***นำบทความที่น่าสนใจมาแบ่งปันกันอ่าน***

<<
พฤศจิกายน 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
25 พฤศจิกายน 2558
 

“อยู่อย่างไลน์ ให้เป็นมุสลิม”?

  “อยู่อย่างไลน์ ให้เป็นมุสลิม”? 
คำถาม: มุสลิม ควรเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์คแค่ไหน (อย่างเฟสบุค ไลน์ ไอจี ทวิตเตอร์ เมล และ เกมส์ออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น)?
คำตอบ: สังคมออนไลน์ต่างๆ ในปัจจุบัน มีทั้ง ข้อดี และข้อเสีย มากมาย ทั้งกับชีวิตที่อยู่เพื่อโลกนี้ และ ชีวิตที่อยู่เพื่อโลกหน้า
ซึ่งมุสลิมเราจำเป็นต้องทำความเข้าใจ ทั้งเพื่อตัวเอง และคนที่เราเป็นห่วง

มีคำกล่าวของนักการศึกษาที่ว่า
“No medium is the best.”
“ไม่มีสื่อใดดีที่สุด”
หมายความว่า สื่อแต่ละอย่างมีข้อดี และข้อเสีย
ขึ้นอยู่กับ สถานการณ์ และรูปแบบที่ใช้

เอาเป็นว่า ประโยชน์ของสังคมออนไลน์ เยอะ และหลากหลาย
ในที่นี้ ผมขอพูดถึงแต่ข้อเสียละกัน (จะได้รู้ว่า เวลาเล่น ต้องระวังอะไรบ้าง นอกจากนั้น “ตามบาย”)
เคลียร์?

สิ่งที่ต้องระวังเวลาเข้าสังคมออนไลน์ ... มีสิบกว่าอย่าง (...อย่าเพิ่งทำหน้าเครียสซิครับ ผมขอเลือกแค่ที่ผมเห็นว่า “น่าเป็นห่วงมากๆ” ระกัน)
อันดับแรกเลย

“สังคมถ่ายรูปอวด”

จะกิน ต้อง โชว์
จะนอน ต้อง โชว์
จะเที่ยว ต้องโชว์
...

ระวังให้ดีเลยครับ โดยเฉพาะความคิดที่ว่า
"หากเชื่อมั่น ต้องกล้าแสดงออก"

มันต่างกันนะครับระหว่าง

“หากเชื่อมั่น ต้องโอ้อวด”
กับ
“หากเชื่อมั่น ต้องกล้าแสดงออก”

ไม่ได้ตัดสินใครนะครับ
แต่...ดูเหมือน บางคน แยกไม่ออก

รู้ไหมครับ
ความแตกต่างระหว่างสองประโยคนี้ คือ เส้นบางๆที่กั้นอยู่ ระหว่าง สวรรค์ นรก เลยทีเดียว !?



คำถาม การโพ้สรูป หรือ ข้อความ เพื่อให้คนอื่นเห็น ผิดด้วยหรือ? ในเมื่อเจตนาการโพ้ส ก็คือ ต้องการให้คนอื่นเห็นไม่ใช่หรือ?
คำตอบ ขอ ย้ำ ก่อนนะครับ ว่า ไม่ได้เจาะจง “ใคร” (ป้องกันการเข้าใจผิด)
มุสลิมเราเชื่อมั่นว่า “ทุกพฤติกรรม ทุกความคิดของเรา ต้องถูกสอบสวน แม้จะเล็กน้อยเพียงใด”
นั่นหมายความว่า “ทุกพฤติกรรม” ที่เราทำมี “ฮุก่ม” (ข้อตัดสิน) ของมันอยู่

หลายๆ อย่างที่เราทำ “เจตนา” และ “วิธีการ” มีผลต่อ “ฮุก่ม” ด้วย
การทำอะไร เพื่อให้คนอื่น “เห็น” หรือ เพื่อให้คนอื่น “พูดถึง” (แน่นอน ครอบคลุม การโพ้สภาพ หรือ ข้อความ ในสื่อออนไลน์) อิสลามสอนว่า “เจตนา” หรือ แรงผลักดัน ของ “เรา” นั้น มีหลากหลาย เช่น

1. เพื่อเป็นแบบอย่าง
2. เพื่อแสดงความเข้มแข็ง
3. เพื่อต้องการผลประโยชน์จากคนที่มาเห็น
4. “เพื่อโอ้อวด”

หนึ่งในเจตนาที่ทำให้อัลลอฮฺโกรธ และ ท่านนบีกลัวว่าจะเกิดกับพวกเรามากที่สุด คือ “การทำ” เพื่อ อยากอวดให้คนอื่นเห็น ให้เขารู้สึกว่าเราเด่น เราเหนือ เรามั่งมี เราทันสมัย ให้เขาได้ยกย่อง หรือ อิจฉา และ ให้เขาได้เอาไปกล่าวถึง ต่อๆไป

ฮุก่มขั้นต่ำสุด คือ เป็น “ชีริกซ่อนเร้น” กล่าวคือ การงานใดที่มี ชีริค ประเภทนี้อยู่ คุณค่าจะกลายเป็น 0 ทันที และผู้ที่ทำมัน เขาได้ทำให้อัลลอฮฺโกรธแล้ว (เพราะอัลลอฮฺไม่รัก ผู้ที่เย่อหยิ่ง โอ้อวด) และอาจ ถึงขั้น ต้องลงนรกเป็นกลุ่มแรกๆ โดยรับการตัดสินแบบเหมารวม

การภูมิใจในสิ่งที่ตนมี การอยากเป็นแบบอย่างดีๆ กับ “การโอ้อวด” ไม่เหมือนกันนะครับ
(และขอความกรุณา อย่ามาอธิบายกับผมนะครับ ว่า “ฉันอย่างนั้น” “ฉันอย่างนี้” อัลลอฮฺเป็นผู้ตัดสินครับ ผมแค่ผู้เตือน)

ผมได้บอกไปแล้วว่า “โอ้อวด” กับ “แสดงออก” ต่างกัน

โอ้อวด คือ “เอาดี เข้าตัว” ให้คนอื่นดูว่าเรา “ดี”
แสดงออก ต้องดูเจตนา และรูปแบบ อีกที

มุสลิมเรา กล้าแสดงตนว่าเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ เรากล้ายืนหยัดในการเป็นมุสลิม “เพื่ออัลลอฮฺ”
ไม่ใช่กล้าที่จะอวดอ้างว่า ตนดี คนเก่ง “เพื่อเอาดีเข้าตัว”
มันต่างกันมาก และผลที่ได้ก็แตกต่างกัน

หนึ่ง คือ ความพอใจของอัลลอฮฺ อีกหนึ่ง คือ ความโกรธกริ้วของพระองค์
มี 2 อายะฮฺ ให้ได้ วิเคราะห์กันครับ
1.
يَا أََّيُّهَا اَّل ذِينَ آَّمَنُوا لَّاَ تَُّ بطِلُوا صََّدَقَاتِكُم بَِّا لمَنِّ وََّالأذَى كََّال ذِي يَُّنفِقُ مََّالَهُ رَِّئَاء اَّلن اسِ وَََّّلاَ يَُّ ؤمِنُ بَِّاللِّّ وََّا ليَ ومِ اَّلآخِرَِّ
فَمَثَلُهُ كََّمَثَلِ صََّ فوَانٍ عََّلَ يهِ تَُّرَا ب فََّأصََابَهُ وََّابِ ل فََّتَرَكَهُ صََّ لدًا لَّا يََّ قدِرُونَ عََّلَى شََّ يءٍ مَِّّ ما كَََّّسَبُوا وََّاللُّّ لَّاَ يََّ هدِي اَّ لقَ ومََّ
ا لكَافِرِينََّ

ศรัทธาชนทั้งหลาย! อย่าให้ทานของพวกเจ้าไร้ผล ด้วยการลาเลิก และการก่อความเดือดร้อน เช่นผู้ที่บริจาคทรัพย์ของเขา เพื่ออวดอ้างผู้คน อีกทั้งเขายังไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลก อุปมาเขาผู้นั้น เช่น หินเกลี้ยง ที่มีฝุ่นจับอยู่บนมัน แล้วโดนฝนกระหน่ำ มันจะกลายเป็นหินเกลี้ยง (เช่นกัน) พวกเขาไม่สามารถที่จะได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดจากสิ่งที่ขวนขวายไว้ และอัลลอฮ์นั้นจะไม่ให้ทางนำแก่กลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธา
อายะฮฺนี้ เตือน คนที่ทำความดี เพื่อได้รับ คำเยินยอ สรรเสริญ จากผู้คน

2.
271 إِن تَُّ بدُوا اَّل صدَقَاتِ فََّنِعِ ما هَِّيَ وََّإِن تَُّ خفُوهَا وََّتُ ؤتُوهَا اَّ لَّفُقَرَاء فََّهُوَ خََّ ي ر لَُّّكُ م وََّيُكَفِّرُ عََّنكُم مَِّّن سََّيِّئَاتِكُ مَّ
وَاللُّّ بَِّمَا تََّ عمَلُونَ خََّبِي رَّ

หากพวกเจ้าเปิดเผยสิ่งที่ให้เป็นทาน มันก็เป็นสิ่งที่ดีอยู่ และถ้าหากพวกเจ้าปกปิดมัน และให้มันแก่บรรดาผู้ยากจนแล้วมันก็เป็นสิ่งที่ดีแก่พวกเจ้ายิ่งกว่า และพระองค์จะลบล้างออกจากพวกเจ้า ซึ่งบางส่วนจากความผิดของพวกเจ้า อัลลอฮ์รอบรู้อย่างถี่ถ้วนในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกันอยู่

อายะฮฺนี้ บอกว่า การทำดี เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อคนอื่นจะได้ทำตาม โดยหวังความเมตตาจากอัลลอฮฺเป็นสิ่งที่ดี ยิ่งทำดีโดยไม่ให้ใครรู้ยิ่งดีกว่า

ครับ การทำเพื่อความสะใจ หรือ สบายใจส่วนตัว บางทีอาจนำมาซึ่งหายนะใหญ่หลวง

...ก่อนโพ้ส ถามใจตัวเองให้ดีก่อน อยากเอาดี จาก “ใคร” กันแน่?

إِ ن اَّل س معَ وََّا لبَصَرَ وََّا لفُؤَادَ كَُّلُّ أَُّولئِكَ كََّانَ عََّ نهُ مََّ سؤُولاًَّ

แน่นอน หู ตา และหัวใจ ทุกสิ่งเหล่านั้นล้วนจะถูกสอบสวน (ว่าถูกใช้ไปอย่างไร)

มุสลิมด้วยความเข้าใจ
(อินชาอัลลอฮฺ ตอนหน้าต่อกับ ภัย จาก สังคมออนไลน์)



Create Date : 25 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2558 19:34:03 น. 0 comments
Counter : 1545 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

KPNA
 
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add KPNA's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com