ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
1 เมษายน 2550
 
All Blogs
 
รู้จัก "เครื่องบินโจมตี"......ก่อนที่จะไม่มีให้เห็น

เครื่องบินโจมตี แม้ว่าจะดูไม่เท่ห์หรือไม่ตื่นตาตื่นใจเหมือนเครื่องบินขับไล่ แต่ด้วยบทบาทของมันกลับมีความสำคัญจนสามารถชี้ความเป็นไปของยุทธภูมิหนึ่ง ๆ ได้เลยทีเดียว การมีเครื่องบินโจมตีคอยคุ้มครองทหารราบนั้นจะช่วยเพิ่มอำนาจการยิงในทำลายกำลังรบรวมถึงยานเกราะของฝ่ายตรงข้ามได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ทุกอย่างไม่มีอะไรยั่งยืน เครื่องบินโจมตีก็เข้าข่ายนั้นด้วย โดยหลักนิยมในการรบที่เปลี่ยนไป ทำให้การใช้เครื่องบินโจมตีค่อย ๆ ลดบทบาทลง และอีกไม่นาน ก็น่าเชื่อว่าเครื่องบินโจมตีจะหายไปจากทำเนียบกำลังรบของชาติต่าง ๆ แน่นอน

วันนี้ เรามาทำความรู้จักกับเครื่องบินโจมตีแบบต่าง ๆ ของแต่ละประเทศในช่วงสุดท้ายของยุคเครื่องบินโจมตีกันครับ



เครื่องบินโจมตีคืออะไร

โดยทั่ว ๆ ไปแล้วเครื่องบินโจมตีจะมีภารกิจหลักในการสนับสนุนโดยใกล้ชิด (Close Air Support:CAS) ให้กับกองกำลังภาคพื้นดิน ทำลายเป้าหมายทางภาคพื้นหรือทะเล ทำลายยานเกราะ ทำลายฐานทัพ ปืนใหญ่

สุดยอดเครื่องบินโจมตีส่วนใหญ่จึงจำเป็นที่จะต้องบรรทุกอาวุธประเภทระเบิดหรือจรวดได้มาก มีความคล่องตัวสูง มีวงเลี้ยวที่แคบ สามารถอยู่ในอากาศได้นานเพื่อให้ที่จะสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างต่อเนื่อง ทนทานต่อการถูกยิงด้วยอาวุธขนาดเล็ก และไม่มีความจำเป็นที่ต้องบินได้เร็วกว่าเสียง

อาวุธที่ใช้ก็มีตั้งแต่ปืนกลซึ่งจำเป็นแทบจะจำเป็นที่สุด ระเบิดต่าง ๆ ทั้งระเบิดธรรมดาไปจนถึงระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ กระเปาะจรวดโจมตีต่าง ๆ เป็นต้น

เครื่องบินโจมตีแทบจะทุกแบบจะมีความสามารถในการรบทางอากาศที่จำกัด โดยส่วนมากจะบรรทุกได้แค่จรวดนำวิถีด้วยความร้อนระยะใกล้ และไม่มีความคล่องตัวในการรบทางอากาศ

ต่อมา เราลองมารู้จักกับเครื่องบินโจมตีที่เด่น ๆ ในช่วงกลางและหลังสงครามครามเย็นกันครับ ทั้งหมดที่นำมาเขียนก็จะเป็นเครื่องที่ผมชื่นชอบ.........เพราะว่าเครื่องโจมตีมันเยอะจัด ถ้าเอามาเขียนหมดก็คงสัก 2 วันจึงเขียนเสร็จครับ แหะ ๆ

A-4 Skyhawk


A-4 Skyhawk คือสุดยอดเครื่องบินโจมตีอีกแบบหนึ่งของกองทัพเรือสหรัฐครับ A-4 ถูกสร้างขึ้นมาทดแทน A-1 Skyrider ซึ่งส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากเทคโนโลยีจากสงครามโลกครั้งที่สอง A-4 เป็นเครื่องบินที่มีขนาดเล็ก แต่มีความคล่องตัว และอึดมาก แถมบรรทุกอาวุธได้มาก คือบรรทุกได้ถึง 5 ตัน (เทียบกับน้ำหนักของตัวมันเองที่ 4 ตัน) ระเบิดที่บรรทุกได้ค่อนข้างหลากหลาย เช่น ระเบิดธรรมดาอย่าง Mk. 81 และ 82 จรวดต่อต้านการแพร่คลื่นเรด้าห์ AGM-45 จรวดนำวิถี AGM-65 ทำให้ A-4 สามารถทำได้หลากหลายภารกิจโจมตี และถูกผลิตขึ้นมามากถึงเกือบ 3,000 ลำ

A-4 มีบทบาทในสงครามเวียดนามจากการขึ้นปฏิบัติการทิ้งระเบิดจากเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ แต่สงครามที่ทั่วโลกจะต้องจดจำ A-4 นั่นคือสงครามเกาะฟอล์กแลนด์ ซึ่ง A-4 ของกองทัพอากาศอาร์เจนติน่าสามารถจม HMS Coventry และ HMS Antelope ของกองเรือหลวงอังกฤษได้ ส่วน A-4 ของกองทัพเรืออาร์เจนติน่าก็สามารถจมเรือ HMS Ardent ลงได้เช่นกัน

ประเทศในอาเซียนของเรา 3 ประเทศต่างก็เคยมี A-4 ประจำการ นั่นคือกองทัพอากาศอินโดนิเซีย ประมาณ 37 เครื่อง กองทัพอากาศมาเลเซีย ซึ่งซื้อ A-4 ที่ได้รับการปรับปรุงมาจากสหรัฐจำนวน 80 เครื่อง แต่มีงบประมาณจัดหาจริงได้เพียง 40 เครื่อง และปฏิบัติการอยู่ได้ไม่นานก็ปลดประจำการ และสุดท้ายคือกองทัพอากาศสิงคโปร์ที่เคยมี A-4 เป็นแนวหน้าของกองทัพอากาศประมาณ 150 เครื่อง จนถึงปัจจุบัน A-4 ทำหน้าที่เป็นเครื่องฝึกและกำลังถูกแทนที่ด้วย F-15SG

นอกจากนั้นในปัจจุบันยังมีบางประเทศที่ประจำการด้วย A-4 อยู่ในปัจจุบัน แต่ก็อยู่ในช่วงสุดท้ายของการประจำการแล้ว



A-7 Corsair II


A-7 ถูกพัฒนามาเพื่อทดแทน A-4 โดยตรง โดยกองทัพเรือต้องการเครื่องบินที่มีราคาถูกแต่สามารถบรรทุกอาวุธได้มากกว่า A-4 โดย A-7 ยังคงไม่จำเป็นทีจะต้องบินได้เร็วกว่าเสียง แต่สามารถบรรทุกอาวุธได้เป็นจำนวนเกือบ 7 ตัน ตั้งแต่ระเบิดธรรมดาไปจนถึงระเบิดนิวเคลียร์

ในขั้นแรก A-7 ประจำการในเรือบรรทุกเครื่องบินในยุคที่เรือบรรทุกเครื่องบินเต็มไปด้วย F-4 เป็นเครื่องขับไล่หลัก ต่อมากองทัพอากาศสหรัฐมองเห็นถึงความสำคัญของมัน จึงพัฒนารุ่นสำหรับกองทัพอากาศขึ้นใช้บ้างคือ A-7D ซึ่งเพิ่มกำลังเครื่องยนต์ ติดตั้งจอ HUD และเปลี่ยนระบบการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศให้เป้นระบบที่ใช้ในกองทัพอากาศสหรัฐ A-7 ปฏิบัติภารกิจอย่างได้ผลในสงครามเวียดนาม โดย A-7 หลายฝูงก็มีฐานปฏิบัติการอยู่ที่นครราชสีมา หรือพื้นที่กองบิน 1 โคราชในปัจจุบัน จนถึงภารกิจสุดท้ายคือปฏิบัติการพายุทะเลทราย ซึ่งหลังจากสงครามอ่าวในครั้งนั้นสหรัฐก็ปลดประจำการ A-7 ลง

ปัจจุบันมีกองทัพอากาศต่างประเทศที่ใช้ A-7 อยู่ 3 ประเทศ (ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือสองจากสหรัฐ) คือกองทัพอากาศโปรตุเกส (ปลดประจำการ) กองทัพอากาศกรีซ และราชนาวีไทย โดยในปัจจุบันประเทศที่ยังทำการบินด้วย A-7 ได้คือกรีซซึ่งมีความสามารถในการซ่อมระดับโรงงานได้ สำหรับราชนาวีไทยนั้นจัดซื้อ A-7E จำนวน 18 ลำมาใช้งานเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว ปัจจุบัน A-7E ของราชนาวีไทยนั้นไม่สามารถทำการบินได้เพราะขาดอะไหล่และกองทัพเรือไม่มีงบประมาณในการซ่อมบำรุง ซึ่งทางกองการบินทหารยังทำการ Taxi เครื่องบน Runway อยู่เป็นบางครั้งเพื่อรักษาสภาพ

ทั้งนี้ A-7E ของราชนาวีไทยเคยร่วมการสวนสนามแสดงแสนยานุภาพในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนภิเศกด้วยเช่นกัน



Su-25 Frogfoot


Su-25 เป็นเครื่องบินที่ผมว่ารูปร่างน่ารักดีครับ จัดเป็นเครื่องบินโจมตีขนานแท้ โดยสามารถบรรทุกอาวุธได้เยอะมาก ทั้งระเบิดธรรมดา กระเปาะจรวด จรวดนำวิถี ไปจนถึงระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ โดยมีรุ่นที่สามารถลงในเรือบรรทุกเครื่องบินได้ก็คือ Su-25UTG (ส่วนมากใช้เพื่อฝึกการขึ้นลงบนเรือบรรทุกเครื่องบิน) ปัจจุบันกองทัพอากาศรัสเซียยังประจำการด้วย Su-25 อยู่ โดยยังได้รับการปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัย และประเทศใกล้ ๆ เรามีที่ Su-25 ประจำการก็คือกองทัพอากาศเวียดนามนั่นเอง



Alphajet


Alphajet เป็นโครงการพัฒนาร่วมกันของบริษัท Dassault-Breguet ของฝรั่งเศส และ Dornier ของเยอรมัน ซึ่งทั้งสองประเทศต่างมีความต้องการที่ต่างกันออกไป คือกองทัพอากาศฝรั่งเศสต้องการเครื่องบินฝึก แต่กองทัพอากาศเยอรมันต้องการเครื่องบินโจมตีขนาดเบา ซึ่งทำให้ Alphajet มีอยู่สองรุ่น คือรุ่นที่เป็นเครื่องบินฝึกหรือ Alphajet E ของกองทัพอากาศฝรั่งเศส (รุ่นหัวมน) และ Alphajet A ของกองทัพอากาศเยอรมันที่เป็นรุ่นโจมตี (รุ่นหัวแหลม) นั่นเอง

Alphajet บรรทุกอาวุธได้ไม่มากนัก โดยสามารถบรรทุกระเบิด กระเปาะจรวด และกระเปาะปืนกลได้ แต่ Alphajet มีสมรรถภาพทางการบินที่สูง มีความคล่องแคล่วมาก สามารถทำท่าทางการบินยาก ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม

นอกจากประเทศผู้ผลิต มี Alphajet ประจำการอยู่ในอีกหลายประเทศตามแต่ความต้องการว่าจะใช้เครื่องบินไปในภารกิจอะไร บางประเทศใช้เป็นเครื่องบินฝึก ไปจนถึงบางประเทศใช้เป็นเครื่องบินขับไล่ชั้นแนวหน้าของประเทศด้วยซ้ำ

กองทัพอากาศไทยจัดซื้อ Alphajet A รุ่นโจมตีจากกองทัพอากาศเยอรมันซึ่งลดกำลงรบลงและเก็บรักษาเอาไว้ ซึ่งเครื่องรุ่นนี้ทอ.เยอรมันใช้งานไปเพียงแค่ 1,000 ชม. ทำให้ยังเหลือชั่วโมงบินอีกมาก และเมื่อเห็นว่าไม่มีความจำเป็นแล้วจึงประกาศขายให้กับลูกค้าต่างชาติ โดยทอ.จัดหามาใช้งานจำนวน 25 เครื่อง ราคาประมาณ 1,200 บาททั้งฝูง ลดจำนวนจากเดิม 50 เครื่องเนื่องจากขาดงบประมาณ โดย 5 ลำเป็นเครื่องอะไหล่ และทอ.ใช้งาน Alphajet จำนวน 19 ลำ เป็นเครื่องบินโจมตี (เครื่องประสบอุบัติเหตุตกไป 1 ลำตอนรับมอบจากอาการหลงฟ้าของนักบิน)



A-37 Dragonfly (Super Tweet)


A-37 เป็นเครื่องที่พัฒนามาจาก T-37 Tweet ซึ่งเป็นเครื่องฝึก โดย A-37 เป็นเครื่องที่เหมาะสมกับภารกิจโจมตีต่อต้านการก่อการร้าย (Counter Insurgency:COIN) มาก ซึ่งมาจากแนวคิดของทอ.สหรัฐที่ต้องการเครื่องบินในภารกิจ COIN เพื่อใช้ในเวียดนาม และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

ซึ่งด้วยราคาที่ไม่แพงมากแต่สามารถบรรทุกอาวุธได้เหมาะสมกับภารกิจ ทำให้มีหลายประเทศที่จัดหา A-37 ไปใช้งาน โดยในปัจจุบันทอ.เกาหลีใต้ยังบิน A-37 ในฝูงบินผาดแผลงของตน

ทอ.ไทยก็เป็นอรกทอ.หนึ่งที่จัดหา A-37B มาใช้งาน โดย A-37 มีบทบาทสำคัญมากในการรบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ แม้ว่าปัจจุบันทอ.จะปลดประจำการ A-37 ไปแล้ว แต่เราก็ยังสามารถหาชม A-37 ได้ที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศหรือลองดูเพลงชาติของช่อง 7 ช่วงท้าย ๆ ซึ่งจะเห็นภาพ A-37 กำลังทิ้งระเบิดนาปาล์มเป็นลูกไฟสีแดงใหญ่น่ากลัว.....เหมือนเมื่อครั้งที่มันยังรับใช้ชาติอยู่



Q-5 (A-5) Fantan

จีนเองก็มีความสามารถในการทำเครื่องบินใช้เองเช่นกัน โดยจีนพัฒนา Q-5 มาจาก J-6 หรือ MiG-19 ซึ่งมีหลายส่วนที่เปลี่ยนแปลงไป ที่เห็นได้ชัดก็คือช่องรับอากาศที่ย้ายจากด้านหน้าตรงส่วนหัวมาเป็นสองท่อด้านข้างแทน

Q-5 เป็นเครื่องบินที่ไม่ค่อยทันสมัยนักในตอนพัฒนาขั้นแรกต่ Q-5 ก็มีการพัฒนาและปรับปรุงเรื่อยมา ได้เพิ่มระบบใหม่ ๆ เข้าไป จนรุ่นล่าสุด Q-5 ก็มีครบทั้ง RWR, ระบบนำวิถีด้วยเลเซอร์, ระบบอินฟาเรด, HUD, INS ฯลฯ

ในรุ่นส่งออกนั้นจีนเปลี่ยนชื่อเป็น A-5 ตามแบบนิยม โดยมีหลายๆ ระบบของตะวันตกที่เพิ่มเข้าไปเช่น เก้าอี้ดีดตัวของ Martin-Baker และ 1553 Databus ซึ่งทำให้สามมรถยิง AIM-9 Sidewinder ได้

ประเทศหลักที่ใช้ A-5 ก็คือปากีสถานและบังคลาเทศ นอกจากนั้นก็ยังมีเกาหลีเหนือและประเทศเพื่อนบ้างของเราอย่างพม่าซึ่งมี A-5 ประจำการจำนวน 36 ลำ ว่ากันว่าทอ.พม่าสูญเสีย A-5 ไปหลายเครื่อง แต่ทางการพม่าก็ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขแต่อย่างใด



A-10 Thunderbolt II

เชื่อว่าทุก ๆ ท่านคงจะรู้จัก A-10 ลำนี้กันดี ฉะนั้นจึงไม่ขอพูดอะไรมากครับ

A-10 พัฒนามาใช้ในภารกิจล่าทำลายรถถังของโซเวียตโดยเฉพาะ แต่เมื่อภัยคุกคามจากรถถังของโซเวียตหมดไป มันก็พิสูจน์ตัวเองในบทบาทอื่นว่ามันก็สามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นกัน A-10 เป็นเครื่องบินที่อึดมากกกกกกกกกกกกกกก ถ้าคุณคิดจะสอย A-10 ลงจากฟ้าให้ได้แล้วล่ะก็ คุณจำเป็นต้องเล่นด้วยของหนักอย่าง SAM หรือ Manpad ต่าง ๆ ลำพังแค่ปืนกลนั้นไม่รับประกันว่าจะทำอะไร A-10 ได้

A-10 ยังจะประจำการในทอ.สหรัฐไปอีกอย่างถึงจนถึงปี 2015 - 2020 เพราะมันได้รับการปรับปรุงเพื่อยืดอายุการใช้งานและเพิ่มความทันสมัย และแม้ว่ามันจะเป็นเครื่องบินโจมตีขนานแท้แบบสุดท้ายในกองทัพสหรัฐ แต่มันจะยังเป็นหัวหอกในสงครามในปัจจุบันและในอนาคตของทอ.สหรัฐไปอีกนานทีเดียว



OV-10 Bronco

ถ้าจะหาเครื่องบินสักเครื่องที่มีผู้รักมันอยู่มากมายทั้งในไทยและสหรัฐ หนึ่งในชื่อที่จะถูกพูดถึงแน่นอนนั้นก็คือ OV-10 Bronco

Bronco ซึ่งมีหน้าตาตลก ๆ นี้ถูกออกแบบมาใช้ในภารกิจ COIN ในช่วงสงครามเวียดนาม มันสามารถบรรทุกระเบิดได้น้ำหนักราว 3 ตัน บวกกับปืนกล M60 อีก 4 กระบอก พร้อมทั้งระยะเวลาบินที่นานถึง 3 ชั่วโมง ทำให้มันประสบความสำเร็จอย่างสูงในสงครามเวียดนาม โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องบินโจมตีเบาและเครื่องบินควบคุมอากาศยานหน้า (Forward Air Controller:FAC) ซึ่งในภารกิจ FAC นี่เองที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Bronco ในหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐ โดยมันเข้าถึงพื้นที่เป้าหมาย บินอยู่ได้นานเป็นชั่วโมง พร้อมทั้งมองหาและชี้เป้าหมายให้เครื่องบินโจมตีเข้าทำลาย

แม้ว่าจะปลดประจำการไปแล้วในป้จจุบัน แต่นายทหารหลายคนในกองทัพสหรัฐก็ยังคิดถึงความสามารถในการบินเหนือเป้าหมายได้นานและความคล่องตัวที่ A-10 สู้ไม่ได้ จนมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ที่จะฟื้นสภาพ Bronco ขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในสงครามอิรัก

กองทัพอากาศไทยก็ได้จัดหา OV-10 จำนวน 32 ลำมาใช้ในภารกิจ COIN เช่นกัน โดยรุ่นของทอ.ไทยเป็นรุ่น C ซึ่ง Bronco พิสูจน์ตัวเองในสงครามกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่แทบจะไม่มียุทธภูมิไหนที่ Bronco หรือ "เจ้าม้าป่า" ไม่มีส่วนร่วม ด้วยการมีหน่วยแยกของ Bronco ทั้งประเทศทำให้มันสามารถเข้าถึงพื้นที่เป้าหมายได้อย่างทันท่วงที ร่วมให้การสนับสนุนกองกำลังภาคพื้นดิน ทั้งยังร่วมโจมตีสนามบินในลาวในกรณีพิพาทที่บ้านร่วมเกล้าซึ่งเราสูญเสีย Bronco ไป 1 ลำ ความยอดเยี่ยมของมันถึงกับมีหลายคนกล่าวว่า นอกจากคำสั่งที่ 66/23 แล้ว เจ้าม้าป่านี่แหละเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ไทยชนะผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้....จนมันสมควรได้รับตำแหน่งสุดยอดเครื่องบินตลอดกาลของทอ.ไทย

แม้ว่างานในทอ.ไทยจะจบลงพร้อมกับการปลดประจำการ แต่บางส่วนของ Bronco ของไทยยังทำหน้าที่ปราบปรามผู้ก่อการร้ายในฟิลิปปินส์เหมือนเมื่อครั้งหนึ่งที่มันทำในไทย โดยไทยบริจาคเครื่องบินที่ยังใช้งานได้จำนวนหนึ่งให้กับทอ.ฟิลิปปินส์นำไปปราบปรามกบฏอาบุ ซายาฟทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์

เรายังสามารถไปเยี่ยม Bronco ได้ที่พิพิธภัณธ์กองทัพอากาศ ซึ่งจะได้พบกับเจ้าม้าป่าลำที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนถึง 8 เหรียญ....แสดงถึงความสำคัญและความยอดเยี่ยมของมันเมื่อครั้งยังประจำการอยู่ในทอ.ไทย



เครื่องบินโจมตีจะหายไปไหน?

โลกเปลี่ยนไปพร้อมกับหลักการสงครามที่เปลี่ยนไป ในปัจจุบันกองทัพอากาศแทบทุกประเทศต้องการเครื่องบินที่ไม่ใช่จะทำได้เพียงภารกิจโจมตีอย่างเดียว แต่ยังต้องทำภารกิจขับไล่ไปจนถึงลาดตระเวนได้อีกด้วย จึงทำให้เกิดเครื่องบินพหุบทบาท (Multi-Role Aircraft) ที่สามารถปรับเปลี่ยนภารกิจไปตามความต้องการทั้งขับไล่ โจมตี ฯลฯ ซึ่งนอกจากความคล่องตัวในการปฏิบัติงานแล้ว เครื่องบิน Multi Role ก็ยังทำให้กองทัพอากาศไม่จำเป็นต้องจัดหาเครื่องบินหลายแบบเพื่อทำภารกิจเฉพาะ

ทำให้ปัจจุบัน จึงไม่มีใครพัฒนาเครื่องบินโจมตีขึ้นมา โดยหันไปพัฒนาเครื่องบินฝึก/ขับไล่ที่สามารถทำภารกิจโจมตีได้แทนอย่าง Hawk, L-159 หรือ T-50 เป็นต้น

แม้เวลาของเครื่องบินโจมตีนั้นใกล้จะหมดลง แต่ความยิ่งใหญ่ที่มันฝากเอาไว้ในหลาย ๆ สมรภูมิก็ยังควรค่าแก่การจดจำและพูดถึงไปอีกนาน.

[ภาพ: Bronco ไทยในกองทัพอากาศฟิลิปปินส์]



ภาพ A-7, A-37, A-10 และ OV-10 ภาพแรก ขอขอบคุณ พ.อ.อ. รัตช์ รัตนวิจารณ์

สำหรับวันนี้ จบเพียงเท่านี้ สวัสดีครับ


Create Date : 01 เมษายน 2550
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2550 13:47:10 น. 13 comments
Counter : 16442 Pageviews.

 
แล้วเครื่องบินโจมตี A-9 ไม่มีประจำการในสหรัฐหรอครับ


โดย: Marine Force IP: 203.114.108.131 วันที่: 1 เมษายน 2550 เวลา:11:16:02 น.  

 
ขอบคุณครับ แต่ที่ผมชอบเป็นเครื่อง AMX นะ ดูมันสวยและน่าจะเหมาะกับภารกิจโจมตีทั้งทางบก และทางน้ำ แต่มีข้อเสียอย่างเดียว คือไม่ Wellknow ประจำการเพียงแค่ 2 กองทัพ ซึ่งน่าจะทำให้มีปัญหาในการบำรุงรักษาเครื่องได้


โดย: Yoyo IP: 125.25.7.158 วันที่: 1 เมษายน 2550 เวลา:21:10:10 น.  

 
ท่าน skyman ยังคงเขียน blog ได้ยอดเยี่ยมเสมอ ^^"


โดย: Zepia IP: 203.113.81.4 วันที่: 1 เมษายน 2550 เวลา:21:22:02 น.  

 
เหอ ๆ ขอบคุณครับ

AMX ทอ.เราก็เกือบได้มาประจำการแล้วครับ รัฐบาลอนุมัติงบเรื่องร้อยแล้วด้วย แต่ล้มไปก็เพราะทางผู้ผลิตไม่ยอมใช้ระบบอิเล็กทรอนิคของอเมริกันตามที่เราต้องการ เราจึงไปเอา L-39 มาแทนครับ

----------

A-9 รู้สึกจะไม่มีนะครับ


โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 2 เมษายน 2550 เวลา:20:26:57 น.  

 


โดย: NukeSkywalker วันที่: 3 เมษายน 2550 เวลา:11:20:11 น.  

 
A-6E กับ EA-6B ล่ะครับ


โดย: กัปตันนีโม IP: 202.90.127.25 วันที่: 12 เมษายน 2550 เวลา:21:00:15 น.  

 
A-9 มีครับแต่ไม่ได้เข้าประจำการ


โดย: tow IP: 203.113.67.6 วันที่: 3 พฤษภาคม 2550 เวลา:15:27:35 น.  

 

คิดถึงแย่เลย


โดย: แข็ง ใหญ่ ยาว IP: 61.19.52.182 วันที่: 3 พฤษภาคม 2550 เวลา:15:30:45 น.  

 


โดย: 3 IP: 203.113.50.13 วันที่: 15 กรกฎาคม 2550 เวลา:11:31:52 น.  

 
คิดถึงOV-10จัง


โดย: SING BIRD IP: 125.24.129.92 วันที่: 21 กรกฎาคม 2550 เวลา:5:12:47 น.  

 
แอกๆ...
ลืม AV-8A/AV-8B และตระกูล Harrrier ไปหรือเปล่าครับ?
อ้อ ทร.ของเรามีเจ้า AV-8S อยู่ 2 ลำครับ


โดย: Raptor IP: 203.156.32.7 วันที่: 31 กรกฎาคม 2550 เวลา:12:06:22 น.  

 
ตามมาอ่านครับ



โดย: yoddel19 วันที่: 18 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:14:44 น.  

 
A-9 มีครับแต่ไม่ได้เข้าประจำการ


โดย: tow IP: 203.113.67.6 3 พฤษภาคม 2550 15:27:35 น.

มีแต่ตัวทดสอบครับโดยแข่งกับ A-10 แล้วไปแพ้เพราะเครื่อง A-10 มันลงมาจอดเติมอาวุธ+เชื้อเพลิงโดยไม่ต้องดับเครื่อง(เครื่องมันแบกไว้บนหลัง) A-9 Coucar เลยไปโผล่เป็น SU-25 นั่นไง


โดย: เดอะฟักทองอินเตอร์ วันที่: 7 เมษายน 2554 เวลา:15:55:08 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.