Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
6 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 

หมวด4 การผลิตยาปราศจากเชื้อ

ข้อ53 ในการผลิตยาปราศจากเชื้อ นอกจากผู้รับอนุญาตผลิตยาจะต้องปฏิบัติตามหมวด3 แล้ว จะต้องปฏิบัติตามในหมวดนี้ด้วย

ข้อ54 การผลิตยาต้องทำในบริเวณที่สะอาดตามข้อกำหนด และการขนหรือเคลื่อนย้ายวัสดุต่างๆ ตลอดจนการเข้าออกของพนักงานให้ผ่านแอร์ล็อค

ข้อ55 การเตรียมวัสดุสำหรับการบรรจุ การผสมยา การบรรจุยาและการทำให้ปราศจากเชื้อต้องดำเนินการในบริเวณที่แบ่งแยกเป็นสัดส่วนและในบริเวณที่สะอาด ซึ่งในบริเวณที่สะอาดนั้นให้แบ่งออกเป็น 4 ระดับ โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้

ปริมาณที่สะอาด         จำนวนอนุภาคในอากาศที่ยอม ให้มีได้สูงสุดในหนึ่งลูกบาศก์เมตร                                                       จำนวนจุลินทรีย์ที่ยอมให้มีได้สูงสุดในหนึ่งลูกบาศก์เมตร 
 ขนาดตั้งแต่0.5ไมโครเมตรขึ้นไป ขนาดตั้งแต่5ไมโครเมตรขึ้นไป 
 ระดับ 1
3500   0 น้อยกว่า 1 
 ระดับ 2  3500  0
 ระดับ 3  350000  2000  100
ระดับ 4   3500000  20000  500

ข้อ56 การควบคุมสภาพความสะอาดในบริเวณที่สะอาด ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
  1. ในบริเวณที่สะอาดระดับ1 ต้องมีความเร็วลมสม่ำเสมอ โดยมีความเร็วลมในแนวดิ่งประมาณ 0.30 เมตรต่อวินาที หรือในแนวนอนประมาณ 0.45 เมตรต่อวินาที
  2. ในบริเวณที่สะอาดระดับ 2 ระดับ 3 และระดับ 4 ต้องมีการหมุนเวียนอากาศในบริเวณนั้นไม่ต่ำกว่า 20 รอบต่อชั่วโมง
ข้อ57 การผลิตยาประเภทที่ทำให้ปราศจากเชื้อหลังการบรรจุ ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
  1. การเตรียมน้ำยาให้ทำในบริเวณที่สะอาดระดับ 3 หรือระดับ 4 ถ้าทำในบริเวณที่สะอาดระดับ 4 ต้องมีมาตรการลดการปนเปื้อนโดยใช้ถังผสมระบบปิด และการบรรจุยาต้องทำในบริเวณที่สะอาดระดับ 1 ซึ่งอยู่ในบริเวณที่สะอาดระดับ 3
  2. การเตรียมและการบรรจุยารูปแบบอื่น เช่น ขี้ผึ้ง ครีม ยาแขวนตะกอน และอิมัลชั่น ต้องทำในบริเวณที่สะอาดระดับ 3 ก่อนนำไปทำให้ปราศจากเชื้อ
ข้อ58 การผลิตยาประเภทที่ทำให้ปราศจากเชื้อโดยการกรอง ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
  1. การเตรียมวัตถุดิบและการผสมยา ให้ทำในบริเวณที่สะอาดระดับ 3 หรือระดับ 4 ถ้าทำในบริเวณที่สะอาดระดับ 4 ต้องมีมาตรการลดการปนเปื้อน โดยใช้ถังผสมระบบปิดก่อนการกรอง
  2. การบรรจุยาให้ทำในบริเวณที่สะอาดระดับ 1 ซึ่งอยู่ในบริเวณที่สะอาดระดับ 2 หรือระดับ 3
ข้อ59 การผลิตยาประเภทที่เตรียมจากวัตถุดิบปราศจากเชื้อโดยใช้วิธีการที่ปราศจากเชื้อทุกขั้นตอนของการผลิต ให้ทำในบริเวณที่สะอาดระดับ 1 ซึ่งอยู่ในบริเวณที่สะอาดระดับ 2 หรือระดับ 3

ข้อ60 ให้มีข้อปฏิบัติเกี่ยวกับพนักงานที่ปฏิบัติงานในสถานที่ผลิตยาปราศจากเชื้อ ดังต่อไปนี้
  1. พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริเวณที่สะอาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างกระบวนการที่ปราศจากเชื้อต้องมีจำนวนน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น
  2. พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริเวณที่สะอาด ซึ่งรวมถึงพนักงานทำความสะอาดและพนักงานซ่อมบำรุงต้องได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับระเบียบวินัย ข้อควรระวังต่างๆรวมทั้งการรักษาสุขอนามัยและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจุลชีววิทยา และต้องจัดให้มีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งมีบันทึกการฝึกอบรมในแต่ละครั้ง
  3. พนักงานจากภายนอกที่ไม่ได้ผ่านการอบรม แต่มีความจำเป็นต้องเข้าไปทำงานในบริเวณที่สะอาดต้องได้รับการดูแลและระมัดระวังเป็นพิเศษ
  4. ให้มีข้อห้ามมิให้พนักงงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวัสดุที่มาจากสัตว์ หรือการเพาะเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปในบริเวณที่ทำการผลิตยาปราศจากเชื้อ
  5. การดูแลรักษาสุขอนามัยและความสะอาดของพนักงานถือเป็นเรื่องสำคัญ ต้องจัดให้มีข้อกำหนดให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยาปราศจากเชื้อต้องรายงานให้หัวหน้าทราบทันที หากมีอาการป่ายหรือผิดปกติ เช่น โรคผิวหนัง ท้องเสีย ไอ หวัด หรือมีบาดแผลซึ่งอาจจะมีการติดเชื้อ
  6. ให้มีข้อห้ามมิให้พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริเวณที่สะอาด สวมใส่นาฬิกาข้อมือ เครื่องประดับและใช้เครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน
  7. ให้มีข้อห้ามมิให้พนักงานนำเสื้อผ้าที่สวมใส่จากภายนอกเข้าไปในบริเวณที่สะอาดและปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการสวมใส่ การเปลี่ยนและทำความสะอาดเสื้อผ้า การที่จะเข้าไปในบริเวณดังกล่าวต้องสวมชุดตามที่กำหนดไว้ การเปลี่ยนและทำความสะอาดเสื้อผ้าให้ปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนด
ข้อ61 ให้มีข้อกำหนดในการสวมใส่ชุดปฏิบัติงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานในบริเวณที่สะอาดในระดับต่างๆ ดังต่อไปนี้
  1. ในบริเวณที่สะอาดระดับ 4 ต้องคลุมผม หนวด เครา สวมรองเท้าและใส่เสื้อคลุมยาว
  2. ในบริเวณที่สะอาดระดับ 3 ต้องคลุมผม หนวด เครา มีผ้าปิดปาก สวมถุงมือยางหรือพลาสติก สวมรองเท้าและใส่ชุดคลุม อาจเป็นเสื้อกางเกงติดกันหรือชุด 2 ท่อน ซึ่งยาวถึงข้อมือและข้อเท้าและปกเสื้อตั้งสูง ชุดที่ใช้ต้องทำจากวัสดุชนิดที่ไม่ปล่อยเส้นใยหรือฝุ่นผง
  3. ในบริเวณที่สะอาดระดับ 1 และระดับ 2 ต้องคลุมผมทั้งหมด สอดปลายผ้าคลุมศรีษะเข้าไปในคอของชุดที่สวม มีผ้าปิดปาก สวมถุงมือยางหรือพลาสติก และสวมรองเท้า ปลายขากางเกงต้องสอดเข้าไปในรองเท้า ปลายแขนเสื้อต้องสอดเข้าไปในถุงมือ ชุดที่ใช้ต้องทำจากวัสดุชนิดที่ไม่ปล่อยเส้นใยหรือฝุ่นผง และสามารถเก็บฝุ่นผงที่ออกมาจากร่างกายของผู้สวมไว้ไม่ให้ออกมาภายนอก ชุดปฏิบัติงานดังกล่าวเป็นชุดที่ทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว
ข้อ62 ให้มีข้อปฏิบัติเกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ดังต่อไปนี้
  1. ให้มีระบบแจ้งเตือนในกรณีที่ความดันอากาศภายในห้องมีความผิดปกติ พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องวัดความแตกต่างของความดันอากาศระหว่างห้องและบันทึกข้อมูลไว้
  2. กรณีที่มีการซ่อมบำรุงอุปกรณ์และเครื่องมือภายในบริเวณที่สะอาด ต้องใช้เครื่องซ่อมบำรุงที่สะอาดและต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณดังกล่าวก่อนที่จะเริ่มกระบวนการผลิต
  3. อุุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ฆ่าเชื้อ ระบบกรองอากาศ ระบบการเตรียมน้ำ ซึ่งรวมถึงเครื่องกลั่นน้ำ ต้องกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษา การตรวจสอบความถูกต้องหลังการบำรุงรักษาและต้องมีการบันทึกเป็นหลักฐานแสดงว่าสามารถนำไปใช้งานได้
ข้อ63 ให้มีข้อปฏิบัติเกี่ยวกับสุขลักษณะของสถานที่ผลิตยาปราศจากเชื้อ ดังต่อไปนี้
  1. ต้องทำความสะอาดบริเวณผลิตยาปราศจากเชื้อเป็นประจำตามกำหนดการที่ได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายควบคุมคุณภาพยา โดยน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ต้องมีมากกว่า 1 ชนิด ให้ใช้สลับกัน และต้องตรวจสอบจำนวนจุลินทรีย์ในบริเวณดังกล่าวเป็นประจำ
  2. ต้องตรวจสอบการปนเปื้อนจุลินทรีย์ในน้ำยาฆ่าเชื้อและน้ำยาทำความสะอาด น้ำยาที่เจือจางแล้วต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด และถ้าต้องการเก็บไว้เป็นระยะเวลานานต้องให้ปราศจากเชื้อก่อน
  3. ในบริเวณที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ทั่วถึง อาจใช้วิธีการรมควันเพื่อลดการปนเปื้อนจุลินทรีย์
  4. ต้องตรวจสอบจำนวนจุลินทรีย์ในอากาศ และบริเวณพื้นผิวในบริเวณที่สะอาดเป็นระยะๆ ในขณะปฏิบัติงาน ในกรณีปฏิบัติงานแบบวิธีการที่ปราศจากเชื้อ ต้องเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบ และบันทึกผลไว้ทุกครั้ง นอกจากนี้ต้องตรวจจำนวนฝุ่นผงของอากาศภายในห้องเป็นประจำ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการตรวจสอบการปนเปื้อนดังกล่าวแม้ไม่มีการผลิต เช่น หลังการตรวจสอบความถูกต้องของระบบต่างๆ หลังจากทำความสะอาดและรมควัน
ข้อ64 ให้มีข้อปฏิบัติในกระบวนการผลิต ดังต่อไปนี้
  1. ห้ามทำการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีจุลินทรีย์ซึ่งมีชีวิตในบริเวณเดียวกับการผลิตยาปราศจากเชื้ออื่นๆ กรณีของวัคซีนซึ่งมีเชื้อตายหรือสารสกัดจากแบคทีเรีย อาจทำการบรรจุในบริเวณที่ใช้ผลิตยาปราศจากเชื้ออื่่นๆ ได้ แต่ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับการทำให้หมดฤทธิ์
  2. การตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการที่ปราศจากเชื้อ โดยใช้วิธีบรรจุอาหารเลี้ยงเชื้อ ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

  3. น้ำดิบ อุปกรณ์เตรียมน้ำ และน้ำที่เตรียมได้ ต้องตรวจสอบการปนเปื้อนทางเคมี ชีววิทยา และ เอ็นโดทอกซินเป็นระยะๆ เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำที่ใช้เข้ามาตรฐานตามที่กำหนด ต้องมีการบันทึกผลการตรวจสอบและการดำเนินการใดๆ ที่เกิดขึ้นทุกครั้ง
  4. การปฏิบัติงานในบริเวณที่สะอาด โดยเฉพาะการปฏิบัติงานแบบวิธีการที่ปราศจากเชื้อต้องมีกิจกรรมและการเคลื่อนไหวของพนักงานให้น้อยที่สุด เพื่อลดการปลดปล่อยฝุ่นผงและจุลินทรีย์ โดยต้องมีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะกับการปฏิบัติงาน
  5. จำกัดการปนเปื้อนจุลินทรีย์ในวัตถุดิบให้มีน้อยที่สุด และมีการกำหนดมาตรฐานปริมาณเชื้อ พร้อมทั้งการตรวจสอบตามความจำเป็น
  6. ไม่นำภาชนะและวัสดุที่ปลดปล่อยเส้นใยเข้าไปในบริเวณที่สะอาด และห้ามนำเข้าไปในบริเวณที่กำลังปฏิบัติงานแบบวิธีการที่ปราศจากเชื้อ
  7. ภาชนะ ถังบรรจุยาและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำความสะอาดแล้ว ต้องดูรักษาอย่างดี เพื่อป้องกันการปนเปื้อน
  8. ช่วงเวลาตั้งแต่ขั้นตอนการทำความสะอาดภาชนะ ถังบรรจุยาและอุปกรณ์ต่างๆ จนถึงการทำให้ปราศจากเชื้อ และช่วงเวลาหลังจากที่ได้ทำให้ปราศจากเชื้อแล้วจนถึงการนำสิ่งของดังกล่าวไปใช้ต้องใช้เวลาน้อยที่สุด โดยกำหนดระยะเวลาภายใต้สภาพการเก็บรักษาที่ผู้รับอนุญาตกำหนด
  9. ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเตรียมน้ำยาจนถึงทำให้ปราศจากเชื้อ ต้องใช้เวลาที่น้อยที่สุด และต้องกำหนดระยะเวลาที่ยอมให้ทิ้งช่วงได้นานที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดไว้
  10. ก๊าซที่นำมาใช้พ่นในน้ำยาหรือแทนที่อากาศในภาชนะบรรจุต้องผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อโดยการกรอง
  11. ป้องกันการปนเปื้อนจุลินทรีย์ในยาระหว่างกระบวนการผลิตให้มีน้อยที่สุดและกำหนดปริมาณเชื้อที่ยอมให้มีได้ก่อนนำไปทำให้ปราศจากเชื้อ ในกรณียาฉีดที่เป็นสารละลายใส ต้องกรองน้ำยาด้วยเครื่องกรองแบคทีเรียแล้วบรรจุทันที
  12. ภาชนะ ถังบรรจุยา อุปกรณ์ และสิ่งอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในบริเวณปราศจากเชื้อ ขณะปฏิบัติงานแบบวิธีการที่ปราศจากเชื้อ ต้องทำให้ปราศจากเชื้อ โดยใช้ตู้อบฆ่าเชื้อแบบเปิดได้ 2 ทาง ที่ฝังเข้าไปในกำแพงหรือผนัง หรือใช้วิธีอื่นที่ไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อน เช่น การห่อ 3 ชั้น
  13. เมื่อมีกระบวนการผลิตใหม่ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิต หรืออุปกรณ์ที่สำคัญให้ตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการผลิต โดยให้ทำการตรวจสอบเป็นระยะๆ
ข้อ65 การทำให้ปราศจากเชื้อ ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
  1. กระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อทุกวิธี ต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง โดยเฉพาะในกรณีที่มีการปรับปรุงวิธีใหม่ซึ่งต่างไปจากตำรายา
  2. ก่อนจะนำวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อใดๆ มาใช้ ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ และประสิทธิผลในการทำให้ปราศจากเชื้อ และต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและบันทึกผลทุกครั้ง
  3. การนำตัวบ่งชี้บอกทางชีวภาพมาใช้ในการตรวจสอบสภาวะการทำให้ปราศจากเชื้อ ต้องระวังไม่ให้เชื้อปนเปื้อนออกมาภายนอก
  4. มีป้ายแสดงชัดเจนระหว่างผลิตภัณฑ์ที่ผ่านและยังไม่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อ โดยระบุชื่อผลิตภัณฑ์ รุ่นที่ผลิต และอาจใช้ตัวชี้วัด เช่น แถบเปลี่ยนสี เพื่อแสดงว่าผ่านหรือยังไม่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อ
ข้อ66 การทำให้ปราศจากเชื้อโดยใช้ความร้อน ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
  1. การทำให้ปราศจากเชื้อแต่ละครั้ง ต้องบันทึกข้อมูลโดยใช้อุปกรณ์ที่มีความถูกต้องและแม่นยำ และแผ่นบันทึกอุณหภูมิและเวลาต้องมีมาตรส่วนที่เหมาะสม โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกการดำเนินการผลิต
  2. ระยะเวลาในการทำให้ปราศจากเชื้อจะเริ่มนับเมื่อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทำให้ปราศจากเชื้อมีอุณหภูมิถึงจุดที่กำหนด
  3. ต้องระวังไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในขั้นตอนที่ทำให้อุณหภูมิเย็นลงหลังจากทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว และของเหลวหรือก๊าซที่นำมาใช้ในการลดอุณหภูมิที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อเสียก่อน
ข้อ67 การทำให้ปราศจากเชื้อโดยใช้ความร้อนชื้น ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
  1. วิธีนี้ให้ใช้สำหรับวัสดุที่เปียกน้ำได้หรือเป็นสารละลายในน้ำ และต้องตรวจสอบทั้งอุณหภูมิและความดันในตู้อบในระหว่างการทำให้ปราศจากเชื้อ ในกรณีที่ต้องใช้ระบบสูญญากาศร่วมด้วยต้องทำการทดสอบการรั่วของตู้อบอย่างสม่ำเสมอ
  2. วัสดุที่ต้องการทำให้ปราศจากเชื้อ ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ซึ่งอยู่ในภาชนะปิดสนิท ต้องทำการห่อหุ้มด้วยวัสดุที่ยอมให้อากาศและไอน้ำผ่านได้ แต่ต้องป้องกันการปนเปื้อนหลังจากทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว ทุกส่วนของวัสดุที่ต้องการทำให้ปราศจากเชื้อต้องสัมผัสกับน้ำหรือ ไอน้ำที่มีอุณหภูมิและระยะเวลาตามที่ผู้รับอนุญาตกำหนด

ข้อ68 การทำให้ปราศจากเชื้อโดยใช้ความร้อนแห้ง จะต้องมีอากาศหมุนเวียนในตู้อบและมีความดันภายในสูงกว่าภายนอกตลอดเวลา เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากอากาศภายนอก และอากาศที่เข้าสู่ภายในตู้อบต้องผ่านการกรองด้วยเครื่องกรองจุลินทรีย์ และในกรณีที่ใช้เพื่อกำจัดไพโรเจน(Pyrogen) ต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้เอ็นโดทอกซิน

ข้อ69 การทำให้ปราศจากเชื้อโดยการฉายรังสี ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
  1. วิธีนี้ให้เลือกใช้ได้สำหรับวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ถูกทำลายด้วยความร้อนเท่านั้น และก่อนจะนำมาใช้จะต้องมีการทดลองก่อนว่าเหมาะสมกับวัสดุหรือผลิตภัณฑ์นันๆ หรือไม่
  2. กรณีว่าจ้างให้ผู้อื่นทำการฉายรังสี ต้องมั่นใจว่าการฉายรังสีนั้นเหมาะกับผลิตภัณฑ์และเชื่อถือได้และมีการตรวจสอบความถูกต้องในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อและกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของผู้รับจ้างด้วย
  3. ในระหว่างการทำให้ปราศจากเชื้อ ต้องมีการวัดปริมาณรังสีและเครื่องวัดปริมาณรังสีต้องวัดปริมาณรังสีที่ผลิตภัณฑ์ได้รับโดยไม่ขึ้นกับอัตราการปล่อยรังสี และต้องมีเครื่องวัดปริมาณรังสีในจำนวนที่เพียงพอ กรณีเครื่องวัดปริมาณรังสีเป็นชนิดพลาสติกต้องใช้ภายในเวลาที่ระบุไว้
  4. วิธีการตรวจสอบความถูกต้อง ต้องพิจารณาถึงความหนาแน่นของวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู๋ในหีบห่อบรรจุ
  5. ต้องใช้ตัวชี้บอกการได้รับรังสีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนระหว่างสิ่งที่ฉายรังสีแล้วและยังไม่ฉายรังสี
  6. ต้องฉายรังสีตามปริมาณรังสี และระยะเวลาที่กำหนดไว้
ข้อ70 การทำให้ปราศจากเชื้อโดยใช้ก๊าซเอทธิลีนอ๊อกไซด์ ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
  1. วิธีนี้จะใช้เมื่อไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้ ซึ่งในการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อต้องแสดงให้เห็นว่าก๊าซไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อผลิตภัณฑ์ และต้องกำหนดสภาวะและเวลาที่ใช้ในการกำจัดก๊าซให้เหลืออยู่ในระดับที่ผู้รับอนุญาตกำหนด
  2. ก่อนที่วัสดุที่ต้องการทำให้ปราศจากเชื้อจะสัมผัสกับก๊าซ วัสดุนั้นต้องอยู่ในสภาวะสมดุลกับความชื้นและอุณหภูมิตามที่ผู้รับอนุญาตกำหนด
  3. ต้องตรวจสอบการทำให้ปราศจากเชื้อในแต่ละครั้ง โดยใช้ตัวบ่งชี้บอกทางชีวภาพที่เหมาะสมและมีจำนวนที่เพียงพอ พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลไว้ในบันทึกการดำเนินการผลิต
  4. ตัวบ่งชี้บอกทางชีวภาพต้องเก็บและนำมาใช้ตามวิธีที่ผู้ผลิตตัวบ่งชี้บอกทางชีวภาพกำหนดไว้ และต้องตรวจสอบโดยการควบคุมเพื่อยีนยันผลบวก (positive control)
  5. ในการทำให้ปราศจากเชื้อแต่ละครั้ง ต้องมีการบันทึกเวลา ความดัน อุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มข้นของก๊าซภายในตู้อบ การบันทึกความดันและอุณหภูมิต้องทำตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ
  6. หลังจากทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว ต้องกำจัดก๊าซและสิ่งตกค้างอื่นๆ จนเหลืออยู่ในระดับที่ผู้รับอนุญาตกำหนด
ข้อ71 การทำให้ปราศจากเชื้อโดยการกรอง ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
  1. กรองผ่านเครื่องกรองปราศจากเชื้อซึ่งมีแผ่นกรองขนาดรูพรุน 0.22 ไมครอน หรือเล็กกว่า หรือด้วยเครื่องกรองที่มีประสิทธิภาพในการกรองเชื้อได้เท่านั้น ในกรณีดังกล่าวอาจกรองผ่านเครื่องกรองที่มีแผ่นกรองสองชั้น หรือกรองครั้งที่สองผ่านเครื่องกรองจุลินทรีย์แล้วบรรจุทันที
  2. ห้ามใช้แผ่นกรองที่ปล่อยเส้นใย หรือประกอบด้วยแร่ใยหัน(asbestos)
  3. ต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของแผ่นกรองทั้งก่อนและหลังการกรองทันที และบันทึกผลไว้ในบันทึกการดำเนินการผลิต
  4. ไม่ใช้แผ่นกรองติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกินหนึ่งวันทำงาน
  5. แผ่นกรองต้องไม่ดูดซับตัวยาหรือปล่อยสารลงในน้ำยา
ข้อ72 ขั้นสุดท้ายของกระบวนการผลิตยาปราศจากเชื้อ ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
  1. ปิดภาชนะบรรจุให้สนิทด้วยวิธีที่เหมาะสมซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว
  2. ภาชนะบรรจุซึ่งปิดสนิทภายใต้สูญญากาศ ต้องมีการสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบสภาวะสูญญากาศเป็นระยะๆ
  3. ยาฉีดซึ่งปิดสนิทแล้ว ต้องผ่านการตรวจสอบการปนเปื้อนหรือข้อบกพร่องอื่นๆ ทุกภาชนะ กรณีตรวจสอบด้วยสายตาต้องทำภายใต้แสงไฟและฉากที่เหมาะสม ซึ่งพนักงานที่ทำงานในขั้นตอนนี้ต้องได้รับการตรวจสายตาเป็นประจำ และจัดให้มีเวลาหยุดพักสายตาเป็นระยะๆ กรณีที่ตรวจสอบด้วยเครื่องอัตโนมัติต้องตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องเป็นระยะๆ
ข้อ73 ให้มีการควบคุมคุณภาพยาปราศจากเชื้อดังต่อไปนี้
  1. การสุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบความปราศจากเชื้อ ต้องเป็นตัวอย่างของยาที่ผลิตในรุ่นเดียวกันและต้องรวมถึงตัวอย่างที่เก็บจากส่วนที่คาดว่ามีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสูง
  2. ยาที่บรรจุโดยวิธีการที่ปราศจากเชื้อ ให้สุ่มตัวอย่างตอนเริ่มต้นและตอนท้ายของการบรรจุ และช่วงที่มีข้อขัดข้องในขณะปฏิบัติงาน
  3. ยาที่มีการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อนหลังการบรรจุ ให้สุ่มตัวอย่างจากส่วนที่คาดว่าได้รับความร้อนน้อยที่สุดในตู้อบฆ่าเชื้อ
  4. ให้มีการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีทดสอบความปราศจากเชื้อที่นำมาใช้
  5. ถ้าผลการทดสอบความปราศจากเชื้อในครั้งแรกไม่ผ่าน ต้องทดสอบครั้งที่สอง หากผลการทดสอบครั้งที่สองผ่าน ให้หาชนิดของจุลินทรีย์ที่ตรวจพบในครั้งแรกแล้วพิจารณาร่วมกับผลการตรวจสภาพแวดล้อมและบันทึกการดำเนินการผลิตเพื่อให้แน่ใจว่าผลการทดสอบครั้งแรกผิดพลาด จึงจะยอมรับผลครั้งที่สองได้
  6. การผลิตยาฉีดโดยทั่วไป ต้องตรวจสอบเอ็นโดทอกซินในน้ำที่ใช้ในการผลิต ในยาระหว่างผลิตและในยาสำเร็จรูปตามความจำเป็นโดยใช้วิธีที่ระบุในตำรายา สำหรับยาปราศจากเชื้อที่มีปริมาตรมากต้องตรวจสอบเอ็นโดทอกซินในน้ำและในยาระหว่างผลิตเป็นประจำ กรณีที่ตรวจสอบตัวอย่างแล้วปรากฏว่าผลไม่ผ่านต้องค้นหาสาเหตุและทำการแก้ไข





 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2556
0 comments
Last Update : 22 กันยายน 2556 17:47:04 น.
Counter : 4970 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


yaovarit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add yaovarit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.