เครื่องปรุงในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
จะพูดให้ได้ดีต้องมีเครื่องปรุง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
//www.drsuthichai.com
ศิลปะการพูดก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับศิลปะการทำอาหาร กล่าวคือ เมื่อเรามีข้อมูลในการพูดหรือวัตถุดิบที่จะทำอาหารแล้ว แต่การที่จะปรุงอาหารให้อร่อย เราคงต้องอาศัยเครี่องปรุงที่ดี การพูดก็เช่นกัน ควรมีเครื่องปรุงเพื่อให้การพูดออกมามีความสนุกสนาน ชวนติดตาม ไม่น่าเบื่อ ซึ่งเครื่องปรุงที่ดีในการพูดมีดังนี้
1. มีคำคม สุภาษิต คำพังเพย ของนักปราชญ์ อันว่า คำคม สุภาษิต คำพังเพย เป็นคำสั้นๆ แต่กินใจความหรือสามารถขยายความไปได้มาก เมื่อฟังแล้วนำไปคิดยิ่งเห็นจริงเห็นจังกับคำคม สุภาษิต คำพังเพย นั้น
2. เรื่องราวที่ตลก ขบขัน ชวนฟังทำให้การพูดของเราดู สนุก ไม่เครียดจนเกินไป ทำให้บรรยากาศในการพูดดีขึ้น การใช้เรื่องราวที่ตลก ขบขัน ที่ดีต้องให้มีความสัมพันธ์กับเรื่องที่พูด ไม่ควรพูดเรื่องตลก ขบขัน ที่ยาวจนเกินไป จนทำให้เนื้อหาดูน้อยลงไป อีกทั้งไม่ควรพูด ตลก ขบขัน ประเภทสองแง่สองง่าม หรือตลกประเภทลามก เพราะจะทำให้ผู้ฟังขาดเชื่อถือและความศรัทธาในตัวผู้พูดได้
3. นิทาน นิยาย ละคร ที่ผู้ฟังสนใจ จะทำให้เกิดความใกล้ชิด ความสนใจ ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง และถ้าเป็นละครทีวีที่ผู้ฟังได้ดูทุกๆวัน ถ้าหากผู้พูดสามารถนำมาพูดประกอบเพื่อเป็นตัวอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่พูดด้วยแล้ว ยิ่งชวนติดตามเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ฟัง
4. น้ำเสียง น้ำเสียงในการพูดมีความสำคัญมากต่อความสนใจและความสำเร็จในการพูด น้ำเสียงในการพูดควรมีความหลากหลาย และควรปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์นั้นๆ น้ำเสียงมีความสำคัญจนกระทั่งมีคนเขากล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า “ ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมาย แต่น้ำเสียงทำให้เกิดความหวั่นไหวขึ้นในหัวใจ”
5. ภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ในการพูด เป็นส่วนผสมของเครื่องปรุงที่จะทำให้การพูดออกมาดี พวกเราหลายคนคงเห็นการแสดงของ นักแสดงตลก ซึ่งบางคนแทบไม่ได้พูดเลย แค่แสดงท่าทาง แสดงสีหน้า ออกมา คนก็เริ่มหัวเราะกันแล้ว การใช้ ท่าทาง การแสดงสีหน้า จึงเป็นส่วนผสมในการพูดที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการพูดแต่ละครั้ง
6. อารมณ์ของผู้พูด การพูดที่ดี ผู้พูดต้องมีอารมณ์เดียวกันกับเรื่องที่พูดด้วย จึงจะสามารถทำให้ผู้ฟัง รับรู้ถึงความรู้สึกตามอารมณ์ดังกล่าวของผู้พูด เช่น ถ้าผู้พูดมีอารมณ์เศร้า ไม่สบายใจ แต่ผู้พูดพูดเรื่องตลก หรือ ผู้พูดมีอารมณ์สนุกสนานแต่ไปพูดเรื่องราวที่เศร้า เป็นต้น การไม่ปรับเปลี่ยนอารมณ์ของผู้พูดอาจส่งผลให้การพูดในครั้งนั้นๆไม่ประสบความสำเร็จได้ เพราะบางคนไปพูดในงานศพ แต่พูดไปด้วยอารมณ์ที่สนุกสนาน ก็สืบเนื่องมาจากผู้พูดกำลังมีอารมณ์ที่สนุกสนานอยู่นั้นเอง
7. จังหวะในการพูด เป็นสิ่งสำคัญ การพูดหากผู้ผิดจังหวะ ก็อาจไม่ประสบความสำเร็จได้ เช่น พูดเรื่อง ตลกขบขัน ผู้พูดดันพูดยังไม่ทันจบเรื่อง แต่ผู้พูดดันหัวเราะเสียเอง คนก็มักจะไม่หัวเราะหรือถ้าหัวเราะก็อาจจะหัวเราะที่ผู้พูดหัวเราะทำไม หรือ การพูดเรื่องเศร้า แต่ผู้พูดไม่รู้จักจังหวะในการเล่า ไม่รู้จัก การหยุด การเน้น การย้ำ ไม่รู้จักใช้จังหวะในการใช้น้ำเสียงเข้าช่วย ก็คงยากที่จะประสบความสำเร็จในการพูดได้
ปัจจัยข้างต้นนี้ เป็นส่วนผสมของเครื่องปรุงที่จะทำให้ท่านพูดได้ดียิ่งขึ้น และเป็นที่ยอมรับของผู้ฟังมาก
ขึ้น จงศึกษา เรียนรู้ และใช้มันบ่อยๆ แล้วท่านจะเป็นคนหนึ่ง ที่ผู้ฟังชื่นชอบ ศรัทธา เชื่อถือ เหลื่อมใส จงลงมือทำแล้วท่านจะประสบความสำเร็จ



Create Date : 16 มกราคม 2555
Last Update : 16 มกราคม 2555 20:39:23 น.
Counter : 690 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mrmarkandtony
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



มกราคม 2555

1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog