทยฉบับสมบูรณ์เมื่อประมาณ 50 กว่าปีมานี้ ปัจจุบันนี้ พ.ศ.2549 พระไตรปิฎกมีการแปลออกเป็นภาษาไทยแล้ว การศึกษาง่ายกว่าสมัยก่อนมาก อีกทั้งระบบการค้นหาก็สะดวกคล่องตัวมากจะขาดแคลนก็แต่บุคคลที่ศึกษาและ ปฏิบัติตามเท่านั้นที่ดูแล้วน่าจะเพิ่มมากขึ้นมากกว่านี้และเป็นกำลังให้พระ ศาสนาต่อไปและช่วยกันลดจำนวนอลัชชีในพระศาสนาให้ลดลงโดยให้ความสำคัญเชิง คุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ


            การศึกษาพระสัทธรรมคำสอนนั้น หากเราท่านทั้งหลาย ทราบถึงความเป็นไปโดยรวมของการพัฒนาและดำรงอยู่ของพระสัทธรรมแล้ว จะทำให้ทราบตำแหน่งแห่งที่ของหนทางดำเนินในแนวพุทธว่ามีการปฎิรูปไปในทิศทาง ใดบ้าง พร้อมกับเห็นคุณค่าของสิ่งมีคุณค่าสูงสุดที่ชาวไทยทั้งหลายมีอยู่ คือการดำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ของพระสัทธรรมและเหล่าบริสุทธิสงฆ์ อันไม่สามารถหาได้อีกแล้วจากสถานที่อื่นในสากลจักรวาล และเมื่อทราบภาพโดยกว้าง โดยภาพรวมแล้ว จึงสามารถศึกษาเจาะลงให้ชัด, ตรงในคำสอนอันบริสุทธิ์ต่อไป


            จากการที่หลายท่านได้อ่านบทความนี้ คงได้ประโยชน์จากเจตจำนงค์ดังกล่าวนั้น และเป็นการไม่ยากที่จะเขียนให้สั้น ๆ สรุป ๆ หากแต่ประโยชน์อันพึงได้รับจากการอ่านคงเฉพาะผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว หรือผู้ที่คิดว่ารู้แล้วเท่านั้น ซึ่งจากการที่ได้พรรณนามานี้ก็หวังว่าท่านผู้อ่านจะทราบถึงที่ไปที่มาของ เรื่องราวความเป็นมาของการรักษาไว้ซึ่งพระสัทธรรมบริสุทธิ์ในยุคต่างๆเพื่อจะได้นำ ไปเป็นส่วนประกอบในการศึกษาพระสัทธรรมให้ยิ่งขึ้นไปและพร้อมกันนั้นแสดงให้ เห็นมูลเหตุ ของจุดผกผันของพระศาสนาในยุคต่างๆเพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งที่ยืนในพระศาสนา ว่าเราท่านทั้งหลายอยู่ตรงส่วนใดของพระศาสนาเพื่อประโยชน์ในการกำหนดท่าที ว่าการเป็นชาวพุทธของเราท่านทั้งหลายนั้นชัดเจนเพียงใดและมีทางออกของพุทธ ศาสนิกชนร่วมกันคิดร่วมกันสร้างความสามัคคีของชนในชาติอย่างไรโดยไม่ให้ กระทบต่อการทรงไว้ซึ่งแนวทางการศึกษาตามพระไตรปิฎกฉบับเถระวาทซึ่งเป็นเบ้า หลอมวัฒนธรรมของชนในชาติมาอย่างยาวนาน


บทที่ 1 จบ



                                                



Create Date : 13 พฤษภาคม 2553
Last Update : 3 ธันวาคม 2553 18:19:04 น. 0 comments
Counter : 1154 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

aero.1
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




การศึกษาทางโลก
รบ. ธรรมศาสตร์ 2536(นักศึกษาทุนภูมิพล)

การศึกษาทางธรรม
-สัทธิวิหาริก สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 พศ 2535
-พระเจ้าหน้าที่เวรดูแลพระอาการ สมเด็จญาณสังวร
-อดีตพระป่า(หนองป่าพง)
-ประธานรุ่นนักศึกษาภาคมหาบัณฑิตมหามกุฏราชวิทยาลัย 2546

.

**************************
Friends' blogs
[Add aero.1's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.