"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
17 มกราคม 2556
 
All Blogs
 

ห้องสมุดอาจินต์ ปัญจพรรค์

โดย อรพรรณ จันทรวงศ์ไพศาล
(มติชนรายวัน 17 ม.ค.2556)





บรรยากาศห้องสมุด อาจินต์ ปัญจพรรค์




(บน) ผลงานและหนังสือเล่มโปรดของ อาจินต์
(ล่าง) หนังสือ ฟ้าเมืองไทย นิตยสารวรรณกรรมที่ลงสกู๊ปอาจินต์ และหนังสือที่อาจินต์ขึ้นปกเป็นครั้งแรก




นักเขียน นักอ่านที่มาร่วมงาน





วันนี้ห้องสมุดแห่งการเรียนรู้ ที่เคยน่าเบื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบและปรับเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากอดีต

แต่ละแห่งต่างสร้างเอกลักษณ์ของตัวเอง เพื่อดึงดูดให้บรรดาหนอนหนังสือทั้งหลายได้เข้ามาเยี่ยมชม ตลอดจนศึกษาหาความรู้ อาทิ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ห้วยขวางที่ปรับเป็นห้องสมุดการ์ตูน, ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้คลองสามวา ที่ใช้ระบบการอ่านอิเล็กทรอนิกส์เน้นเชิงท่องเที่ยวและอาชีพ เป็นต้น

รวมถึง "ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง" ที่ถูกเนรมิตเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวรรณกรรมตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร

นโยบายที่ว่า คือการสนับสนุนให้คนกรุงเทพฯ รักการอ่านพร้อมก้าวสู่การเป็น "เมืองหนังสือโลก หรือ World Book Capital 2013" โดยในการนี้ได้จัดนิทรรศการ "บนเส้นทางวรรณกรรมของอาจินต์ ปัญจพรรค์" รวมถึงเปิด "ห้องสมุดอาจินต์ ปัญจพรรค์" บริเวณชั้น 3 ของห้องสมุดด้วย

เอ่ยชื่อ อาจินต์ ปัญจพรรค์ คอวรรณกรรมทั้งหลายน้อยรายนักที่จะไม่รู้จัก ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ.2534 เจ้าของผลงานมากมายทั้งการเป็นบรรณาธิการนิตยสาร ไทยโทรทัศน์, ฟ้าเมืองไทย, ฟ้าเมืองทอง, ฟ้าอาชีพ, รวมเรื่องสั้นชุด เหมืองแร่, นวนิยายทรงพลังอย่าง เจ้าพ่อ-เจ้าเมือง ฯลฯ

ในวันที่มีโอกาสได้ไปร่วมเปิดงาน "ห้องสุมดอาจินต์ ปัญจพรรค์"

ประโยคหนึ่งของชายวัย 86 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของห้องสมุดแห่งนี้ ยังจำได้ไม่มีลืม

"ผมชอบและรักในการอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก มีโอกาสเขียนเรื่องลงหนังสือหลายครั้ง ต่อมาแม้จะมีโอกาสได้ทำงานที่ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ก็ยังไม่ทิ้งการเขียนหนังสือและยังคงเขียนอยู่เรื่อยมาตราบจนทุกวันนี้

"หนังสือทั้งหมดที่นี่ ผมรักทุกเล่ม หลายเล่มทั้งเก่าและหายาก ในหอสมุดแห่งชาติก็ยังไม่มี แต่ก็ไม่ได้คาดหวังกับหอสมุดแห่งนี้ ผมรักหนังสือก็พอ อยากให้คนอ่านอยากจะอ่านหนังสือที่นี่ เพราะ หนังสือควรจะอยู่ตามชุมชนให้คนอ่าน ไม่ใช่ให้ผมอ่านคนเดียว"

นี่คือคำของ อาจินต์

และในการนี้ มีโอกาสได้ฟัง ทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเดินทางมาเป็นประธานเปิดงาน บอกเล่าถึงความเป็นมาของห้องสมุดอันทรงคุณค่าว่า

นิทรรศการในวันนี้เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวชีวประวัติของอาจินต์ ปัญจพรรค์ ตั้งแต่ภูมิหลังวัยเด็ก จนถึงเรื่องราวการก้าวเข้าสู่การเป็นนักเขียน จนเป็นนักเขียนวรรณกรรมอย่างเต็มตัว ยังมีการจัดแสดงอุปกรณ์เครื่องใช้ในการทำงาน ต้นฉบับ ภาพถ่ายที่หาชมได้ยาก

ห้องสมุดอาจินต์ เป็นห้องสมุดทางด้านวรรณกรรม ก่อตั้งโดย อาจินต์ ปัญจพรรค์ และ แน่งน้อย ปัญจพรรค์ ผู้มอบหนังสือที่ทรงคุณค่า ที่ท่านทั้งสองเก็บสะสมมาหลายสิบปี ทั้งหนังสือวรรณกรรมและหนังสือด้านต่างๆ เช่น ด้านประวัติศาสตร์ สังคมการเมือง บุคคลสำคัญของประเทศและของโลกกว่า 15,000 เล่มมาไว้ที่บริเวณชั้น 3 ของห้องสมุดด้วย

"หนังสือทั้งหมดจะเป็นแหล่งความรู้คุณค่าสำหรับเยาวชนที่เข้ามาในห้องสมุดแห่งนี้ และยังสอดคล้องกับบโยบายของกรุงเทพมหานคร ตามโครงการ ′มหานครแห่งการอ่านและการเรียนรู้′ โดยสร้างแหล่งเรียนรู้และขยายพื้นที่การอ่านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีห้องสมุดมิติใหม่กว่า 36 แห่งและมีบ้านหนังสือไปตามชุมชน 161 บ้านหนังสือ เพื่อเตรียมพร้อมในการเป็นเจ้าภาพเมืองหนังสือโลกในปี 2556 นี้" รองผู้ว่าฯกทม.กล่าว

เสียงเพลงพระราชนิพนธ์และดนตรีคลาสสิก ของวงดนตรีจากกองการสังคีต สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว ดังก้องกังวานไปทั่วลานกว้างหน้าหอสมุด ซอยพระนาง ที่ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นแหล่งเรียนรู้กลางแจ้ง บอกเล่าเส้นทางจากเด็กคนหนึ่งที่สนใจการอ่านและเขียนผ่านตัวหนังสือ ผ่านรูปภาพ ผ่านบทกวี

นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงอุปกรณ์เครื่องใช้การทำงาน อาทิ เครื่องพิมพ์ดีด กล้องถ่ายรูปตัวแรก ตราปั๊มอาจินต์ โอเลี้ยง 5 แก้ว สมุดบันทึกความคิด และต้นฉบับงานเขียนลายมือของนักเขียนชื่อดังในอดีต อาทิ เหม เวชกร เป็นต้น

อีกทั้งยังมีรูปถ่ายร่วมกับนักเขียนวรรณกรรมชื่อดังของเมืองไทยมากมาย

แน่งน้อย ปัญจพรรค์ ภริยาของอาจินต์ เล่าว่า มีความตั้งใจจะสร้างห้องสมุดมานานมาก ที่บ้านมีหนังสือไม่น้อย เพราะเป็นคนชอบอ่าน ชอบซื้อหนังสือ หลายเล่มก็อยากให้ลูกศิษย์และนักเขียนรุ่นใหม่ได้อ่าน

แต่การจะตั้งห้องสมุดเอง คงจะดูแลบริหารจัดการได้เพียงช่วงสั้นๆ เท่าที่มีแรงเท่านั้น ดังนั้นการจะตั้งห้องสมุดขึ้นมา ควรให้ที่ใดที่หนึ่งที่เห็นคุณค่า และสามารถบริหารจัดการได้ในระยะยาวดูแลมากกว่า

"ได้พูดคุยกับทางกรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้เวลาคัดเลือกหนังสือแยกประเภทหมวดหมู่กันอยู่นานกว่าจะตั้งห้องสมุดในวันนี้ ยิ่งได้เห็นห้องสมุดเป็นรูปเป็นร่างก็รู้สึกดีใจ วันหน้าหากห้องสมุดแห่งนี้มีการบริหารจัดการที่ดี เป็นที่นิยมและเป็นที่ต้องการของผู้อ่าน

ภายหน้าคงมีนักเขียนอีกไม่น้อย ที่เขาอยากจะบริจาคหนังสือเข้าห้องสมุดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

"ตอนแรกมีหลายคนบอกว่าหนังสือบางเล่มเก่ามาก ดีมาก แพงมากด้วยเก็บไว้เถอะ อย่าให้เขาเลย เราก็บอกว่า การตั้งสมุดเพื่อให้คนใช้ได้ประโยชน์ ดังนั้นหนังสือยิ่งเก่าก็ยิ่งดี ยิ่งแพงเรายิ่งต้องให้ จะให้เลือกหนังสือดีๆ ไปแล้วเหลือหนังสือไม่ค่อยดีมาเข้าห้องสมุดก็ไม่รู้จะสร้างห้องสมุดทำไม มันแย่กว่าไม่ทำเสียอีก" แน่งน้อย กล่าว

บนพื้นที่ชั้น 3 ของห้องสมุดอาจินต์ หรือห้องสมุดวรรณกรรม ถูกตกแต่งอย่างเรียบง่ายและสวยงาม

ห้องแรกมีการจัดแสดง อุปกรณ์การทำงานของอาจินต์ สมุดบันทึก จัดแสดงในตู้กระจกกลางห้อง ในห้องนี้มีชั้นหนังสือวรรณกรรม หนังสือแปล หนังสือความรู้ต่างๆ วางเรียงให้อ่านและหยิบยืมได้ตลอดเวลา ถัดมาเป็นห้องที่รวบรวมหนังสือหายาก ส่วนใหญ่ไม่อนุญาตให้ยืมได้ และห้องสุดท้าย เป็นห้องภาพยนตร์ที่กำลังฉายภาพยนตร์เรื่อง "มหา′ลัยเหมืองแร่"

เก้ง-จิระ มะลิกุล ผู้กำกับชื่อดัง ผู้หยิบยกรวมเรื่องสั้นชุด "เหมืองแร่" วรรณกรรมชั้นเยี่ยมของ อาจินต์ ไปสร้างเป็นภาพยนตร์จอเงินเรื่อง "มหา′ลัยเหมืองแร่" เล่าว่า สมัยยังเป็นเด็กชอบอ่านผลงานของอาจินต์มาก จะมีหนังสือของท่านวางอยู่ทั่วบ้าน เมื่อมีโอกาสเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ก็ต้องการที่จะหยิบยกเรื่องเหมืองแร่ มาทำเป็นภาพยนตร์ และเรื่องนี้ถือเป็นความภูมิใจสูงสุดในชีวิต

"ทุกครั้งที่ผมดูภาพยนตร์เรื่อง มหา′ลัยเหมืองแร่ จะนึกถึงวันที่ผมเขียนบทภาพยนตร์แล้วมาเล่าให้พี่อาจินต์ฟังที่ห้องในหอสมุดแห่งชาติ ซอยพระนาง แห่งนี้ ตอนนั้นพี่อาจินต์บอกผมว่า

′คุณเป็นผู้กำกับหนังเป็นคนทำหนัง คุณไม่ต้องมาหาเสียงสนับสนุน คุณเป็นผู้กำกับคุณกำลังออกเรือไปประเทศอเมริกา ผมจะไปโบกคุณที่ปากน้ำได้อย่างไร′

เป็นประโยคที่ผมประทับใจมากจนถึงทุกวันนี้ พี่อาจินต์เป็นผู้ใหญ่ที่ผมจะใช้เป็นแบบอย่างในชีวิตต่อไป" จิระกล่าว

ห้องสมุดอาจินต์ ปัญจพรรค์ เปิดให้เข้าชมในวันอังคาร-วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-20.00 น. วันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-17.00 น.

หนอนหนังสือทั้งหลาย ไม่ควรพลาด




ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
มติชนรายวัน
คุณอรพรรณ จันทรวงศ์ไพศาล

สวัสดิ์สิริชีววารค่ะ




 

Create Date : 17 มกราคม 2556
0 comments
Last Update : 19 มกราคม 2556 17:48:35 น.
Counter : 1728 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.