ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
1 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 
เรื่องราวของกระสุนและอาวุธต่อต้านรถถัง

บทความนี้ เจ้าของบทความคือผู้หมวด FW190 แห่ง Wing21 โดยคุณ Helldriver นำมาโพสที่ //www.thaifighterclub.com เห็นว่ามีประโยชน์มาก จึงขอนำมาให้อ่านกันครับ



รถถังและยานเกราะนั้นจัดได้ว่าเป็นอาวุธเผด็จศึกที่ดีอีกแบบหนึ่งนอกเหนือจากอำนาจการยิงภายใต้เกราะกำบังแล้ว สิ่งหนึ่งที่บรรดาเหล่าม้าศึกมีก็คือ อำนาจการข่มขวัญทำลายขวัญข้าศึก ลองนึกภาพหน่วยยานเกราะเข้าตีดูซิครับ เสียงคำรามของเครื่องยนต์+เสียงคำรนของปืนใหญ่รถถังที่พ่นส่งดุ้นเขื่องมรณะแหวกอากาศเข้าสู่ที่หมายนัดแล้วนัดเหล่า +เสียงเอี๊ยดอ๊าดของสายพานที่กำลังควบตะกุยดินเข้าชาร์จข้าศึกหมายจะขยี้ให้แหลกจมธรณี สิ่งเหล่านี้ถ้าสมมุติเพื่อนๆเป็นทหารราบข้าศึกที่หมอบอยู่ในสนามเพลาะและกำลังกำลังจ้องมองบรรดาฝูงม้าศึกเหล่านั้นกำลังชาร์จเข้าหาตนเพื่อนจะรู้สึกยังไงครับ.....ทหารถ้าฝึกมาไม่ดีเจอเข้ากับสถานการณ์ข้างจะส่งผลต่อสภาพจิตใจมากครับ ศัพท์ทหารเรียกขวัญต่ำ ด้วยความกลัวต่อสิ่งที่เห็นอยู่ ถึงขั้นอาจจะทิ้งปืนวิ่งหนีเอาได้ง่ายๆ......แต่ใช่ว่าม้าศึกเหล่านั้นจะอยู่ยงคงกระพันฟันแทงไม่เข้า รถถังไม่ใช่เป็นที่ที่ปลอดภัยที่สุดในสนามรบ และไม่สามารถอยู่รอดได้ 100 % ในสนามรบ รถถังหรือนายเกราะเองก็มีโอกาสโดนน็อคเอ๊าท์สยบออกจากสนามรบได้เช่นกัน เนื่องจากเจ้าม้าศึกนั้นได้รับการหุ้มเกราะป้องกันเป็นอย่างดี ดังนั้นถ้าเราจะหยุดบรรดาม้าคะนองศึกเราก็จำเป็นจะต้องเจาะเกราะที่หุ้มอยู่เข้าไปให้ได้.......การเจาะเกราะเพื่อหวังกินไข่แดงนั้นเราก็จำเป็นจะต้องล่อหลอก เอ๊ย ไม่ใช่ หุหุ ผิดเรื่อง การเจาะ(ไข่แดง)นั้นจะแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่คือ

1 การเจาะเกราะด้วยพลังงานเคมี

2. การเจาะเกราะด้วยพลังงานจล


เรามาพูดถึงการเจาะเกราะแบบแรกก่อนครับ การเจาะเกราะด้วยพลังงานเคมีนั้น เป็นวิธีการแรกๆที่เราคิดกันขึ้นมาเพื่อหยุดบรรดาม้าศึก(รถถังและยานเกราะ)ทั้งหลายมีใช้งานครั้งแรกๆในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หัวรบแบบนี้มีชื่อว่า เชพชาร์จ หรือศัพท์ทหารไทยเรียกว่า ดินโพรง หรือหัวรบแบบ ฮีท(HEAT: High Exprosive Anti Tank หรือ ระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถัง กระสุนแบบนี้มีใช้งานกับ ปรส. 106 ซึ่งเพื่อนๆก็เคยยิงกันมาแล้วตอนชั้น 2) หลักการทำงานของหัวรบแบบนี้ก็คือ การรวมอำนาจของการระเบิดให้ไปรวมที่จุดโฟกัสเดียว(การระเบิดจะเป็นรูปกรวยโดยปลายแหลมจะทิ่มเข้าหาตัวเกราะ) โดยปกติการระเบิดของหัวรบจะระเบิดกระจายไปทุกทิศทุกทาง แต่หัวรบแบบเชพชาร์จ เมื่อระเบิดจะรวมอำนาจการระเบิดทั้งหมดไปไว้ที่จุดโฟกัสจุดเล็กๆที่ปลายแหลมของกรวยการระเบิด(ตัวอย่างง่ายๆ ลองนึกถึงตอนเด็กๆที่เรานำเอาแว่นขยายมารับแสงแดดให้ไปรวมกันที่จุดโฟกัส ความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่มารวมกันที่จุดเล็กๆสามารถเผากระดาษได้เลย เจ้าหัวรบเชพชาร์จก็คล้ายๆ กัน) เพื่อส่งพลังงานการระเบิดทั้งหมดเจาะแทรกผ่านเนื้อเกราะเข้าไปเผาไหม้ภายในตัวรถทำลายพลประจำรถหรืออุปกรณ์ภายในรถ.......หัวรบแบบนี้ไม่ต้องใช้ความเร็วต้นที่สูงมากนัก จะสังเกตุได้ว่า คจตถ.(เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง)ทุกแบบจะใช้หัวรบประเภทนี้ทั้งหมด เช่น อาร์พีจี ที่เรารู้จักกันดี......แต่อย่างไรก็ตาม มีผูกก็ต้องมีแก้ มีตะขอก็ต้องปลด เอ๊! อันหลังฟังแปลกๆแฮะ แต่อย่างไรก็ตามม้าศึกของเราก็คงไม่ยอมจะปล่อยให้โดนถลุ่งอยู่ฝ่ายเดียว จึงได้มีการพัฒนาเกราะเสริมสำหรับเจ้าม้าเพื่อรับมือกับหัวรบแบบนี้โดยเฉพาะนั่นก็คือ เกราะอีร่า(ERA: Exprosive Reaction Armed) หรือชื่อภาษาไทยว่า เกราะเสริมปฏิกิริยาต่อต้านด้วยแรงระเบิด ชาติแรกที่หัวใสคิดค้นขึ้นก็คือ อิสราเอล(มีชื่อว่า เบล์เซ่อ) เกราะเสริมแบบนี้มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมภายในบรรจุดินระเบิด การติดตั้งจะนำกล่องระเบิดเหล่านั้นไปติดไว้ตามตัวของม้าศึกโดยจะติดห่างจากเกราะปกติประมาณ 2-3 นิ้ว หลักการทำงานก็คือ เมื่อหัวรบเชพชาร์จพุ่งเข้าชนเกราะอีร่าที่อยู่ตามตัวม้าศึก เกราะอีร่าก็จะระเบิดขึ้นแรงระเบิดของเกราะอีร่าจะทำลายรูปทรงการระเบิดของหัวรบเชพชาร์จ พูดง่ายๆก็คือ แรงระเบิดจากเกราะอีร่าจะทำให้การระเบิดของหัวรบเชพชาร์จไม่เป็นรูปกรวยดังที่กล่าวไว้ข้างต้นจะส่งผลให้อำนาจการระเบิดของหัวรบเชพชาร์จกระจัดกระจายไม่มีอำนาจพอในการเจาะเกราะม้าศึกเข้าไปได้ เท่านี้ม้าศึกก็ปลอดภัยต่อการเจาะด้วยหัวรบเชพชาร์จ.......แต่เจ้าเกราะอีร่าก็ยังมีข้อเสียคือ 1. การระเบิดของเกราะอีร่าจะก่อให้เกิดสะเก็ดเป็นจำนวนมากซึ่งจะส่งผลต่อเพื่อนผู้พักดีที่รบเคียงบ่าเคียงไหล่ด้วยกันก็คือ ทหารม้าบรรทุกยานเกราะหรือทหารราบยานเกราะหรือทหารราบตัวจ้อยที่ลงรบเดินดินอยู่ข้างๆม้าศึก(หลักการรบเราจะไม่ใช่งานรถถังเพียงลำพังจะใช่งานร่วมกับม้ายานเกราะหรือราบยานเกราะ ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังทีหลัง) 2. เกราะอีร่าเมื่อถูกยิงในครั้งแรก บริเวณที่ถูกยิงก็จะล้านเลี่ยนเตียนโล่ง เหลือแต่เกราะปกติเพียวๆไม่มีอีร่ามาแปะป้องกันอยู่ ฉะนั้นถ้าม้าศึกตัวนั้นเกิดดวงกุด ดันโดนซ้ำดอกสองที่บริเวรเดิมซึ่งเหลือเพียงเกราะปกติละก็ เตียมรถมาลากซากกับไปได้เลย(อันนี้พูดถึงในขณะรบติดพัน แต่ถ้าม้าศึกที่ถูกยิงตัวนั้นดวงยังแข็งอยู่รอดดาบสองมาได้ หลังเสร็จศึกตอนนั้นก็สามารถนำเกราะอีร่ามาติดทดแทนของเดิมที่ระเบิดไปได้)......แต่!เดี๋ยวก่อน!ยังไม่จบ ถ้าเพียงท่านโทรสั่งตอนนี้ เอ๊ย ไม่ใช่ บรรดาม้าศึกอย่าพึ่งดีใจไป อย่างที่บอกแต่แรก มีตะขอก็ต้องปลด เอ๊ย มีผูกก็ต้องมีแก้ บรรดาหนุ่มที่หมายมั่นปั่นมืออยากเจาะ(ไข่แดง)เจ้าม้า ทั้งหลายหลังเห็นว่าแผนแรกไม่ได้ผลเพราะสาวเจ้ารู้ทันดันแก้ลำถูกไม่หลงเคลิ้มง่ายๆ ดังนั้นต้องเจอแผนสอง หลังจากไอ้หนุ่มหัวรบเชพชาร์จโดนแก้ลำด้วยอีสาวเกราะอีร่าไปแล้ว บรรดานักประดิษฏ์อาวุธหัวใสก็พยายามคิดค้นวิธีเจาะสาวอีร่าให้ได้ และแล้ว ก็นั่งสมาธิแบบอิกคิวซัง ป็อกๆๆๆ ปิ้ง! อ้า นึกออกแล้ว เมื่อหัวเดียวทิ่ม เอ๊ย เจาะไม่เข้า อย่างนี้อีสาวอีร่าต้องเจอดุ้นมรณะ(หัวรบนะอย่าคิดมาก) 2 หัวซะแล้ว รับรองคราวนี้เสร็จแน่ๆๆ เฮอะๆๆ(อืม เหมือนโรคจิตเลยตู)......และแล้วเกราะอีร่าก็ไม่อยู่ยงคงกระพันได้อีกต่อไป จากข้อเสียข้อที่ 2 ข้างต้นที่ผมเคยบอกไป จึงได้มีการคิดค้น จรวดต่อสู้รถถังแบบ 2 หัวรบ(ในลูกเดียว)เรียงตามกันขึ้นมา โดยหัวรบแรกจะเป็นหัวรบระเบิดแรงสูงธรรมด๊าธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา(ชักงงตัวเองแล้ว วุ๊ย) เจ้าหัว(รบ) ส่วนหัวรบที่ 2 จะเป็นหัวรบแบบเชพชาร์จ การทำงานก็คือ เมื่อดุ้น(จรวด)กระทบเป้าที่มีเกราะอีร่าป้องกันอยู่ หัวรบแรกจะมีหน้าที่แบบกามิกาเซ่คือจะระเบิดตัวเองไปพร้อมกับเกราะอีร่า ทีนี้ละช่องทางเปิดโล่งสะดวกโยธิน เพราะเกราะอีร่าตรงบริเวณนั้นระเบิดไปแล้ว หัวรบที่ดุ้นที่สองที่เป็นเชพชาร์จก็จะพุ่งเข้าชนเกราะปกติของรถถังแล้วระเบิดเจาะเข้าไปตามขั้นตอนที่บอกไว้.....ตัวอย่างแบบหนึ่งของหัวรบ 2 หัวพิฆาตรถถังแบบนี้ก็ได้แก่ จรวด เฮลไฟร์ ที่เป็นอาวุธหลักในการพิฆาตม้าศึกของเจ้าฮ.โจมตีชื่อดัง เอเอช 64 อาปาเช่ นั่นเอง แถมในปัจจุบันมีการพัฒนาหัวรบแบบ 3 หัวอีกต่างหาก เอากับมัน แค่ 2 หัวก็เจ็บจะตายอยู่แล้ว ยังจะมี 3 หัวอีก น่าสงสารเจ้าม้าศึกจัง..............ยังมีลูกเล่นอีกหลายวิธีของการเจาะเกราะรถถังด้วยหัวรบเชพชาร์จในจรวดต่อสู้รถถัง เช่น ในจรวดต่อสู้รถถังแบบใหม่ๆจะเป็นแบบลูกจรวดจะโคจรเหนือเส้นเล็ง เพื่อระเบิดเหนือตัวม้าศึก เพราะเกราะบริเวณหลังคาของรถถังจะบางที่สุด และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ปกติแล้วลูกเล่นของการวางเกราะของรถถังเพื่อเพิ่มความหนาสัมพัท โดยที่ไม่ต้องเพิ่มน้ำหนักของเกราะก็คือ การวางแผ่นเกราะแบบทำมุมลาดเอียง เพื่อนๆลองนำหนังสือมาหนึ่งเล่มครับ ลองเปรียบเทียบความหนาของสันหนังสือดูครับ แบบแรก เพื่อนๆวางหนังสือให้ตั้งฉากกับพื้นโลกโดยหันด้านสันเข้าหาใบหน้าอันหล่อเหลา(หรือสุดสวย)ของเพื่อนๆดูครับแล้วนำไม้บรรทัดมาวัดความหนาของสันหนังสือดูครับโดยการวัดให้วัดโดยไม้บรรทัดขนานกับพื้นโลกครับ แล้วอ่านตัวเลขที่ไม้บรรทัดดูครับ ทีนี้มาลองอีกวิธีครับ ด้วยหนังสือและไม้บรรทัดอันเดิม จากที่วางตั้งฉากทีนี้เปลี่ยนใหม่ครับ ให้วางหนังสือให้เอียงทำมุมกับพื้นโลกดูครับแล้วลองวัดความหนาของสันหนังสือดูอีกทีครับ(วัดแบบเดิมครับคือขนานกับพื้นโลก) เป็นไงครับความหนามันจะมากขึ้นใช่ไหมครับทั้งๆที่เป็นหนังสือเล่มเดิม ยิ่งเอียงทำมุมมากเท่าไหร่ก็ยิ่งหนามากขึ้น หนังสือคือการจำลองของแผ่นเกราะครับ ส่วนไม้บรรทัดที่วัดคือการจำลองทิศทางการเข้าชนของจรวดหรือกระสุนครับ อีกอย่างครับมุมลาดเอียงของเกราะยังสามารถทำให้จรวดหรือกระสุนที่พุ่งชนมีโอกาสเกิดการแฉลบได้ครับ.......ดังนั้นเหตุที่จรวดต่อสู้รถถังแบบใหม่เปลี่ยนมุมการเข้าต่อตีก็เพื่อเหตุนี้ครับ จากปกติที่พุ่งตามเส้นเล็งเข้าชนแบบตรงๆดื้อๆ ก็เปลี่ยนใหม่เป็น โคจรเหนือเส้นเล็ง แล้วไปแตกตัวระเบิดเหนือรถถังแล้วสาดแรงระเบิดส่งปลายแหลมของกรวยการระเบิดลงทำมุมเข้าหาเกราะรถถังครับ ทีนี้เกราะลาดเอียงก็ไร้ค่าครับ มันจะมีค่าความหนาเหมือนเกราะตั้งฉากครับ เพราะการระเบิดเหนือเกราะแล้วสาดลงทำมุมเข้าหาเกราะลาดเอียง แรงระเบิดที่สาดลงทำมุมก็จะทำมุมตั้งฉากกับเกราะที่ลาดเอียงครับ



การเจาะเกราะด้วยพลังงานจลก็ตามชื่อครับ คือ เป็นการอาศัยความเร่งและโมเมนตั้มของลูกกระสุนในการแทรกเนื้อเกราะทะลุเข้าไปภายในรถถังครับ......หลักการก็คือ จะใช้ความเร็วต้นที่สูงๆเพื่อกระแทกเจาะทะลุเข้าไปภายใน ตัวหัวกระสุนจะไม่มีดินระเบิดแต่จะใช้พลังงานความร้อนที่เกิดจากการเสียดทานระหว่างเนื้อกระสุนกับเนื้อเกราะ เข้าไปเผาไหม้ภายในเพื่อทำลายอุปกรณ์ตลอดจนพลประจำรถภายใน(บรื้อ สยองแทน เรียกว่า ฌาปนกิจกันเสร็จสัพ) ลองนึกดูครับว่าความเร็วมันสูงแค่ไหนขนาดทำให้เกิดแรงเสียดทานชนิดสามารถเผาไหม้ได้.......ลักษณะลูกกระสุน นั้นหัวกระสุนจะมีลักษณะเหมือนลูกดอกคือ จะมีหัวแหลมตัวจะเรียวเล็ก ไม่มีดินระเบิด และจะมีขนาดหน้าตัดที่เล็กกว่าขนาดความกว้างของปากลำกล้องปืนใหญ่รถถัง ดังนั้นมันจึงต้องมีอุปกรณ์อีกชนิดเข้ามาช่วยนั่นก็คือ ครอบ นั่นเอง เจ้าครอบที่ว่าจะเป็นเหมือนตัวคอนเน็กเตอร์เชื่อมต่อระหว่างตัวหัวกระสุนกับปลอกกระสุน เพราะว่ามันมีขนาดแตกต่างกันมากจึงต้องมี ครอบ ขึ้นเพื่อให้หัวกระสุนสวมเข้าไปในปลอกกระสุนได้ และ ให้ลูกกระสุนอยู่ตรงกลางลำกล้องปืนใหญ่........กระสุนพลังงานจลจะมีอยู่ 2 แบบคือ กระสุนเจสเกราะสลัดครอบทิ้ง(APDS-T) และ กระสุนเจาะเกราะ สลัดครอบทิ้งทรงตัวด้วยครีบหาง(APFSDS-T) ซึ่งในศัพท์ทหารม้าบ้านเราจะเรียกว่า กระสุน เจาะเกราะ และ เจาะเกราะพิเศษ ตามลำดับ ทั้ง 2 แบบเป็นแบบสลัดครอบทิ้งทั้งคู่แต่จะแตกต่างกันตรงที่แบบหลังจะทรงตัวด้วยครีบหาง แบบแรกจะไม่มีแต่จะทรงตัวด้วยการหมุน(เกิดจากเกลียวในลำกล้อง) เจ้าแบบแรกนั้นถูกออกแบบขึ้นมาก่อน แต่ ความเร็วต้นยังต่ำไปเพราะแรงต้านจากเกลียวในลำกล้อง และ อีกปัญหาคือ แบบไม่ครีบหางนั้น เมื่อมันกระทบเป้าจะเกิดอาการเสียการทรงตัว(เนื่องจากการหมุนของตัวลูกกระสุน ถ้านึกไม่ออก ลองนึกถึงกระสุนไรเฟิลครับที่ว่า รูกระสุนเข้าจะเล็กส่วนรูออกจะใหญ่ นั่นแหละครับ เพราะมันเกิดจากการที่ ลูกกระสุนมันหมุนพอกระทบเป้าลูกระสุนจะเกิดอาการเสียศูนย์จึงหมุนตีคว้านจึงทำให้ รูกระสุนออกมีขนาดใหญ่นั่นเอง) แล้วตีคว้าน ทำให้เจาะเกราะได้ไม่หนามากนัก นักออกแบบจึงพยายามหาทาง เพิ่มความเร็วและการเจาะให้มากขึ้น จึงเป็นที่มาของเจ้ากระสุนแบบหลัง และ ปืนใหญ่รถถังชนิดลำกล้องเรียบ(ไม่มีเกลียว) จากการที่ลำกล้องแบบใหม่ไม่มีเกลียว ดังนั้นจึงต้องหาวิธีการทรงตัวให้กับลูกกระสุน จึงได้เพิ่มครีบหางสำหรับทรงตัวให้กับลูกกระสุน(จึงเปนที่มาของชื่อ เจาะเกราะสลัดครอบทิ้งทรงตัวด้วยครีบหาง).......ลำกล้องปืนใหญ่รถถังแบบใหม่ที่ไร้เกลียว(รถถังยุคใหม่ส่วนมากจะใช้ปืนใหญ่ชนิดนี้ เช่น รถถัง เอ็ม 1 อะบรามของ อเมริกา และ รถถัง ชเลนเจอร์ 2 ของอังกฤษ) จะทำให้กระสุนมีความเร็วต้นที่สูงขึ้นเพราะไม่มีแรงต้านจากเกลียวในลำกล้อง............แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีกระสุนเจาะเกราะสลัดรอบทิ้งทรงตัวด้วยครีบหางใช้งานกลับปืนใหญ่รถถังชนิดมีเกลียว โดย จุดสัมผัสระหว่างตัวลูกดอกกับครอบที่หุ้มอยู่นั้นจะมีตลับลูกปืนอยู่ เมื่อ เวลายิง ออกไป ตัวครอบจะจับกับเกลียวในลำกล้องและหมุนตามเกลียวแต่ตัวลูกดอกภายในเกลียวจะไม่หมุนตามเพราะมีตลับลูกปืนกั้นอยู่ เพราะว่าถ้าไม่มีตลับลูกปืนจะทำให้ตัวลูกดอกหมุนตามไปด้วยซึ่งจะส่งผลต่อความเร็วและความเสถียรเพราะครีบหางที่หมุนตามไปด้วย(ถ้าเพื่อนๆที่ไปฝึกหรือดูงานทหารม้ามาถ้าไปลองหมุนหัวกระสุนชนิดนี้ดูมันจะหมุนได้แต่ส่วนอื่นจะอยู่กับที่ครับ เพราะผมลองหมุนมาแล้วครับ).........ลักาณะของครอบกระสุนนั้น ด้านหน้าจะมีลักษณะรับลมและต้านลม และมีลักษะเป็นกลีบๆเชื่อมต่อกันอยู่เพื่อที่เมื่อยิงพ้นปากลำกล้องปืนใหญ่ออกไปแล้ว แรงต้านจากแรงลมจะกระทำที่ด้านหน้าของครอบกระสุนและเป็นแรงที่ทำให้ครอบกระสุนแยกออกเป็นกลีบๆและสลัดออกจากตัวลูกดอก..................การทำงานของกระสุนประเภทนี้ก็คือ เมื่อยิงออกไปแล้ว พอกระสุนพ้นลำกล้องไปได้ซักระยะครอบจะถูกสลัดทิ้ง(ตามที่ได้อธิบายไป) จะเหลือแต่ตัวลูกดอกเพียวๆพุ่งเข้าหาเป้าหมาย(ตัวลูกดอกจะทำด้วยทังสเตน หรือ ยูเรเนี่ยมที่หมดรังสีแล้ว เพราะมีมวลหนาแน่น) พอกระทบเป้าตัวกระสุนจะใช้แรงจากความเร่งและโมเมนตั้มและจากรูปลักษณ์ของตัวลูกดอกเองที่เรียวแหลม(ลดแรงต้านจากเนื้อเกราะ) เจาะแทรกตัวผ่านเนื้อเกราะรถถังเข้าไปภายใน เนื่องจากกระสุนประเภทนี้จะไม่มีดินระเบิดดังนั้นมันจะไม่ระเบิดแต่จะอาศัยพลังงานความร้อนที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างเนื้อลูกดอกกับเนื้อเกราะเป้าหมาย(ในระหว่างที่แทรกตัวเข้าไป)เป็นพลังงานความร้อนเข้าไปเผาไหม้ภายใน ซึ่งจะทำลายพลประจำรถและอุปกรณ์ภายใน............ถ้าจำบทความที่แล้วเกี่ยวกับการเจาะเกราะด้วยพลังงานเคมีได้(หรือลองไปเปิดกระทู้เก่าดูครับ) จะจำเกราะต่อต้านชนิดหนึ่งได้นั่นก็คือ เจ้าเกราะอีร่า หรือ เกราะเสริมปฏิกิริยาต่อต้านด้วยแรงระเบิด เจ้าเกราะอีร่าที่ว่านี้จะใช้ไม่ได้ผลกับเจ้ากระสุนเจาะเกราะด้วยพลังงานจล เพราะว่า กระสุนพลังงานจลไม่มีดินระเบิดและไม่เกิดการระเบิด จึงทำให้เกราะอีร่าไม่ระเบิดเพราะไม่มีช็อกเวพจากการระเบิดของหัวกระสุนที่มากระทบมาจุดให้ตัวเองระเบิดตามไปด้วย ดังนั้นเจ้าเกราะอีร่าไม่สามารถหยุดเจ้ากระสุนพลังงานจลได้ ปัจจุบันยังไม่มีเกราะเสริมพิเศษที่ใช้เทคนิคพิเศษแบบใดที่สามารถป้องกันกระสุนพลังงานจลได้ ซึ่งการต่อต้านทำได้เพียงการเสริมเกราะให้หนาขึ้นเท่านั้น..........ปัจจุบัน ทหารม้า ทบ.ไทย มีเจ้ากระสุนแบบนี้ทั้ง 2 ชนิดครับ เป็น กระสุนขนาด 105 มม.ใช้งานกับปืนใหญ่ลำกล้องมีเกลียว........




Create Date : 01 ตุลาคม 2549
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2550 13:25:42 น. 10 comments
Counter : 12136 Pageviews.

 
เจอกระสุนแบบนี้เข้าไปทหารข้างในจะเป็นไงบ้างครับ มีทางรักษาใหมครับ หรือว่าเก็บกระดูกเลย


โดย: Dude IP: 58.8.35.64 วันที่: 2 ตุลาคม 2549 เวลา:0:40:36 น.  

 
เคยเห็นสารคดีเอามาฉายเหมือนกันครับ กระสุนแบบพลังงานจลน์ เวลากระสุนกระทบเป้าหมายตัวรถถังจะเป็นรูไม่ใหญ่มากแต่ข้างในดูๆแล้วถ้าโดนทีน่าจะเละ


โดย: จับฉ่าย IP: 58.9.17.88 วันที่: 2 ตุลาคม 2549 เวลา:21:52:50 น.  

 
ข้างในก็คงแย่อยู่ล่ะครับ เหอ ๆ


โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 3 ตุลาคม 2549 เวลา:1:28:34 น.  

 
ใครอยากจะเป็นพลขับรถถัง ผมไม่เอาด้วยหรอก เหอๆ

กล่องเหล็กดูดกระสุนนี่เอง


โดย: azureus IP: 58.9.63.171 วันที่: 3 ตุลาคม 2549 เวลา:19:46:34 น.  

 
ถึงจะดูน่ากลัว แต่พลรถถังมีโอกาสรอดมากกว่าทหารราบเยอะนะครับ
เพราะมีอาวุธไม่กี่อย่างที่จะทำร้ายได้ ถ้าเป็นทหารราบละ สารพัดอย่างเลย


โดย: DDD IP: 203.144.130.176 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2549 เวลา:8:44:16 น.  

 
เชื่อหรือไม่ครับว่าทหารที่กวาดล้างให้หมดไปจากสนามรบได้ยากที่สุดคือทหารราบครับ เพราะสามารถอยู่ได้ทุกที่ครับ


โดย: FW190 IP: 203.146.63.184 วันที่: 16 มีนาคม 2550 เวลา:13:25:17 น.  

 
เข้าท่าแห้ะ


โดย: 55 IP: 58.10.207.42 วันที่: 11 พฤษภาคม 2550 เวลา:13:24:20 น.  

 
รู้สึกทหารไทยจะใช้ทราย+ทอนไม้กันเอาไว้มั้งคับ
เคยเห็นแต่ตอนนี้ไม่ทราบว่าไปถึงไหนแล้ว


โดย: เหมือนเคยเห็น IP: 58.10.195.173 วันที่: 31 พฤษภาคม 2550 เวลา:23:48:36 น.  

 
กระสุนเจาะเกราะมันคล้ายกับว่า พอเจาะเกราะได้แล้ว ก็เข้าไปทำลายล้างระบบภายในต่อ ประมาณว่าถึงยิงไม่โดนห้องเครื่องหรือสายพานรถ ก็จอดได้เหมือนกันครับ เพราะข้างในถูกทำลายหมด


โดย: Kwang IP: 124.121.175.159 วันที่: 29 ตุลาคม 2550 เวลา:14:15:48 น.  

 
วันนี้ได้ความรู้อีกแล้ว...ผมขออนุญาติถามครับพวกรถฮัมวี่มันกันกระสุนขนาดอะไรบ้างครับ


โดย: เบียร์แดนชล IP: 203.113.80.16 วันที่: 30 ตุลาคม 2550 เวลา:20:03:31 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.