6 ตัวช่วยแก้"ริดสีดวง"ของคุณแม่ตั้งครรภ์
อาการริดสีดวงนั้น มักจะค่อยเป็นค่อยไป จนเมื่อถึงจุดหนึ่ง จึงมีอาการชัดเจนให้รู้ตัวไม่ใช่โรคที่มีความรุนแรงอย่างทันทีทันใด ไม่มีผลกระทบกับลูกในครรภ์ แต่จะทำให้แม่รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว และกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน

1. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้ต่าง ๆ น้ำลูกพรุน หรือเม็ดลูกพรุนที่ช่วยให้ถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น

2. ออกกำลังกาย เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้

3. ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อย วันละ 8-10 แก้ว จะช่วยทำให้ลดอาการท้องผูกขับถ่ายได้สะดวกขึ้น ทำให้ไม่ต้องเบ่งอุจจาระ ซึ่งจะเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ทำให้เส้นเลือดบริเวณทวารหนักโป่งพองอย่างรวดเร็วได้

4. เลี่ยงการนั่งยอง ๆ หรือยืนทิ้งน้ำหนักเป็นเวลานาน รวมถึงการยกของหนักอาจทำให้ริดสีดวงทวารบวม หรือมีเลือดออกมากได้ หากทำได้ควรนอนตะแคงซ้าย หรือยกขาพาดกับเก้าอี้ประมาณ 15 นาที ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมงเพื่อลดแรงดันในช่องท้อง

5. พยายามขับถ่ายให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หลีกเลี่ยงการเบ่งแรง ๆ และการนั่งในห้องน้ำเป็นเวลานาน

6. หลีกเลี่ยงการทำให้ริดสีดวงระคายเคือง เช่น การเกาหรือถูรอบ ๆ ทวารหนัก เพราะอาจเกิดแผลและเลือดออกตามมาได้ ไม่ควรเบ่งอุจจาระโดยที่ไม่รู้สึกปวดถ่าย การนั่งแช่ในน้ำอุ่น 10-15 นาที วันละ 2-3 ครั้ง จะสามารถลดอาการปวดและบวมได้เป็นอย่างดี หรือรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ร่วมด้วยได้

พบว่าอาการและโรคดีขึ้นอย่างมากหลังคลอดบุตร การรักษาสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธีคือ

1. ใช้ยา มีให้เลือกได้หลากหลายแม้จะอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ยาส่วนมากไม่มีผลต่อทารกแต่อย่างใด

ยาเหน็บทางทวารหนัก เป็นยาใช้ภายนอก ประกอบด้วยยาชาช่วยลดอาการปวด และมีตัวยาช่วยให้หลอดเลือดหดตัว บางครั้งอาจมียาปฏิชีวนะและยาลดการอักเสบเป็นส่วนประกอบด้วย ส่วนมากเป็นชนิดแท่ง โดยต้องเก็บยาไว้ในตู้เย็น เพราะยาจะเหลวละลายเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง วิธีใช้ก็ให้สอดแท่งยาเหน็บเข้าไปในทวารหนักวันละ 1-2 ครั้ง

ยาระบายชนิดน้ำ เช่น Milk of Magnesium มีผู้ใช้กันมากเพราะได้ผลเร็ว และค่อนข้างปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์ แต่ควรใช้เฉพาะช่วงเวลาสั้น ๆ เฉพาะที่จำเป็น เท่านั้น เพราะแม้ยาจะปลอดภัย แต่ตัวยาไม่ได้ออกฤทธิ์ที่แผลริดสีดวงโดยตรง ในบางครั้งอาจยังกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้อย่างแรงอีกด้วย


ยารับประทานกลุ่ม Metamucil ทำให้อุจจาระนุ่มขึ้นก็จัดว่าเป็นยาที่ได้ผลดี และปลอดภัยเช่นกัน

2. การผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เช่น มีอาการปวด หรือเลือดออกมากไม่สามารถใช้ยาช่วยต่อไปได้อีกแล้ว

แม้โรคริดสีดวงทวารไม่ใช่เรื่องที่อันตรายร้ายแรง แต่ก็สร้างความทุกข์ และบั่นทอนคุณภาพชีวิตในช่วงตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะแทนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ จะได้ใช้เวลาทั้งหมดไปในการดูแลสุขภาพด้านอื่น ๆ เพื่อความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ แต่กลับต้องมาทนทรมานกับปัญหาที่น่ารำคาญใจจากริดสีดวงนี้ ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะป้องกันปัญหาและโรคนี้ ก่อนจะลุกลามเกิดอาการมาก แต่หากมีอาการแล้วควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องต่อไปครับ



ที่มาModernMom



Create Date : 15 ตุลาคม 2553
Last Update : 15 ตุลาคม 2553 19:31:40 น.
Counter : 8735 Pageviews.

0 comments

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
ตุลาคม 2553

 
 
 
 
 
1
4
5
7
8
9
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
 
 
All Blog