***นำบทความที่น่าสนใจมาแบ่งปันกันอ่าน***

<<
ธันวาคม 2558
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
8 ธันวาคม 2558
 

mercy killing

  การรักษา และ เมตตาสังหาร (mercy killing) ตอนที่ 1/2

ถาม : กรณี ผู้ป่วยยังไม่สามารถเสียชีวิตแต่ก็ไม่ได้สติ และไม่สามารถหายใจได้เอง ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา ลักษณะแบบนี้ควรใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อยื้อชีวิตต่อไป หรือว่าทำ mercy killing ได้เลยครับ ....
คำตอบ:
เรื่อง เมตตาสังหาร (mercy killing) เป็นหนึ่งในประเด็นร่วมสมัยที่มีการพูดคุยกันมากในหมู่นักวิชาการมุสลิม เป็นหนึ่งในประเด็นที่เริ่มมาจากนักวิชาการทางการแพทย์ชาวยุโรป ซึ่งไม่เคยมีการพูดถึงมาก่อนในโลกมุสลิม
เพื่ออธิบายคำถามนี้ให้ชัดเจน ผมขอแบ่งเนื้อหาการตอบ เป็น 4 ประเด็น นะครับ
ประเด็นที่หนึ่ง “มุสลิม กับ การรักษาพยาบาล”
ประเด็นที่สอง “เมตตาสังหาร”
ประเด็นที่สาม “ฆ่าเพราะอยู่ในสภาพใกล้เคียงคนตาย”
ประเด็นที่สี่ “ปฏิเสธการรักษา ขอหยุดการรักษา (ไม่ยื้อชีวิตเกินความจำเป็น)”
ขอขยายความทีละประเด็นครับ
ประเด็นที่หนึ่ง มุสลิม กับ การรักษาพยาบาล
สำหรับมุสลิมแล้ว อะไรคือทางเลือกที่ดีกว่ากัน เวลาป่วยไข้
“การรักษา” หรือ “การเลือกที่จะอดทน”?
ก่อนที่จะพูดถึงประเด็นที่มีความเห็นต่างกันในหมู่นักวิชาการอิสลาม ขอพูดเรื่องที่นักวิชาการเห็นพ้องต้องกันก่อน
การเยียวยาเพื่อรักษาชีวิต การรักษานั้นเป็น “วาจิบ” หมายถึง หากแพทย์มั่นใจ หรือ ค่อนข้างมั่นใจ ว่าหากไม่ได้รับการรักษา คนไข้เสียชีวิตแน่นอน แต่หากได้รับการรักษาคนไข้รอดแน่นอน หรือ ค่อนข้างรอดแน่นอน
(แม้จะมีความเห็นต่างกันในรายละเอียด แต่หลักการนี้โดยรวมเห็นพ้องกัน)
ทีนี้มาคุยเรื่องประเด็นที่มีความเห็นต่าง (ปล. เนื่องจากประเด็นนี้ มีหลักฐานมาก และยากที่จะฟันธงให้ชัดเจนว่าทัศนะใดถูก ผมจึงขอยกมาให้ร่วมพิจารณากัน)
การรักษา โรคภัย ที่ไม่ทำให้ถึงตาย หรือสูญเสียอวัยวะ
ในหมู่นักวิชาการ มีความคิดเห็น 4 ทัศนะ (หลักๆ) ครับ
กลุ่มที่หนึ่ง “การรักษา” เป็น “วาจิบ” (สิ่งจำเป็น) เมื่อไม่สบายจำเป็นต้องรักษา หากไม่รักษา ถือว่า ควรได้รับโทษ
กลุ่มที่สอง “การเยียวยา รักษา” ดีกว่า
กลุ่มที่สาม “การอดทน” ดีกว่า
กลุ่มที่สี่ “การรักษา” เป็นสิ่งที่ “ฮะลาล” คือ “ไม่ส่งเสริม” และ “ไม่ห้าม“

สาเหตุของความเห็นต่าง มาจาก “หลักฐาน” และ “มุมมอง” ต่อไปนี้

1. มุสลิม มองว่า ชีวิตของมนุษย์ เป็นอะมานะฮฺของเราที่อัลลอฮฺฝากให้เราดูแล ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของเรา (ประเด็นนี้เห็นพ้องกันในความหมายโดยรวม)

2. ฮะดิษที่สนับสนุนให้มีการรักษา ซึ่งมีมากมาย ในที่นี้ขอยกจากสายรายงานของอิมามอัตติรมิซี ดังนี้
حَد ثَنَا بَِّ شرُ بنُ مَُّعَاذٍ اَّ لعَقَدِيُّ، حََّد ثَنَا أََّبُو عََّوَانَةَ، عََّ ن زَِّيَادِ بنِ عَِّلََقَةَ، عََّ ن أَُّسَامَةَ بنِ شََّرِيكٍ، قََّالَ: قََّالَ ت اَّ لأ عرَابُ:َّ
يَا رََّسُولَ اَّ للِّ، أََّلَا نََّتَدَاوَى؟ قََّالَ: "َّ نََّعَ م يََّا عَِّبَادَ اَّ للِّ، تََّدَاوَ وا، فََّإِ ن اَّ للَّ لََّ م يََّضَ ع دََّاءً إَِّ لا وََّضَعَ لََّهُ شَِّفَاءً، أََّ و قََّالَ:َّ
دَوَاءً، إَِّ لا دََّاءً وََّاحِدًا، قََّالُوا: يََّا رََّسُولَ اَّ للِّ، وََّمَا هَُّوَ؟ قََّالَ: اَّ لهَرَمُ “َّ، قََّالَ أََّبُو عَِّيسَى: وََّفِي اَّ لبَابِ عََّنِ اَّ بنِ مََّ سعُودٍ،َّ
وَأَبِي هَُّرَ يرَةَ، وََّأَبِي خَُّزَامَةَ، عََّ ن أََّبِيهِ، وََّا بنِ عََّب اسٍ، وََّهَذَا حََّدِي ث حََّسَ نَّ صََّحِي حَّ .

ถอดความได้ว่า
((ได้มีอาหรับชนบทมาหาท่านนบีและกล่าวว่า “ศาสนทูตของอัลลอฮฺ เราควรรักษาเยียวยาไหม?” ท่านนบีกล่าวว่า “ควร บ่าวของอัลลอฮฺเอ๋ย รักษาเยียวยาเถิด เพราะอัลลอฮฺไม่ได้สร้างโรคมา นอกจากจะให้มีการรักษา นอกจากโรคเดียวเท่านั้น” บรรดาศอฮาบะฮฺได้ถามว่า “โรคใดหรือ ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ?” ท่านนบีกล่าวตอบว่า “ความชรา”))

3. ฮะดิษที่ชมเชยผู้ที่เลือกการอดทน โดยไม่รักษา ซึ่งมีหลายบทเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือ

عن عََّطَاءُ بنُ أََّبِي رََّبَاحٍ قََّالَ: قََّالَ لَِّي اَّ بنُ عََّب اسٍ: )َّأَلَاَّ أَُّرِيكَ اَّ مرَأَةً مَِّ ن أََّ هلِ اَّ لجَن ةِ قَُّ لتُ بََّلَى، قََّالَ: هََّذِهِ اَّ لمَ رأَةَُّ
ال س ودَاءُ؛ أََّتَ ت اَّلن بِ ي صََّل ى اَّ للُّ عََّلَ يهِ وََّسَل مَ فََّقَالَ ت: إَِّنِّي أَُّ صرَعُ وََّإِنِّي أََّتَكَ شفُ، فََّا دعُ اَّ للَّ لَِّي قََّالَ: إَِّ ن شَِّئ تِ صََّبَ رتَِّ
وَلَكِ اَّ لجََّن ةُ، وََّإِ ن شَِّئ تِ دََّعَ وتُ اَّ للَّ أََّ ن يَُّعَافِيَكِ فََّقَالَ ت: أََّ صبِرُ. فََّقَالَ ت: إَِّنِّي أََّتَكَ شفُ، فََّا دعُ اَّ للَّ لَِّي أََّ ن لََّا أََّتَكَ شفَ؛َّ
فَدَعَا لََّهَا(( رَّواه اَّلبخاري وَّمسلم

ถอดความได้ว่า
ท่าน อะตออฺ ได้กล่าวว่า ท่านอิบนุอับบาซ เคยพูดกับฉันว่า “ท่านอยากเห็น หญิงชาวสวรรค์ ไหม?” ฉันตอบไปว่า “อยากเห็นครับ” ท่านได้กล่าว “หญิงผิวดำนางนี้แหล่ะ นางเคยไปหาท่านนบี และกล่าวว่า “หนูมักเป็นลมชัก และเวลาเป็นเสื้อผ้ามักจะหลุดลุ่ย ช่วยขอจากอัลลอฮฺให้หนูหายที” ท่านนบีได้กล่าวว่า “หากเธออดทน เธอจะได้สวรรค์ หรือไม่ฉันจะขอให้ตามที่เธอต้องการ” นางได้กล่าวว่า “เช่นนั้นฉันจะอดทน แต่ เสื้อผ้าหนูมักหลุดลุ่ยเวลาเป็น ขอท่านช่วยขอจากอัลลอฮฺให้หนูอย่าได้โป้เลย” ท่านนบีจึงขอให้นาง” บันทึกโดยอิมามบุคอรี และอิมามมุสลิม

ครับ เวลาที่ หลักฐานที่ถูกต้องเหมือนจะให้ความหมายที่ขัดกัน นักวิชาการมีกฎว่า
“การเลือกที่จะปฏิบัติตามหลักฐานทั้งหมด (ที่ถูกต้อง) ดีกว่าการเลือกทิ้งบทหนึ่งบทใดไป”
ผมจึงขอสรุปดังนี้ (ซึ่งอาจถูก และ อาจผิด ขออัลลอฮฺเมตตา และให้อภัย)
การรักษาเยียวยานั้น มีฮุก่ม ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และแต่ละอาการ
หาก 1. โรคภัยที่เป็นนั้นไม่ทำให้เกิดความเสียหายในการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือ ศาสนาของตน
และ 2. ผู้ที่เป็นสามารถอดทนได้ โดยแน่ใจว่าจะไม่ตีโพยตีพาย
การเลือกอดทน “น่าจะ” ดีกว่า (จากหลักฐาน หญิงชาวสวรรค์)
แต่หากไม่ครบเงื่อนไขที่ว่ามา
การเลือก “รักษา” “น่าจะ” เป็นสิ่งที่ดีกว่า (จากหลักฐานที่สนับสนุนให้รักษา)
แต่หากเป็นโรคภัยที่จะนำมาซึ่งความเสียหายที่รุนแรง ต่อ ชีวิต ร่างกาย ศาสนา ไม่ว่าจะต่อตนเอง หรือ คนใกล้เคียง การรักษาในกรณีนี้ ถือเป็น วาจิบ (เป็นสิ่งจำเป็น) จากหลักฐานที่ว่าต้องรักษาชีวิต
วัลลอฮุอะอลัม


การรักษา และเมตตาสังหาร  (mercy killing) ตอนที่ 2/3 การฆ่า หรือ ปล่อยให้ตาย

ต่อจากประเด็นคาถาม
ถาม : กรณี ผู้ป่วยยังไม่สามารถเสียชีวิตแต่ก็ไม่ได้สติ และไม่สามารถหายใจได้เอง ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา ลักษณะแบบนี้ควรใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อยื้อชีวิตต่อไป หรือว่าทำ mercy killing ได้เลยครับ ....
คำตอบ:
ดังที่ได้เรียนไว้ก่อนแล้ว นักวิชาการส่วนใหญ่มีมติว่า
หากเป็นการเยียวยา เพื่อรักษา “ชีวิต” ถือว่า เป็น “วาจิบ (คือสิ่งจำเป็น)”
และหลังจากที่ได้กล่าวถึงฮุก่ม การเยียวยา รักษา ในมุมมองอิสลาม ส่วนที่ไม่ถึงขั้นการรักษาชีวิต (วัลลอฮุอะอลัม)
ตอนนี้เหลือ 3 ประเด็นสุดท้าย ที่เราต้องคุยกัน เพื่อให้ได้คำตอบตามที่ถาม
คือ

ประเด็นที่สอง “เมตตาสังหาร”
ประเด็นที่สาม “ข้อผ่อนผันในกรณีที่อยู่ในสภาพไม่ต่างจากคนตาย
ประเด็นที่สี่ “ปฏิเสธการรักษา ขอหยุดการรักษา (ไม่ยื้อชีวิตเกินความจำเป็น)”
ประเด็นที่สอง เมตตาสังหาร

การทำลายชีวิตผู้อื่น อิสลามมี “กฎหลัก” ที่ว่า
“การฆ่าผู้อื่น หรือ ตนเอง ไม่ว่าจะเป็นมุสลิม หรือ ไม่ก็ตาม ถือเป็นบาปใหญ่ และ เป็นอาชญากรรมที่รุนแรงยิ่ง”
และมีข้อยกเว้นที่ว่า “นอกจากจะมีสาเหตุที่จำเป็นจริงๆ เช่น การฆ่าให้ตกตายตามกันตามคำสั่งของผู้พิพากษา ฆ่าเพื่อปกป้องชีวิตตนเอง หรือคนในครอบครัว เป็นต้น”
หลักฐาน ส่วนหนึ่ง จากซูเราะฮฺ อัลอิซรออฺ อายะฮฺที่ 33
وَلَا تََّ قتُلُوا اَّلن فسَ اَّل تِي حََّ رمَ اَّ للُّ إَِّ لا بَِّا لحَقَِّّ
“และพวกเจ้าอย่าได้ฆ่าชีวิตที่อัลลอฮฺห้าม นอกจากด้วยสัจธรรม”

และคำพูดของท่านนบีที่ว่า
من قَّتل مَّعاهداً لَّم يَّرح رَّائحة اَّلجنة، وَّإن رَّيحها يَّوجد مَّن مَّسيرة أَّربعين عَّاما.ً رَّواه اَّلبخاري .
“ผู้ใดสังหารผู้ทำสัญญาไม่เป็นศัตรู เขาจะไม่ได้กลิ่นของสวรรค์ ทั้งๆที่กลิ่นของมัน ขจรไกลเป็นระยะทางถึง 40 ปี” บันทึกโดย อิมาม อัลบุคอรี
ทีนี้มาถึงประเด็นของเรา “เมตตาสังหาร”

เมตตาสังหาร (mercy killing) คือ การฆ่าเพื่อให้หลุดพ้นจากความทรมาน มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ตัวอย่างรูปแบบที่ทากัน เช่น การให้เสียชีวิตโดยการฉีดยาเข้าเส้น การปฏิเสธที่จะให้ หรือ รับการรักษา การหยุดให้การรักษา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนเจ็บ หรือผู้ป่วย พ้นทุกข์ อาจรวมถึงการปลดภาระจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
นักวิชาการส่วนใหญ่ เห็นพ้อง “โดยรวม” ว่า “ไม่อนุญาตให้ฆ่าคนบาดเจ็บ หรือ ผู้ป่วย อันเนื่องมาจากความทรมานที่เขาประสพ ไม่ว่าจะมีทางเยียวยา หรือ ไม่มีทางเยียวยาแล้ว ก็ตาม”

จากหลักฐานที่หลากหลาย หนึ่งในนั้น อยู่ในซูเราะฮฺ อัลบะกอเราะฮฺ อายะฮฺที่ 155 ที่ว่า
وَلَنَ بلُوَن كُ م بَِّشَ يءٍ مَِّّنَ اَّ لخَو ف وََّا لجُوعِ وََّنَ قصٍمَِّّنَ اَّلأمََوَالِ وََّالأنفُسِ وََّالث مَرَاتِ وََّبَشِّرِ اَّل صابَِّرِينََّ
และแน่นอน เราจะทดสอบพวกเจ้า ด้วยส่วนหนึ่งของ ความกลัว ความหิวโหย และด้วยการสูญเสีย ไม่ว่าจะกับ ทรัพย์สิน ชีวิต หรือพืชผล และจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้อดทนเถิด

และจากคาพูดของท่านนบีที่ว่า
لا يَّتمنين أَّحدكم اَّلموت مَّن ضَّر أَّصابه، فَّإن كَّان لَّابد فَّاعلَ فَّليقل: اَّللهم أَّحيني مَّا كَّانت اَّلحياة خَّيراً لَّي،َّ
وتوفني إَّذا كَّانت اَّلوفاة خَّيرا لَّي
คนหนึ่งในหมู่พวกท่านอย่าได้ปรารถนาความตายเพียงเพราะสิ่งเลวร้ายมาประสพกับเขา แต่หากจาเป็นต้องปรารถนา ให้เขาขอว่า “โอ้ อัลลอฮฺ โปรดให้ฉันมีชีวิตต่อไป หากชีวิตนั้นดีสาหรับฉัน และโปรดให้ฉันตาย หากความตายนั้นดีกว่าสาหรับฉัน” บันทึกโดยอิมาม อัลบุคอรี และ มุสลิม

ในทางปฏิบัติเราจะพบว่า มีหลายเคสที่ดูเหมือนอาการหนัก แต่เมื่อผ่านการเยียวยา หรือผ่านเวลาหนึ่ง เขายังมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข อีกหลายวัน
อัลลอฮฺรู้ดี ในขณะที่เราแทบไม่รู้อะไรเลย

ประเด็นที่สาม ข้อผ่อนผันให้หยุดการช่วยเหลือ
กฎแทบทุกข้อในอิสลามล้วนมีข้อยกเว้น
สภาอุลามะฮฺ และ สถาบันต่างๆ ส่วนใหญ่ ในโลกอิสลาม เห็นพ้องกันว่า
อนุญาตให้หยุดการรักษา หยุดการใช้เครื่องช่วยชีวิต หากแพทย์ “ผู้เชี่ยวชาญ” ยืนยันว่า บุคคลผู้นั้นอยู่ในสภาพคนตายแล้ว คือมีชีวิตอยู่ได้เพียงเพราะเครื่องช่วยเหลือ และ ไม่มีการตอบสนองจากผู้ป่วย หรือ คนบาดเจ็บแล้ว
ตอนต่อไปมาต่อกันในประเด็นสุดท้าย “การปฏิเสธการรักษา” ครับ อินชาอัลลอฮฺ

การรักษา และ เมตตาสังหาร (mercy killing) ตอนที่ 3/3 (ปฎิเสธการรักษา)
ต่อจากประเด็นคำถาม
ถาม : กรณี ผู้ป่วยยังไม่สามารถเสียชีวิตแต่ก็ไม่ได้สติ และไม่สามารถหายใจได้เอง ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา ลักษณะแบบนี้ควรใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อยื้อชีวิตต่อไป หรือว่าทำ mercy killing ได้เลยครับ ....
คำตอบ:

ประเด็นที่สี่ การปฏิเสธการรักษา ปฏิเสธที่จะให้การรักษา รวมถึงการ ขอหยุดการรักษา
มาถึงตอนนี้ เราได้ข้อสรุปจากนักวิชาการส่วนใหญ่ ในเรื่อง Mercy killing แล้วว่า
“จำเป็น (วาจิบ) ต้อง รักษา เยียวยา เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิต และ “ห้ามการสังหาร” หรือ “ห้ามการหยุดรักษา” อย่างเด็ดขาด นอกจากจะแน่ใจว่า คนไข้ อยู่ในสภาพคนตายแล้ว โดยต้องผ่านการตัดสินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ”

มาถึงตรงนี้ เกิดประเด็นต่างๆขึ้นมาว่า “อิสลาม” ห้าม การเลือกที่จะหยุดรักษา หรือ การไม่รักษาเพื่อยื้อชีวิต จริงหรือ??
เพราะในที่นี้ยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าจะส่งผลต่อการตัดสินข้อยกเว้นในฮุก่มเรื่องนี้ ซึ่งหลักๆ ผมได้อ้างอิงมาจาก //www.ahlalhdeeth.com/vb/showthread.php?t=292176

ส่วนใหญ่ผมเห็นด้วยตามบทความที่อ้างอิงไว้ ว่า “ฟัตวาจากสภาต่างๆ นั้น เป็นฟัตวาแบบกว้าง และไม่ได้ลงรายละเอียดที่ชัดเจน (ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากลิงค์)”
ส่วนหนึ่งของประเด็นที่มองว่า ฟัตวาโดยรวมนี้ไม่ชัดเจน และไม่ครอบคลุม ประเด็นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
คือ
“การไม่อนุญาตให้ หยุดการรักษา หรือ ปฏิเสธการรักษา “ในทุกกรณี””
กล่าวคือ ต้องรักษา ต้องทำทุกวิถีทาง ให้สุดความสามารถ หาไม่แล้ว จะถือว่าเข้าข่าย “ฆ่าคนอื่น” หรือ “ฆ่าตัวตาย” ซึ่งถือว่าเป็นบาปใหญ่ทั้งคู่
ที่ถูกมองว่า ฟัตวาไม่ชัดเจน เนื่องจาก ฟัตวาดังกล่าวไม่ได้ระบุอ้างอิงที่ชัดเจน และน่าจะไม่ได้พิจารณาผ่านพื้นฐานข้อมูลทางการแพทย์ที่ครอบคลุมพอ เพราะ ยังมีอีกหลายประเด็น ที่สมควรนำมาพิจารณาด้วย เช่น

1. ในฟัตวาไม่มีการกำหนดขอบเขตการรักษา หรือ การยื้อชีวิตที่ชัดเจน ว่า ต้องรักษาอย่างไร แค่ไหน จึงทำให้เข้าใจว่า “จำเป็นต้องรักษาจนกว่าจะดีขึ้น หรือ จนกว่าจะตาย”
ซึ่งบางกรณีผู้ป่วยไม่สามารถทำอะไรเองได้แล้ว และมีชีวิตอยู่ได้ ด้วยเครื่องช่วยเท่านั้น การยื้อชีวิต นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกินความสามารถของทายาท เช่น การนอนในโรงพยาบาลในเคสเหล่านี้ มักมีค่าใช้จ่าย เดือนละหลายแสนบาท ครอบครัวจะทำอย่างไร? จ่ายให้หมดตัว ยืมหนี้ยืมสิน? รอจนกว่าจะเกิดอะไรขึ้น แล้วติดหนี้ไปเรื่อยๆ หรือ ควรจะมีการกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนโดยพิจารณาเรื่องนี้ด้วย?

2. การให้การรักษา หรือการประคองอาการบางประเภท มีความเสี่ยงในตัวเอง
เช่น การปั้มหัวใจ อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ในบางเคส (กรณีที่ผู้ป่วยกระดูกผุอย่างรุนแรง มีโอกาสสูงที่จะทำให้กระดูกหักทะลุอวัยวะสำคัญได้) เคสดังกล่าวควรทำอย่างไร? ให้ปั้ม ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่า หรือ ไม่ให้ปั้ม ซึ่งเป็นการไม่รักษา ซึ่งทั้งสองทางเลือก ตามฟัตวาที่ว่าไว้ มีโอกาสโดนข้อหา “ฆ่าโดยเจตนา” หรือ “ปล่อยให้ตาย” ได้ด้วย?

3. การให้คำนิยามการรักษาที่ไม่ชัดเจน ส่งผลต่อฮุก่มที่ไม่ชัดเจน เช่น พฤติกรรมการช่วยเหลือทางการแพทย์บางอย่าง อย่างการไม่ให้ออกซิเจน หรือการไม่ใช้เครื่องทำงานแทนอวัยวะที่หยุดทำงาน จะเรียกว่า “ปล่อยให้ตายตามธรรมชาติ” หรือ “การไม่ยอมรักษา” หรือ “ฆ่า ตัวตาย/ผู้อื่น โดยเจตนา” หรือ มันไม่ถูกจัดว่า “เป็นการรักษา เยียวยา” ตั้งแต่แรกแล้ว? เพราะอวัยวะนั้นๆถึงจุดจบของมันแล้ว??
ซึ่งการให้คำนิยามที่แตกต่าง ส่งผลต่อ ฮุก่ม โดยตรง

4. การรักษาชีวิตเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในอิสลาม แต่ เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด หรือ?
ดูจากเหตุการณ์ในสมัยนบีคิเดรที่สังหารเด็กก่อนที่เขาจะเป็นเหตุให้คนทั้งบ้านลงนรก
หรือ ตระกูลท่านยาซิร ที่สามีภรรยา เลือกที่จะตาย โดยไม่ทิ้งศาสนา
รวมทั้งที่ท่านอบูบักรไม่ยอมให้เรียกหมอมาดูอาการตอนใกล้สิ้นใจ และบอกว่า อัลลอฮฺคือหมอของท่าน
(เนื่องจาก หากจะอ้างตามกฎที่ว่า “จำเป็นต้องรักษาให้ถึงที่สุด หาไม่แล้วถือว่าเป็นการฆ่าตัวตาย” เช่นนั้นจะหมายความว่า
ท่านอบูบักรฆ่าตัวตายหรือเปล่า? นะอูซุบิ้ลลาฮฺมินซาลิก ผมมั่นใจว่าไม่มีนักวิชาการมุสลิมท่านใดกล่าวเช่นนั้นแน่นอน)

5. การรักษาแบบเดียวกันให้ทางรอดที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับคนไข้
ไม่ว่าจะเครื่องช่วยหายใจ เครื่องปั้ม เครื่องฟอกเลือด
เหตุในการหยุดใช้ หรือ ห้ามใช้ ในแต่ละคนจึงแตกต่างกัน
ในที่นี้ จะให้บอกว่า จำเป็นต้องรักษา ในกรณีที่มั่นใจว่ารักษาได้ หรือ ค่อนข้างชัวร์ แล้วถ้าไม่ชัวร์? หรือ ชัวร์ว่าตาย?

6. หากการยืนยันที่จะรักษา ให้ผลที่แย่กว่าเดิม หรือ มีผลข้างเคียง ที่ทำให้เป็นหนักกว่าเดิม เช่นการฉายรังสีแก่ผู้ป่วยมะเร็ง ที่หลายเคสหากฉายรังสีช้าเกินไป หรือนานเกินไป พบว่าเป็นการเร่งให้เสียชีวิตเร็วขึ้น และทรมานขึ้น
ในกรณีดังกล่าว การปฏิเสธการรักษา ถือว่า ผิดด้วยหรือ?

7. ในกรณีที่ไม่คุ้มที่จะเสี่ยง เพราะบางการรักษาใช่ว่าจะทำให้กลับไปดีได้ คุ้มกับ ความยากลำบาก ความเสี่ยง การดำเนินชีวิตของคนป่วยในภายหลัง คนรอบข้าง ค่าใช้จ่าย ทรัพยากรที่ต้องเสียไป

8. การใช้เครื่องมือช่วยชีวิต สำหรับจรรยาบรรณทางการแพทย์ ก็มีขอบเขตในตัวของมันเอง ไม่ว่าจะ เครื่องช่วยหายใจ เครื่องปั้ม ยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ การใส่สายยางออกซิเจน การถ่ายเลือด การล้างไต การให้ยาปฏิชีวนะ การเลือกให้ หรือ ไม่ให้ ย่อมส่งผลกับตัวของหมอ และคนไข้ ตามหลักการอิสลาม ดังนั้น หมอต้องรู้ว่านักวิชาการต้องการข้อมูลใดบ้างเพื่อใช้ในการออกฮุก่ม

9. ในกรณีที่อุปกรณ์ไม่พอ จะเลือกช่วยคนที่มีโอกาสรอดสูงกว่าได้หรือไม่?

10. ไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะมีส่วนร่วมในการเลือกรับการรักษา ปฏิเสธการรักษา ยุติการรักษาเลยหรือ? ไม่ว่าจะเป็นคนไข้ ญาติ หรือ แพทย์ (ผมยังติดอยู่ที่ประเด็นของท่านอบูบักร)
ที่ผมต้องอธิบายยืดยาว เพราะผมมองว่า ฟัตวา ที่ออกมา ไม่รัดกุมพอ และผมมองว่า ประเด็นนี้ยังต้องการการศึกษาอีกมาก เช่นเดียวกับเจ้าของบทความที่ผมยกมา
บทสรุปที่ผมได้ ณ เวลานี้ (ขอให้อัลลอฮฺเมตตา และให้อภัย)

ประการแรก ผมเห็นด้วยกับมติหลักที่ว่า ไม่อนุญาตให้ “ฆ่า” ผู้ป่วย หรือ ผู้บาดเจ็บ
ประการที่สอง ผมเห็นว่า จำเป็นต้องทำการรักษาเพื่อรักษาชีวิต “แต่ต้องไม่เกินความสามารถที่จะทำได้” (ซึ่งต้องมีการตีความอีกว่าเท่าใดถึงจะนับว่าอยู่ในความสามารถ)
ประการที่สาม ผมเห็นด้วยว่า หากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าคนไข้อยู่ในสภาพตายแล้ว อนุญาติให้หยุดการช่วยเหลือ และปล่อยให้เสียชีวิตเองได้
ประการที่สี่ ผมมองว่า มีกรณียกเว้น ที่จะเลือก “ไม่รักษา” หรือ “ขอหยุดรับการรักษา” หากเป็นการยื้อชีวิตที่มั่นใจว่า เกินความ “จำเป็น” โดยเฉพาะ หากการยื้อชีวิตนั้น จะมีแต่ผลเสียตามมามากมาย (ซึ่งคำว่า “จำเป็น” ต้องมีการศึกษาอีกมากเพื่อที่จะหาคำจำกัดความได้)
เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความจริง ควรปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามที่ควรเป็น เพราะความตายเป็นสิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้น
วัลลอฮุอะอลัม
--------------------------------------------------------------------------------



Create Date : 08 ธันวาคม 2558
Last Update : 8 ธันวาคม 2558 22:08:54 น. 0 comments
Counter : 581 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

KPNA
 
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add KPNA's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com