พระอรหันต์ กับ พระวินัย
.

ความคิดเห็นที่ 5

เสขสูตรที่ ๒

[บางส่วน--เฉพาะท่อนของพระอรหันต์]

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา

เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้

แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์
เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่


อรรถกถา



[บางส่วน]

พระขีณาสพต้องอาบัติ

ก็ในบทว่า ตานิ อาปชฺชติปิ วุฏฺฐาติปิ นี้ มีอธิบายว่า

พระขีณาสพไม่ต้องอาบัติที่เป็นโลกวัชชะเลย
จะต้องก็แต่อาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะเท่านั้น

และเมื่อต้องก็ต้องทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง คือ
เมื่อต้องทางกายก็ต้องกุฏิการสิกขาบทและสหไสยสิกขาบทเป็นต้น
เมื่อต้องทางวาจาก็ต้องสัญจริตตสิกขาบท และปทโสธัมมสิกขาบทเป็นต้น.
เมื่อต้องทางใจก็ต้อง (เพราะ) รับรูปิยะ.

              แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
              บทว่า น หิ เมตฺถ ภิกฺขเว อภพฺพตา วุตฺตา ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในที่นี้ เราตถาคตมิได้กล่าวว่า
พระอริยบุคคลไม่ควรทั้งในการต้องและการออกจากอาบัติเห็นปานนี้.

              บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยกานิ ความว่า
สิกขาบทที่เป็นมหาศีล ๔ ซึ่งเป็นเบื้องต้นของมรรคพรหมจรรย์.

              บทว่า พฺรหฺมจริยสารุปฺปานิ ความว่า
สิกขาบทที่เป็นมหาศีลเหล่านั้นแล เหมาะสม คือสมควรแก่มรรคพรหมจรรย์ที่ ๔.

              บทว่า ตฺตฺถ ได้แก่ ในสิกขาบทเหล่านั้น.



พจนานุกรมพุทธศาสตร์

ปัณณัตติวัชชะ อาบัติที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ
      คือ คนสามัญทำเข้าไม่เป็นความผิดความเสีย เป็นผิดเฉพาะแก่ภิกษุ
โดยฐานละเมิดพระบัญญัติ เช่น ฉันอาหารในเวลาวิกาล ขุดดิน
ใช้จีวรที่ไม่ได้พินทุ นั่งนอนบนเตียงตั่งที่ไม่ได้ตรึงเท้าให้แน่น เป็นต้น


โลกวัชชะ อาบัติที่เป็นโทษทางโลก
      คือ คนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำเข้า ก็เป็นความผิดความเสียหาย
      เช่น โจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทุบตีกัน ด่ากัน เป็นต้น;
      บางทีว่าเป็นข้อเสียหายที่ชาวโลกเขาติเตียน ถือว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ เช่น ดื่มสุรา เป็นต้น


จากคุณ : ปล่อย 
เขียนเมื่อ : 24 เม.ย. 54 12:06:41





ความคิดเห็นที่ 6

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘
ปริวาร


ว่าด้วยบุคคล

บุคคล ๒ พวก ไม่ควรต้องอาบัติ คือ
พระพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑.



บุคคล ๒ พวก ควรต้องอาบัติ คือ
ภิกษุ ๑ ภิกษุณี ๑.


บุคคล ๒ พวก ไม่ควรแกล้งต้องอาบัติ คือ
ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๑ ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล ๑.


บุคคล ๒ พวก ควรแกล้งต้องอาบัติ คือ
ภิกษุปุถุชน ๑ ภิกษุณีปุถุชน ๑.


บุคคล ๒ พวก ไม่ควรแกล้งประพฤติล่วงวัตถุเป็นไปกับด้วยโทษ คือ
ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๑ ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล ๑.

บุคคล ๒ พวก ควรแกล้งประพฤติล่วงวัตถุเป็นไปกับด้วยโทษ
คือ ภิกษุปุถุชน ๑ ภิกษุณีปุถุชน ๑.
----------------------------------


หมายเหตุ

"ไม่ควรต้องอาบัติ"        คือ ไม่มีทางต้องอาบัติ

"ไม่ควรแกล้งต้องอาบัติ" คือ ไม่มีทางจงใจต้องอาบัติ

จากคุณ : ปล่อย 
เขียนเมื่อ : 24 เม.ย. 54 12:15:27 




ความคิดเห็นที่ 7

.         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง
ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังทรง
บัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
พระผู้มีพระภาคจงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น โดยความเป็นโทษเพื่อความ
สำรวมต่อไปเถิด.


          ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง
ไม่ฉลาดซึ่งได้ประกาศความอุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังจะบัญญัติสิกขาบท
ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา


          ดูกรภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอริยบุคคลชื่ออุภโตภาควิมุต

เราพึงกล่าวแก่ภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มดังนี้
ภิกษุนั้นพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือพึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ?

            ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.



            ดูกรภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอริยบุคคลชื่อปัญญาวิมุต เป็นอริยบุคคลชื่อกายสักขี
เป็นอริยบุคคลชื่อทิฏฐิปัตตะ เป็นอริยบุคคลชื่อสัทธาวิมุต
เป็นอริยบุคคลชื่อธรรมานุสารี เป็นอริยบุคคลชื่อสัทธานุสารี

เราพึงกล่าวกะภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มดังนี้
ภิกษุนั้นพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือพึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ?


            ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.


ที่มา ภัททาลิสูตร

จากคุณ : ปล่อย 
เขียนเมื่อ : 24 เม.ย. 54 12:31:47 




หมายเหตุ ก้อปและตัดแต่งมาจากกระทู้ ผู้ที่ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ แต่มาแอบอ้างว่าตนเองเป็นนี่บาปไหมครับ

แต่หาลิงค์ของกระทู้ดังกล่าวไม่เจอแล้ว



หมายเหตุ2
เนื่องจากมีบางคนเชื่อว่า

ความคิดเห็นที่ 2

....ถ้าคนที่ไม่ได้เป็นพระ มาพูดว่าตนเองเป็นพระอรหันต์  นั่นคือ คนบ้า แน่

นอน  เป็นอื่นไปไม่ได้   ยกเว้นคนนั้นจะรีบบวชเป็นพระภายในไม่เกิน ๗ วัน  ก็

อาจจะเป็นพระอรหันต์จีริงก็ได้  ซึ่งต้องพิสูจน์กันอีกหลายๆอย่าง ..แต่ถ้าคนที่

เป็นพระมาพูดว่าตนเองเป็นพระอรหันต์ ถ้าผู้พูดไม่ได้เป็นพระอรหันต์จริง  ก็

แสดงว่าเป็นการโกหก  ผิดศีลปราชิกข้อ ๔ ข้ออวดอุตริมนุสธรรม  แต่ถ้าเป็น

ของจริงก็ไม่มีปัญหาอะไรนัก  เพราะผู้ที่เป็นพระอรหันต์ ท่านถือเป็นศีลเภทแล้ว

  หมายถึงทำให้ศีลแตกได้ คือท่านจะถือศีลหรือไม่ถือ มากน้อย ยังไงก็ได้  ถือ

เป็น สติวินโย คือไม่อาจจะมีใครโจทก์อาบัติต่างๆต่อพระอรหันต์ได้

จากคุณ : ศิษย์พระป่า 
เขียนเมื่อ : 24 เม.ย. 54 04:32:55 
ถูกใจ : JitZungkabuai, ฮิมาวาริซซัง, จิตสิกขา, ongchai_maewmong


จึงเป็นเหตุให้คิดกันไปว่า
พระอรหันต์ท่านจะละเมิดพระวินัยอย่างไรก็ได้ ไม่เป็นความผิด

แล้วความเชื่ออันนี้ก็ส่งผลต่อการวินิฉัย
เวลาเห็นภิกษุ(ที่ตนเชื่อว่าเป็นพระอรหันต์)กระทำผิดพระวินัยด้วย



ความจริง(ตามตำรา)นั้นแสดงว่า
พระอรหันต์ยังต้องอาบัติจากความผิดทางพระวินัยได้

แต่พระอรหันต์จะไม่จงใจล่วงละเมิดพระวินัยเด็ดขาด
ด้วยความเคารพเชื่อฟังในพระศาสดาอย่างไม่คัดค้านสงสัย


ดังนั้น พระวินัยที่พระอรหันต์จะมีโอกาสละเมิดได้ (และโดยไม่ใช่จงใจละเิมิด)
จึงมีแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่ใช่เรื่องใหญ่เรื่องสำคัญ


เป็นต้น



Create Date : 15 พฤษภาคม 2555
Last Update : 4 กรกฎาคม 2555 1:45:51 น.
Counter : 2294 Pageviews.

3 comments
  
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒

ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัย ๘ ประการ


[๔๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนมหาสมุทรตั้งอยู่ตามธรรมดาไม่ล้นฝั่ง

สาวกทั้งหลายของเราก็เหมือนกัน
ไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติ แล้วแก่สาวกทั้งหลาย
แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต


ข้อที่สาวกทั้งหลายของเรา
ไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย
แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต

แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๒
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้

//www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=07&A=5460&Z=5544
--------

มาเพิ่มเติมบางข้อ

โดย: ปล่อย วันที่: 4 กรกฎาคม 2555 เวลา:1:29:35 น.
  
มิลินทปัญหา
ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัย


เมณฑกปัญหา วรรคที่เจ็ด

7 สติสัมโมสปัญหา

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ความหลงลืมสติของพระอรหันต์มีหรือ"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระอรหันต์ทั้งหลายปราศจากความหลงลืมสติแล ความหลงลืมสติของพระอรหันต์ทั้งหลายย่อมไม่มี"


ร "พระผู้เป็นเจ้า ก็พระอรหันต์ต้องอาบัติหรือไม่"
ถ "ขอถวายพระพร ต้องซิ"

ร "ต้องเพราะวัตถุอะไร"
ถ "ขอถวายพระพร ต้องเพราะทำกุฎี, ต้องเพราะสัญจริต, ต้องเพราะความสำคัญในวิกาลว่าเป็นกาล, ต้องเพราะความสำคัญในภิกษุผู้ห้ามข้าวแล้วว่าเป็นผู้ยังไม่ได้ห้ามข้าวแล้ว, ต้องเพราะสำคัญในภัตรเป็นอนติริตตะว่าเป็นอติริตตะ"


ร "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด ย่อมต้องอาบัติ ภิกษุทั้งหลายนั้น ย่อมต้องด้วยอาการทั้งหลายสอง คือ ต้องด้วยความไม่เอื้อเฟื้อบ้าง คือ ต้องด้วยความไม่รู้บ้าง' อนาทริยะ ความไม่เอื้อเฟื้อมีแก่พระอรหันต์บ้างหรือ พระผู้เป็นเจ้า พระอรหันต์ต้องอาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อไรเล่า"
ถ "ขอถวายพระพร หามีไม่"


ร "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าพระอรหันต์ต้องอาบัติ, แต่
อนาทริยะของพระอรหันต์ไม่มี, ถ้าอย่างนั้น ความหลงลืมสติของพระอรหันต์ย่อมมี ละซิ"
ถ "ขอถวายพระพร ความหลงลืมสติของพระอรหันต์ ย่อมไม่มี, ก็แต่ว่าพระอรหันต์ย่อมต้องอาบัติ"


ร "พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าจงยังข้าพเจ้าให้ทราบด้วยเหตุ อะไรเป็นเหตุในความต้องนั้น"
ถ "ขอถวายพระพร กิเลสทั้งหลายสองประการเหล่านี้ คือ:โลกวัชชะหนึ่ง ปัณณัตติวัชชะหนึ่ง โลกวัชชะเป็นไฉน: กรรมบถทั้งหลายที่เป็นอกุศลสิบประการ ประชุมแห่งกรรมบถเป็นอกุศลนี้ บัณฑิตย่อมกล่าวว่าโลกวัชชะ ปัณณัตติวัชชะเป็นไฉน: กรรมอันใดไม่เหมาะ ไม่ควรแก่สมณะทั้งหลาย แต่เป็นอนวัชชะไม่มีโทษของคฤหัสถ์ทั้งหลายมีอยู่ในโลก, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย ให้เป็นเขตแดนอันสาวกทั้งหลายพึงล่วงไม่ได้ ตราบเท่าสิ้นชีพเพราะกรรมนั้น

ขอถวายพระพร วิกาลโภชน์เป็นอนวัชชะไม่มีโทษของโลก, วิกาลโภชน์นั้นเป็นสาวัชชะมีโทษในพระชินศาสนา; ความกระทำภูตคามให้กำเริบเป็นอนวัชชะของโลก, ความกระทำภูตคามให้กำเริบนั้นเป็นสาวัชชะในพระชินศาสนา, การรื่นเริงเล่นน้ำเป็นอนวัชชะของโลก, การรื่นเริงเล่นน้ำนั้นเป็นสาวัชชะในชินศาสนา; กรรมทั้งหลายเห็นปานฉะนี้ เป็นสาวัชชะในพระชินศาสนา; วัชชะนี้อันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นปัณณัตติวัชชะ กิเลสใดเป็นโลกวัชชะ พระขีณาสพไม่พอเพื่อจะประพฤติล่วงกิเลสนั้น, กิเลสใดที่เป็ฯปัณณัตติวัชชะ พระขีณาสพต้องกิเลสนั้นเพราะเไม่รู้

ขอถวายพระพร การที่จะรู้กิเลสทั้งปวงมิใช่วิสัยของพระอรหันต์บางองค์, กำลังที่จะรู้กิเลสทั้งปวงย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์โดยแท้ แม้ชื่อแม้โคตรแห่งสตรีบุรุษทั้งหลายอันพระอรหันต์ไม่รู้แล้ว, แม้ทางเดินในแผ่นดินอันพระอรหันต์นั้นยังไม่รู้สิ้นแล้ว; พระอรหันต์บางองค์พึงรู้ได้แต่วิมุตติอย่างเดียว, พระอรหันต์ที่ได้อภิญญาหกประการ พึงรู้ได้เฉพาะวิสัยของตน พระตถาคตผู้สัพพัญญูเท่านั้น ย่อมรู้กิเลสทั้งปวง"

ร "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้น สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น"


//www.baanjomyut.com/pratripidok/milin/mantok/07_7.html
โดย: ปล่อย วันที่: 4 กรกฎาคม 2555 เวลา:1:34:19 น.
  
อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตร

ถามว่า พระขีณาสพอื่นๆ มีกายสมาจารเป็นต้น ไม่บริสุทธิ์กระนั้นหรือ.

ตอบว่า ไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์ เพียงแต่ว่าบริสุทธิ์ไม่เท่ากับพระตถาคต. พระขีณาสพที่ฟังมาน้อย ย่อมไม่ต้องอาบัติที่เป็นโลกวัชชะ ก็จริงอยู่ แต่เพราะไม่ฉลาดในพุทธบัญญัติ ก็ย่อมจะต้องอาบัติในกายทวาร ประเภททำวิหาร ทำกุฏิ (คลาดเคลื่อนไปจากพุทธบัญญัติ) อยู่ร่วมเรือน นอนร่วมกัน (กับอนุปสัมบันเป็นต้น). ย่อมต้องอาบัติในวจีทวารประเภทชักสื่อ กล่าวธรรมโดยบท พูดเกินกว่า ๕-๖ คำ บอกอาบัติที่เป็นจริง (เป็นต้น). ย่อมต้องอาบัติเพราะรับเงินรับทอง ในทางมโนทวารด้วยอำนาจยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน.
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11.0&i=221&p=3






อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ รัตนสูตรในขุททกปาฐะ


พระดำรัสนั้นมีความดังนี้ ถึงแม้ว่า พระโสดาบันนั้นถึงพร้อมด้วยทัสสนะ อาศัยการอยู่อย่างประมาทด้วยหลงลืมสติ เว้นสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงการจงใจล่วงละเมิด ตรัสไว้ว่า
สิกขาบทใด เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทนั้นของเรา แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ดังนี้

ย่อมทำบาปกรรมอย่างอื่นทางกาย ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ กล่าวคือ การล่วงละเมิดสิกขาบทที่เป็นปัณณัติวัชชะ มีกุฏิการสิกขาบทและสหเสยยสิกขาบทเป็นต้นก็ดี ทำบาปกรรมทางวาจา มีสอนธรรมแก่อนุปสัมบันว่าพร้อมกัน แสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ การพูดเพ้อเจ้อ พูดคำหยาบเป็นต้นก็ดี ทำบาปกรรมทางใจ ไม่ว่าในที่ไหนๆ คือ การทำให้เกิดโลภะ โทสะ การยินดีทองเป็นต้น การไม่พิจารณาเป็นต้นในการบริโภคจีวรเป็นอาทิก็ดี พระโสดาบันนั้น ก็ไม่ควรปกปิดบาปกรรมนั้น คือพระโสดาบันนั้น รู้ว่ากรรมนี้ไม่สมควร ไม่ควรทำ ก็ไม่ปกปิดบาปกรรมนั้น แม้แต่ครู่เดียว ในทันใดนั้นเอง ก็กระทำให้แจ้งคือเปิดเผยในพระศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนแล้ว กระทำคืนตามธรรม หรือระวังข้อที่ควรระวัง อย่างนี้ว่าข้าพเจ้าจักไม่ทำอีก.
เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความที่พระโสดาบันผู้เห็นบท คือพระนิพพานแล้ว ไม่ควรปกปิดบาปกรรม
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความที่บุคคล ผู้เห็นบท คือพระนิพพาน ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ไม่ควรที่จะทำบาปกรรมแม้เห็นปานนั้น แล้วปกปิดบาปกรรมนั้นไว้.
ตรัสไว้อย่างไร. ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เด็กเยาว์อ่อนนอนหงาย
เอามือเอาเท้าเหยียบถ่านไฟ ย่อมหดกลับฉับพลัน
ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถึงแม้ว่า พระโสดาบัน
ต้องอาบัติเห็นปานนั้น การออกจากอาบัติเห็นปาน
นั้น ย่อมปรากฏ ทีนั้นแหละ พระโสดาบันย่อมรีบ
แสดง เปิดเผย ทำให้ง่าย ในพระศาสดา หรือใน
เพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชน ครั้นแล้วก็สำรวม
ระวังต่อไป นี้เป็นธรรมดาของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=7&p=2


ไปค้นๆ เจอมาเพิ่ม (มีคนโพสต์ไว้ที่เวบพลังจิต)
เลยนำมาลงเสริมประกอบ
โดย: ปล่อย วันที่: 4 กรกฎาคม 2555 เวลา:1:45:24 น.

ปล่อย
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



Group Blog
พฤษภาคม 2555

 
 
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
29
30
31
 
 
All Blog