Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2552
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
1 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 

อนุสรณ์ดอนเจดีย์

อำเภอดอนเจดีย์
อยู่ห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรี 35 กม.
ถ้าเริ่มนับจากหอนาฬิกาหรือแขวงการทาง
ของถนนมาลัยแมน-นครปฐมเราจะหันหน้าไปทางทิศตะวันตก

เมื่อเราขับรถมาเรื่อยๆ
จะผ่านศาลเจ้าพ่อหลักเมือง(มังกรยักษ์)ซึ่งอยู่ทางขวามือเรา
มาอีกนิดเดียวจะผ่านหน้าวัดป่าเลย์ไลก์ซึ่งอยู่ทางซ้ายมือ



วันนี้ขออาสาเป็นไกด์พาเที่ยว
ตรงมาเลยนะ ห้ามเลี้ยว




ถนนจากเมืองสุพรรณ-ดอนเจดีย์
เป็นถนนสี่เลนมีเกาะกลาง
มีต้นดอกเข็มและพันธุ์ไม้หลายหลากปลูกไว้เรียงรายสวยงาม
ถนนคอนกรีตทางเรียบ ขับขี่ปลอดภัย รถราไม่มากอย่างที่คิด


มาถึงแล้ว
จากป้ายเขียวๆที่เห็น หากเลี้ยวขวาจะไป อ.ศรีประจันต์
เลี้ยวซ้ายไป อ.หนองหญ้าไซ และ อ.ด่านช้าง
...


ถึงปากทางเข้าองค์อนุสรณ์ดอนเจดีย์แล้ว
อยู่ขวามือก่อนเลี้ยวเข้าหน้าตลาดดอน




หลังจากที่ผ่านประตูทางเข้าเราจะเห็นองค์เจดีย์สีขาวตั้งเด่นเป็นสง่า
เห็นอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตั้งตระหง่านติดกันข้างหน้า

บริเวณรอบองค์เจดีย์จะเป็นศูนย์ราชการทั้งหมด
เริ่มจากโรงพยาบาล สถานีตำรวจ ที่ทำการอำเภอ

ไปรษณีย์ วัดดอนเจดีย์ และโรงเรียนดอนเจดีย์
ทุกอย่างถูกนำมารวมกันอยู่ที่นี่




เข้ามาภายในองค์เจดีย์เราจะเห็นรูปปั้นขององค์สมเด็จพระนเรศวรตรงหน้า
กราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลกับชีวิตก่อนครับ




ถัดมาเราจะได้เห็นเรื่องราวและชีวประวัติ
ของการกอบกู้เอกราชขององค์นเรศวรท่าน
ซึ่งแสดงเป็นรูปจำลองเล็กๆโดยรอบพร้อมคำอธิบายที่เข้าใจง่าย

สวยงามครับ บรรยากาศภายในเย็นสบายมาก
เหมาะกับการค้นคว้าและเรียนรู้




ขอแทรกสาระเอาไว้สักนิดนะครับ
...


ปี พ.ศ.2117
พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์
ราชบุตรชื่อมังเอิญหรือมังไชยสิงห์ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ
พระนามว่า"พระเจ้านันทบุเรง"

ตามธรรมเนียมประเพณี
บรรดาประเทศราชที่เป็นเมืองขึ้น
จะต้องเดินทางไปถวายบังคมกษัตริย์องค์ใหม่
แสดงความจงรักภักดี รวมทั้งไทยด้วย

แต่เมืองคังมีเจ้าฟ้าไทยใหญ่เป็นผู้ครองนครไม่เดินทางมาร่วม
หมายถึงกระด้างกระเดืองคิดแข็งเมือง
ทางพระเจ้านันทบุเรงจึงได้สั่งให้ยกทัพไปปราบเมืองคัง
เพื่อแสดงอำนาจบารมี โดยมีการจัดทัพเป็น ๓ กองทัพคือ

กองทัพพระมหาอุปราช
เป็นโอรสของพระเจ้านันทบุเรง
มีชื่อเดิมว่า "มังสามเกียดหรือมังกะยอชะวา"

กองทัพพระสังกะทัต
เป็นราชบุตรของพระเจ้าตองอู
มีชื่อเดิม "นัดจินหน่อง"

กองทัพสมเด็จพระนเรศวร
เป็นโอรสของพระมหาธรรมราชากษัตริย์ไทย
...


เมืองคัง
มีทำเลอยู่บนเขา
ทางขึ้นก็เป็นซอกเขาซึ่งยากต่อการเข้ายึดเริ่มการศึก
ทางพระมหาอุปราชเข้าตีก่อนและแพ้ลงมา
ครั้งที่สอง ให้พระสังกะทัตเข้าตีก็ไม่สำเร็จ

จึงเป็นหน้าที่ของสมเด็จพระนเรศวร
ด้วยทรงพระปรีชาสามารถจึงตีเมืองคังได้สำเร็จในเวลาต่อมา
และจับตัวเจ้าฟ้าไทยใหญ่มาถวายพระเจ้านันทบุเรงอีกด้วย




การศึกครั้งนี้สร้างความอับอายให้พระเจ้านันทบุเรงมาก
พระองค์ต้องการให้ราชโอรสชนะใช่แต่เรื่องการศึกเท่านั้น
ยามว่างก็มีการนำไก่ชนมาตีกัน

ระหว่าง"ไก่ของสมเด็จพระนเรศวรและพระมหาอุปราช"

ผลคือ ไก่ชนของพระนเรศวรตีชนะ
ทำเอาพระมหาอุปราชเสียหน้าจึงตรัสว่า
“ ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ ”

พระนเรศวร ทรงได้ยินดังนั้นจึงตรัสกลับไปว่า
“ ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่จะพนันเอาเดิมพันเลย ถึงจะชนเอาบ้านเอาเมืองก็ได้ ”

ถ้าลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่สมัยที่สมเด็จพระนเรศวรทรงขับไล่เขมร
การตีเมืองคัง ได้สำเร็จ จนถึงการชนไก่
จะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระบารมีเหนือกว่าทางฝ่ายพม่ามากนัก

สมเด็จพระนเรศวร
ทรงก้าวขึ้นครองราชบัลลังค์ได้ไม่นานก็เผชิญศึกใหญ่
พม่ายกเข้ามารุกรานในช่วงที่ผลัดแผ่นดินใหม่
ด้วยความเข้าใจว่าอาจเกิดความยุ่งยากขึ้นมาตามธรรมเนียมของบ้านเมือง
พม่าได้ยกไพร่พลมาครั้งนี้เป็นทัพใหญ่มีไพร่พลถึง 3 แสน
จัดเป็น 2 ทัพ มุ่งเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์
เพื่อเข้าตีกรุงศรีอยุธยาอย่างเร็วพลันไม่ให้ตั้งตัวได้
สมเด็จพระนเรศวรทรงปรับกระบวนวิธีการรบใหม่ทันที
โดยทรงใช้วิธียาตราทัพไปซุ่มรับอยู่ที่สุพรรณบุรี
แล้วส่งกองทัพน้อยไปเมืองกาญจนบุรี ทำทีเหมือนจะไปรักษาเมือง

พม่าหลงกลรุกไล่กองทัพน้อยของไทย
ซึ่งถอยหนีหลอกล่อมาทางที่ทัพหลวงซุ่มอยู่
พอได้จังหวะก็พร้อมกันออกตะลุมบอนตีพม่าแตกยับ
ถูกทหารไทยฆ่าฟันล้มตายนับไม่ถ้วน

ส่วนแม่ทัพคือ "พระมหาอุปราชา" ทรงหนีรอดเงื้อมือไปได้

นับเป็นชัยชนะศึกใหญ่ต้อนรับการขึ้นสู่ราชบังลังค์ของสมเด็จพระนเรศวร
ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ของชาวไทย
ที่ทำให้ขวัญของชาวไทยในเวลานั้นพลันฮึกเหิมขึ้นมาอย่างน่าประหลาด
ทำให้พระเกียรติคุณของสมเด็จพระนเรศวรเกริกไกร
กึกก้องขจรขจายไปทั่วทุกทิศานุทิศ
ทำให้ไทยก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ในย่านคาบสมุทรอินโดจีนแหลมทองของไทยนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


การทำสงครามยุทธหัตถีในครั้งนั้นเกิดขึ้นเมื่อ
วันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช 945 ( พ.ศ.2135)




(ลงสาระเสียเยอะเลย บางท่านคงอ่านไม่หมด)

ทีนี้เรามาดูตรงนี้กันครับ

องค์เจดีย์องค์เดิม จริงๆแล้วจะพังถล่มลงกองอยู่รวมกันดังที่เห็น
วัสดุหมดอายุไปตามกาลเวลา




องค์เจดีย์ใหญ่ที่เห็นในปัจจุบันนั้นจริงๆแล้วสร้างครอบองค์เดิมไว้
ดังตัวอย่างที่เห็นในรูป

งานกาชาดสุพรรณบุรีของทุกปีเค้าจะจัดที่นี่
เรียกว่า"งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์"
ซึ่งจะมีขึ้นทุกๆปีในวันกองทัพไทย คือ 25 มกราคม

จัด 11 วัน 11 คืน หรืออาจมากกว่านั้น เที่ยวกันจนจุใจ
มีโอกาสอย่าลืมพาลูกหลานมาดูการแสดงยุทธหัตถี(ชนช้าง)กันนะครับ
สนุกและตื่นตาตื่นใจกับความอลังการ
ดูแล้วทำให้สำนึกรักประเทศชาติมากขึ้นจริงๆ

อ้อ ลืมบอกไป
ที่ตรงนี้ในอดีตเป็นสถานที่ทำการยุทธหัตถีด้วยครับ


ขอลาตรงนี้เลยนะครับ
สวัสดี





 

Create Date : 01 พฤษภาคม 2552
6 comments
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2558 8:52:37 น.
Counter : 3138 Pageviews.

 

เคยไปเที่ยวช่วงงานกาชาดค่ะ เมื่อสองสามปีก่อนค่ะ

สวัสดีตอนสาย ๆค่ะ

 

โดย: ดาวไร้ตะวัน 1 พฤษภาคม 2552 10:08:04 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ขยันอัพบ๊อกจังเน๊าะคุณพ่อ
แวะมาชมภาพงาม ๆจ้า

 

โดย: อุ้มสี 1 พฤษภาคม 2552 15:04:42 น.  

 

ตามไปเที่ยวค่ะ
ได้ความรู้ใหม่ๆด้วย
ขอบคุณค่ะ

 

โดย: รัตตมณี (kulratt ) 1 พฤษภาคม 2552 21:36:19 น.  

 

เคยได้มีโอกาสแวะไปสักการะมาครั้งนึงค่ะ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดี นะคะ

 

โดย: nokkatua 2 พฤษภาคม 2552 12:55:58 น.  

 

 

โดย: ริวคิ-mawin-maji-minic 7 พฤษภาคม 2552 1:06:03 น.  

 



สวัสดีวันจันทร์จร้าพี่ต่าย....


มีความสุข มาก มาก น๊า....


แวะมาเที่ยวด้วยคนค่ะ สวยจัง น่าไปอ่ะ

 

โดย: หนุ่มน้อยแห่งลุ่มแม่น้ำบางปะกง 18 พฤษภาคม 2552 11:37:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Resource of life
Location :
บุรีรัมย์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]














เปิดบ้านเพื่อรับอรุณ











คนเราแก้ไขอดีตไม่ได้


แต่อาจแก้ไขอนาคตได้















วางพู่กันหันมาจับเม้าส์
New Comments
Friends' blogs
[Add Resource of life's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.