"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
3 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 

วรรณกรรมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์



ลักษณะของวรรณคดีไทยในสมัยพระนารายณ์มหาราช

สมัยอยุธยาตอนกลาง เริ่มตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ปี พ.ศ. ๒๑๖๓ จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๒๓๑ รวมเวลา ๖๘ ปี ในสมัยนี้มีกวีหลายคน สร้างวรรณกรรมไว้หลายเรื่อง

ชนชั้นต่างๆ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ขุนนาง ไล่ลงมา ต่างก็มีความสนใจในงานวรรณกรรมทั้งสิ้น โดยเฉพาะในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงให้การอุดหนุนแก่กวี ที่จะสร้างสรรค์วรรณกรรมที่มีคุณค่าให้ปรากฏ

ดังนั้นรัชกาลนี้จึงได้รับยกย่องว่าเป็น ยุคทองแห่งวรรณกรรม บทกลอนได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย จึงทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองทางวรรณคดี

เช่น มีการประพันธ์ร่ายสำหรับใช้เทศน์ ให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง คือ กาพย์มหาชาติ , โคลงที่สอนขนบธรรมเนียมที่ข้าราชการ พึงปฏิบัติต่อเจ้านาย คือ โคลงพาลีสอนน้อง หรือโครงราชสวัสดิ์ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติราชการของข้าราชการที่ดี

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงแต่งโคลงสี่สุภาพ กล่าวถึงหลักปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ต่ออาณาประชาราษฎร์ คือ โคลงทศรถสอนพระราม

ที่สำคัญก็คือจินดามณี ซึ่งเป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรกของไทย พระโหราธิบดีเป็นผู้แต่ง และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชยังทรงโปรดให้รวบรวมเหตุการณ์บ้านเมืองขึ้น เป็นพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา

โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื้อหาสรรเสริญพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บรรยายการได้ช้างเผือกจากกาญจนบุรี การอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๕ และการสร้างพระราชวังที่ลพบุรี เป็นต้น


การสะท้อนให้เห็นสภาพสังคม

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเป็น “ยุคทองของวรรณคดี” เนื่องจากมีกวีที่มีชื่อเสียงเช่น พระโหราธิบดี พระมหาราชครู ศรีปราชญ์ ขุนเทพกวี พระศรีมโหสถเป็นต้น

เนื้อหาของแต่ละบทกวีก็มักจะสอดแทรกชีวิตความเป็นอยู่ ของผู้คนในสมัยให้ผู้อ่านได้เห็นกันเสมอ ถึงแม้เวลาจะผ่านมาหลายร้อยปี แต่ผลงานของพวกท่านยังปรากฏต่ออนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเสมอ

ผลงานที่โดดเด่นที่สุดเล่มหนึ่งคือ “ตำราจินดามณี” เป็นหนังสือเรียนภาษาไทยเล่มแรก ที่ให้ความรู้ทางไวยากรณ์ไทย และการแต่งคำประพันธ์

สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนไทย ในสมัยก่อนมีการศึกษาดี พระมหากษัตริย์ทรงเอาใจใส่ประชาชนไทยเป็นอย่างดี เนื่องจากพระองค์ทรงเกรงว่า พวกมิชชันนารีจะนำเด็กไทยไปเข้ารีต และเรียนแบบฝรั่ง

พระองค์จึงดำรัสให้พระโหราธิบดี แต่งตำราเรียนภาษาไทยเพื่อให้เด็กไทยได้ศึกษาหาความรู้กัน และนำสิ่งที่ศึกษาได้ไปพัฒนาประเทศชาติ สังคมไทยสมัยนั้น จึงเป็นสังคมที่มีระเบียบแบบแผนและมีการศึกษา

ผลงานอีกเล่มหนึ่งคือ โคลงพาลีสอนน้อง พระราชนิพนธ์โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื้อหาเป็นเรื่องรามเกียรติ์ตอนที่พาลีเรียกสุครีพและองคตมาสั่งสอน ข้อปฏิบัติในการรับราชการ

พระองค์มีจุดประสงค์เพื่อแสดงข้อที่ข้าราชการควรปฏิบัติ แสดงว่า สังคมไทยสมัยนั้น ประชาชนส่วนหนึ่งมีการรับราชการในวังหลวง เพื่อรับใช้พระมหากษัตริย์

และข้าราชการแต่ละคนจะต้องปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นข้าราชการที่ดี และรับใช้พระมหากษัตริย์อย่างเต็มความสามารถ

สภาพสังคมที่เกี่ยวกับศาสนา สะท้อนให้เห็นในวรรณกรรมเรื่อง “โคลงทศรถสอนพระราม” เป็นเรื่องที่แสดงถึงจริยาวัตร ของพระมหากษัตริย์และหลักธรรมที่พระมหากษัตริย์ควรยึดถือ ในการปกครองประชาชน

แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยสมัยนั้น เป็นสังคมที่นับถือพระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ถึงแม้จะมีอำนาจมากเพียงใด แต่ก็ต้องมีหลักธรรมเพื่อใช้ในการปกครองราษฎร ให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจ

และพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เคร่งครัด ในพระพุทธศาสนาอีกด้วย

ทางด้านวัฒนธรรม พบว่า ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประชาชนมีวัฒนธรรมประเพณี และประวัติศาสตร์ที่สืบทอดกันมาเนิ่นนานแล้ว

ดังจะเห็นได้จาก “พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ” พระองค์ทรงมีรับสั่งให้รวบรวมประวัติศาสตร์ ของแต่ละรัชกาลเพื่อกันการสูญหาย ประชาชนชาวสยาม จึงเป็นประชาชนที่มีความเป็นอยู่ยาวนาน มีการตั้งถิ่นฐานเมื่อหลายปีมาแล้ว

“สมุทรโฆษคำฉันท์” แต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยพระมหาราชครู ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร สมัยรัชกาลที่ ๖ ว่าเป็น “ยอดของกลอนฉันท์”

ซึ่งเป็นการรับรองได้ว่า กวีสมัยนั้นมีความรู้เกี่ยวกับการแต่งโคลงกลอนเป็นอย่างดี เมื่อมีกวีก็ต้องมีผู้อ่าน นั่นก็เป็นการรับรองอีกทางหนึ่งว่าประชาชนชาวอยุธยา สามารถอ่านออกเขียนได้

ซึ่งส่งผลให้การค้าในสมัยนั้นเจริญรุ่งเรืองตามไปด้วย กล่าวคือ เมื่อต่างชาติเห็นว่าคนไทยมีการศึกษา มีวัฒนธรรมก็เข้ามาค้าขายด้วย และไม่กล้าเอาเปรียบคนไทย ทำให้เกิดความเจริญทางด้านเศรษฐกิจอีกด้วย

นอกจากนี้ หากใครลองสังเกตจะพบว่า กวีในสมัยนั้นเป็นชายทั้งหมด สะท้อนว่ามีการจำกัดสิทธิ์ในการศึกษา บทบาทของหญิงและชายในสมัยนั้นไม่เท่าเทียม ผู้ชายจะสามารถเข้าโรงเรียนซึ่งก็คือวัดสำหรับประชาชน และวังสำหรับพระราชวงศ์

แต่ผู้หญิงไม่มีโอกาสได้เรียน แต่จะให้เรียนงานบ้าน การเย็บปักถักร้อย จึงไม่พบว่าหญิงใดจะอ่านออกเขียนได้ อาจจะมีบ้างแต่ก็เป็นเชื้อสายพระมหากษัตริย์เท่านั้น

“กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ” เป็นเรื่องที่แสดงสภาพชีวิตได้โดดเด่นมาก ประชาชนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดี มีการชมการเล่นรื่นเริงในตอนกลางคืน การแต่งกายของชายจะนุ่งเกี้ยวทัดดอกไม้ มีการเกี้ยวกันระหว่างหนุ่มสาวที่รักใครชอบพอกัน

เรื่องหนึ่งที่เป็นหลักฐานที่ดีทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์คือ “โคลงนิราศสวรรค์” ที่พรรณนาการเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา ไปนครสวรรค์ และระหว่างทางมีการชมความงามของบ้านเมืองสมัยนั้น

เช่น ปราสาทราชมณเฑียร และเรือหลวงต่างๆ ถึงแม้จะเป็นเวลากว่าร้อยปีที่ผ่านมา แต่สังคมไทยก็มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านสถาปัตยกรรม มีการก่อสร้างพระราชวัง และปราสาทต่างๆได้งดงามไม่แพ้ปัจจุบัน

ภายในนิราศยังแฝงการรำพึงรำพัน ถึงการจากนางอันเป็นที่รัก แสดงค่านิยมว่า ชายในสมัยนั้นรักเดียวใจเดียว เพศหญิงเป็นเพศที่น่าทะนุถนอมและเหมาะแก่การเป็นแม่บ้านแม่เรือนเท่านั้น


“ ในสมัยพระนารายณ์หายใจเป็นโคลง ”

จากคำกล่าวที่ว่า “ในสมัยพระนารายณ์หายใจป็นโคลง” ประกอบกับผลงานที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ล้วนเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า คำประพันธ์โคลงเจริญถึงขีดสุดเป็นความจริง

เนื่องจากวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง เริ่มตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันถือว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา มีความแตกต่างจากวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

อันแสดงถึงวิวัฒนาการในด้านรูปแบบของการประพันธ์ กล่าวคือ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นนิยมแต่งโคลงดั้น ฉันท์ แต่มาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง นิยมแต่งโคลงสี่สุภาพ กาพย์ผสมโคลง (กาพย์ห่อโคลงและกาพย์เห่)

และยังนิยมแต่งฉันท์ ซึ่งถือเป็นการประพันธ์ชั้นสูง ซึ่งคำประพันธ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางนี้ แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของคำประพันธ์อย่างชัดเจน มีโคลงรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย

และคำประพันธ์โคลงก็เป็นคำประพันธ์ที่มีบุคคลสำคัญหลายท่าน นิยมแต่งกันมากในสมัยนั้น เช่น โคลงพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม โคลงราชสวัสดิ์ ซึ่งเป็นบทประพันธ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

โคลงเบ็ดเตล็ดของศรีปราชญ์ โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ของพระศรีมโหสถ กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ โคลงนิราศนครสวรรค์ เป็นต้น

นอกจากนี้แล้วพระศรีมโหสถ ยังประพันธ์โคลงอักษรสาม (โคลงตรีพิธประดับ,ตรีเพชรประดับ) ซึ่งเป็นโคลงที่เป็นตัวอย่าง แก่การศึกษากลบทของโคลงได้ดี

เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์แล้ว วรรณคดีที่เคยรุ่งเรืองก็เสื่อมลงไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เริ่มมีความนิยมอีกที ก็สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งอยู่ในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และระยะนี้ก็ได้มีการประพันธ์ไว้หลายลักษณะ

แต่ที่นิยมมากสุดคือ กาพย์เห่เรือและกาพย์ห่อโคลง นอกจากนี้กวีนิพนธ์ประเภทกลอน เช่น กลอนบทละครก็ได้รับความนิยมมาก จนเจริญรุ่งเรืองมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์

จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง เป็นยุคที่มีความเจริญของโคลงมากที่สุด เพราะเป็นยุคที่เริ่มมีการพัฒนาศิลปะการประพันธ์ต่อจากตอนต้น

ส่วนสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ก็เป็นยุคที่เริ่มฟื้นฟูศิลปะการประพันธ์อีกครั้งหลัง จากที่เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในบ้านเมือง


ขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2555
0 comments
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2555 18:01:06 น.
Counter : 25698 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.