กระทรวงต่างประเทศในสถานการณ์ไม่ปกติ

ที่มา : คอลัมน์กรองข่าวมาเล่า เว็บไซต์หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (คลิก)






รัฐบาลชั่วคราวของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กำลังจะจากไปในเวลาอีกไม่นานนัก ไม่ว่าจะมีใบเหลืองใบแดง จะเปิดสภาได้ตามกำหนดหรือไม่ หรือจะมีรัฐบาลชุดใหม่ได้เร็วช้าเพียงใด รัฐบาลชุดนี้ก็ต้องจากไปด้วยดี แต่ก่อนที่จะไป เราจะมาสำรวจกันว่ามีกระทรวงใดบ้างที่ “สอบผ่าน” ในสายตาของผมเห็นว่า กระทรวงการต่างประเทศเป็นกระทรวงหนึ่งที่รัฐมนตรีและข้าราชการสอบผ่าน ซึ่งไม่ใช่สอบผ่านเพียงเฉียดฉิว แต่ได้เกรดเอทีเดียว

ไม่เพียงแต่ให้เครดิตกับรัฐมนตรีทั้ง 2 ท่าน คือ คุณนิตย์ พิบูลสงคราม รมว.ต่างประเทศ และ คุณเสาวนิตย์ คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการที่เพิ่งลาออกไป เพราะปัญหาทางเทคนิคเท่านั้น ยังต้องให้เครดิตกับบรรดาท่านทูตทั้งหลาย และข้าราชการกระทรวง ที่นอกจากไม่ใส่ “เกียร์ว่าง” แล้ว ยังทำงานกันอย่างเต็มที่ด้วย


ถ้าเป็นการทำงานในสภาวะปกติ ทั้งรัฐมนตรีและข้าราชการคงทำงานกันอย่างสบาย แต่นี่เป็นการทำงานใน “สภาวะไม่ปกติ” ทุกคนจึงต้องเหนื่อยกว่าปกติ


ที่ว่าเป็นเหตุการณ์ในสภาวะที่ไม่ปกติ ก็เพราะรัฐบาลชุดนี้เกิดขึ้นจากการยึดอำนาจเมื่อ 19 ก.ย. 2549 แม้เป็น “รัฐบาลพลเรือน” ที่เป็นส่วนต่างจากคณะทหารที่ยึดอำนาจ โดยที่รัฐบาลไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แต่ต่างชาติก็ยังมองว่า รัฐบาลเป็น “นอมินี” ของ คมช. โดยเฉพาะเมื่อหัวหน้ารัฐบาลยังมีตำแหน่งเป็นพลเอก แม้จะเป็นนายพลเกษียณราชการแล้วก็ตาม ต่างชาติก็ยังมองว่าเป็นตัวแทนของคณะทหารที่ยึดอำนาจนั่นเอง รัฐบาลต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศตะวันตก ต่างคัดค้านการปฏิวัติรัฐประหาร หรือล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จึงเกิดสภาวะการต่อต้านทั้งอย่างเปิดเผยและเงียบๆ


นี่คือ “สถานการณ์พิเศษ” หรือสถานการณ์ไม่ปกติ ที่ทำให้กระทรวงการต่างประเทศซึ่งรับผิดชอบในกิจการต่างประเทศของรัฐบาล ต้องมี “หน้าที่พิเศษ” ที่ต้องปฏิบัติภายใต้ “ข้อจำกัดและความยุ่งยาก” มากกว่าปกติ


ต้องยอมรับว่า หลังการยึดอำนาจ “ความน่าเชื่อถือของไทยในสายตาโลก” ลดลง เพราะประเทศต่างๆ ไม่เข้าใจสถานการณ์ความยุ่งยากภายในประเทศที่นำไปสู่การยึดอำนาจ พวกเขามองอย่างเดียวคือ ยอมรับไม่ได้กับการรัฐประหารโดยคณะทหาร กระทรวงการต่างประเทศจึงต้องทำงานหนักมากกว่าปกติในการ “ฟื้นฟู” ความน่าเชื่อถือของไทยในสายตาโลก ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายนัก


ไม่ใช่ว่าคนในกระทรวงการต่างประเทศทุกคนเห็นด้วยกับการยึดอำนาจโดยคณะทหาร ท่านทูตและคนกระทรวงการต่างประเทศจำนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ แต่ทุกคนต้องทำหน้าที่ของตนโดยคำนึงถึงประเทศชาติเป็นสำคัญ และเก็บความรู้สึกส่วนตัวเอาไว้ก่อน เพราะท่านทูตทั้งหลายได้รับการอบรมมาว่า “ถูกหรือผิด นี่คือประเทศของผม” อย่างอื่นว่ากันทีหลัง


ท่านรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยซึ่งเป็นอดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นนักการทูตมือเยี่ยมของไทยมาแล้ว ต้องเริ่มทำงานอย่างหนักนับแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่ง และท่านทูตไทยที่ประจำในต่างประเทศ ได้แสวงหาทุกโอกาสและทุกเวทีเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงให้กับต่างประเทศได้เข้าใจเหตุผลและความจำเป็น พร้อมทั้งเน้นย้ำความตั้งใจของรัฐบาลที่จะนำประเทศกลับเข้าสู่ครรลองประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาตามกำหนดเวลาที่รัฐบาลประกาศไว้ตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเป็นการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กำหนดเวลาในการเลือกตั้ง และการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ฯลฯ


การทำความเข้าใจกับประเทศในอาเซียน ในเอเชียและอีกหลายประเทศไม่ค่อยยุ่งยากเท่าใด เพราะประเทศเหล่านั้นพอจะเข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทย แต่ที่ลำบากใจและยุ่งยากใจมากที่สุดสำหรับรัฐมนตรีและท่านทูตทั้งหลาย คือ ประเทศตะวันตกหรือฝรั่งตาน้ำข้าวทั้งหลาย โดยเฉพาะสหรัฐและสหภาพยุโรป เพราะประเทศเหล่านี้มีเงื่อนไขและข้อจำกัดทางกฎหมายในการมีความสัมพันธ์กับประเทศที่มีรัฐบาลมาจากการรัฐประหาร แม้ผู้นำและบุคคลสำคัญบางคนโดยส่วนตัวพอจะเข้าใจถึงเหตุผลและความจำเป็น และเข้าใจถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลพลเรือนที่จะนำไทยกลับสู่ครรลองประชาธิปไตยตามกำหนดเวลา แต่ในทางการเมืองและทางกฎหมาย พวกเขายอมรับอย่างเปิดเผยไม่ได้ แต่กระทรวงการต่างประเทศก็ไม่ละความพยายาม โดยเดินหน้าทำงานต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ


แม้หลายประเทศระงับการติดต่อแบบทวิภาคี แต่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศ ได้ใช้เวทีพหุภาคี ในการประชุมระหว่างประเทศ อาทิ การประชุมเอเปก เออาร์เอฟ. อาเซ็ม การประชุมสุดยอดอาเซียนกับสหภาพยุโรป เวทีสหประชาชาติ เข้าพบปะพูดจากเป็นการส่วนตัว กับผู้นำประเทศอื่น แม้ผู้นำบางประเทศระมัดระวังตัวเนื่องจากเกรงผลเสียทางการเมืองภายในประเทศของเขา แต่ท่าทีตอบรับมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ


“การทูตส่วนตัว” จึงมีบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะนี่คือสัญชาตญาณของมนุษย์ ไม่ว่าจะโกรธกันเพียงใด ถ้ามีโอกาสได้พบปะพูดคุย กันเป็นส่วนตัวแล้ว สิ่งที่คุกรุ่นในใจก็ลดลง หรืออย่างน้อย ก็ไม่ปฏิเสธอย่างไม่มีเยื่อใย การยอมพบปะเป็นส่วนตัว กับผู้นำรัฐบาลไทย หรือในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ สะท้อนว่า ประเทศเหล่านั้นมี “ความยืดหยุ่น” ต่อไทย เพิ่มขึ้น อีกทั้งอดีตผู้นำประเทศ เช่น จิมมี คาร์เตอร์ จอร์จ เอช. บุช และบิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐยังมาเยือนไทยหลังการยึดอำนาจ ถือว่าเป็นการแสดงความยืดหยุ่น ในระดับหนึ่ง อีกทั้งสหรัฐและไทยยังดำเนินการฝึกทาง ทหารร่วมกัน “คอบรา โกลด์” ได้ตามปกติ ทั้งที่สหรัฐมีข้อจำกัดทางกฎหมาย การเยือนไทยของรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี เท่ากับประเทศเหล่านั้นได้ “ผ่อนคลาย” นโยบายของตนในระดับหนึ่ง


หลังจากที่ไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และมีการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา ซึ่งเป็นการทำตามสัญญาที่รัฐบาลไทย และกระทรวงการต่างประเทศได้ไปพูดคุยกับผู้นำต่างประเทศไว้แล้ว ทำให้ความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อไทยได้กลับคืนสู่สภาวะปกติเกือบสมบูรณ์ ได้สร้างความเชื่อมั่นในสายตาของต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศตะวันตกซึ่งต้องการเห็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง สหรัฐ สหภาพยุโรป ได้แสดงท่าทีชื่นชมในการจัดการเลือกตั้ง ของไทยที่เป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยมีตัวแทนองค์กรภาคเอกชนของฝรั่งมาสังเกตการณ์อยู่ด้วย และเห็นพ้องว่า นี่เป็นขั้นตอนสำคัญกับการกลับสู่ประชาธิปไตยของไทย สหรัฐได้แสดงความหวังจะสานต่อความสัมพันธ์กับไทยอย่างจริงจังในทุกเรื่อง เมื่อไทยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และจะยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายที่ห้ามมีปฏิสัมพันธ์กับรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร


อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ในช่วงปีกว่าหลังการยึดอำนาจ กระทรวงการต่างประเทศทั้งรัฐมนตรีและข้าราชการทุกคน โดยเฉพาะท่านทูตในต่างประเทศ ได้ทำงานหนักภายใต้สภาวะที่ไม่ปกติมาโดยตลอด ซึ่งผลก็ออกมาในทางที่น่าพอใจ เพราะประเทศต่างๆ ได้กำหนดท่าทียืดหยุ่นและเป็นผลดีต่อไทยมากขึ้น แม้ความสัมพันธ์จะยังไม่ปกติ 100% แต่เราก็สามารถดึงความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อไทยกลับคืนมาสู่สภาวะปกติเกือบสมบูรณ์แล้ว


อย่างไรก็ตาม ท่านทูตบางคนฝากบอกว่า แม้เป็นหน้าที่ของทูตที่ต้องทำเพื่อประเทศชาติ แต่ถ้าจะให้ดี หากไม่มีการยึดอำนาจโดยคณะทหารอีกได้ก็เป็นการดี เพราะการชี้แจงต่อต่างประเทศนั้นค่อนข้างเหนื่อยทั้งกายและใจ โดยเฉพาะเมื่อมีข่าวลือออกมาก่อนการเลือกตั้งว่า อาจมีการเลือกตั้งออกไปอีก เล่นเอาท่านทูตเสียวสันหลังไปตามๆ กัน


ขณะนี้ ท่านทูตทั้งหลายยังไม่หายเสียว เพราะการเมืองเมืองไทยยังไม่นิ่ง เนื่องจากยังมีใบแดงใบเหลือง หรืออาจมีกรณียุบพรรคซึ่งอาจมีความวุ่นวายตามมา อย่างไรก็ดี การตัดสินใจใดๆ ก็ตามขอให้ผ่านกระบวนการยุติธรรมหรือตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่กำหนดไว้ เพราะต่างชาติพอจะรับได้ในเรื่องนี้








 

Create Date : 13 มกราคม 2551
0 comments
Last Update : 13 มกราคม 2551 23:58:37 น.
Counter : 622 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


snodgrass
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





แสงหนึ่ง - ครอบครัว "ศรีณรงค์"
บรรเลงสดในรายการ "จับเข่าคุย"



ทำให้ใจเต้นแรง


บล็อกล่าสุด

รวมรูปคนดัง (6 มี.ค. 51) - Catherine Zeta Jones, Rachel McAdams, Maria Sharapova และอีกมากมาย

รวมรูปคนดัง (ครั้งยิ่งใหญ่) - Winona Ryder, Natalie Portman, Maria Sharapova และอีกมากมาย

รวมรูปคนดัง (ครั้งยิ่งใหญ่) - Jessica Alba, Kate Beckinsale, Jennifer Hawkins และอีกมากมาย

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ในความทรงจำของ "หมึกแดง"

บทความเก่าของคุณ ปิติ เลิศลุมพลีพันธุ์ "สนามวิจารณ์ : คารวะแด่ Morricone"

: Users Online
Group Blog
 
<<
มกราคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
13 มกราคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add snodgrass's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.