Group Blog
 
 
มกราคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
29 มกราคม 2556
 
All Blogs
 

ที่มาของชื่อ อ.บางน้ำเปรี้ยว

มีคนถามบ่อยๆ ว่าชื่อ อ.บางน้ำเปรี้ยว ตั้งขึ้นมาจากที่มาอย่างไร

พื้นที่ อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่เกิดจากหินตะกอนชายฝั่งทะเล ดินเหนียว ทรายแป้ง และทรายละเอียด ในยุค quarternary หินมีอายุ 1.6 ล้านปี พื้นที่ราบลุ่มภาคกลางทั้งหมดมีหินภูเขาไฟเป็นฐาน พื้นที่ทั้งหมดเคยได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลท่วมถึงมาก่อน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางภูมิสัณฐาน ขอบเขตชายฝั่งทะเลยื่นออกไปจนเกิดเป็นผืนทวีปที่น้ำทะเลระบายนํ้าออกไปหมดแล้ว ดินบริเวณนี้จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ลักษณะการเกิดดินในบริเวณนี้ มีองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญอยู่ 2 ธาตุ คือเหล็ก (Fe) และกำมะถัน (S) จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินจะเปลี่ยนสารประกอบเหล็กและกำมะถันที่เกิดจากการสะสมจากนํ้าทะเลที่เคยท่วมถึงบริเวณนี้ให้เป็นแร่ไพไรต์ (Pyrite) (FeS2) เมื่อไพไรต์สัมผัสกับน้ำและอากาศและโปแทสเซียมอิออน เกิดปฏิกิริยา oxidation เปลี่ยนอยู่ในรูปจาโรไซท์ (Jarosite) KFe (So4)2 (OH)6 สังเกตเห็นเนื้อดินมีขีดประสีเหลืองฟางข้าว เมื่อจาโรไซท์ทำปฏิกิริยากับน้ำอีกครั้งหนึ่งจะได้กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟุริก (H2SO4) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดจัด

 

 

 

นี่คือสาเหตุที่ทำให้พื้นที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทยที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาประสบปัญหาดินเปรี้ยว ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี รวมพื้นที่ 5.6 ล้านไร่ เราคงเคยได้ยินปัญหาดินเปรี้ยวที่ อ.พนามสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา, อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี, อ.วังน้อย จ.อยุธยา, อ.องครักษ์ จ.นครนายก, อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี ความจริงพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกที่อยู่ในเขตลุ่มน้ำนครนายกและลุ่มน้ำบางปะกงทั้งผืนประสบปัญหาดินเปรี้ยวทั้งหมดนั่นแหละครับ ทำไมพื้นที่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาจึงไม่ค่อยพบปัญหาดินเปรี้ยว??? อธิบายตามหลักภูมิสัณฐานทางธรณีคือพื้นที่ภาคตะวันตกของไทยติดกับเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งมีหินปูน (CaCO3) เป็นองค์ประกอบ หินปูนมีคุณสมบัติทางเคมีเป็นด่าง และเมื่อหินเหล่านี้ถูกชะล้างพังทลายจะเกิดการสะเทิน (Neutralization) กับดินกรด ทำให้ดินในเขตจังหวัดราชบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี ไม่ค่อยพบปัญหาดินเปรี้ยวมากเท่าเขตจังหวัดทางภาคตะวันออก และนี่คือสาเหตุสำคัญว่าทำไมเราจึงพบแหล่งแร่ยิปซั่ม (CaSO4) ในเขตจังหวัดภาคตะวันตก เพราะเมื่อ CaCO3 ทำปฏิกิริยากับ H2SO4 แล้ว จึงได้ CaSO4 เป็นผลิตภัณฑ์

รู้อย่างนี้แล้ว ใครอยากเสริมธาตุเหล็กกับกำมะถัน ขุดดินที่ราบภาคกลางไปอมเล่นได้เลยจ้า

 

 

 

 

 

 

 

 




 

Create Date : 29 มกราคม 2556
1 comments
Last Update : 29 มกราคม 2556 18:26:26 น.
Counter : 3629 Pageviews.

 

อ่อ เป็นแบบนี้นี่เอง

 

โดย: nainokkamin 7 กุมภาพันธ์ 2556 10:03:02 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


น้าโหด
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าโหด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.