bloggang.com mainmenu search


อาการปวดเมื่อยและวิธีการบรรเทาอาการเบื้องต้น

ทั่วๆไปแล้วอาการปวดบ่า กระบอกตา คอ หลัง หน้าขา(สะโพก) และน่อง เป็นอาการที่พบได้บ่อย เรามาลองดูสาเหตุและการบรรเทาอาการเหล่านี้กัน

เมื่อ ขับรถต้องใช้สายตามากไม่สามารถพักสายตาได้ ต้องเพ่งและมองไปข้างหน้าตลอด ถ้าหากแสงแดดจ้าก็จะทำให้ตาต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันการเพ่งสายตามีผลต่อท่าทางของคอ คือคอต้องตั้งตรงนานๆ ย่อมมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อคอ ทำให้กล้ามเนื้อคอทำงานหนักและเกิดอาการล้าได้

การเมื่อยล้าของคอส่งผลต่อการบีบรัดเส้นประสาทโดยเฉพาะที่ฐานกะโหลกด้านหลังทำให้ปวดศีรษะและกระบอกตาได้




วิธีการแก้ไขปัญหาปวดกระบอกตาและล้าของตาคือ ต้อง ใส่แว่นปรับสายตาหากมีปัญหาเรื่องสายตาสั้นหรือยาว จะทำให้ลดการเพ่งในขณะขับรถและหากขับรถในเวลาที่แดดจัดควรใช้แว่นกันแดด เพื่อลดปริมาณแสงที่อาจทำให้ม่านตาทำงานหนักได้

ขณะ ที่พักรถหรือช่วงติดไฟแดงอาจใช้เวลาเล็กน้อยที่จะมองไปยังต้นไม้ที่มีสี เขียวหรือหลับตาพักสายตาสักครู่ และหากเป็นไปได้การนวดบริเวณต้นคอและบ่า 2 ข้าง จะสามารถลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อบริเวณนั้นส่งผลให้ความรู้สึกล้าลดลงได้

ในขณะขับรถกล้ามเนื้อบ่าจะทำงานเพื่อยกบ่าและแขนในการควบคุมพวงมาลัย หาก การจับพวงมาลัยห่างจากตัวมากจะมีผลทำให้ต้องเอื้อมมือยืดแขนไปข้างหน้า กล้ามเนื้อบ่าและไหล่จึงทำงานมากขึ้นอีกและทำให้เกิดอาการเมื่อยล้ากล้าม เนื้อบ่าและเกิดกล้ามเนื้ออักเสบได้ในที่สุด ซึ่งสามารถตรวจได้โดยการคลำกล้ามเนื้อนั้นๆ จะพบลำหรือปมแข็งในกล้ามเนื้อ เมื่อกดก็จะมีอาการเจ็บและร้าวได้

ดัง นั้นการปรับระยะและความสูงของพวงมาลัยเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ต้องเข้าใจว่าในขณะขับต้องทิ้งน้ำหนักแขนส่วนหนึ่งไว้ที่พวงมาลัย ไม่เกร็งแขนและไหล่ตลอด การเกร็งและยกแขนนี้อาจทำให้การควบคุมพวงมาลัยทำได้ยากกว่าที่ควรจะเป็น

อย่างไรก็ตามคุณสามารถลดอาการตึงและปวดเมื่อยบ่านี้ได้โดยการหมุนไหล่แบบกายบริหารของ เด็กๆ ที่หมุนไหล่มาข้างหน้าและย้อนกลับหลัง โดย ทำเมื่อหยุดพักหรือหากเมื่อยในขณะขับรถท่านสามารถทำการแบะไหล่ไปด้านหลังและ แอ่นตัวมาข้างหน้าหรือทำการหมุนไหล่ข้างเดียวได้ โดยพิจารณาถึงความปลอดภัยในขณะขับขี่เป็นหลัก




สำหรับ อาการปวดเมื่อยหลังเกิดขึ้นได้เนื่องจากท่านั่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูก สันหลังมีแรงกด มากกว่าท่าอื่นๆ แม้ว่าจะมีเบาะพนักพิงก็ตาม แต่หลังที่อยู่ในลักษณะโค้งงอ ย่อมส่งผลต่อแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลัง โดย มีแรงกดด้านหน้าหมอนรองกระดูกมากกว่าด้านหลัง หมอนรองกระดูกจึงมีแนวโน้มที่จะปลิ้นไปทางด้านหลังและอาจเกิดปัญหาของหมอน รองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทได้ เอ็นและกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหลังจะถูกยืดมากกว่าเมื่อหลังอยู่ในท่าตรง

ดัง นั้น สิ่งที่ควรทำเมื่อพักรถคือ ค่อยๆ ลงจากรถ ไม่ลุกแบบพรวดพราดและก่อนจะลุกขึ้นควรทำการยืดตัวและแอ่นหลังประมาณ 3-4 ครั้งก่อน แล้วค่อยลุกขึ้น และเมื่อลุกขึ้นแล้วควรทำการยืดหลังและแอ่นหลังในขณะท่ายืนอีก 10 ครั้ง แล้วถึงจะทำการก้มหลังหรือใช้งานหลังได้ตามปกติ เหตุที่ให้ทำเช่นนี้ เพราะว่าเอ็นที่อยู่ด้านหลังเมื่อนั่งนานๆ จะล้า ขาดความยืดหยุ่นตัวและถ้าก้มบิดตัวหรือใช้งานหลังหนักๆ(เช่น การยกของหนัก) การก้มขณะที่จะลุกจากรถ อาจมีผลต่อการเคลื่อนหรือปลิ้นตัวของหมอนรองกระดูกสันหลังได้

หาก เกิดอาการปวดเมื่อยล้าหลังขณะขับรถคุณสามารถนำหมอนเล็กๆ สอดไว้ที่หลังส่วนล่างระหว่างเบาะกับหลังของคุณเพื่อให้หมอนเป็นตัวดันให้ หลังแอ่นตัวเล็กน้อย แต่ไม่ควรนั่งพิงหมอนนั้นตลอด เพราะจะเกิดความล้าต่อหลังได้เช่นกัน

การขับรถเกียร์อัตโนมัติ ความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อหน้าขาและน่องเกิดได้จากการที่ต้องขยับขาเพื่อการ เหยียบเบรกและคันเร่ง

ขณะที่ถ้าขับรถเกียร์ธรรมดาจะมีอาการเมื่อยล้าขาซ้ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเหยียบคลัตช์




การแก้ไขหรือลดอาการปวดขณะขับรถสามารถทำได้โดยการหมุนข้อเท้าจิกปลายเท้า กระดกปลายเท้าขึ้น เหยียดปลายเท้าลงให้สุด โดย สามารถทำกับเท้าข้างซ้ายข้างเดียวในขณะขับรถและหากเมื่อหยุดพักแล้วคุณ สามารถทำการหมุนหรือดัดต่อเท้าข้างขวา รวมทั้งทำการยืดกล้ามเนื้อหน้าขาได้ การยืดกล้ามเนื้อหน้าขาทำได้โดยยืนแล้วพับเข่าไปด้านหลังโดยเอามือช่วยจับ เข่างอเข้ามายังก้น

อย่างไรก็ตามการขยับ เขยื้อนออกกำลังกายแบบนี้เป็นการบรรเทาอาการเท่านั้น และหากทำขณะขับรถให้คำนึงถึงความปลอดภัยในการขับขี่เป็นหลักด้วย

สิ่ง ที่จะต้องทำที่สุดคือ การหยุดพักบ่อยๆ เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ล้างหน้าล้างตาและทำการออกกำลังกายตามที่ได้กล่าวมา หรือทำการบิดขี้เกียจก็ได้ในลักษณะเหมือนการบิดขี้เกียจตอนเช้าก่อนลุกขึ้น มาอาบน้ำ และเมื่อถึงที่หมายแล้ว ควรทำการนอนยกขาสูง โดยการนอนราบกับพื้นแล้วทำการยกขาแบบงอเข่าเล็กน้อยพาดกับเก้าอี้หรือโซฟา เพื่อให้เลือดไหลและน้ำเหลืองไหลกลับได้ง่ายขึ้น และทำให้หลังได้พักตัวลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อหลังได้




ที่มา วิชาการดอทคอม
Create Date :15 ตุลาคม 2553 Last Update :15 ตุลาคม 2553 22:07:16 น. Counter : Pageviews. Comments :2