***นำบทความที่น่าสนใจมาแบ่งปันกันอ่าน***

 
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 ตุลาคม 2558
 

การย้อมสีผม

 "การย้อมสีผม"

คำถาม: อยากทราบเรื่องการย้อมผมในอิสลาม ว่าทำได้ ไม่ได้ ควร หรือ ไม่ควร อย่างไร?

คำตอบ
การดูแลรักษาร่างกายของเราให้ดูดี และสะอาด อยู่ตลอดเวลาเป็นสิ่งที่อิสลามส่งเสริม ดังในบันทึกของอิมาม มุสลิม ที่ว่า

قال صلى الله عليه وسلم «إن الله جميلٌ يحب الجمال» رواه مسلم
ท่านนบีกล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺงดงาม และพระองค์รักความสวยงาม” การย้อมผมเป็นหนึ่งในการทำให้เกิดความสวยงาม

قال رسول الله -صلى الله عليه وسلم-: «من كان له شَعرٌ فليُكرمه» رواه أبو داود وصححه الألباني
จากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺกล่าวว่า ท่านนบีกล่าวว่า “ผู้ใดที่มี (เส้น) ผม จงให้เกียรติแก่ (เส้น) ผม” (ท่านชัยคฺ อัลอัลบานี ระบุว่า ศอฮิฮฺ)

ในขณะเดียวกัน อิสลามก็ประณามการเปลี่ยนแปลงการสร้างของอัลลอฮฺ เช่นการต่อผม การต่อเล็บ การดัดฟัน เป็นต้น ที่มีพื้นฐาน มาจากการที่ไม่พอใจในการสร้างของอัลลอฮฺ
ดังอายะฮฺในซูเราะฮฺ อันนิซาอฺ ที่อัลลอฮฺได้กล่าวถึงคำพูดของอิบลีสที่ว่า

وَلأُضِلَّنَّهُمْ وَلأُمَنِّيَنَّهُمْ وَلآمُرَنَّهُمْ فَلَيُبَتِّكُنَّ آذَانَ الأَنْعَامِ وَلآمُرَنَّهُمْ فَلَيُغَيِّرُنَّ خَلْقَ اللّهِ وَمَن يَتَّخِذِ الشَّيْطَانَ وَلِيًّا مِّن دُونِ اللّهِ فَقَدْ خَسِرَ خُسْرَانًا مُّبِينًا (119)
“และแน่นอนยิ่งข้าพระองค์จะทำให้พวกเขาหลงผิด ทำให้พวกเขาเพ้อฝัน และจะสั่งใช้พวกเขาแล้วแน่นอนพวกเขาก็จะผ่าหูปศุสัตว์ และแน่นอนข้าพระองค์จะสั่งใช้พวกเขาแล้วพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงการสร้างของอัลลอฮฺ และผู้ใดที่ยึดเอาชัยฏอนเป็นผู้ช่วยเหลือ แน่นอนเขาได้ขาดทุนอย่างชัดเจน”

ที่ยกมาข้างต้น คือ แนวทางการพิจารณาในเรื่องการรักสวยรักงามของมุสลิมไม่ว่าจะ ชาย หรือ หญิง

ซึ่งเมื่อเจาะมาที่ประเด็นการย้อมผม
เราจะพบว่า มีสาเหตุที่ทำให้คนย้อมผมมากมาย เช่น ย้อมเพราะมีผมหงอก ย้อมเพราะอยากเลียนแบบ ย้อมเพราะอยากให้คู่ครองพอใจ ย้อมเพราะปกปิดความชรา เป็นต้น
และสีที่นำมาใช้ในการย้อมก็มีมากมาย ทั้งที่มาจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบเทียน (ฮินนาอฺ) เป็นต้น หรือ มาจากวัสดุที่ไม่ใช่ธรรมชาติ
---------------------------------------------------------------

เพื่อไม่เป็นการลงรายละเอียดเกินไป ขอสรุป ดังนี้ ครับ

1. การย้อมผมที่มาจากการไม่พอใจในการสร้างของอัลลอฮฺ การย้อมที่มาจากการเลียนแบบต่างเพศ หรือเลียนแบบกลุ่มชมที่อัลลอฮฺรังเกียจ การย้อมที่มีการใช้วัสดุที่เป็นที่ต้องห้ามหรือสกปรก การย้อมผมที่เกิดโทษมากกว่าคุณ หรือการย้อมโดยมีเจตนาหลอกลวง เช่น “มีคนจะมาขอดูตัว แต่กลัวเขาไม่เอา เพราะมีผมหงอก จึงไปย้อม เพื่อหลอกว่า สีผมยังปกติอยู่”
การย้อมผมไม่ว่าจะในกรณีใดที่กล่าวมาข้างต้น “เป็นฮะรอม” (สิ่งต้องห้าม)
จากตัวบทต่างๆ เช่น “ใครหลอกลวงเรา เขาไม่ใช่พวกของเรา” (บันทึกโดยอิมาม มุสลิม) “ใครเลียนแบบกลุ่มชนใด เขาเป็นกลุ่มชนนั้น” (บันทึกโดยอบูดาวุด) เป็นต้น
------------------------------------------------

2. นอกเหนือจากกรณีที่ว่ามา การย้อมผมเพื่อความสวยงาม เป็นที่อนุมัติ
และเป็นมุซตะฮับ (สิ่งที่ควรจะทำ) คือ “ทำแล้วได้บุญ” ในกรณีของคนที่มีผมหงอก หรือ ต้องการทำให้คู่ครองพอใจ (ยกเว้นบางส่วนของมัซฮับมาลิกีที่มองว่าเป็นเที่อนุมัติเฉยๆ ในทุกกรณี)
จากตัวบทที่หลากหลาย ส่วนหนึ่งเช่นในบันทึกของอิมาม อัลบุคอรี ที่ว่า
حديث أبي هريرة -رضي الله عنه- قال: قال رسول الله -صلى الله عليه وسلم-: «إن اليهود والنصارى لا يصبغون فخالفوهم» صحيح البخاري
ท่านนบีกล่าวว่า “แน่นอน ชาวยิว และ ชาวคริสต์ พวกเขาไม่ย้อมผม ดังนั้น พวกท่านจงทำให้ต่างจากพวกเขา”

และในบันทึกของอิมามมุสลิม ที่ว่า
حديث جابر بن عبد الله -رضي الله عنه- قال: أُتِي بأبي قحافة يوم فتح مكة ورأسه ولحيته كالثَّغامة بياضاً. فقال رسول الله -صلى الله عليه وسلم-: «غيروا هذا بشيءٍ واجتنبوا السَّواد» صحيح مسلم
ท่านอบูกุฮาฟะฮฺ (พ่อของท่านอบูบักร) ได้ถูกนำตัวมาในวันพิชิตมักกะฮฺ ซึ่งเขามีผมหงอกเหมือนเมฆขาว (บ้างก็ว่าพืชสีขาว) ท่านนบีได้กล่าวว่า “หาอะไรมาเปลี่ยนมันหน่อย แต่ให้หลีกเลี่ยงสีดำ”
------------------------------------------------

3. วัสดุที่ควรนำมาย้อมสีผม คือ วัสดุตามธรรมชาติ เพราะมีอันตรายน้อยกว่าวัสดุสังเคราะห์ทางเคมี และเป็นการปลอดภัยกว่าหากต้องการหลีกหนีจากคิลาฟ (ความเห็นขัดแย้งระหว่างนักวิชาการ)
แต่ไม่ว่าจะย้อมแบบใหน การย้อมผมไม่มีผลกับการทำน้ำละหมาด (หมายถึง การทำน้ำละหมาดใช้ได้ ถึงจะมีสีปกคลุมผมอยู่)
------------------------------------------------

4. การย้อมผมด้วยสีดำ มีความเห็นต่างในระหว่างนักวิชาการ ไม่ต่ำกว่า 4 ทัศนะ
ทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุด คือ ควรหลีกเลี่ยงการย้อมผมด้วย “สีดำ” ไม่ว่าจะผู้ชาย หรือ ผู้หญิง

ยกเว้น ในกรณีที่ต้องการสร้างความน่าเกรงขามให้แก่ศัตรูได้เห็นว่า เรามีความแข็งแรง เข้มแข็งอยู่
การย้อมดำในกรณีดังกล่าวเป็นที่ส่งเสริมให้กระทำ

ซึ่งส่วนตัวผมมองว่าการ “ย้อมดำ” นอกเหนือจากการข่มขวัญศัตรูเป็น “มักรูฮฺ” (ทำได้ แต่ควรเลี่ยง)
เพราะเป็นทัศนะที่รวมระหว่างหลักฐานทั้งที่ห้ามย้อมดำ (ขั้นต่ำสุดของการห้ามคือความรังเกียจ) กับ รายงานเป็นจำนวนมากที่ระบุว่า ศอฮาบะฮฺหลายท่านย้อมดำ เช่น ท่าน ฮะซัน ท่านฮุซัยนฺ (ในบันทึกของท่านอิบนุกอยยิม) ท่านอุษมาน บินอัฟฟาน ท่านซะอฺ บิน อบีวักกอศ และอีกหลายท่าน เป็นต้น

วัลลอฮุอะอลัม
อัลลอฮุคือผู้ที่รู้ดีที่สุด
----------------------------------------
มุสลิมด้วยความเข้าใจ




Create Date : 31 ตุลาคม 2558
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2558 22:06:10 น. 0 comments
Counter : 364 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

KPNA
 
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add KPNA's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com