ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๕. จัณฑาลสูตร


            [๑๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ

อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
เป็นผู้ทุศีล ๑
เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม ๑
แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑
ทำการสนับสนุนในที่นอกศาสนานั้น ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ฯ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
อุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม
ไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑ ทำการสนับสนุนใน
ศาสนา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็น
อุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ฯ

จบสูตรที่ ๕          
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4798&Z=4811&pagebreak=0


    ความคิดเห็นที่ 9

    คำว่า "ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา"
    น่าจะมาจากคำว่า
                  บทว่า อิโต พหิทฺธา ได้แก่ นอกพระศาสนานี้.
                  บทว่า ทกฺขิเณยฺยํ คเวสติ ความว่า แสวงหาบุคคลผู้รับไทยธรรม.
    //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=27

    ถ้าจะแปลให้ตรงคำ คือ ไม่แสวงหาทักขิไณยบุคคลนอกพระศาสนานี้
    ----------------------------------------

    คำแปลในชั้นอรรถกถา
                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ย่อมเป็นอุบาสกจัณฑาล เป็นอุบาสกมลทิน และเป็นอุบาสกที่น่ารังเกียจ. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนทุศีล เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคลไม่เชื่อกรรม และแสวงหาทักขิไณยบุคคลนอกพระพุทธศาสนา ทำบุญในทักขิไณยบุคคลเหล่านั้น ดังนี้.
    ...ฯลฯ
                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยอรรถ ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกรัตนะ เป็นอุบากสปทุมและเป็นอุบาสกบุณฑริก. ๕ ประการอะไรบ้าง คือเป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีศีล ไม่เป็นผู้ถือมงคลตื่นข้าว เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ไม่แสวงหาทักขิไณยบุคคลนอกพระพุทธศาสนา และทำบุญในพระศาสนานี้ ดังนี้.
    //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91&p=7

    --------------------------------------------------


    ผมเข้าใจว่า
    คำว่า "ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา"
    ฟังเผินๆ เหมือนจะห้ามทำบุญกะที่อื่นนอกพุทธศาสนา

    แต่ถ้าเป็นคำว่า "ไม่แสวงหาทักขิไณยบุคคลนอกพระพุทธศาสนา"
    ความก็อาจชัดขึ้น ว่าทำบุญได้ทุกที่
    แต่บุคคลซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลนั้น มีแต่ในพระพุทธศาสนา

    พูดอีกทีก็ว่า
    ท่านไม่ได้ห้ามการทำทานแก่คนศาสนาอื่น
    แต่บอกว่า
    การทำทานโดยคิดว่าคนศาสนาอื่นเป็นทักขิไณยบุคคล
    นั้นเป็นการไม่ควรแก่อุบาสก
    -----------------------------

    ทักขิไณยบุคคล แปลตามศัฟท์ก็มีความหมายแค่ว่า
    บุคคลผู้ควรรับทานที่นำมาถวาย

    แต่ที่ว่าควรรับนั้น

    เพราะนอกจากคนให้จะได้บุญมากกว่าธรรมดาแล้ว
    แถมยังสนับสนุนทักขิไณยบุคคลท่านให้กินอิ่มมีกำลังแล้ว
    ท่านก็ออกมาบำเพ็ญประโยชน์แก่โลกต่อไปอีก

    แต่ถ้าให้ข้าวคนเกียจคร้านกิน
    เขากินอิ่มแล้วก็อาจนอนเฉย

    หรือถ้าให้ข้าวโจรกิน
    เขาอิ่มมีกำลังแล้ว ก็อาจใช้กำลังเบียดเบียนผู้อื่น

    อุปมาว่า คนมีมิจฉาทิฏฐิ มีอกุศลจิต มีศีลขาด ศีลด่าง
    เป็นเหมือนดินเปรี้ยว หว่านข้าวไปก็ไม่ค่อยออกผล

    แต่ทักขิไนยบุคคลในพุทธศาสนานั้น
    เป็นเหมือนดินดี อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การหว่านไถ
    (อุปมาทำนองนี้เคยอ่านจากไหนจำไม่ได้แล้ว)
    //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3900&Z=3905



    อนึ่ง ทักขิไณยบุคคลในพระพุทธศาสนา
    วางมาตรฐานไว้สูงถึงพระอริยบุคคลเลยทีเดียว
    และอย่างที่รู้กันว่า ทรงตรัสไว้ว่าไม่มีอริยะนอกพุทธศาสนา

    (พระเสขะ หมายถึง พระโสดาบันจนถึงพระอนาคามี
    พระอเสขะ หมายถึง พระอรหันต์ ทุกประเภท)

               [๒๘๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
    ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในโลกมีทักขิไณยบุคคลกี่
    จำพวก และควรให้ทานในเขตไหน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรคฤหบดี
    ในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก คือ พระเสขะ ๑ พระอเสขะ ๑ ดูกร
    คฤหบดี ในโลกนี้มีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวกนี้แล และควรให้ทานในเขตนี้

                ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึง
    ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า
                             "ในโลกนี้ พระเสขะกับพระอเสขะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา
                             ของทายกผู้บูชาอยู่ พระเสขะและอเสขะเหล่านั้นเป็นผู้ตรง
                             ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ นี้เป็นเขตบุญของทายก
                             ผู้บูชาอยู่ ทานที่ให้แล้วในเขตนี้มีผลมาก" ฯ
    //84000.org/tipitaka/read/?20/280

    แก้ไขเมื่อ 16 เม.ย. 51 20:54:16

    จากคุณ :ปล่อย - [16 เม.ย. 51 20:48:29]




    ความคิดเห็นที่ 10

    อันนี้น่าสนใจดี


                  ก็การนอบน้อมนี้นั้น มี ๔ อย่าง คือ เพราะเป็นญาติ ๑ เพราะกลัว ๑ เพราะเป็นอาจารย์ ๑ และเพราะถือว่าเป็นทักขิไณยบุคคล ๑.
    ใน ๔ อย่างนั้น เพราะนอบน้อมว่าเป็นทักขิไณยบุคคล จัดเป็นสรณคมน์ นอกนี้ไม่ใช่.
                  จริงอยู่ เพราะการนับถือพระรัตนตรัยอย่างประเสริฐนั่นแหละ บุคคลย่อมถือสรณะได้และขาดได้ เพราะฉะนั้น ผู้ใดที่เป็นศากยะก็ตาม โกลิยะก็ตาม ไหว้ด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าเป็นญาติของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เป็นการถือสรณะเลย
                  หรือผู้ใดไหว้ด้วยความกลัวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้ที่พระราชาทรงบูชา มีอานุภาพมาก เมื่อเราไม่ไหว้ จะพึงทำแม้ความพินาศให้ ดังนี้ ย่อมไม่เป็นการถือสรณะเลย
                  หรือผู้ใดระลึกถึงมนต์อะไรๆ ที่ตนเรียนในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าในกาลเป็นพระโพธิสัตว์ หรือในกาลเป็นพระพุทธเจ้า เรียนอนุศาสนีเห็นปานนี้ว่า
    บัณฑิตอยู่ครองเรือน พึงแบ่งทรัพย์เป็น ๔ ส่วน
                            พึงใช้สอยส่วน ๑ พึงประกอบการงาน ๒ ส่วน
                            พึงเก็บส่วนที่ ๔ ไว้ เผื่อจักมีอันตราย ดังนี้.
    ๔-
                  แล้วไหว้ด้วยคิดว่า อาจารย์ของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เป็นการถือสรณะเลย.
    ____________________________
    ๔- ที. ปา. เล่ม ๑๑/ข้อ ๑๙๗

    แต่ผู้ใดไหว้ด้วยคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นทักขิโณยบุคคลเลิศในโลก ดังนี้ ผู้นั้นแหละได้ถือสรณะแล้ว.
                  ก็เมื่ออุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ถือสรณะอย่างนี้แล้ว ถึงไหว้ญาติแม้บวชในอัญญเดียรถีย์ ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นญาติของเราดังนี้ ย่อมไม่ขาดสรณคมน์ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงผู้ที่ไม่ได้บวช.
                  ผู้ไหว้พระราชาโดยความกลัวก็เหมือนกัน เพราะพระราชานั้น เมื่อใครไม่ไหว้ จะพึงทำแม้ความพินาศให้ก็ได้ เพราะเป็นผู้ที่รัฐบูชาแล้ว ดังนี้. ถึงไหว้แม้เดียรถีย์ผู้สอนศิลปะคนใดคนหนึ่ง ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเราดังนี้ ก็ไม่ขาดสรณคมน์.
                  พึงทราบประเภทแห่งสรณคมน์ ด้วยประการฉะนี้.
                  ก็ในที่นี้ สรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระ มีสามัญญผล ๔ เป็นวิบากผล มีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวงเป็นอานิสังสผล.
                  สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า๕-
    ส่วนผู้ใดยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ
                            ผู้นั้นเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ คือเห็นทุกข์ เหตุเกิด
                            แห่งทุกข์ ความล่วงพ้นทุกข์ และมรรคซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
                            อันประเสริฐ อันเป็นทางถึงความดับทุกข์ สรณะนั้นของผู้นั้น
                            เป็นสรณะอันเกษม เป็นสรณะสูงสุด บุคคลอาศัยสรณะนี้แล้ว
                            ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ดังนี้.

    //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91&p=7


    จากคุณ :ปล่อย - [16 เม.ย. 51 20:57:06]



    ความคิดเห็นที่ 19

    เพิ่มเติมอีกนิดครับ
    -------------------------
    ทักขิไณยบุคคลมีแต่ในพุทธศาสนาเท่านั้น
    เพราะท่านหมายเอาพระอริยะขึ้นไป
    เหตุด้วยว่าพระอริยะก็ไม่มีในศาสนาอื่น

    โดยหลักนี้
    แม้พระภิกษุสามเณรที่บวชในพุทธศาสนาเอง
    แต่หากยังไม่บรรลุอริยผลขั้นใดขั้นหนึ่ง
    ก็ยังถือว่า บริโภคอย่างเป็นหนี้ชาวบ้านอยู่



    ...พึงทราบการบริโภค ๔ อย่าง คือ
    เถยยบริโภค ๑ อิณบริโภค ๑ ทายัชชบริโภค ๑ สามิบริโภค ๑.

                  ในบรรดาบริโภค ๔ อย่างนั้น

    การบริโภคของผู้ทุศีล ชื่อว่าเถยยบริโภค.
    ก็ผู้ทุศีลนั้นขโมยปัจจัย ๔ บริโภค.
                  อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบริโภคก้อนข้าวของชาวเมือง
    ด้วยความเป็นขโมย ดังนี้.


    ส่วนการไม่พิจารณาแล้วบริโภคของท่านผู้มีศีล
    ชื่อว่าอิณบริโภค (เป็นหนี้บริโภค)


    การบริโภคของพระเสขะ ๗ จำพวก
    ชื่อว่าทายัชชบริโภค (บริโภคโดยเป็นทายาท).


    การบริโภคของพระขีณาสพ
    ชื่อว่าสามิบริโภค (บริโภคโดยความเป็นเจ้าของ).


                  บทว่า ไม่มีหนี้ ในที่นี้ ท่านกล่าวหมายเอาความไม่มีหนี้ คือกิเลส. ปาฐะว่า อนิโณ ดังนี้ก็มี.
    //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=521#การบริโภค_๔_อย่าง


    จากคุณ :ปล่อย - [17 เม.ย. 51 20:27:37]


    ความคิดเห็นที่ 20

    ...การบรรพชาของเราไม่ไร้ผล เพราะเราได้บรรลุพระอรหัต. เพราะเหตุนั้นแล เรา
    จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภคโภชนะ เพราะบริโภคด้วยสามีบริโภค บริโภคโดย
    ความเป็นเจ้าของด้วยอำนาจความหมดกิเลส.
    //www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=388

    แก้ไขเมื่อ 17 เม.ย. 51 20:31:00

    จากคุณ :ปล่อย - [17 เม.ย. 51 20:30:41]



    ความคิดเห็นที่ 21

    จากหนังสือพุทธธรรมครับ
    โดยพระพรหมคุณาภรณ์

    ไปเจอมา




    จากคุณ :ปล่อย - [17 เม.ย. 51 20:39:23]


    ความคิดเห็นที่ 22

    282




    จากคุณ :ปล่อย - [17 เม.ย. 51 20:39:51]


    ความคิดเห็นที่ 23

    283




    จากคุณ :ปล่อย - [17 เม.ย. 51 20:40:10]



หมายเหตุ

1.    ท่านผู้รู้ช่วยบอกให้

         ถึง คุณ ปล่อย ความคิดเห็นที่ 9 แก้ไขเมื่อ 16 เม.ย. 51 20:54:16

             คำว่า
                    แต่ทักขิไนยบุคคลในพุทธศาสนานั้น
                    เป็นเหมือนดินดี อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การหว่านไถ
                    (อุปมาทำนองนี้เคยอ่านจากไหนจำไม่ได้แล้ว)
             น่าจะจำมาจากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
             ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
             คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=25&A=1162&w=นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=34
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=34&p=12#w





หมายเหตุ 2
ก้อปมาจาก กระทู้
ช่วยอธิบายคำว่า "ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา" หน่อยครับ
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/04/Y6520261/Y6520261.html



Create Date : 21 เมษายน 2555
Last Update : 21 เมษายน 2555 22:07:31 น.
Counter : 3251 Pageviews.

0 comments

ปล่อย
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



Group Blog
เมษายน 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog