กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
กุมภาพันธ์ 2565
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
space
space
12 กุมภาพันธ์ 2565
space
space
space

อัตตายังไม่นิพพาน.อัตตานิพพาน
ต่อ

๓.แมว เป็นช้าง ก็ไม่ใช่  ไม่เป็นช้าง ก็ไม่ใช่
 
ถ้าไม่เล่นคำ  ก็หลงภาษา  วนไปเวียนมา  ก็อยู่แค่อนัตตานี่เอง
 
   ทีนี้  ในข้อศึกษา  นิพพานเป็นอัตตา  หรือเป็นอนัตตานี้  เมื่อเกิดมีคำกล่าวกล่าวขึ้นมาว่า  “นิพพานเป็นนิพพาน  ไม่ใช่อัตตา  ไม่ใช่อนัตตา”   ก็ให้รู้กันว่า  คำพูดนี้เกิดจากความหลงภาษา หรือเป็นการเล่นภาษาเท่านั้น
 
   เป็นการหลงภาษา หรือเล่นภาษาอย่างไร
 
   ขอพูดให้เข้าใจง่ายๆ  สั้นๆ คือในภาษาบาลีนั้น  พอพูดว่า  “นิพพานไม่ใช่อัตตา”  ก็คือบอกว่า  “นิพพานเป็นอนัตตา”  
 
   เพราะอะไร   ก็เพราะว่า  คำว่า  “ไม่ใช่อัตตา”  หรือ “ไม่เป็นอัตตา”  นั้น  พูดเป็นคำภาษาบาลีว่า “อนัตตา”
 
    คำบาลีว่า  “อนัตตา”   แปลเป็นภาษาไทยว่า  “ไม่ใช่อัตตา”  หรือ  “ไม่เป็นอัตตา”   (ไม่ใช่-, ไม่เป็น-,  ไม่มี- ได้ทั้งนั้น)
 
   เหมือนคำ  “อนิจจัง”   ที่คนไทยรู้จักกันดี  แปลว่า  “ไม่เที่ยง”   เรารู้กันดีว่าเป็นการปฏิเสธ  “นิจจัง”   ที่แปลว่า  “เที่ยง”   เมื่อมัน “ไม่เที่ยง”  ก็คือมัน “ไม่เป็นนิจจัง”  และก็คือมัน  “เป็นอนิจจัง”
 
   พูดอย่างไทยว่า “ไม่เป็นนิจจัง”   คือพูดแบบบาลีว่า “เป็นอนิจจัง”
 
   พูดอย่างไทยว่า  “ไม่เป็นอัตตา”   คือ   พูดแบบบาลีว่า  “เป็นอนัตตา”  
 
   ถ้าเขาถามว่า   “สังขารเป็นนิจจัง (เที่ยง)  ไหม ?”    ถ้ามันไม่เที่ยง    ก็ตอบเขาไปว่า “สังขารเป็นอนิจจัง”   หรือจะว่า   “สังขารไม่เป็นนิจจัง  (ไม่เที่ยง)”   ก็ได้  มีความหมายเท่ากัน
 
   แต่ถ้าตอบไปแล้วว่า  “สังขารไม่เป็นนิจจัง (ไม่เที่ยง)”   คือ บอกไปแล้วว่า  “สังขารเป็นอนิจจัง”  ก็หมดสิทธิ์ที่จะบอกว่า “สังขารไม่เป็นอนิจจัง”   เพราะตัวเองบอกไปแล้วว่า  “สังขารเป็นอนิจจัง”
 
   เพราะฉะนั้น   ใครจะพูดขึ้นมาว่า “สังขารก็เป็นสังขาร  ไม่เป็นนิจจัง  ไม่เป็นอนิจจัง”  ก็พูดขัดกับคำของตัวเอง  คือพูดกลับไปกลับมา  ก็เห็นอยู่ชัดๆ บอกว่าสังขารเป็นอนิจจัง  แล้วก็บอกว่าไม่เป็นอนิจจัง
 
  พอพูดว่า “สังขารไม่เป็นนิจจัง”    ก็หมดสิทธิ์ที่จะพูดว่า “สังขารไม่เป็นอนิจจัง”   เพราะตัวเองบอกไปแล้ว่าเป็นอนิจจัง
 
 
  พอพูดว่า “นิพพานไม่เป็นอัตตา”  ก็คือบอกตามคำบาลีว่า “นิพพานเป็นอนัตตา”  ก็เลยหมดสิทธิที่จะพูดว่า  “นิพพานไม่เป็นอนัตตา”
 
   เพราะฉะนั้น   ท่านผู้ใดจะพูดว่า  “นิพพานก็เป็นนิพพาน  ไม่เป็นอัตตา  ไม่เป็นอนัตตา”  ก็พูดขัดกับคำของตัวเอง    ก็เห็นอยู่ชัดๆ  พูดออกมาแล้วว่านิพพานเป็นอนัตตา  แล้วก็บอกว่าไม่เป็นอนัตตา
 
   ตามปกติ  หรือจะพูดให้ถูก  เขาไม่ถามว่า  “นิพพานเป็นอัตตาหรือเป็นอนัตตา”   แต่เขาถามว่า  “นิพพานเป็นอัตตาไหม”   แล้วทีนี้ก็ตอบมาซิ  ถ้าเห็นว่าเป็น  ก็บอกว่า “นิพพานเป็นอัตตา”   ถ้าว่าไม่เป็น  ก็บอกว่า  “นิพพานเป็นอนัตตา”  ก็คือหรือเท่ากับบอกว่า  “นิพพานไม่เป็นอัตตา”  นั่นเอง
 
  เป็นอันว่า  พอพูดขึ้นมาว่า  “นิพพานไม่เป็นอัตตา”  เท่านี้แหละ  ก็พูดต่อไปไม่ได้ว่า  “นิพพานไม่เป็นอนัตตา”   เพราะตัวเองบอกไปแล้วชัดๆว่า  “นิพพานเป็นอนัตตา”
 
 
ดูง่ายๆในภาษาไทยนี่แหละ  จะเข้าใจดี
 
   ถ้าใครมาถามว่า  “แมวเป็นช้างไหม?”    หรือถามว่า  “แมว เป็นช้าง หรือไม่เป็นช้าง?”   เราก็ตอบว่า  “แมวไม่เป็นช้าง”  หรือพูดเลียนภาษาบาลีว่า  “แมวเป็นอช้าง”  แค่นี้ก็จบ  พอแล้ว
 
   ทีนี้  ถ้าถูกถามว่า   “แมวเป็นช้างไหม?”   ใครตอบว่า  “แมวไม่เป็นช้าง  ไม่เป็นอช้าง”   คือพูดอย่างไทยแท้ว่า  “แมวไม่เป็นช้าง  ไม่ใช่ไม่เป็นช้าง”   หรือ  “แมวเป็นช้าง  ก็ไม่ใช่  ไม่เป็นช้าง  ก็ไม่ใช่”   เราก็คงนึกว่านี่จะเอาไงกัน
 
  170เรื่องนี้   ถ้าไม่ใช่ว่าทั้งที่รู้อยู่  ก็ทำเป็นเล่นภาษา   ก็เป็นเพราะหลงภาษาอย่างที่ว่าแล้ว  คือ  หลายคนทีเดียว   เพราะไม่รู้ภาษาบาลี  ไม่รู้ไม่เข้าใจคำที่มาจากบาลี  ก็เลยนึกว่า  “อัตตา”   เป็นอะไรอย่างหนึ่ง  และ   “อนัตตา”  ก็เป็นอะไรอีกอย่างหนึ่ง    ก็เลยต้องมาเลือก หรือมาตัดสินว่า  เป็นอย่างไหน หรือไม่ใช่ทั้งสองอย่าง  
 
   แต่ที่แท้   ไม่ใช่อย่างนั้นเลย  ไม่ใช่มาตัดสินว่า  นี่เป็นอะไรที่เรียกว่า “อัตตา”   หรือเป็นอะไรอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า  “อนัตตา”
 
ไม่ใช่มาตัดสินว่า “แมว  เป็นช้าง หรือเป็นนกฮูก?”  
 
อย่างนั้น  จึงตอบว่า “แมวเป็นแมว  ไม่เป็นช้าง ไม่เป็นนกฮูก”
 
แต่นี่เขาถามว่า  “แมวเป็นช้างไหม”    “แมวเป็นช้างหรือไม่เป็นช้าง?”
 
ก็ตอบว่า  “แมว ไม่เป็นช้าง”   ก็จบ
 
ไม่ใช่บอกว่า  “แมวเป็นแมว  ไม่เป็นช้าง  ไม่ใช่ไม่เป็นช้าง”
 
   คราวนี้  เขาถามว่า  “นิพพาน  เป็นอัตตาไหม ?”    หรือว่า   “นิพพานเป็นอัตตา หรือไม่เป็นอัตตา/เป็นอนัตตา”
 
   ก็ทำนองเดียวกับที่ถามว่า  “แมว เป็นช้างไหม?”   หรือว่า  “แมวเป็นช้าง  หรือไม่เป็นช้าง/เป็นอช้าง ?”
 
   ใช่หรือไม่ใช่ เป็นหรือไม่เป็น  ก็ตอบมาได้ตรงๆ  ทีเดียวเสร็จ ท่อนเดียวจบ
 
   ย้ำไว้อีกทีว่า   เรื่องนี้เป็นเพียงความสับสนทางภาษา
 
170มิใช่ว่า อัตตา เป็นอะไรอย่างหนึ่ง  และอนัตตาเป็นอะไรอีกอย่างหนึ่ง  แต่อนัตตาเป็นเพียงคำปฏิเสธอัตตา
 
   ใครพูดว่า  “นิพพานไม่เป็นอัตตา”   ก็คือบอก หรือยอมรับว่า “นิพพานเป็นอนัตตา”   จบแค่นี้
 
    ท่านที่บอกว่า  “นิพพานเป็นนิพพาน   ไม่เป็นอัตตา  ไม่เป็นอนัตตา”   นั้น  เมื่อพูดตามคำบาลี  ก็คือท่านบอกว่า  “นิพพานเป็นนิพพาน  เป็นอนัตตา  ไม่เป็นอนัตตา”  (= “นิพพานเป็นนิพพานทั้งเป็นอนัตตา  ทั้งไม่เป็นอนัตตา”   หรือ   “นิพพานเป็นนิพพาน  เป็นทั้งอนัตตา เป็นทั้งไม่อนัตตา”)
 
   เท่ากับพูดว่า  “นิพพานเป็นนิพพาน  ไม่เป็นอัตตา  ไม่ใช่ไม่เป็นอัตตา”  
 
   เรื่องของภาษาไทยที่มีบาลีเข้ามาปน   ก็อย่างนี้แหละ  ถ้าจับจุดได้แล้ว  ก็ไม่มีอะไรซับซ้อนที่จะต้องมาคิดอะไรไปไกลมากมาย
 
   ข้อเขียนหรือข้อความที่ท่านเจ้าของคอลัมน์  “ธรรมวิจัย”   (พระคึกฤทธิ์)  พูดไว้นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์   นั้น  ผู้ที่รู้ภาษาบาลีอ่านแล้ว  ก็เห็นได้ว่า  ส่วนมากเป็นการอธิบายว่านิพพานไม่เป็นอัตตา  คือเป็นอนัตตานั่นเอง  (พร้อมกับบางแห่งก็กลับตรงข้าม กลายเป็นว่าท่านประกาศลัทธิอัตตาเสียเองด้วย)
 
  (พึงสังเกตว่า  ในกรณีนี้  การพูดว่า  “นิพพานไม่เป็นนิพพาน  คือ เป็นอนัตตา”  กับ   “นิพพานไม่เป็นอัตตา  แต่เป็นอนัตตา”  มีความหมายเท่ากัน   เป็นวิถีของภาษา  ซึ่งเมื่อเข้าใจถ้อยคำแล้ว ก็ไม่ต้องงง   เพียงอาจจะตินิดหน่อยว่าพูดจาซ้ำแล้วซ้ำเล่า)
 
  นี่ก็หมายความว่า  ท่านเจ้าของคอลัมน์  “ธรรมวิจัย”  (ท่านพระคึกฤทธิ์)  ได้มาร่วมอธิบายตามหลักที่ว่า  นิพพานไม่เป็นอัตตา  คือ ท่านมาร่วมชี้แจงให้เห็นว่านิพพานเป็นอนัตตา  นั่นเอง
 
  ที่ว่านี้  ท่านเจ้าของข้อเขียนจะเข้าใจอย่างไร  ก็เป็นความเข้าใจส่วนตัวของท่าน  แต่ภาษาไม่ใช่เป็นของส่วนตัว  หากเป็นเครื่องสื่อสารระหว่างมนุษย์  ซึ่งรู้เข้าใจกันด้วยถ้อยคำที่สมมุติเพียงเป็นบัญญัติ   แต่ก็เป็นไปตามความตกลงอย่างเป็นหลักเป็นเกณฑ์
 
  ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า  “(นิพพาน)  ไม่มีดิน  ไม่มีน้ำ ฯลฯ”   พระองค์ไม่ตรัสว่า  “(นิพพาน)  ไม่มีดิน  ไม่ใช่ไม่มีดิน   ไม่มีน้ำ ไม่ใช่ไม่มีน้ำ ฯลฯ”
 
  ทีนี้   เมื่อท่านบอกว่า  นิพพานไม่ใช่อัตตา  ไม่เป็นอัตตา  คือบอกตามคำบาลีว่าเป็นอนัตตาแล้ว   ท่านจะพูดต่อไปว่าไม่เป็นอนัตตา  ก็เป็นอันเลยเขตที่ผู้ร่วมใช้ภาษาจะพึงตามไปร่วมพิจารณา
 
 
ว่า “นิพพานเป็นอัตตา”  ไม่ใช่แค่ผิด  แต่ถึงขั้นเพริด  เตลิดไปไกล
 
   แท้จริง  เรื่องนิพพาน  ที่เกิดปัญหาขึ้นมาว่าเป็นอัตตา หรือไม่เป็นอัตตา   หรือทั้งไม่เป็นอัตตาและไม่ใช่ไม่เป็นอัตตา   อะไรเหล่านี้    ไม่มีอะไรมาก   มาจากความไม่เข้าใจภาษา  หรือเป็นเพราะเข้าใจคำพูดผิดไปเท่านั้นเอง   (ท่านผู้หนึ่งเข้าใจคำนี้ผิด  แล้วยกเป็นเรื่องขึ้นมา  ก็เลยกลายเป็นเรื่อง)
 
170“อัตตา”   เป็นคำบาลี   แปลเป็นไทยว่า  ตัวตน   ตัวเรา  ตัวฉัน  ตัวเอง  หรือจะว่า “ตัวกู”  ก็แล้วแต่
 
   อัตตา คือ  ตัวตน   ตัวฉัน  ตัวกู  นี้  เป็นคำจำพวกเดียวกับ  สัตว์  คน   บุคคล  เขา  เรา  ฉัน  เธอ  ฯลฯ   ทั้งหมดนี้ไม่มีสภาวะที่เป็นจริง  แต่มีขึ้นตามสมมติ  เป็นบัญญัติที่จะพึงรู้เข้าใจใช้สื่อสารกัน
 
170ในภาษาบาลีนั้น  พวกเจ้าของภาษาเอง     เขาเถียงกันว่า  อัตตามีจริงไหม ?   อะไรเป็นอัตตา ?   มีอัตตาคือตัวข้า  ตัวกู  ที่เป็นเจ้ากี้เจ้าการ หรือเป็นเจ้าของครอบครองสิ่งนั้นสิ่งนี้ไหม ?
 
   ครั้งพุทธกาล  ไม่มีใครถามว่า “นิพพานเป็นอัตตาไหม? (นิพพานเป็นตัวเราไหม)?   มีแต่คนสงสัยว่า “มีอัตตา (ตัวเรา)  ที่บรรลุนิพพานไหม?”
 
   เขาสงสัยว่า  “มีอัตตา (ตัวกู)  ที่ได้   ที่เป็นเจ้าของนิพพานไหม?”  
 
   ถ้าเข้าใจตรง  คำตอบก็มีอยู่แล้ว   ในพุทธพจน์จากมูลปริยายสูตร   ที่ท่านเจ้าของบทความใน เนชั่น ฯ  นั่นเองยกมาอ้าง ที่ว่า
 
   ภิกษุทั้งหลาย  ปุถุชน   ...  สำคัญมั่นหมายว่า  “นิพพานของเรา  (นิพฺพานมฺเมติ  มญฺญติ)  ผู้เสขะ ...  ไม่ยอมมั่นหมายว่า  “นิพพานของเรา (นิพฺพานมฺเมติ  มามญฺญิ)  พระอรหันต์ ...  ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายว่า  “นิพพานของเรา”   (นิพฺพานมฺเมติ  น   มญฺญติ)  (ม.มู. ๑๒/๒-๔/๑-๗)
 
 
 170บอกแล้วว่า  ครั้งพุทธกาล  ไม่มีใครถามว่า  “นิพพานเป็นอัตตาไหม (นิพพานเป็นตัวเราไหม)?   มีแต่สงสัยว่า  “มีอัตตา (ตัวกู)  ที่เป็นเจ้าของนิพพานไหม?” 
 
   นอกจากตรัสว่า  พระอรหันต์ไม่สำคัญหมายคิดเข้าใจไปว่า  “นิพพานของเรา”  แล้ว   พระพุทธเจ้ายังตรัสด้วยว่า  พึงศึกษา “นิพพานของตน”   หรือ  “นิพพานของอัตตา”  
 
อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่า  อัตตาเป็นเจ้าของนิพพาน
 
172พุทธพจน์นี้   มาในอัตตทัณฑสูตร  (ขุ.สุ.๒๕/๒๕/๔๒๒/๕๑๗)   พระพุทธเจ้าตรัสเตือนให้มองดูสังคมมนุษย์นี้   ที่แย่งชิงเบียดเบียนฆ่าฟันกัน  เกิดทุกข์ภัยปัญหาสารพัน   จากอัตตทัณฑ์  คือโทษของอัตตา  แปลง่ายๆ ว่า “เอาตัวกูมาตีกัน”   ได้แก่   การยึดถือมั่นหมายติดอยู่กับตัวตน   ถูกความยึดมั่นอัตตาครอบงำ  ทำให้วิวาทขัดแย้งก่อเวรภัยแก่กัน   จึงตรัสสอนให้รู้จักนิพพานอัตตาเสีย   ตามคำบาลีว่า  “สิกฺเข  นิพฺพานมตฺตโน”   แปลตรงๆว่า  “พึงศึกษานิพพานของอัตตา”
 
   แปลให้ชัดอีกหน่อย  นิพพานของอัตตา  ก็คือ  ความดับของอัตตา  ไขความออกไป  ก็ได้ความหมายว่า  ความสงบระงับดับเย็นมอดไปของไฟกิเลสที่ทำให้ถือมั่นอัตตา หรือทำให้ยึดถือติดคาอยู่กับตัวตนนั่นเอง
 
   หมายความว่า    พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ศึกษาฝึกหัดขัดเกลาตัวเองให้รู้เข้าใจสงบหายเร่าร้อนจากความยึดติดถือมั่นอัตตา   ให้อัตตานิพพาน    หมดฤทธิ์พิษร้ายที่จะครอบงำ  ไม่มีเรื่องอัตตาที่จะวุ่นวาย  อีกต่อไป  เหลือแต่อัตตาตัวตนที่เป็นสมมติบัญญัติอันโล่งเบาที่อยู่กับมัน และใช้มันให้เป็นประโยชน์อย่างรู้เข้าใจเท่าทันไม่มีพิษภัย
 
  พระอรหันต์บรรลุนิพพานแล้ว  ไม่สำคัญหมายว่านิพพานของเรา  ส่วนปุถุชนและทุกคนที่ยังไม่ถึงนิพพาน   ก็ศึกษาปฏิบัติกันไปให้ตัวเรานิพพาน   คือให้หมดกิเลสที่ทำให้ยึดถืออัตตาหลงผิดติดคาอยู่แค่ตัวเรา  เลิกเอาตัวกูมาตีกัน.

https://www.facebook.com/watch?v=1893598794174023

https://video.sanook.com/player/1486633/




(ชัด ถ้ายังไม่ชัดก็ไปเตาปูน) 110
 
 


Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2565
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2565 11:23:41 น. 0 comments
Counter : 569 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space