Group Blog
 
 
เมษายน 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
28 เมษายน 2551
 
All Blogs
 

ศาลเจ้า...แห่งดวงวิญญาณ

ศาลเจ้า...ถ้าเอ่ยถึงคำๆนี้ หลายๆคนคงนึกถึงภาพของสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะถูกตกแต่งด้วย
สถาปัตย์กรรมแบบจีน ภายในศาลเจ้าก็จะเต็มไปด้วยรูปปั้นของเทพเจ้าต่างๆ เช่น เจ้าแม่กวนอิม กิ้วอ๋องไต่เต่ นาจา ฯลฯ เพื่อให้ผู้คนได้เข้ามากราบไหว้สักการะสิ่งที่เป็นมงคลเหล่านั้น

แต่ยังมีสถานที่แห่งหนึ่งที่ถูกเรียกว่าศาลเจ้า ได้สร้างขึ้นมาเป็นเวลานานกว่าร้อยปี และในศาลเจ้าแห่งนี้ “ไม่มีพระ มีด้วยหรือ ศาลเจ้าที่ไม่มีพระ เป็นไปได้อย่างไร ถ้าในศาลเจ้าแห่งนี้ไม่มีพระ แล้วจะมีอะไรเล่า













ท่ามกลางอากาศมืดครึ้มในตอนเย็นๆของช่วงฤดูหนาว แสงสว่างจากเทียนเล่มน้อยที่ถูกจุดขึ้นมา ทำให้มองเห็น ภายในศาลเจ้าแห่งนี้ ไม่มีรูปปั้นของพระหรือเทพ แม้แต่องค์เดียว











แต่ทว่า...บนหิ้งบูชาภายในศาลเจ้าแห่งนี้ถูกวางเรียงไปด้วยป้ายชื่อของผู้เสียชีวิตเต็มไปหมด













ส่วนตรงกลางหิ้ง เป็นแท่นหินที่สลักชื่อของผู้ที่เสียชีวิต













ด้านบนของแท่นหินเป็นภาพวาดมังกรคาบคัมภีร์ และมีผู้สันนิษฐานว่าภาพวาดมังกรนี้คือ ฮ่ายเหล็ง แห่งมหาสมุทรอินเดีย (มังกรทะเลแห่งมหาสมุทรอินเดีย) และเป็นมังกรตัวแรกที่ถูกวาดขึ้นในเกาะภูเก็ต ตามความเชื่อที่ว่า เกาะภูเก็ตมีรูปร่างเหมือนมังกร













เกิดอะไรขึ้น ทำไมที่นี่ถึงได้เป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณของชาวจีนถึง 416 ดวง เราคงต้องพาไปย้อนอดีตของเมืองกะทู้ เมืองที่มีคนจีนเป็นจำนวนมากเดินทางมาจากโพ้นทะเล เข้าสู่เส้นทางของการเป็นกรรมกรในการทำเหมืองแร่ ทุกกลุ่มที่เข้ามา มักจะมีสมาชิกของอั้งยี่ รวมอยู่ด้วย

ยิ่งในสมัยราชวงค์แมนจู มีการปราบปรามอั้งยี่อย่างหนักเพราะอั้งยี่จงรักภักดีต่อราชวงศ์หมิง กลุ่มอั้งยี่หนีกระจัดกระจายไปอยู่ตามเมืองต่างๆ แล้วรวมตัวกันก่อตั้งสมาคมอั้งยี่ขึ้นเพื่อต่อต้านราชวงศ์แมนจู ส่วนที่เข้ามาอยู่ในเมืองกะทู้ ถูกตั้งเป็นสมาคมลับขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันประสาผู้พลัดบ้านเมืองมาจากประเทศจีน












ประเทศไทยของเราในสมัยก่อน เคยตั้งระบบการปกครองคนจีนที่อาศัยอยู่ตามหัวเมืองต่างๆไว้ว่า ชาวจีนทุกคนถ้าอายุครบ 20ปี ต้องไปรายงานตัวกับทางการ เพื่อผูกปี้ที่ข้อมือ สามปีต่อครั้ง
สมัยรัชกาลที่ 2 ชาวจีนเสียเงินค่าผูกปี้คนละ 2 บาท ค่าธรรมเนียม 1 สลึง ส่วนสมัยรัชกาลที่ 3 จนไปถึงรัชกาลที่ 5 เพิ่มขึ้นเป็นคนละ 4 บาท














การผูกปี้เป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่าคนๆนั้น ไม่อยู่ในระบบไพร่ แต่พอเดือดร้อนก็ไม่มีใครให้ความคุ้มครอง ส่วนมากมักจะถูกขุนนางไทยข่มเหงรังแก และขูดรีดภาษีบ่อยๆ เพราะคนจีนทำมาหากินแบบสะสมทรัพย์สินจนร่ำรวย เลยถูกขูดรีดภาษีมาก ในที่สุดคนจีนก็หันไปพึ่งพาสมาคมอั้งยี่พวกเดียวกัน ยุติธรรมกว่า เช่น ถ้ามีเรื่องพิพาทระหว่างนายจ้างลูกจ้าง...ก็ช่วยไกล่เกลี่ย หรือสมาชิกต้องโทษจำคุก ก็มีการติดตามดูแลความเป็นอยู่ ถึงเวลาตายก็ช่วยจัดการงานศพ















เมืองภูเก็ตมีชาวจีนมาอยู่อาศัยมาก ทำให้มีสมาคมลับหรือ “อั้งยี่” เกิดขึ้น โดยแบ่งเป็น สองพวกใหญ่ๆ คือ กลุ่มอั้งยี่ ยี่หิ้นปุ้นเถ้าก๋ง กงษี มีอิทธิพลอยู่ในบ้านกะทู้ ซึ่งเป็นแหล่งทำเหมืองแร่ที่อุดมสมบูรณ์ และมีชาวจีนอยู่มาก ส่วนอีกพวกหนึ่งคือ กลุ่มอั้งยี่ ยี่หิ้นเกี้ยนเต็ก กงษี มีเขตอิทธิพลอยู่ในตัวตลาดเมืองภูเก็ต ซึ่งอั้งยี่ทั้งสองกลุ่ม เป็นศัตรูคู่อริที่มักก่อเหตุวุ่นวาย ยกพวกทำร้ายกันอยู่บ่อยๆ
















อั้งยี่ทั้ง 2 กลุ่มต่างก็ยึดอาชีพทำเหมืองแร่เช่นเดียวกัน และเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการแย่งชิงสายน้ำล้างแร่ระหว่างเหมือง ต่างฝ่ายก็ไม่ยอมซึ่งกันและกัน มีการยกพวกฆ่าฟันกันจนกลายเป็นการจลาจล ทำให้ข้าหลวงจากส่วนกลางต้องเข้ามาระงับเหตุและปราบปราม แล้วมีการตั้ง “หัวหน้าต้นแซ่” ขึ้นมา ให้เป็นผู้ดูแล ใครมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้แจ้งกับหัวหน้าต้นแซ่ แต่ก็ไม่เป็นผล อั้งยี่ทั้ง 2 กลุ่มยังคงก่อเหตุอยู่เสมอ เกิดเป็นปัญหาที่สะสมมายาวนาน

จนกระทั่งวันหนึ่ง อั้งยี่กลุ่ม ยี่หิ้นเกี้ยนเต็ก กงษี ได้ส่งเทียบเชิญ กลุ่มอั้งยี่ ยี่หิ้นปุ้นเถ่าก้ง กงษี เพื่อเจริญสัมพันธ์ไมตรี ขอยุติข้อขัดแย้งทั้งปวง และเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารเพื่อทุกคนจะได้ปรับความเข้าใจกัน แต่แท้ที่จริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ยี่หิ้นเกี้ยนเต็ก ได้วางแผนลอบฆ่า ยี่หิ้นปุ้นเถ่าก้งไว้แล้ว















เมื่อถึงวันนัด ในวันขึ้น 17 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ.2422 ตามปฏิทินจีน เรียกว่า วันหลักโง้ยจับชิด กลุ่มยี่หิ้นปุ้นเถ่าก้ง ได้ไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก ฝ่ายเจ้าภาพได้เชิญชวนให้ดื่มเหล้าจนเมามาย แล้วจึงลงมือฆ่าด้วย การจุดไฟเผาทั้งเป็น โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น ทำให้ยี่หิ้นปุ้นเถ่าก้ง เสียชีวิต ถึง 416 คน














จากเหตุการณ์อันน่าสลดใจในครั้งนั้น นับว่าเป็นการยุติบทบาทของอั้งยี่ทุกกลุ่มในจังหวัดภูเก็ตอย่างสิ้นเชิง เพราะว่าถูกประณามจากอั้งยี่ที่อยู่ตามเมืองอื่นๆ ทางการก็ปราบปรามอย่างหนัก กลุ่มอั้งยี่จึงสลายตัว

หลายๆคนล่องเรือออกจากภูเก็ต เพื่อไปอยู่กับอั้งยี่กลุ่มอื่นทางฝั่งมาเลย์เซียหรือปีนัง แต่กลุ่มอั้งยี่ทางฝั่งโน้นไม่ยอมรับ กลุ่มที่ล่องเรือไปก็ไร้ที่อยู่ จึงรวมตัวกันเป็นโจรสลัดออกปล้นเรือสินค้าตามน่านน้ำต่างๆ หรือขนสินค้าที่ผิดกฎหมาย เช่น ฝิ่น

ส่วนที่เหลือในภูเก็ตก็หันมาทำหากินตามเหมืองแร่ต่างๆ มีการกระจายตัวออกมาเป็นกรรมกรทำเหมืองแร่ที่แถวบ้านสะปำ บ้านท่าเรือ บ้านม่าหนิก และบ้านเชิงทะเล















ต่อมาชาวกะทู้ที่เป็นลูกหลานของอั้งยี่ ยี่หิ้นปุ้นเถ่าก้ง ที่ถูกฆ่าตาย ได้ฝันเห็นวิญญาณของบรรพบุรุษมาร้องขอที่อยู่อาศัย จึงพร้อมใจกันสร้างศาลเจ้าขึ้น เพื่อเป็นที่สถิตดวงวิญญาณของอั้งยี่จีนกลุ่มยี่หิ้นปุ้นเถาก้ง บางท่านเรียกศาลเจ้าแห่งนี้ว่า สถานที่ชุมนุมวิญญาณ มีความนับถือบูชา และเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าแห่งนี้มาก

จึงพร้อมใจกันเรียกชื่อว่า ศาลเจ้าต่องย่องสู ซึ่งหมายถึง ศาลเจ้าของผู้กล้าหาญ ที่มีความซื่อตรง และซื่อสัตย์ พร้อมทั้งสร้างป้ายสลักชื่อและแซ่ของผู้เสียชีวิตไว้ในศาลเจ้า ทุกปีในวัน17 ค่ำเดือน 6 ตามปฏิทินจีน ซึ่งตรงกับวันแห่งการสูญเสีย ชาวบ้านกะทู้และชาวจีนในภูเก็ต จะพากันมาเซ่นไหว้ดวงวิญญาณ ที่ศาลแห่งนี้













ศาลเจ้าแห่งนี้ยังเป็นที่สาบานตนเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ของคู่กรณีต่างๆด้วย ในการสาบานต้องนำไก่มาฝ่ายละ 1 ตัว เพื่ออธิษฐานสาบานตน “สับคอไก่จะขาดหรือไม่” ถ้าสับขาดภายในครั้งเดียว ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ถ้าไม่ขาดคนผู้นั้นก็จะมีอันเป็นไป














* ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณไชยยุทธ ปิ่นประดับ กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต
* ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณยิปซีทะเล




 

Create Date : 28 เมษายน 2551
6 comments
Last Update : 3 กรกฎาคม 2551 20:49:39 น.
Counter : 3904 Pageviews.

 

เมื่อก่อนพอผู้ใหญ่พูดถึงอั้งยี่ หนูกลัวยังงัยไม่รู้ค่ะเจ้าป้า

แล้วยี่หิ้นปุ้นเถ่าก้ง <<< เค้าไม่มีการแก้แค้นกันเหรอคะ

ขอบคุณเจ้าป้าค่ะ ได้ความรู้ด้านประสบการณ์เพิ่มอีกเรื่อง แต่ที่ถูกไฟครอกตายตั้ง 416 คน น่าสงสารจังนะคะ

ปล. เห็นรูปพระเทพด้านล่าง หนูอยากบอกว่าหนูรักพระเทพมากค่ะ

 

โดย: ทุกอย่างจะผ่านไป IP: 124.120.205.96 30 เมษายน 2551 23:13:42 น.  

 

สงสารไก่ ...

แล้วคนที่รอดมา 1 คนไปอยู่ที่ไหน ???

 

โดย: GoogGuu IP: 117.47.52.228 1 พฤษภาคม 2551 8:34:15 น.  

 

สงสัยเหมือนกันว่า คนที่รอดมาได้หนึ่งคนคือใครน่ะเจ้าป้า อิอิอิ แง๊ววววว

 

โดย: ข้าวโพดแมวติสต์แตก 2 พฤษภาคม 2551 8:02:02 น.  

 

มีคนเจอผี หรือ แรงอาฆาต บ้างรึเปล่าคะ น่ากลัวจังเลย

 

โดย: คุณป้าหางดงจ้า IP: 118.172.95.176 6 พฤษภาคม 2551 12:39:53 น.  

 

ทุกอย่างจะผ่านไป //ไม่มีการแก้แค้นค่ะ เพราะว่าตอนนั้น อั้งยี่ทั้งหลายถูกปราบอย่างหนักจากทางการ รวมทั้งถูกประนามจากอั้งยี่กลุ่มอื่นๆ ว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมศักดิ์ศรีค่ะ อั้งยี่ทั้งหลายเลยต้องสลายตัวไงคะ



GoogG// 1 คนที่รอดมาได้นั้น ได้รับบาดเจ็บ และซ่อนตัวเองไว้ในโอ่ง พอเหตุการณ์สงบ จึงพาร่างอันบอบช้ำมาแจ้งข่าวร้ายกับพรรคพวกของตนค่ะ และหลังจากนั้น ผู้รอดคนนั้น ก็พาครอบครัวไปอยู่ที่เหมืองอื่นค่ะ แต่จะเป็นเหมืองไหน ไม่ทราบจริงๆค่ะ



ข้าวโพด// โพดเอ๊ย ป้าก็อยากรู้ค่ะ ว่าเค้าไปอยู่ที่ไหน อิอิ


ป้าหางดง// มีคนเจอผีบ้างมั้ย เจอแรงอาฆาตบ้างมั้ย อิอิ ไม่บอกค่ะ แต่จะเขียนให้อ่านใหม่ ดีมั้ยคะ (ถ้าอิชั้นว่างนะค้า เอิ้กกกกก)

 

โดย: เจ้าป้ามหาภัย 16 พฤษภาคม 2551 20:37:20 น.  

 

สวัสดีค่ะเจ้าป้า ขอบคุณค่ะ
ป้าแป๋วคิดว่าเจ้าป้าถามว่า รูปปั้นฮ่ายเหล็งอ๋องตัวแรกอยู่ไหน
อิลุงก็คิดว่าอาจจะโทรไปหา คุณไชยยุทธ ปิ่นประดับ
เผื่อจะรู้คำตอบ
พอดี คุณไชยยุทธ เคยขอให้อิลุงไปดูเครื่องมือแร่เก่า
ว่าใช้ทำอะไร เพื่อจะทำพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ค่ะ
แต่ป้าแป๋วบอกว่าเดี๋ยวรอเสาร์อาทิตย์นี้จะลองหาดูอีกที
และหาเจอแต่ภาพวาดมังกรภาพแรกค่ะ อยู่ที่ศาลเจ้าต่องย่องสู อะจ๊ากกก พออ่านไปอ่านมา ศาลเจ้าเดียวกันนี่นา อิอิ


 

โดย: แป๋วภูเก็ต 17 พฤษภาคม 2551 0:21:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


เจ้าป้ามหาภัย
Location :
ภูเก็ต Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




เข้าใจคน..เข้าใจงาน..เข้าใจควาย..




Phukettinlay...ถึงบล็อคนี้จะไม่สวยใส แต่อิชั้นก็ตั้งใจมอบสาระดีๆ ให้กับท่านผู้อ่านที่หลงทางเข้ามา ได้อ่านเรื่องราวดีๆในบล็อคนี้ได้อย่างสบายตา ขอบคุณทุกคนมากมายค่ะ ที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียน

Friends' blogs
[Add เจ้าป้ามหาภัย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.