Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
8 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 
หมวด3 การผลิตยา


ข้อ10 ให้มีการบริหารงานด้านคุณภาพในการผลิตยาดังต่อไปนี้
  1. ให้มีระบบคุณภาพซึ่งครอบคลุมถึงนโยบายคุณภาพ โครงสร้างขององค์กร วิธีปฏิบัติ กระบวนการและทรัพยากร
  2. ดำเนินการตามแผนงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ายาที่ผลิตขึ้นเป็นไปตามข้อกำหนดด้านคุณภาพที่ระบุไว้ซึ่งเรียกว่า การประกันคุณภาพยา
ข้อ11 ให้มีระบบประกันคุณภาพยา ดังต่อไปนี้
  1. มีการออกแบบและพัฒนายา โดยคำนึงถึงข้อกำหนดต่างๆ ที่กำหนดในประกาศนี้และตามหลักปฏิบัติที่ดีในห้องปฏิบัติการ หลักปฏิบัติที่ดีทางคลินิกและหรือหลักปฏิบัติอื่น ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด
  2. กำหนดการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการผลิตและการควบคุมคุณภาพยาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นไปตามข้อกำหนดตามที่กำหนดในประกาศนี้
  3. กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารจัดการอย่างชัดเจนตามลักษณะงาน
  4. จัดการเกี่ยวกับการผลิต การจัดหาและการใช้วัตถุดิบและวัสดุสำหรับการบรรจุที่ถูกต้อง
  5. มีการควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบ วัสดุสำหรับการบรรจุ ยาระหว่างผลิตและยารอการบรรจุ รวมทั้งการควบคุมระหว่างผลิต
  6. ดำเนินการผลิตตามกระบวนการผลิตและตรวจสอบตามวิธีการที่กำหนดไว้
  7. ยาทุกรุ่นที่ผลิตต้องได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากหัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพยาก่อนนำไปจำหน่าย
  8. กำหนดวิธีจัดการที่เหมาะสมเกี่ยวกับการเก็บรักษายาในสถานที่ผลิตยา ในระหว่างการขนส่งและในสถานที่จำหน่ายยา เพื่อรักษาคุณภาพยาตลอดอายุการใช้
  9. กำหนดให้มีวิธีการปฏิบัติสำหรับการตรวจสอบตนเอง หรือการตรวจสอบคุณภาพเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบประกันคุณภาพยาอย่างสม่ำเสมอ
ข้อ 12 ให้มีพนักงานในการผลิตยาดังต่อไปนี้
  1. หัวหน้าฝ่ายดำเนินการผลิตและหัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพยาซึ่งเป็นเภสัชกรชั้นหนึ่งฝ่ายละหนึ่งคนและมีประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินการผลิตหรือการประกันคุณภาพยา แล้วแต่กรณี
  2. พนักงานซึ่งมีความรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น
  3. พนักงานซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำเนินการผลิตและการควบคุมคุณภาพยา ซึ่งมีพื้นฐานการศึกษาที่เหมาะสม มีความรู้พื้นฐานในการผลิตยาตามที่กำหนดในประกาศนี้ มีความสามารถตัดสินใจดำเนินการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความเข้าใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปด้วยดีและต้องมีจำนวนที่เพียงพอ
  4. พนักงานตาม(1),(2) และ (3) ต้องมีสุขภาพอนามัยที่ดี
ข้อ13 ให้มีการกำหนดโครงสร้างการบริหารงาน หน้าที่ และ ความรับผิดชอบของพนักงานในการผลิตยาในแต่ละระดับเป็นลายลักษณ์อักษร
หัวหน้าฝ่ายดำเนินการผลิตและหัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพยาต้องแยกความรับผิดชอบในการทำงานเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน

ข้อ14 ให้หัวหน้าฝ่ายดำเนินการผลิตยามีหน้าที่ดังต่อไปนี้
  1. ควบคุมการดำเนินการผลิตและการเก็บรักษายาที่ผลิตขึ้นตามที่ระบุไว้ในเอกสารการผลิตยา เพื่อให้ได้คุณภาพตามที่กำหนด
  2. อนุมัติวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการผลิตและควบคุมระหว่างการผลิตและควบคุมให้เป็นไปตามวิธีการปฏิบัติดังกล่าวทุกขั้นตอน
  3. ควบคุมดูแลให้พนักงานตรวจสอบบันทึการดำเนินการผลิตและลงลายมือชื่อก่อนส่งให้ฝ่ายควบคุมคุณภาพยา
  4. ควบคุมให้มีการบำรุงรักษาอาคารสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ของฝ่ายดำเนินการผลิต
  5. ควบคุมให้มีการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการผลิตยาและการสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้อง และบันทึกรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร
  6. ควบคุมให้มีการอบรมพนักงานใหม่ในฝ่ายดำเนินการผลิตก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และให้มีการอบรมพนักงานฝ่ายดำเนินการผลิตอย่างต่อเนื่องตามความเหมาะสม
ข้อ15 ให้หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพยามีหน้าที่ดังต่อไปนี้
  1. อนุมัติวิธีสุ่มตัวอย่าง ข้อกำหนด วิธีวิเคราะห์ทดสอบ และวิธีการอื่นในการควบคุมคุณภาพยา
  2. ควบคุมให้มีการวิเคราะห์ทดสอบที่จำเป็น
  3. ตรวจสอบบันทึกการดำเนินการผลิต และควบคุมคุณภาพยา เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติให้ผ่านยาสำเร็จรูป
  4. อนุมัติให้ผ่านหรือไม่ผ่านสำหรับการตรวจสอบวัตถุดิบ วัสดุสำหรับการบรรจุ ยาระหว่างผลิต ยารอการบรรจุ และยาสำเร็จรูป
  5. ควบคุมให้มีการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีการควบคุมคุณภาพยา และการสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์วิเคราะห์ และบันทึกรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร
  6. ควบคุมดูแลการใช้ และเก็บรักษาสารมาตรฐาน
  7. จัดให้มีการตรวจสอบความคงสภาพของยาสำเร็จรูป
  8. ควบคุมให้มีการบำรุงรักษาอาคารสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ของฝ่ายควบคุมคุณภาพยา
  9. จัดให้มีส่วนร่วมในการสืบสวนข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับคุณภาพยาและร่วมในการตรวจสอบสภาวะแวดล้อม
  10. ควบคุมให้มีการอบรมพนักงานใหม่ในฝ่ายควบคุมคุณภาพยาก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และให้มีการอบรมพนักงานฝ่ายควบคุมคุณภาพยาอย่างต่อเนื่องตามความเหมาะสม
ข้อ16 ให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการผลิตและการควบคุมคุณภาพยาดังต่อไปนี้
  1. จัดฝึกอบรมตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแก่พนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการผลิตและการควบคุมคุณภาพยา รวมทั้งที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ การทำความสะอาด และงานด้านอื่นๆ ที่จะมีผลต่อคุณภาพยา และให้บันทึกการฝึกอบรมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
  2. จัดฝึกอบรมพนักงานใหม่เกี่ยวกับความรู้ขั้นพื้นฐานในการผลิตยาตามที่กำหนดในประกาศนี้ ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมายจนสามารถปฏิบัติงานได้ดี และต้องจัดให้มีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ พร้อมทั้งประเมินผลเป็นระยะๆ ทั้งนี้หัวข้อการฝึกอบรมต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายดำเนินการผลิตหรือฝ่ายควบคุมคุณภาพยา แล้วแต่กรณี
  3. จัดฝึกอบรมเป็นพิเศษแก่พนักงานซึ่งปฏิบัติงานในบริเวณที่สะอาด และพนักงานที่เกี่ยวข้องกับสารที่มีฤทธิ์แรง สารพิษ สารที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ และสารที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงขึ้นได้หากมีการปนเปื้อน
  4. จัดฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะพนักงานที่ปฏิบัติงานในฝ่ายดำเนินการผลิต
ข้อ17 ให้มีการกำหนดข้อปฏิบัติเกี่ยวกับสุขอนามัยของพนักงานดังต่อไปนี้
  1. ตรวจสุขภาพพนักงานก่อนรับเข้าทำงาน และในระหว่างปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
  2. ให้พนักงานสวมชุดปฏิบัติงานที่สะอาดและเหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งการสวมหมวกคลุมผม ผ้าปิดปากและถุงมือ ตามความจำเป็น
  3. ห้ามมิให้พนักงานใช้มือสัมผัสกับยาโดยตรงขณะปฏิบัติงาน
  4. ห้ามมิให้พนักงานที่มีโรคติดต่อร้ายแรงหรือมีบาดแผลเปิดบริเวณผิวหนังของร่างกายปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินการผลิต
  5. ห้ามมิให้พนักงานรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ สูบบุหรี่ และเก็บอาหาร เครื่องดื่ม บุหรี่ และยารักษาโรคประจำตัวภายในบริเวณที่ใช้ในการผลิตยา บริเวณที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพยา และบริเวณที่ใช้ในการเก็บยา เก็บวัตถุดิบและวัสดุอื่นๆ รวมทั้งบริเวณอื่นที่ซึ่งสิ่งดังกล่าวอาจมีผลต่อคุณภาพของยาที่ผลิต
ข้อ18 เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
  1. ต้องจัดให้มีการสอบเทียบเครื่องชั่ง ตวง วัด และเครื่องมืออื่นๆ ตามความจำเป็น และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
  2. อุปกรณ์การผลิตต้องมีการทำความสะอาดภายหลังการใช้แต่ละครั้ง
  3. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีการบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่กำหนดและบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
  4. ในกรณีที่เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ชำรุดใช้งานไม่ได้ ต้องเคลื่อนย้ายออกจากบริเวณผลิตยา หรือบริเวณควบคุมคุณภาพยา สำหรับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ชำรุดรอการซ่อมแซม ต้องจัดให้มีฉลากติดแสดงให้เห็นชัดเจนว่า "ชะรุด รอการซ่อมแซม"
ข้อ19 ให้มีสุขลักษณะของสถานที่ผลิตยาดังต่อไปนี้
  1. มีการดูแลรักษาสถานที่ผลิตยาให้เป็นระเบียบ สะอาด และปราศจากสัตว์และแมลง
  2. มีระบบการรักษาความสะอาด โดยกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลรักษาความสะอาดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น กำหนดระยะเวลาการทำความสะอาด วิธีทำความสะอาด เครื่องมือและวัสดุที่ใช้ในการทำความสะอาดอาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งมีภาชนะรองรับขยะมูลฝอย
  3. จัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอยและวัสดุที่เหลือใช้ที่เป็นวัตถุอันตรายตามหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรการตามที่กำหนดขึ้นตามกฏหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฏหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย หรือกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ถ้ากฏหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดไว้ จะต้องแยกเก็บในภาชนะปิดแล้วรวบรวมนำไปเก็บกักไว้นอกอาคารผลิตยาและกำจัดให้ถูกสุขลักษณะ และอนามัยตามระยะเวลาที่เหมาะสม
  4. ดูแลซ่อมแซมสถานที่ผลิตยาและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ระบบท่อน้ำ ดวงไฟ พัดลมเครื่องปรับอากาศให้อยู่ในสภาพดี และการซ่อมแซมต้องระมัดระวังป้องกันมิให้ปนเปื้อนยาที่ผลิต
  5. มีแนวทางปฏิบัติหรือคำแนะนำ สำหรับผู้ที่มาเยี่ยมชนสถานที่ผลิตยา หรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตยาหรือการควบคุมคุณภาพยา เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
ข้อ20 ให้มีวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับวัตถุดิบดังต่อไปนี้
  1. ตรวจสอบวัตถุดิบที่รับเข้ามาแต่ละรุ่นให้ตรงกับใบสั่งซื้อ ทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือหีบห่อของวัตถุดิบตามความจำเป็น และต้องปิดฉลากและกักกันวัตถุดิบไว้เพื่อรอการตรวจสอบจากฝ่ายควบคุมคุณภาพยา
  2. ถ้าพบว่าภาชนะบรรจุหรือหีบห่อของวัตถุดิบได้รับความเสียหาย หรือมีปัญหาที่อาจมีผลต่อคุณภาพของวัตถุดิบ ต้องบันทึกไว้และรายงานให้ฝ่ายควบคุมคุณภาพยาทราบเพื่อทำการตรวจสอบ
  3. การรับมอบวัตถุดิบแต่ละครั้งที่มีหลายครั้งที่ผลิต ให้แยกเก็บวัตถุดิบแต่ละครั้งที่ผลิตให้เป็นสัดส่วนเพื่อสะดวกในการเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์และอนุมัติการใช้วัตถุดิบนั้น
  4. ฉลากบนภาชนะบรรจุวัตถุดิบแต่ละชนิด ต้องระบุชื่อวัตถุดิบ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตจากแหล่งวัตถุดิบหรือที่กำหนดขึ้นเอง สถานภาพของวัตถุดิบ เช่น อยู่ระหว่างกักกัน รอผลตรวจวิเคราะห์ ไม่ได้มาตรฐาน ได้รับอนุมัติแล้ว เป็นต้น วันที่ต้องการทดสอบซ้ำตามความจำเป็น ถ้ามีรหัสอ้างอิงและวันสิ้นอายุให้ระบุไว้ด้วย
  5. มีวิธีการที่เหมาะสมในการจำแนกชนิดของวัตถุดิบ และทำเครื่องหมายให้ชัดเจนบนภาชนะบรรจุที่มีการเก็บตัวอย่างวัตถุดิบเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์
  6. วัตถุดิบที่ได้รับอนุมัติจากฝ่ายควบคุมคุณภาพยาแล้ว ให้นำไปใช้ภายในอายุการใช้ตามที่ระบุไว้ และวัตถุดิบที่รับเข้าก่อนต้องนำไปผลิตก่อน
  7. ให้พนักงานซึ่งผ่านการฝึกอบรมและได้รับมอบหมาย เป็นผู้ชั่งวัตถุดิบตามวิธีการที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้แน่ใจว่าชั่งวัตถุดิบแต่ละชนิดได้อย่างถูกต้อง แล้วบรรจุวัตถุดิบนั้นในภาชนะที่สะอาดและปิดฉลากให้ชัดเจน
  8. ให้มีพนักงานทำการตรวจสอบชนิดและปริมาณวัตถุดิบที่ชั่งแล้วแต่ละครั้งและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน และวัตถุดิบที่ตรวจสอบแล้วสำหรับผลิตยาในแต่ละรุ่น ให้นำมาเก็บรวมกันและปิดฉลากให้เห็นชัดเจน
  9. วัตถุดิบที่ผลการตรวจสอบไม่ได้มาตรฐาน ให้แยกเก็บไว้ต่างหากและปิดฉลากให้ชัดเจนและอาจส่งวัตถุดิบดังกล่าวคืนผู้จำหน่ายหรือนำไปทำลาย โดยจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้รับผิดชอบและบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ 21 ให้มีวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับวัสดุสำหรับการบรรจุดังต่อไปนี้
  1. จัดการควบคุมวัสดุสำหรับการบรรจุในแนวทางเดียวกับการปฏิบัติเกี่ยวกับวัตถุดิบตามที่กำหนดในข้อ 20 เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง
  2. ต้องเก็บวัสดุสำหรับการบรรจุที่พิมพ์ข้อความแล้วไว้ในที่ปลอดภัย ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้าไปในบริเวณดังกล่าว และวัสดุสำหรับการบรรจุที่ระบุข้อความ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตหรือวิเคราะห์ยา วันที่ผลิต และวันสิ้นอายุของแต่ละตำรับให้แยกเก็บเป็นสัดส่วนเพื่อป้องกันการสับสน
  3. วัสดุสำหรับการบรรจุที่ส่งไปยังฝ่ายบรรจุเพื่อนำไปใช้ ให้ตรวจสอบความถูกต้องทั้งจำนวนและชนิดให้ตรงตามที่เบิกไว้ พร้อมบันทึกและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
  4. วัสดุสำหรับการบรรจุตามข้อ 2 ที่เหลือจากการใช้และวัสดุสำหรับการบรรจุอื่นที่ไม่ประสงค์จะใช้แล้วรวมทั้งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อไป ให้นำไปทำลายและบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ22 ให้มีวิธีปฏิบัติเกี่่ยวกับสารเคมี น้ำยาทดสอบ และอาหารเลี้ยงเชื้อ ดังต่อไปนี้
  1. บันทึกหลักฐานการรับสารเคมี น้ำยาทดสอบและอาหารเลี้ยงเชื้อ รวมทั้งบันทึกการเตรียมน้ำยาทดสอบและอาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้ในการทดสอบทุกครั้ง
  2. น้ำยาทดสอบต้องเตรียมตามวิธีการที่กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และปิดฉลากแสดงความเข้มข้น ค่ามาตรฐาน อายุของน้ำยาทดสอบ วันที่ต้องวิเคราะห์ค่ามาตรฐานซ้ำ และสภาวะการเก็บรักษา รวมทั้งลายมือชื่อผู้เตรียมและวัน เดือน ปี ที่เตรียม
  3. ต้องทดสอบอาหารเลี้ยงเชื้อก่อนนำไปใช้ โดยเปรียบเทียบอาหารเลี้ยงเชื้อที่ปราศจากเชื้อกับอาหารเลี้ยงเชื้อที่ใส่เชื้อที่ใช้ทดสอบ ซึ่งเชื้อที่ใส่ลงไปต้องมีปริมาณพอเหมาะที่จะแสดงความไวต่อการทดสอบตามที่กำหนด
ข้อ23 ให้มีวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสารมาตรฐานดังต่อไปนี้
  1. สารมาตรฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ต้องเป็นสารมาตรฐานอ้างอิงตามตำรายา หรือสารมาตรฐานอ้างอิงที่ผู้ผลิตเตรียมขึ้น ซึ่งต้องผ่านการทดสอบมาตรฐาน อนุมัติให้ผ่านและเก็บรักษาในบริเวณที่ปลอดภัยในความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบหมายเช่นเดียวกับสารมารฐานอ้างอิงตามตำรายา
  2. สารมาตรฐานทุติยภูมิซึ่งเป็นสารมาตรฐานที่ได้จากการสอบเทียบกับสารมาตรฐานอ้างอิงตามตำรายาหรือสารมาตรฐานอ้างอิงที่ผู้ผลิตเตรียมขึ้น ต้องวิเคราะห์ทดสอบตามความเหมาะสมและตรวจสอบเป็นระยะๆ เพื่อให้มั่นใจในมาตรฐาน
  3. สารมาตรฐานทั้งหมด ให้เก็บรักษาและใช้ในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพของสารมาตรฐาน
ข้อ24 ให้มีการควบคุมการดำเนินการผลิตดังต่อไปนี้
  1. กระบวนการผลิต
    1. ควบคุมให้พนักงานในฝ่ายดำเนินการผลิตปฏิบัติตามกระบวนการผลิตที่่ระบุไว้ทุกขั้นตอน การเปลี่ยนแปลงใดๆ จากกระบวนการผลิตที่ระบุไว้ ต้องได้รับอนุมัติจากผู้รับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร
    2. ก่อนที่จะเริ่มการผลิต ต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริเวณที่เกี่ยวกับการผลิตยาเครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตมีความสะอาด และไม่มีวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ วัสดุสำหรับการบรรจุและเอกสารต่างๆ จากการผลิตครั้งก่อนหลงเหลืออยู่
    3. ต้องดำเนินการควบคุมระหว่างการผลิต และควบคุมสภาวะแวดล้อมที่จำเป็น พร้อมบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
    4. การควบคุมระหว่างการผลิตในบริเวณที่เกี่ยวกับการผลิตยา ต้องไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อคุณภาพยาที่ผลิต
    5. ในระหว่างการผลิตต้องติดป้ายหรือฉลากที่่แสดงชื่อยา ความแรง เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต และขั้นตอนการผลิตตามความจำเป็นไว้ที่ภาชนะบรรจุ วัตถุดิบ ยาระหว่างผลิต ยารอการบรรจุ และอุปกรณ์การผลิตที่สำคัญ
    6. มีมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันการปนเปื้อนในระหว่างการผลิต
    7. ตรวจสอบผลผลิตที่ได้ตามความเป็นจริงในขั้นตอนการผลิตที่สำคัญ และที่ผลิตได้ในขั้นตอนสุดท้ายเทียบกับผลผลิตที่ควรได้ตามทฤษฏีในแต่ละขั้นตอน ถ้ามีความแตกต่างไปจากเกณฑ์ที่ยอมรับได้ต้องหยุดดำเนินการผลิตจนกว่าจะหาสาเหตุได้
ข้อ25 ให้ฝ่ายควบคุมคุณภาพยามีการควบคุมคุณภาพยาดังต่อไปนี้
  1. ฝ่ายควบคุมคุณภาพยาต้องแยกเป็นอิสระจากฝ่ายดำเนินการผลิตและฝ่ายอื่นๆ โดยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีประสบการณ์บริหารงานห้องปฏิบัติการรวมทั้งบุคลากร เครื่องมือ และอุปกรณ์ต้องมีเพียงพอที่จะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. มีวิธีปฏิบัติที่ได้รับการอนุมัติแล้วในด้านการสุ่มตัวอย่าง การตรวจวิเคราะห์ ทดสอบ วัตถุดิบ วัสดุสำหรับการบรรจุ ยาระหว่างผลิต ยารอการบรรจุ และยาสำเร็จรูป รวมทั้งมีการควบคุมดูแลสภาวะแวดล้อมของสถานที่ผลิตยาให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
  3. การสุ่มตัวอย่างทุกขั้นตอน ต้องปฏิบัติตามวิธีที่กำหนดโดยพนักงาน ซึ่งได้รับมอบหมายจากฝ่ายควบคุมคุณภาพยา
  4. ใช้วิธีวิเคราะห์ทดสอบที่ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว
  5. ให้มีบันทึกการสุ่มตัวอย่าง การตรวจสอบ และการวิเคราะห์ทดสอบซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการปฏิบัติจริงตามวิธีการที่กำหนด รวมทั้งบันทึกข้อเบี่ยงเบนจากวิธีที่กำหนดพร้อมทั้งเหตุผล
  6. ให้มีการควบคุมคุณภาพยาสำเร็จรูปให้มีมาตรฐานตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ วัตถุดิบที่ใช้ต้องมีความบริสุทธิ์ตามมาตรฐานที่กำหนด และยาสำเร็จรูปต้องบรรจุในภาชนะที่เหมาะสม พร้อมทั้งปิดฉลากที่มีรายละเอียดอย่างถูกต้อง
  7. ให้มีบันทึกผลการตรวจสอบ การวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบ วัสดุสำหรับการบรรจุ ยาระหว่างผลิต ยารอการบรรจุและยาสำเร็จรูปตามข้อกำหนด และการประเมินคุณภาพของยาสำเร็จรูปให้รวมถึงการทบทวนและการประเมินเอกสารการผลิต ตลอดจนข้อเบี่ยงเบนจากวิธีการที่กำหนด
  8. ยาสำเร็จรูปทุกรุ่นที่ปล่อยหรือผ่านเพื่อจำหน่าย ต้องได้รับการอนุม้ติจากผู้รับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ26 ในกรณีที่มีความจำเป็นที่ผู้ผลิตมีความประสงค์จะใช้ห้องปฏิบัติการภายนอกในการตรวจวิเคราะห์ทดสอบยาและวัสดุสำหรับการบรรจุ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในการว่าจ้างห้องปฏิบัติการนั้น โดยจะต้องมีสัญญาว่าจ้างที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรที่แสดงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ส่วนการตรวจวิเคราะห์ทดสอบยาและวัสดุดังกล่าวนั้นต้องดำเนินการตามวิธีที่ขี้นทะเบียนไว้

ข้อ 27 ให้มีการประเมินคุณภาพของยาสำเร็จรูปโดยพิจารณาจากสภาวะการผลิต เอกสารที่เกี่ยวกับการผลิต ผลการทดสอบยาระหว่างผลิต การได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของยาสำเร็จรูปและการตรวจสอลยาที่บรรจุหีบห่อแล้ว รวมทั้งปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง

ข้อ28 ให้มีการควบคุมวัตถุดิบ วัสดุสำหรับการบรรจุ ยาระหว่างผลิต ยารอการบรรจุและยาสำเร็จรูปดังต่อไปนี้

ข้อ29 การวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบ วัสดุสำหรับการบรรจุ ยาระหว่างผลิต และยาสำเร็จรูป ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

ข้อ30 ให้มีการทบทวนบันทึการดำเนินการผลิตและบันทึการควบคุมคุณภาพยาที่ผลิตและในกรณียาที่ผลิตรุ่นใดมีคุณภาพแตกต่างหรือไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของยาสำเร็จรูป ต้องสืบสวนหาสาเหตุซึ่งอาจรวมถึงบันทึการดำเนินการผลิตของยารุ่นอื่นของยาชนิดเดียวกันและยาอื่นที่อาจมีผลกระทบตามความจำเป็น ผลการสืบสวนให้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งต้องสรุปผลและการดำเนินงานติดตามผล

ข้อ31 ให้ดำเนินการเกี่ยวกับตัวอย่างยาที่เก็บดังต่อไปนี้

ข้อ32 ให้มีการตรวจสอบความคงสภาพของยาแต่ละชนิดตามความจำเป็นดังต่อไปนี้

ข้อ33 ให้มีวิธีดำเนินการและจัดทำเอกสาร ดังต่อไปนี้

ข้อ34 การบันทึกข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การถ่ายภาพหรือวิธีการอื่น ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกข้อมูลดังกล่าว และต้องกำหนดผู้มีหน้าที่รับผิดชอบที่สามารถใช้หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตยาด้วยระบบดังกล่าวต้องทำสำเนาข้อมูล และเก็บบันทึกไว้อย่างน้อย 5 ปี

ข้อ35 การจัดทำป้ายหรือฉลาก ต้องปฏิบัติดังนี้

ข้อ36 การจัดทำข้อกำหนดและวิธีทดสอบต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

ข้อ37 ข้อกำหนดเกี่ยวกับวัตถุดิบและวัสดุสำหรับการบรรจุต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อ38 ข้อกำหนดเกี่ยวกับยาระหว่างผลิตและยารอการบรรจุ ต้องมีรายละเอียดังต่อไปนี้

ข้อ39 ข้อกำหนดเกี่ยวกับยาสำเร็จรูปต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อ 40 ให้มีการจัดทำเอกสารแม่บทของยาทุกตำรับ โดยมีรายละเอียดังต่อไปนี้

ข้อ41 ให้มีการจัดทำบันทึกกระบวนการผลิตของยาทุกรุ่น ที่สอดคล้องกับเอกสารแม่บท โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อ42 ให้มีการทำบันทึกการบรรจุของยาทุกรุ่น ที่สอดคล้องกับเอกสารแม่บท โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อ43 ในกรณีที่มีปัญหาในระหว่างการผลิตหรือการบรรจุยาของแต่ละครั้งที่ผลิต ให้บันทึกรายละเอียดของปัญหาที่เกิดขึ้น หากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการผลิตหรือการบรรจุไปจากเอกสารแม่บทหรือเอกสารวิธีการบรรจุ แล้วแต่กรณีต้องได้รับอนุมัติจากผู้รับผิดชอบในกระบวนการนั้น

ข้อ44 ให้จัดทำมาตรฐานสำหรับวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้

ข้อ45 ให้มีการบันทึกการวิเคราะห์ทดสอบซึ่งต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อ46 ให้มีการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการผลิต การวิเคราะห์ทดสอบและวิธีการทำความสะอาดโดยดำเนินการตามแบบแผนปฏิบัติและวิธีการที่กำหนดไว้และต้องจัดให้มีการรายงานการตรวจสอบเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ทำการตรวจสอบความถูกต้องซ้ำเป็นระยะๆ

ข้อ47 การตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการผลิตให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

ข้อ48 ให้มีการตรวจสอบตนเองโดยจัดตั้งทีมงานรับผิดชอบในการตรวจสอบ ประเมินผล และจัดทำรายงานโดยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อ49 การเรียกเก็บยาคืนต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

ข้อ50 ให้จัดทำบันทึกการจัดจำหน่ายยาทุกครั้งที่ผลิตซึ่งมีข้อมูลรายละเอียดของลูกค้าอย่างเพียงพอที่จะทำให้สามารถติดตามได้ง่ายและรวดเร็วเมื่อต้องการเรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาด

ข้อ51 ให้ปฏิบัติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของผู้เกี่ยวข้องกับการใช้ยาดังต่อไปนี้

ข้อ52 การดำเนินการเกี่ยวกับยาคืนต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้








Create Date : 08 พฤษภาคม 2556
Last Update : 22 กันยายน 2556 17:44:50 น. 2 comments
Counter : 2220 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะ ดิฉันขอสอบถาม ว่า การจดแจ้งGMP เจ้าของมีสิทธิ์ถือเอกสารการจดแจ้งหรือปล่าวค่ะ

เพราะมีตัวยาบางตัว คือGLUTAOVERWHITE BY NANNY ได้ระบุว่ายาไม่มีอันตรายใดๆ

ซึ่งผ่านการจดแจ้งทางGMPแล้ว เพราะที่จด อย.ไทยไม่ได้นั้นคือ เป็นยาเม็ดซอฟเจล ซึ่ง อย.ไทยให้ส่วนผสม

กลูต้าแค่250ml แต่ตัวยานี้มีกลูต้าถึง10000-20000ml. อันนี้ทางเจ้าของระบุ ซึ่งดิฉันขอดูเอกสารการจดแจ้ง

ทางเจ้สของ บอกว่า " หลักฐานทุกอย่างอยู่ที่บริษัทค่ะ" เค้าดำเนินการให้ส่วนซอฟเจลขึ้นอย.ไม่ได้...ไม่ได้นำมาลงค่ะเพราะมันเปนลิขสิทของทางเค้า นอกจากจะมีปัญหาจิงๆ ถึงจะนำตรงนี้มาใช้ได้" อันนี้คือคำกล่าวจากเจ้าของ ซึ่งดิฉันมาสอบถามเพราะ ดิฉันนำสินค้าตัวยานั้นมาจำหน่าย และบริโภค ซึ่งกลัวเกิดอันตรายกับตัวเองและผู้บริโภคต่อจากดิฉัน ซึ่งทางถูกต้องตามกฏหมายดิฉันจะได้ไม่กังวล แต่ถ้าไม่ดิฉันจะได้จัดการคุยกับเจ้าของตามกฏหมาย

และอีกหนึ่งที่มาสอบถามคือกลัวเสียโง่ให้กับเจ้าของ เพราะตอนนี้ ตัวแทนของGLUTAOVERWHITE BY NANNYมีเยอะมาก ผู้ได้เปรียบคือเจ้าของที่ มีตัวแทนทำรายได้ให้ทางเจ้าของ ทั้งนี้ทั้งนั้นตอบกลับแบบชัดเจนด้วยน่ะค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ


โดย: ผู้สงสัย IP: 223.205.89.40 วันที่: 1 กันยายน 2556 เวลา:22:40:31 น.  

 
ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจก่อนนะครับเกี่ยวกับ GMP ซึ่งอาจจะยังเข้าใจผิดอยู่บ้าง
GMP คือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต เป็นการตรวจรับรองจากทาง อย ว่าสถานที่และวิธีการผลิตยามีความถูกต้องตรงตามหลักเกณฑ์และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ถ้าจะผลิตยาจะต้องมีสถานที่ที่ได้รับการรับรองจากทาง อย แล้วเท่านั้น ซึ่งจะต้องมีการประเมินซ้ำเป็นระยะ
และก่อนที่เราจะผลิตยาได้นั้น ตำรับยานั้นๆจะต้องผ่านการขึ้นทะเบียนกับทาง อย ก่อน ซึ่งในทะเบียนยาจะต้องมีการระบุส่วนประกอบ ขนาดการใช้ ปริมาณตัวยาสำคัญ สรรพคุณ ผลข้างเคียง ผลการวิเคราะห์ต่างๆ และข้อมูลที่สำคัญอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะต้องนำยื่นเพื่อเป็นข้อมูลในการขอขึ้นทะเบียนยา เมื่อทาง อย ตรวจสอบแล้วพบว่าสูตรตำรับยานั้นมีความถูกต้องจึงจะทำการออกทะเบียนยาตำรับนั้นให้แก่ผู้ขอขึ้นทะเบียน

เมื่อเรานำยาไปขึ้นทะเบียนกับทาง อย/FDA เราจะได้เล่มทะเบียนมา 1 เล่ม ซึ่งเราไม่สามารถนำไปทำสำเนาทั้งเล่มได้ แต่สามารถทำสำเนาได้เป็นบางหน้าเท่านั้นครับ แต่เราสามารถนำเอาสัญลักษณ์ที่ได้รับการรับรองไปใช้ในทางการค้าได้เหมือนกันกับเครื่องหมาย มอก. ดังนั้นเป็นไปได้ที่เขาจะไม่ให้สำเนาเอกสารการขึ้นทะเบียนยาครับ

แต่การได้รับการรับรองจาก FDA ของต่างประเทศก็ไม่ใช่สิ่งที่พิสูจน์ว่าเราสามารถนำยานั้นมาขายในประเทศไทยได้ครับ เพราะเขามีข้อกำหนดว่าถ้าจะนำมาขายในประเทศไทยได้ จะต้องนำยานั้นๆไปให้ อย ตรวจรับรองก่อนครับ ถ้าคุณนำยานั้นมาขายคุณมีโอกาสถูกจับได้ครับ
เพราะไม่ผ่าน อย ของไทย

เดี๋ยวนี้การโฆษณาค่อนข้างรุนแรงและน่ากลัวครับ ทำให้คนไม่รู้อาจจะหลังไปกับคำโฆษณาชวนเชื่อที่เกินจริงและการใช้คำที่กำกวมไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนมายืนยันสินค้าของตนเอง

การกินยาหรืออาหารเสริมไม่ใช่การกินขนมนะครับ ต้องกินพอเหมาะตามอาการ ถ้ากินมากเกินไปอาจเกิดอันตรายได้ ถ้าไม่รุนแรงอาจจะแค่คลื่นใส้อาเจียน เวียนศรีษะ ถ้ารุนแรงอาจท้องเสียหรือเกิดอันตรายต่อชีวิตได้
ที่แน่ๆคือตับและไตของคุณจะทำงานหนักในการทำลายตัวยาที่ได้รับมากเกินไปครับ

ยาที่คุณบอกมานั้นบอกปริมาณมาเป็น ml ซึ่งปกติต้องบอกเป็น mgต่อเม็ด/แคปซูล/ml
ซึ่งจะอยู่ในรูปของความเข้มข้น
ดังนั้นถ้าผมเอายาตัวนี้มาเจือจางด้วยน้ำอีกเท่าตัวแล้วแบ่งขายเป็น 2 ขวดแล้วบอกว่ายานี้มีตัวยาอยู่ 250 mlเท่าเดิม ใครจะไปรู้ล่ะครับ

และที่เขาบอกว่ามีตัวยาตั้ง 10- 20 ลิตรนั้นสงสัยเขาจะขายเป็นแกลลอนมั้งครับ ^^ มันบอกอะไรไม่ได้เลย

จากเหตุผลที่กล่าวมา ผมว่ายาตัวนี้ไม่ได้ขายอย่างถูกต้องตามกฏหมายครับ เดี๋ยวโดนจับได้ไม่คุ้มครับ

ผิดถูกอย่างไรก็ขออภัยด้วยนะครับ


โดย: yaovarit วันที่: 3 กันยายน 2556 เวลา:19:51:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yaovarit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add yaovarit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.