กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
30 พฤศจิกายน 2566
space
space
space

ไม่ใช่


ถาม 450

     ในสายตาของพระพุทธเจ้า โลกใบนี้มีแต่ความทุกข์ ถึงไม่อยากเวียนว่ายตายเกิดบนโลกนี้อีก ใช่หรือไม่ครับ

https://pantip.com/topic/42373201

ปฏิเสธก่อนเลยว่า ไม่ใช่ครับ

235 เกิดและตาย แบบปัจจุบัน 
 

         ผู้ต้องการสืบความในบาลีเกี่ยวกับสังสารวัฏ หรือการเวียนว่ายตายเกิด  แบบที่เป็นไปในปัจจุบัน  ภายในชาตินี้  อาจศึกษาพระสูตรตอนหนึ่งต่อไปนี้  เป็นตัวอย่าง
 
         “ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม  ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรม ๔ ประการ (คือ ปัญญา สัจจะ จาคะ อุปสมะ), เมื่อไม่มีความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ย่อมเรียกได้ว่า  เป็นมุนีผู้สงบ’
 
         “ข้อความที่กล่าวไว้ดังนี้นั้น   เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลอะไร ?  (ชี้แจงว่า) ความสำคัญตนย่อมมีว่า  เราเป็นบ้าง  เราไม่เป็นบ้าง  เราจักเป็นบ้าง  เราจักไม่เป็นบ้าง  เราจักเป็นผู้มีรูปบ้าง เราจักเป็นผู้ไม่มีรูปบ้าง  เราจักเป็นผู้มีสัญญาบ้าง  เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญาบ้าง  เราจักเป็นเนวสัญญานาสัญญีบ้าง; ดูกรภิกษุ  ความสำคัญตน  เป็นโรคร้าย  เป็นฝีร้าย  เป็นศรร้าย, เพราะก้าวล่วงความสำคัญตน (ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) ทั้งหมดได้  จึงจะเรียกว่าเป็นมุนีผู้สงบ;
 
         “ดูกรภิกษุ  มุนีผู้สงบ  ย่อมไม่เกิด  ย่อมไม่แก่  ย่อมไม่ตาย  ย่อมไม่วุ่นใจ  ย่อมไม่ใฝ่ทะยาน, สิ่งอันเป็นเหตุที่เขาจะเกิด  ย่อมไม่มี, เมื่อไม่เกิด  จักแก่ได้อย่างไร, เมื่อไม่แก่  จักตายได้อย่างไร, เมื่อไม่ตาย  จักวุ่นใจได้อย่างไร, เมื่อไม่วุ่นใจ  จักใฝ่ทะยานได้อย่างไร;
 
         “ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม   ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรม ๔ ประการ, เมื่อไม่มีความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป   ก็เรียกได้ว่าเป็นมุนีผู้สงบ’   ข้อความที่เรากล่าวไว้ดังนี้  เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลดังว่ามานี้;   ดูกรภิกษุ   เธอจงทรงจำการจำแนกธาตุ ๖ โดยย่อ แห่งเรา ดังนี้”
 
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=08-11-2023&group=88&gblog=76

     สมมุติคำสอนทางพระพุทธศาสนามี ๑๐ คำสอนเกี่ยวกับนรกสวรรค์โลกหน้า มี  ๒  นอกนั้นเป็นคำสอนมนุษย์ในโลกปัจจุบันแห่งชีวิตของเขาเดี๋ยวนี้ 

     คำสอนเกี่ยวกับทุกข์ท่านสรุปว่า สงฺขิตเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา. (โดยย่อ  อุปาทานขันธ์ห้าเป็นตัวทุกข์)  ไม่ยึดก็ไม่ทุกข์  มีแต่ขันธ์ห้าล้วนซึ่งไร้อาสวะ 

     โลกแห่งชีวิตปัจจุบันเดี๋ยวนี้   พุทธศาสนาสอนว่ามันมีทั้งสุขและทุกข์  กล่าวคือ กามสุข และกามทุกข์  ทั้งยังมีคำสอนต่อยอดให้อีกซึ่งก็คือทางออกจากกามสุข และกามทุกข์เหล่านั้น (สุข+ทุกข์+ทางออก) ปุถุชนคนสามัญประจักษ์เพียงสุข กับ ทุกข์ ยามสุขก็ระเริงใจ  ยามทุกข์ไร้ทางออกตีอกชกตัว  หันพึ่งพาสิ่งเสพติด ทำอัตวินิบาตกรรม. 


     ส่วนอริยสาวกจะเป็นตะแนวนี้  450

      "อนึ่ง เธอย่อมไม่มีความขัดใจ เพราะทุกขเวทนานั้น  เมื่อไม่มีความขัดใจเพราะทุกขเวทนานั้น  ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น  ย่อมไม่นอนเนื่อง  เธอถูกทุกขเวทนากระทบ  ก็ไม่หันเข้าระเริงกับกามสุข  เพราะอะไร ?   เพราะอริยสาวกผู้เรียนรู้แล้ว  ย่อมรู้ทางออกจากทุกขเวทนา นอกจากกามสุขไปอีก เมื่อเธอไม่ระเริงกับกามสุข  ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้นก็ไม่นอนเนื่อง  เธอย่อมรู้เท่าทันความเกิดขึ้น  ความสูญสลาย  ข้อดี  ข้อเสียและทางออกของเวทนาเหล่านั้นตามที่มันเป็น   เมื่อเธอรู้ ... ตามที่มันเป็น  อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา  ก็ไม่นอนเนื่อง

      "ถ้าเสวยสุขเวทนา  เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว   ถ้าเสวยทุกขเวทนา  เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว   ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา  เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว  ภิกษุทั้งหลาย  นี้เรียกว่า  อริยสาวก ผู้ได้เรียนรู้  ผู้ปราศจากชาติ  ชรา  มรณะ  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทมนัส  และอุปายาส  เราเรียกว่า  ผู้ปราศจากทุกข์"

      "ภิกษุทั้งหลาย  นี้แลเป็นความพิเศษ  เป็นความแปลก  เป็นข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้  กับ  ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ (สํ.สฬ.18/369-372/257-260) 



235 หากพิจารณาดูพุทธพจน์นั่นแล้วก็ที่เราๆท่านๆประสบพบเจอหากสังเกตก็จากการใช้ชีวิตในแต่ละวันเวลานาทีนี่เอง



 




 

Create Date : 30 พฤศจิกายน 2566
0 comments
Last Update : 2 ธันวาคม 2566 7:10:49 น.
Counter : 248 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space