เคล็ดลับการอ่าน"ภาษากาย" ของลูกน้อย
นอกจากลูกน้อยจะแสดงความรู้สึกด้วยการพูด และพฤติกรรมต่าง ๆ แล้ว เค้ายังสามารถถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นท่าทางต่าง ๆ หรือที่เรียกกันว่า ภาษากาย การเรียนรู้ภาษากายของลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยให้คุณแม่เข้าใจความรู้สึกของลูกน้อยได้ดีขึ้นค่ะ

การแสดงออกทางหน้าตา

ยิ้ม การที่เด็กแสดงออกทางสีหน้ายิ้มแย้ม แน่นอนว่าเขากำลังมีความสุข ดีใจ คุณแม่ลองสังเกตเวลาที่หยอกล้อกับลูกดูสิคะ หน้าตาและท่าทางของเขาดูมีความสุขมากทีเดียว เวลานี้คุณแม่สามารถสอนลูกให้ทำท่าทางต่างๆ ได้ง่าย เช่น สอนร้องเพลง สอนเต้น สอนพูด อย่าลืมใช้โอกาสนี้ สร้างการเรียนรู้ให้ลูกนะคะ

ขมวดคิ้ว หน้าบูดบึ้ง นั่นแสดงว่าหนูกำลังอยู่ในอารมณ์ไม่พอใจ ไม่สบอารมณ์ อารมณ์บูดบึ้งของลูก คุณแม่อาจจะสังเกตเวลาที่ลูกไม่พอใจ บางครั้งเขาก็ทำต่อหน้า หรือบางทีก็แอบไปหน้าบึ้งคนเดียวก็ได้ ซึ่งเมื่อเค้าแสดงออกเช่นนี้ สิ่งที่ควรทำคือ ปล่อยให้เค้าเล่นคนเดียวเงียบๆ ไปก่อนค่ะ เค้าจะทำโน่นนี่ตามใจสักพัก ระหว่างนี้ให้คุณแม่โยนลูกบอลให้กลิ้งไปมา หรืออ่านหนังสือเงียบๆ คนเดียว สักพักเค้าจะเข้ามาเล่นด้วยใกล้ๆ เองค่ะ

การแสดงออกทางการเคลื่อนไหวลูกตา

ลูกทำตาโต ตาเป็นประกาย เพราะกำลังตื่นเต้น เวลาที่เขาได้ของชิ้นใหม่จากคุณแม่ หรือได้ไปเที่ยว ลองสังเกตแววตาเขาดูคะ เขาจะทำตาโต นั่นเป็นเพราะกำลังตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ๆ อยู่นั่นเอง นอกจากนี้ การที่เค้าทำตาโต อาจบ่งบอกถึงว่า เขากำลังสงสัย อยากรู้อยากเห็น หรือไม่แน่ใจในสิ่งที่คนอื่นกำลังทำอยู่ เมื่อลูกแสดงออกดังกล่าว แนะนำให้คุณแม่ใช้โอกาสนี้เล่นกับลูก เพราะเค้าจะจำได้ง่ายขึ้นกับสิ่งที่เค้าสนใจเป็นพิเศษค่ะ

หลบสายตา แสดงว่าเค้ากำลังกลัวหรือกังวลบางอย่าง อย่างเวลาที่ทำความผิด ทำของตกแตกเสียหาย ลองสังเกตทางแววตา ถ้าเขาไม่สบตาหรือหลบตาคุณแม่ เป็นไปได้ว่าเขากำลังกลัวหรือกังวลอยู่นั่นเอง

การแสดงออกทางลมหายใจ

หายใจช้าและยาว แสดงว่าเค้ากำลังสบายใจและผ่อนคลาย ดูจากเวลาที่เขานอนหลับ เขาจะหายใจช้า ๆ และยาว

หายใจสั้นและถี่ ถ้าหายใจสั้น ๆ และถี่ แสดงว่าลูกกำลังอยู่ในอาการโมโหค่ะ ยิ่งถ้ามีอากัปกิริยาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เอาเท้าทุบพื้น กำหมัด ส่ายหัวกระฟัดกระเฟียดไปมา เป็นต้น

พื้นที่ส่วนตัว

นัวเนียออดอ้อน เวลาที่ลูกต้องการความมั่นใจจากคุณแม่ หรือกำลังใจจากคุณแม่ จะสังเกตได้ว่าเค้าจะเข้ามาเกาะแกะอยู่ใกล้ๆ ดึง หยิก หรือจับนิ้วหรือแขนคุณแม่ไม่ยอมปล่อยเชียวล่ะ

ถอยห่าง ไม่เข้าใกล้ เวลาที่เขาอารมณ์ไม่ดี ไม่พอใจในตัวคุณแม่ หรือใครอื่น เขาจะตีตัวออกห่าง ไม่อยากอยู่ใกล้ จนกว่าจะอารมณ์ดีขึ้น หรือรู้สึกคุ้นเคยขึ้นค่ะ

การเคลื่อนไหวมือและแขน

กอดอก อาการกอดอกแสดงถึงความรู้สึกไม่เห็นด้วยกับคุณแม่ หรือกำลังท้าทาย อย่างเวลาคุณแม่สอนการบ้านให้เขาฟัง เด็กบางคนอาจจะเอามือกอดอก นั่นแสดงว่าเขาไม่เห็นด้วย หรือไม่อยากรับฟัง หรืออีกนัยหนึ่ง เขาไม่อยากยุ่งกับใคร

ปล่อยมือตามสบาย แสดงว่าเขาสบายใจ พอใจ รู้สึกโล่ง หายกลัว หายเกร็ง รู้สึกเป็นอิสระ มีความสุข ยินยอมให้ผู้อื่นเข้าใกล้ เป็นต้น

เวลาที่ลูกโกรธหรือไม่สบายใจเขาจะสื่อสารทางคำพูดได้น้อยลง แต่เขายังคงสื่อภาษาท่าทางกับคุณแม่อยู่ค่ะ
ภาษาท่าทางของลูกจะเปลี่ยนไปตามช่วงอายุ ดังนั้น คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตภาษาท่าทางของลูกอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้เข้าใจภาษาท่าทางที่เปลี่ยนไปตามวัยนะคะ



ข้อมูลจากM&C แม่และเด็ก



Create Date : 05 สิงหาคม 2553
Last Update : 5 สิงหาคม 2553 22:40:17 น.
Counter : 859 Pageviews.

1 comments
  
ขอบคุณข้อมูลดีๆๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะ

ชวน....ไปร่วมสนุกกันที่ blog คุณ Songpee

ปล.. อย่าลืมอ่านกติกาการโหวตก่อนน่ะค่ะ

กดภาพตาม link ไปโหวตเลยค่ะ

Photobucket

ขอบคุณน่ะค่ะ
โดย: Gunpung วันที่: 6 สิงหาคม 2553 เวลา:4:53:24 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
สิงหาคม 2553

2
6
7
8
13
14
15
19
21
22
23
24
25
30
31
 
 
All Blog