Group Blog
 
 
มิถุนายน 2551
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
16 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 

บ้านท่านพระยาฯ

โบราณสถาน บ้านพระยาวิชิตสงคราม




ภูเก็ตในอดีต คือเมืองที่คนจีนเคยอพยพเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการมาขายแรงงาน หรือจับกัง เพราะเป็นยุคที่ฝรั่งเข้ามาบุกเบิกด้านเหมืองแร่ เป็นแหล่งการค้าแร่ดีบุกที่เลื่องลือไปทั่วโลก ธุรกิจการค้าเจริญไปถึงที่ไหน ผลประโยชน์และการแก่งแย่งชิงดีก็เกิดขึ้นที่นั่น ดังเมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์ปะทะกันของพวกกุลีจีนต่างก๊ก มีการยกพวกเข้าตี ทำร้ายร่างกาย มีผู้คนล้มตาย บ้านเรือนราษฎรและวัดวาอารามถูกเผาทำลาย ทรัพย์สินเสียหายเป็นอันมาก ด้วยเรื่องผลประโยชน์ของเหมืองแร่ ทำให้เกิดความวุ่นวายไปทั่ว เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2419

ในสมัยนั้นภูเก็ตอยู่ในการปกครองของ “ท่านพระยาวิชิตสงคราม” ท่านเป็นเจ้าเมืองที่เปี่ยมไปด้วยความสามารถ จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ท่านได้ชักชวนพ่อค้าชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าแร่ดีบุกทำให้เก็บภาษีอากรได้มากกว่าเมืองอื่นๆ จนท่านได้รับเลื่อนเป็นพระยาพานทอง ถือศักดินาถึง 10,000 ไร่


จุดเกิดเหตุที่ปะทะกันนั้น เป็นบริเวณใกล้กับบ้านของเจ้าเมืองภูเก็ต ต่อมาเมื่อพวกกุลีชาวจีนถูกปราบปรามและเหตุการณ์อยู่ในความสงบแล้ว เจ้าเมืองภูเก็ต เห็นว่า ต่อไปเกรงว่าจะเกิดเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก จึงได้มาสร้างบ้านขึ้นใหม่ที่บริเวณบ้านท่าเรือ เพียง 1 ปีเท่านั้น บ้านหลังนี้ก็เสร็จจึงได้ย้ายเข้ามาอยู่ และยังใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ทำการชั่วคราวของเจ้าเมืองอีกด้วย











บ้านท่าเรือ ... ดั้งเดิมเป็นหมู่บ้านที่มีความสำคัญในเมืองถลาง บ้านท่าเรือเป็นหมู่บ้านเก็บภาษี เป็นที่ตั้งของท่าเรือใหญ่ มีเรือจากต่างประเทศมาเทียบเพื่อขนถ่ายสินค้า และเป็นที่รับแขกบ้านแขกเมือง ของเมืองถลาง










บ้านท่านพระยาวิชิตหลังนี้ มีลักษณะเป็นป้อมหลังใหญ่โต บนพื้นที่ 10 ไร่ 1งาน 80 ตารางวา มีการสร้างกำแพงอิฐแข็งแรงราวกับกำแพงเมืองเป็นแนวล้อมรอบตัวบ้าน











ตลอดแนวกำแพงภายนอกระหว่างกึ่งกลางของแต่ละด้านมีป้อมยามรักษาการณ์ แบบเตรียมพร้อมรบ ท่านพระยาฯ จำเป็นต้องสร้างกำแพงบ้านอย่างแข็งแรง เพื่อเป็นการป้องกัน หากถูกโจมตีจากพวกอั้งยี่ที่ก่อการจลาจลในเมืองภูเก็ตบ่อยครั้ง ส่วนด้านในของกำแพงแต่ละมุมสร้างเป็นที่พักของทหารยาม คนรับใช้ และเป็นที่เก็บของ











ภายในกำแพงได้ก่อตึกรามขึ้นไว้หลายหลัง ด้านหน้าเป็นตึกศาล ข้างในมีหอนั่งหลายหอ มีตึกที่อยู่อาศัย มีโรงละคร และมีสระน้ำที่สร้างไว้ให้นางละครลงเล่นน้ำ











ต่อมาบ้านท่านพระยาวิชิตสงคราม ได้ถูกมอบให้แก่ทายาท คือพระยาภูเก็ต(ลำดวน) แต่ท่านพระยาภูเก็ตได้ติดค้างการชำระภาษีอากรเมืองภูเก็ตเป็นจำนวนมาก ประกอบกับราคาแร่ดีบุกตกต่ำในช่วงหลัง เมื่อไม่สามารถชำระค่าภาษีอากรที่ติดค้างได้ จึงได้มอบบ้านหลังนี้ให้เป็นของหลวง










ปัจจุบัน บ้านพระยาวิชิตสงคราม ได้กลายเป็นโบราณสถาน










บริเวณที่เคยสร้างบ้าน มีร่องรอยซากปรักหักพังของกำแพงและตัวอาคาร ที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่เมื่อในอดีต อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของความเก่าแก่ และน่าทึ่ง เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบโบราณวัตถุ ทันทีที่เหยียบย่างลงในสถานที่แห่งนี้ เหมือนกับว่าได้นำเราดิ่งลงสู่อดีตไปนับหลายร้อยปี









อิฐทุกก้อนที่ถูกปั้นขึ้นมาจากมือของคนในยุคนั้น ยังคงเหลือร่องรอยแห่งความแข็งแกร่งให้เราได้สัมผัส ซากกำแพงทุกด้านเหมือนจะกระซิปเล่าเรื่องราวที่ได้ยินและได้ฟังมาบอกต่อกับเรา ในอดีต สถานที่แห่งนี้คึกคัก รื่นเริง เต็มไปด้วยผู้คนและระบบประเพณี เจ้าขุน มูลนาย แต่ปัจจุบัน อ้างว้าง วังเวง และดูเหมือนจะเชิญชวนให้นั่งลง และรับฟังเรื่องราวต่างๆด้วยตัวคุณเอง











ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก ผศ. สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ประธานกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ












































































































































 

Create Date : 16 มิถุนายน 2551
1 comments
Last Update : 11 กรกฎาคม 2551 23:10:20 น.
Counter : 2532 Pageviews.

 

สวัสดีค่ะเจ้าป้า ป้าแป๋วแอบมาเจิม อิอิ
แวะมาป่วนบ้านเจ้าป้า ก่อนหนีไปทำงานบ้านนะคะ

 

โดย: แป๋วภูเก็ต 18 มิถุนายน 2551 17:10:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


เจ้าป้ามหาภัย
Location :
ภูเก็ต Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




เข้าใจคน..เข้าใจงาน..เข้าใจควาย..




Phukettinlay...ถึงบล็อคนี้จะไม่สวยใส แต่อิชั้นก็ตั้งใจมอบสาระดีๆ ให้กับท่านผู้อ่านที่หลงทางเข้ามา ได้อ่านเรื่องราวดีๆในบล็อคนี้ได้อย่างสบายตา ขอบคุณทุกคนมากมายค่ะ ที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียน

Friends' blogs
[Add เจ้าป้ามหาภัย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.