ฟอนต์สำหรับพิมพ์บาลีและไทย "พุทธธรรม และ พุทธวจนะ" [ดาวน์โหลด]
 
 
ปัญหาพิมพ์คำบาลีในฟอนต์ไทย
  • พิมพ์อักขระใดๆ แล้วพิมพ์สระอุ ตามด้วย นิคหิต  (-ุ + -ํ)  สระ อุ จะหายไป เหลือแต่นิคหิต, พิมพ์นิคหิต ตามด้วยสระอุ  นิคหิตจะหายไป เหลือแต่สระอุ ที่เป็นเช่นนี้เพราะชุดคำสั่งในไฟล์ฟอนต์ สั่งไว้ว่าถ้าพิมพ์อักขระสองตัวนี้ซ้อนกัน ให้ลบตัวแรก คงตัวหลังไว้
  • พิมพ์สระอิ ตามด้วย นิคหิต (-ิ + -ํ) บางฟอนต์จะถูกแทนที่ด้วยสระ อึ  บางฟอนต์ นิคหิต ก็ทับสระอิไปเลย  (วัยรุ่นเซ็งเลย)
  • เอกลักษณ์ของบาลีอักษรไทยคือ ฐ และ ฐ ไม่มีเชิง ซึ่งพิมพ์ด้วยแป้นพิมพ์ปกติไม่ได้ ต้องเรียก ฐ และ ญ ไม่มีเชิงออกมาจากอักขระพิเศษ แต่ปัญหาตามมา (ในโปรแกรมชุดออฟฟิซของไมโครซอฟ) คือ พิมพ์สระใดๆ ต่อไม่ได้ ก็ต้องเรียกสระใดๆ นั้นมาจากอักขระพิเศษอีก ปัญหาก็คือ 1.เสียเวลา  2.สระผิดตำแหน่ง ดังตัวอย่าง 
  • ในระบบปฏิบัติการวินโดว์ 10 และ macOS  โปรแกรมไมโครซอฟ ออฟฟิซ 2016 (หรืออาจจะ 2013 ด้วย ไม่แน่ใจ) ไม่สามารถเรียก ฐ ญ และอักขระพิเศษ ออกมาใช้ได้แล้ว ยิ่งสร้างความลำบากหนักเข้าไปอีก
  • ฯลฯ (ซึ่งอาจจะมี)

เมื่อไม่นานมานี คุณเทพพิทักษ์ ได้ออกรุ่นฟอนต์ TLWG 0.6.3 ให้รองรับการพิมพ์ภาษาชาติพันธุ์ได้ดีขึ้น ผมเปิดดูชุดคำสั่งพบว่าล้ำมาก รองรับการทำงานกับการพิมพ์ภาษาบาลีได้ดีมาก เอามาปรับปรุงนิดหน่อย ก็เป็นอันใช้ได้ อีกอย่างฟอนต์ onts-TLWG 0.6.3  ก็เป็นโอเพิ่นซอร์ส ผู้ใช้เอาไปพัฒนาต่อยอดได้ ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์  

ผมจึงเลือกเอามาสองฟอนต์คือ Garuda (ครุฑ) และ Kinnari (กินนรี)  มาปรับปรุงทั้งดีไซด์ตัวอักษรให้สวยงามขึ้น ดูแล้วสบายตาขั้น (ในสายตาของผม--บางอักษรก็เปลี่ยนรูปทรงไปเลย) และการจัดวางตำแหน่งสระ พินทุ นิคหิต ให้ถูกตำแหน่ง แล้วตั้งชื่อใหม่

 

แนวคิดที่เลือกแบบอักษร

การใช้รูปแบบอักษรที่คล้ายกับในหนังสือเรียนบาลี (ของมหามกุฏฯ) จะทำใช้รู้สึกคุ้นเคย และอ่านได้ลื่นไหลเป็นธรรมชาติ จึงเป็นที่มาของฟอนต์สองตัว ดังนี้
    1. ฟอนต์  Buddhawajana ใช้เป็นตัวเนื้อหา ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลี (จะมีคำว่า Pali ต่อท้าย)
      ตัวอย่าง BuddhawajajaPali

      ตัวอย่าง Buddhawajaja
    2. ฟอนต์  Buddhadham ใช้เป็นบทคาถา ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลี (จะมีคำว่า Pali ต่อท้าย)
      ตัวอย่าง BuddhadhamPali

      ตัวอย่าง Buddhadham

เมื่อเปรียบเทียบกับหนังสือ ธมฺมปทฏฺฐกถา ของมหามกุฏฯ จะคล้ายกัน ย้ำว่าแค่คล้าย

ซ้าย--ต้นฉบับซึ่งเป็นตัวพิมพ์ตะกั่วในระบบเรียงพิมพ์   และ ขวา--ฟอนต์ที่ทำขึ้นมาใหม่ในระบบคอมพิวเตอร์

ฟอนต์ที่ดาวน์โหลดไป จะมีฟอนต์สองตัว คือ ฟอนต์ชื่อ พุทธธรรม และ พุทธวจนะ มองผ่านๆ จะคิดว่าเป็นฟอนต์ อังศนา และ โบวาเลีย ของพี่วินโดว์ แต่ถ้ามองด้วยสายตานักออกแบบจะพบความต่างเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างตัว  ก ค ง จ ช ซ ส ม ห ย ร  หรือสระ ไ ใ โ วรรณยุกต์โท ตรี ไม้ไต่คู้ ซึ่งสวยและลงตัวกว่า


ดาวน์โหลดฟอนต์สำหรับพิมพ์บาลีและไทย

(เข้าไปแล้ว คลิกที่ปุ่มลูกศรชี้ลง ขวาบน)

 

คำแนะนำในการพิมพ์ภาษาบาลี

  • ให้พิมพ์อักษรไปตามปกติไม่ต้องเรียกใช้อักขระพิเศษใดๆ ทั้งสิ้น
  • ภาษาบาลีไม่มีสระอึ ดังนั้น ที่ถูกต้องควรพิมพ์ สระอิ + นิคหิต (สำหรับสองฟอนต์นี้ไม่ว่าจะพิมพ์ สระอึ หรือ พิมพ์ อิ ตามด้วยนิคหิต  ผลจะออกมาเหมือนกัน คือ นิคหิตลอยอยู่เหนือสระอิเล็กน้อย  ซึ่งเป็นแบบที่ถูกต้อง)
  • หากจะพิมพ์คำเช่น ตุํ  ปุํ ให้พิมพ์สระ อุ แล้วตามด้วยนิคหิตเสมอ
  • กรณีใช้ใน โปรแกรมไมโครซอฟ เวิร์ด แล้วพิมพ์ พินทุ และ นิคหิต ไม่ได้ ให้ปิดคำสั่ง “ใช้การตรวจสอบการเรียงลำดับ” ใน โปรแกรมเวิร์ด หรืออ่านวิธีแก้อย่างละเอียดได้ที่ลิงก์นี้ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=raveetavan&month=28-06-2010&group=2&gblog=6
  •  กรณีพิมพ์ไทยใน Adobe Photoshop และ Illustrator แล้ววรรณยุกต์ลอย ให้แก้ตามนี้ https://www.f0nt.com/forum/index.php?topic=22029.0
  • ขนาด 11 พ้อยต์ ของฟอนต์นี้ จะเท่ากับขนาด  16 พ้อยต์ ของฟอนต์ทั่วไป (เพราะยึดมาตรฐานฟอนต์สากลเป็นหลัก)



Create Date : 30 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2564 13:51:07 น.
Counter : 18269 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

รวี_ตาวัน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



พฤศจิกายน 2559

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29