"อุทยานชำระใจ" อุทยานแห่งปรัชญาชีวิต




อกมุมหนึ่งของชีวิต ควรมีที่ไว้ให้หลบลี้เลียแผลเสียบ้าง เติมพลังชีวิตเสียบ้าง ค่อยปลุกปลอบกำลังใจออกไปต่อสู้กับเรื่องราวในโลกต่อไป

ลำพังกำลังภายนอกคือกาย ถ้าปราศจากแรงขับเคลื่อนคือ กำลังใจ ก็ไม่อาจทำอย่างไรได้ คนที่ต่อสู้กับมรสุมลูกแล้วลูกเล่าที่โหมกระหน่ำใส่ชีวิตได้ เพราะมีกำลังใจอันแข้มแข็ง มีภูมิด้านทานที่แข็งแกร่ง

หากเปลือยกำลังใจออกมาดู คงเห็น “กล้ามใจ” เป็นมัดๆ

ไม่ต้องแปลกใจ ถ้ามีคำถาม คนเหล่านี้จะตอบว่า เขาออก “กำลังใจ” สม่ำเสมอ และดูแล “สุขภาพใจ” ด้วยการรับประทานอาหาร (ใจ) ที่ถูกหลักอนามัย

เช่นนี้แล้ว เชื่อได้เลยว่า ไม่มีกองทัพปัญหาใดๆ ตีมโนนครของเขาให้ย่อยยับอัปรา

แต่จะมีเช่นนี้สักกี่คน

ตื่นเช้าก้าวออกจากบ้าน ต้องเจอเรื่องราวสารพัน กว่าจะเข้าบ้านก็เล่นเอาสะบักสะบอม เหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าแทบขาดใจ กระทั่งกินข้าวดื่มน้ำชำระกายแล้วก็พอสดชื่น มีเรี่ยวแรงขึ้นบ้าง

ทว่าเรื่องที่ติดค้างในใจ ปัญหาที่ไปผ่านพบมาเล่า ใช่สามารถชำระล้างได้เหมือนอาบน้ำหรือไม่ กำลังใจที่ไม่เข้มแข็งพอ สามารถรับมือได้ตลอดไปหรือ ?

อาจมีสักวันหนึ่ง ที่ถึงกับตัดสินใจทำเรื่องโง่เขลาบางประการ

แต่ไม่ต้องรอถึง “อาจมีสักวันหนึ่ง” หรอก คนมักทำเรื่องโง่เขลากันทุกวี่วันอยู่แล้ว

“อุทยานชำระใจ” คือรมณียสถานที่เหมาะสมกับเราท่านที่มักทำเรื่องโง่เขลาอย่างยิ่ง

ที่นี่มีทุกอย่างไว้บริการ “ชำระใจ” และ “บำรุงใจ” เท่าที่คุณต้องการ ไม่แพ้สถานบริการกามวิสัยของชูวิทย์ ต่างแต่ว่าคุณต้องเป็นฝ่ายชำระเอง และบริโภคเอง

พานไถเฉิง คือเจ้าของผู้รังสรรค์อุทยานแห่งนี้ขึ้นมา เขาเป็นนักพูดแนวจิตวิญญาณทั้งยังชมชอบการเล่นหมากล้อมเป็นชีวิตจิตใจ ประมาณปี ๒๕๔๑-๒๕๔๒ ที่ใต้หวัน อุทยานชำระใจ ของเขาขายดิบขายดี มีผู้ใช้บริการอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง

อย่านึกไปไกล... อุทยานที่ว่าเป็นเพียงหนังสือเล่มหนึ่ง หนังสือที่สมควรหยิบขึ้นมาเอนหลังอ่านในวันที่จิตใจหมองหม่น ในวันที่จิตใจต้องรับมือกับเรื่องราวหนักหน่วงในชีวิตชนิดหักโหม

ความดื่มด่ำของการเสพ อยู่ที่ “มุมสงบแห่งผลึกปัญญา และปรัชญาชีวิต จุดประกายความคิด และมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม” สำนวนความเรื่องยิ่งลึกซึ้งดื่มด่ำเข้าไปอีก เมื่อถูกร้อยเรียงเป็นอักษรไทยโดย น.นพรัตน์ นักแปลนิยายกำลังภายในมือฉมัง

“จักวาลเวิ้งไพศาล ชีวิตกระชั้นสั้นนัก ทุกครั้งยามดึกสงัด ฉันซักถามใจตัวเอง สาละวนวุ่นวายด้วยเหตุอันใด ? คุณใช่มีความรู้สึกเลื่อนลอยราวกับสูญเสียหรือไม่ ?

ชีวิตที่แท้ถวิลหาอะไร ? หาความสุขของตัวเอง หรือความสุขของคนอื่น ?”


ผู้เขียนตั้งคำถามกับตนเอง และสื่อต่อผู้อ่านผ่านถ้อยคำสั้นกระชับ ไม่วกวนอ้อมค้อม ไม่เรี่ยราดด้วยสำบัดสำนวนที่รุ่มร่ามฟุ่มเฟือยน่ารำคาญ

และไม่เทศนาจนผู้อ่านหลงไปว่ากำลังนั่งประณมมืออยู่หน้าธรรมาสน์

กลวิธีการนำเสนอของผู้เขียนนั้นเรียบง่ายที่สุด นั่นคือ ยกภาษิตหรือปรัชญาความคิดสั้นๆ ของนักปราชญ์ทั่วโลก เช่น ขงจื้อ หลีไป่ วิลเลี่ยม เช็กสเปียร์ เบค่อน เพลโต้ หรือแม้กระทั้งข้อความในคัมภีร์อย่าง อี้จิง ไบเบิล เป็นบทกระทู้ตั้ง แล้วเล่าเรื่องสั้นๆ ประกอบ คล้ายผู้ใหญ่เล่านิทานปรัมปราให้เด็กๆ ฟัง พอจบก็ตบท้ายด้วยบทสรุปสั้นๆ สองสามแถว เป็นเจตนาที่ช่วยให้ผู้อ่านย่อยง่ายขึ้น คล้ายนิทานอิสปที่จบท้ายด้วยคำ...นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า....

อุทยานชำรำใจ กลับแยบยลกว่า เป็นการสรุปที่ไม่สรุป หยิบยื่นให้โดยไม่ยัดเยียด เหมือนบุรุษผู้หนึ่งเปิดประตูสวน แล้วยืนยิ้มอยู่ด้านข้าง จะก้าวเข้าไปหรือไม่เป็นการตัดสินใจของคุณเอง

โปรดผ่านตา...



วิถีธรรมชาติไม่หยุดนิ่ง
วิญญูชนควรยึดถือเป็นแบบอย่าง


คัมภีร์อี้จิง

หลวงจีนถามลูกศิษย์ว่า ดอกบัวยังไม่โผล่พ้นผิวน้ำเรียกว่าอะไร

ลูกศิษย์ตอบว่า “ดอกบัว”

หลวงจีนถามอีกว่า “ถ้างั้นหลังจากพ้นผิวน้ำเล่า?”

ลูกศิษย์ตอบว่า “ใบบัว”

ดอกบัวยังไม่พ้นน้ำ ไม่แปดเปื้อนมลทิน หลังจากพ้นน้ำ เผชิญกับโลกแห่งความจริง มีทั้งดอกและใบ ยังมีก้านที่เหี่ยวเฉา

เมื่อหิมะละลายกลายเป็นอะไรส่วนมากตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “น้ำ” หากแต่มีเด็กน้อยผู้หนึ่งตอบว่า

“กลายเป็นวสันต์”

วันนี้เผชิญกับความท้อแท้ ผู้ใหญ่หน้าดำคร่ำเครียด เด็กน้อยกลับใช้ดวงจิตที่ยินดี รอยคอยวสันต์ของวันพรุ่งนี้

...................................

๘๗ เรื่อง ใน อุทยานชำระใจ พานไถเฉิง เขียนลงในนิตยสารหมากล้อมในใต้หวัน ทุกข้อเขียนแม้เป็นเรื่องราวที่เก็บงำจากหลายๆ ที่หลายๆ แห่ง ต่างกรรมต่างวาระ แต่ก็นำมาเล่าในลีลาของตนเอง ซึ่งผสมผสานเข้ากับปรัชญาเซ็นได้อย่างลึกซึ้งลงตัว (เซ็น หรือ ฌาน แปลว่า เพ่ง เป็นนิกายหนึ่งในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ก่อตั้งโดยภิกษุชาวชมพูทวีป นาม โพธิธรรม หรือ ตั๊กม้อ (ตโมภิกษุ))

ในสังคมที่สับสนวุ่ยวาย ใจคนยิ่งสับสนวุ่นวายกว่า ยามใดที่ชีวิตเผชิญปัญหารุมเร้า จิตใจย่อมโหยหาที่พึงพิง หวังมีคนช่วยผ่อนคล้ายให้หายความกลัดกลุ้ม หรือช่วยรื้อถอนปัญหาจากชีวิต

ไม่ต้องไปปรึกษานักจิตวิทยาให้เสียเงินทอง ไม่ต้องไม่หาหมอดูให้เสียรู้ เสียค่าครู

โปรดหยิบ “อุทยานชำระใจ” เล่มนี้เถอะ หยิบขึ้นมาแล้วพา “ใจ” เข้าไป “ชำระ” ให้สะอาด และ “บำรุง” ให้แข็งแรง



พระอาจารย์เจ้าโจวกับเหวินเยวี่ยนผู้เป็นศิษย์อยู่ว่างไม่มีอะไรทำ นัดหมายกันใช้คำอุปมาอุปไมย เปรียบเทียบตัวเองว่า ใครต่ำต้อยที่สุด

พระอาจารย์เจ้าโจวพูดว่า

“ฉันเป็นลาตัวหนึ่ง”

เหวินเยวี่ยนบอกว่า

“ผมเป็นก้นของลา”

พระอาจารย์เจ้าโจวพูดว่า

“ฉันเป็นอุจจาระของลา”

เหวินเยวี่ยนบอกว่า “ผมเป็นตัวหนอนในอุจจาระ”

พระอาจารย์นึกอยู่ครึ่งค่อนวัน นึกต่อไปไม่ออกจึงถามว่า

“เธออยู่ในอุจจาระทำอะไร”

เหวินเยี่ยนตอบว่า

“ผมกำลังพักร้อน”

พานไถเฉิง สรุปว่า ชีวิตคนเรามักตกอยู่ในจุดอับ แม้นหากรู้จัก “พักร้อนในอุจจาระ” เช่นเดียวกับเหวินเยวี่ยน รักษาจิตใจอันใสเย็นไว้ ยังมีอุปสรรคขัดข้องอันใดอีก?


อยากพักร้อน แต่ไม่อยากลางาน ใช้บริการ “อุทยานชำระใจ” ดีที่สุด






Create Date : 06 มกราคม 2551
Last Update : 6 มกราคม 2551 10:36:00 น.
Counter : 2091 Pageviews.

9 comments
  
เหมือนเคยอ่านเลยอ่ะครับ
โดย: เจ้าชายไร้เงา วันที่: 17 มกราคม 2551 เวลา:16:20:41 น.
  
ส่งมาให้อ่านหน่อยจิ
โดย: ศล วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:22:53:14 น.
  
เข้ามาทักทายหลายรอบแล้ว
ไม่เห็นอัพบล็อกเลย

อยากอ่านตัวหนังสืองามๆ จากความคิดของคุณ
จัดให้หน่อยนะ
โดย: แสง สีรุ้ง วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:23:07 น.
  
เข้าแถวรออ่านเรื่องต่อไปครับ

อิอิ
โดย: แสง สีรุ้ง วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:15:07:29 น.
  
อัพเถอะลุง !!
โดย: เจ้าชายไร้เงา วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:3:39:24 น.
  
ต้องขออภัยครับ ที่ทำให้พี่ๆ น้องๆ ต้องรอ
เดี๋ยวมาครับ


ปล. ก่อนงานหนังสือต้องกลับบ้านดึกทุกวัน กว่าจะกลับถึงห้องก็สมองล้าหมดแล้ว
ช่วงนี้ความคิดความอ่านเลยไม่ต่างอะไรกับเด็กปัญญาอ่อน

กลางเดือนเป็นต้นไป จะเปลี่ยนงานแล้ว คาดว่าจะดีขึ้นครับ
โดย: รวี ตาวัน IP: 61.47.18.97 วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:17:15:31 น.
  
เคยอ่านมาแล้วดีจริงๆค่ะสนับสนุนให้หามาอ่านกัน แล้วเราจะพบคำตอบหลายอย่างของชีวิต
โดย: ผ่านมาเจอ IP: 125.26.201.57 วันที่: 23 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:44:37 น.
  
อยากได้หนังสือเล่มนี้ไม่รู้ สั่งซื้อที่ไหนได้ ช่วยบอกหน่อย 0852428766
โดย: Ko IP: 58.8.87.112 วันที่: 11 มกราคม 2553 เวลา:15:02:03 น.
  
เป็นหนังสือที่ดีมาก และมีส่วนสำคัญที่ทำให้ผมมึอะไรดีๆ จนยืนหยัดอย่างสง่าผ่าเผยได้ในวันนี้
โดย: เขตต์รัตน์ บรรจบ IP: 110.49.242.47 วันที่: 18 กันยายน 2555 เวลา:4:47:53 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รวี_ตาวัน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



มกราคม 2551

 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31